โครงการ การปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง

สถานที่ตั้ง

ตำบล หนองพลับ อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา – แม่ฟ้าหลวง

ตำบลหนและ

ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ตามพระราชดำริองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

--------------------dc---------------------

พระราชดำริ

เมื่อวันที่16 กรกฎาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำริที่จะพระราชทานป่าไม้ให้กับปวงชนชาวไทย เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองราชย์ได้ 50 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงมีพระราชดำริกับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยให้มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง  ร่วมกันดำเนินการปลูกป่าเพื่อพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย โดยให้มีหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาร่วมดำเนินการส่วนการดำเนินงานโครงการนั้นอย่าให้มีผลกระทบกับปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้าน และในพื้นที่โครงการปลูกป่าให้ ปลูกแฝก เสริมไปด้วย

ความเป็นมาของโครงการ

                   บริษัทโดลไทยแลนด์  จำกัดได้เช่าที่ดินโครงจัดการพัฒนาที่ดินหนองพลับ-กลัดหลวง ตามพระราชประสงค์ ระยะเวลาเช่า 20 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนเมษายน 2536 มีพื้นที่ประมาณ  4,794 ไร่ ทางโครงการจัดพัฒนาที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) ได้พิจารณาว่า หากจะจัดพื้นที่ให้ราษฎรก็มีปัญหาดินเสื่อมโทรม เพราะพื้นที่ดังกล่าวทำการปลูกสับปะรดติดต่อกันมานานถึง 20 ปี จึงเห็นว่าน่าจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาการฟื้นฟูคุณภาพ ดิน น้ำ ป่าไม้ เป็นการขยายผลการศึกษาจากโครงการพระราชดำริห้วยทราย โครงการ ฯเขาชะงุ้ม และโครงการฯ ห้วยฮ่องไคร้

                   เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินที่ ศูนย์ ฯ ห้วยทราย อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชดำริ นำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหญ้าแฝก ได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมป่าไม้  กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกันดำเนินการและได้เคยมีพระราชดำริเมื่อปี  2535 ในเรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการนี้โดยทั้งนี้ให้พิจารณาพื้นที่ตอนบน ด้วยว่าอาจสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ๆ ได้ ต่อมามูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้พิจารณาเลือกพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ส่วนดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลูกป่าพระราชทาน โดยให้ชื่อโครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง

 

 

 

สภาพความเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจากการปลูกสับปะรดติดต่อกันเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี   โดยการขาดมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ำ

หลักการและเหตุผล

                   จากสภาพปัญหาหน้าดินถูกชะล้างและพัดพาไปจนหมดหรือเกือบหมด เกิดจากการกัดเซาะเป็นร่องน้ำลึกจำนวนมาก  ทำให้ดินเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง ประกอบกับการใช้สารเคมีติดต่อกัน มายาวนานอาจมีผลตกค้างเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรจึงค่อนข้างลำบาก ต้องลงทุนสูง  ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หากจัดเป็นที่ทำกินให้เกษตรกรก็จะเป็นการสร้างปัญหาแก่เกษตรกร และประเทศชาติไม่มีที่สิ้นสุด จึงสมควรฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมในรูปแบบที่เหมาะสม โดยการปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดิน รักษาความชุ่มชื้นควบคู่กับการปลูกป่า และจัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์อันเป็นการรักษาทรัพยากรที่ดินของประเทศให้นำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์วิทยา เป็นแหล่งศึกษาด้านพฤกษศาตร์    และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  7

 

สภาพหินโผล่บนผิวดิน และการเกิดชั้นดินดาน สาเหตุจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ

 

 

สภาพการพังทลายแบบร่องลึก (Gully erosion

วัตถุประสงค์  

1. เพื่อการอนุรักษ์  พัฒนา ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  ทั้งในด้านป่าไม้  แหล่งน้ำ  ดิน   รวมทั้งสภาวะแวดล้อมอื่น ๆ   ให้บังเกิดความสมบูรณ์แก่แผ่นดิน    โดยการปลูกป่า  และ จัดทำสวนพฤกษศาสตร์ควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและน้ำ  ฟื้นฟูคุณภาพดินโดยใช้หญ้าแฝก   และ  การจัดหาแหล่งน้ำ

2. เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและความสำนึกรับผิดชอบที่ดีงามต่อประเทศชาติ  ให้กับประชาชนในท้องถิ่น  และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามโครงการให้มากที่สุด

3. เพื่อให้ประชาชนยากไร้ในพื้นที่สามารถหาประโยชน์จากป่าไม้ที่ปลูก

4. เพื่อนำผลงานการศึกษา  ทดลอง  จากศูนย์การศึกษาพัฒนาและโครงการต่าง ๆ ตามพระราชดำริมาขยายผล

5. เพื่อศึกษา  วิจัย  และพัฒนาเกี่ยวกับหญ้าแฝกตามพระราชดำริ

รูปแบบการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมโดยการปลูกป่าผสมผสานกับการปลูกหญ้าแฝก  เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

 

แนวทางดำเนินการ

                   กำหนดให้เป็น  2  ระยะ  คือระยะที่ 1  ในปี  2537-2539  จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ ประมาณ  4,794  ไร่  และระยะที่ 2  ตั้งแต่ ปี  2540  เป็นต้นไปจะขยายพื้นที่การปลูกป่าในบริเวณภูเขา    ที่ติดต่อกับพื้นที่โครงการระยะที่  1

  1. พื้นที่ดำเนินการสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะที่ 1 (ปี 2537- 2539)

พื้นที่ดำเนินการประมาณ   4,794  ไร่    สามารถแบ่งพื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ     ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังนี้

   1.1  พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย   เนื้อที่จำนวน  1,000 ไร่

                   กรมชลประทานได้รับพระราชดำริเมื่อ ปี  2532  ให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายซึ่งมีความจุน้ำน้อยเพราะค่อนข้างตื้น  จึงจะนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม   มาเพิ่มเป็นน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายได้   ซึ่งอ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตายมีความจุประมาณ   3.7   ล้านลูกบาศก์เมตร    พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ประมาณ  1,000 ไร่  ก่อสร้างเสร็จ ปี  2536

                   1.2  พื้นที่ป่าและพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ผสมผสานกับการปลูกหญ้าแฝกจำนวนเนื้อที่   3,500 ไร่ ซึ่งจะแยกเป็นพื้นที่ป่า 3,200 ไร่  และสวนพฤกษศาสตร์  300  ไร่ จากสภาพของปัญหาในเรื่องของคุณภาพดิน  สภาพเนื้อดินเป็นดินทรายและดินตื้น ง่ายต่อการกัดกร่อน และมีความสามารถในการอุ้มน้ำไว้ได้น้อย  บางส่วนพบว่าดินเกิดการแน่นทึบ   มีหินโผล่  และ บางส่วนเกิดการกัดเซาะเป็นร่องลึก ตามบริเวณร่องน้ำธรรมชาติ  และทางระบายน้ำ   ดังนั้นกิจกรรมในการพัฒนาในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสภาพดิน    จึงได้ดำเนินการใช้ระบบหญ้าแฝกร่วมกับระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำอื่น ๆ  ร่วมกับการปลูกป่า  โดยทำการปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ในพื้นที่ความลาดชันน้อยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถว    มีระยะห่างตามแนวดิ่ง (vertical  interval)  1  เมตร  ส่วนพื้นที่ลาดชันปานกลางใช้ระยะตามแนวดิ่ง  1.5  เมตร   พื้นที่ภูเขาใช้ระยะตามแนวดิ่ง  4  เมตร และบริเวณร่องน้ำ หรือ  ร่องห้วยในพื้นที่  ได้ดำเนินการสร้างบ่อดักตะกอน (check dam)   เพื่อเป็นแหล่งรับน้ำและตะกอนดินที่ถูกชะล้างไม่ให้ถูกพัดพาไปสะสมในแหล่งน้ำตอนล่าง    นอกจากนี้ในพื้นที่บางส่วน   จะใช้ในการศึกษารูปแบบการจัดการระบบวนเกษตรโดยการนำรูปแบบ  และ เทคโนโลยีในระบบวนการเกษตรมาประยุกต์ใช้  เพื่อฟื้นฟู  และใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการปลูกพืชยืนต้น  ซึ่งเป็นไม้โตเร็วอเนกประสงค์     และไม้โตเร็วที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจน  เช่น  กระถินณรงค์  และสะเดา   ร่วมกับพืชเศรษฐกิจยืนต้นประเภทไม้ผล   และพืชเศรษฐกิจล้มลุก  เช่น  ถั่วต่าง ๆ  พืชคลุมดิน  และพืชบำรุงดิน

1.3 พื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับหญ้าแฝก จำนวนเนื้อที่  310  ไร่

                       เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝก  และการขยายพันธุ์หญ้าแฝกรวมทั้งกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์รวมพันธุ์ไม้สมุนไพร  ไม้หายาก  และอื่น ๆพื้นที่ดำเนินการระยะที่ 1  เนื้อที่  4,794 ไร่

2.  พื้นที่ดำเนินการในระยะที่  2 

                         เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2540 เป็นพื้นที่บริเวณภูเขาที่ติดต่อกับพื้นที่ระยะที่  1 ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ 1,919 ไร่  และในเขตพื้นที่ตำบล ไร่ใหม่พัฒนา  อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี  เนื้อที่ 3,515 ไร่ ปัจจุบันพื้นที่โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 10,300  ไร่

 

 

จากการดำเนินการในช่วงปี   2537   ถึงปัจจุบัน   พบว่ารากหญ้าแฝกได้ทำหน้าที่รักษาหน้าดินและความชุ่มชื้น   ทำให้พื้นที่มีการพัฒนาด้านระบบนิเวศน์ดีขึ้น   มีพืชพรรณธรรมชาติขึ้นปกคลุมดิน  เกื้อกูลให้ป่าไม้ที่ปลูกร่วมมีการเจริญเติบโตที่ดี  เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านจนเบียดชิดกัน  ป่าไม้มีความสมบูรณ์ขึ้น  หน้าที่ในการอนุรักษ์ดินและน้ำของระบบหญ้าแฝกเริ่มลดน้อยลง  ดังจะเห็นได้ว่าแนวรั้วหญ้าแฝกด้านในบริเวณที่ได้รับแสงแดดน้อยจะตายไปบ้าง  ส่วนแนวรั้วหญ้าแฝกด้านนอกที่ยังได้รับแสงสว่างตามปกติจะยังทำหน้าที่ดักตะกอน  และ อินทรียวัตถุและกักเก็บความชุ่มชื้น  ให้คงอยู่ในพื้นที่ป่าต่อไป

 

ผลประโยชน์

  1. จะได้ให้มีพื้นที่ปลูกป่าที่เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น   และจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติมากขึ้น  และเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติด้วย
  2. ประชาชนที่บุกรุกทำลายป่า  จะได้เห็นความสำคัญของป่าไม้  และมีความเป็นที่ดีขึ้น
  3. จะได้รูปแบบการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมโดยการปลูกป่า  ผสมผสานกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ  นำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีสภาพคล้ายกันทั่วประเทศ
  4. เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ดีขึ้น
  5. เป็นแหล่งศึกษาด้านพฤกษศาสตร์  ระบบนิเวศน์วิทยา  การอนุรักษ์ดินและน้ำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป

 

 ปัญหาอุปสรรค

          จากการที่เกิดปัญหาไฟไหม้ลุกลามพื้นที่ของโครงการฯ บ่อยครั้ง นั้น สาเหตุเกิดจากสภาพแห้งแล้งภายในพื้นที่ ดินขาดความชุ่มชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาวัชพืชในแปลงปลูกป่า และสวนพฤกษศาสตร์มีวัชพืชขึ้นปกคลุมหนาแน่น เนื่องจากไม่มีงบประมาณในการกำจัดวัชพืช เมื่อถึงฤดูแล้ง วัชพืชเหล่านี้จะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอย่างดี ประกอบกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่มีน้อยไม่สามารถดูแลพื้นที่ได้ทั่วถึง

 

ข้อเสนอแนะ

          สำหรับแนวทางในการป้องกันไฟป่า ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ควรจะจัดสรรงบประมาณในการดูแลรักษาป่าโดยตรง  และน่าจะสร้างฝายคันดินอย่างง่ายหรือฝายแม้ว  เพื่อกั้นร่องน้ำซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่เป็นระยะ ๆ ให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นแอ่ง เพื่อสร้างความชุ่มชื้นสะสมไว้ในดิน ทำให้แฝกและต้นไม้ตามขอบแนวตลิ่ง มีความชุ่มชื้นเขียวขจี สามารถเป็นแนวป้องกันไฟป่าไหม้ลุกลามได้อีกวิธีหนึ่งการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับการปลูกป่า และการก่อสร้างบ่อ  ตักตะกอน  เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อโทรมของทรัพยากรดิน ทำให้สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ดีขึ้น

 

โครงการทดลองการปลูกปาล์มในพื้นที่โครงการชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวง

ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ

ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

--------------------dc---------------------

ความเป็นมา / พระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการศึกษา ทดลองการปลูกปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ และพืชพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต โดยให้ดำเนินการในพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา (ที่ว่างเปล่า) ทั่วประเทศ และพิจารณาหาพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกประมาณ 10,000 ไร่ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งให้พิจารณาการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ดังเช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส หรืออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และให้พิจารณาจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันปาล์ม สบู่ดำ และ/หรือพืชพลังงานอื่นๆ ในการผลิต

 

ทรงปลูกปาล์มพันธ์ ลูกผสมสุราษฏร์ธานี 2 เมื่อ วันที่ 6 ส.ค. 2548

 

 

ปัจจุบันให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

 

 

สบู่ดำ 70 ไร่

ดาวโหลด์เอกสาร pdf

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve