โครงการ ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ

สถานที่ตั้ง

มุกดาหาร ตำบล บ้านค้อ อำเภอ คำชะอี จังหวัด มุกดาหาร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ(EIA) ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

 

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดมุกดาหาร ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ โดยประสานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการเพื่อเร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร รวมทั้งดำเนินการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ศิลปาชีพ และพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธาร

วันที่ 12 ตุลาคม 2538 สำนักราชเลขาธิการมีหนังสือขอให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) พิจารณานำเอาบ้านตาเปอะหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เข้าร่วมเป็นหมู่บ้านหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ (EIA) ได้มีกำหนดการเริ่มปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 และสิ้นสุดสัญญา   ในวันที่ 10 กันยายน 2557 รวมระยะเวลาในการศึกษา 360 วัน ซึ่งได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2556 ไปแล้วเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 โดยเป็นการประชุมระหว่างคณะกรรมการกำกับดูแลงานที่ปรึกษาด้านวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดการศึกษาและการประเมินผลกระทบ (EIA) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) การประเมินผลกระทบด้านสังคม (SIA) การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งขอบเขตงาน ข้อกำหนดในสัญญา งวดงาน และการเบิกจ่ายเงิน ขณะนี้ดำเนินการแล้ว ร้อยละ 5 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในเดือนกันยายน 2557

ประโยชน์ของโครงการ

                   ทำให้โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ มีความพร้อมในด้านข้อมูลที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ซึ่งจะนำไปใช้ในการวางแผน การดำเนินงาน และกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการฯ และเมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จจะสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถส่งน้ำไปสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 7,000 ไร่ มีราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 600 ครัวเรือน ประชากร 2,400 คน

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve