โครงการ หมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านหนองคอง

สถานที่ตั้ง

มุกดาหาร ตำบล พังแดง อำเภอ ดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ บ้านหนองคอง

อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

 

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชดำริให้ช่วยเหลือราษฎรโดยการให้ความรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมในการปลูกและดูแลรักษาป่า รวมทั้งสนับสนุนให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าโดยอาศัยซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

เนื่องจากการดำเนินงานโครงการในปีงบประมาณ 2549 ไม่สามารถตั้งงบปกติรองรับได้ทัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องอีก 1 ปี โดยมีแผนดำเนินการในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติภูผายล และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงภูพาน ได้ทำการปลูกป่าทั่วไป 300 ไร่ ประกอบด้วย ประดู่ มะค่าโมงแดง ตีนเป็ด บำรุงรักษาสวนเดิมอายุ 2-6 ปี พื้นที่ 300 ไร่ และทำการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในพื้นที่ 200 ไร่ ประกอบด้วย  หวาย หมากเม่า ขี้เหล็ก สะเดา ประดู่ มะค่าโมง เพื่อให้ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้ พร้อมทั้งบำรุงป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่างอีก 200 ไร่ โดยทำการปลูกซ่อม และใส่ปุ๋ยบำรุง นอกจากนี้ยังปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ 500 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า ที่มีอยู่แล้วและมีพื้นที่ว่าง เป็นการปลูกเสริมป่าธรรมชาติ โดยปลูกต้นไม้ 25 ต้นต่อไร่ และมีแผนเพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 50,000 กล้า เช่น หวาย หมากเม่า และเพาะชำหญ้าแฝก 50,000 กล้า เพื่อปลูกในพื้นที่โครงการ และแจกจ่ายให้ชาวบ้านปลูกตามพื้นที่ทั่วไป ทั้งนี้ได้ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน (หินทิ้ง ปูนซีเมนต์ยาแนว) 100 แห่ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในบริเวณดังกล่าว และได้จัดทำแนวกันไฟเป็นระยะทาง 5  กิโลเมตร

ประโยชน์ของโครงการ

1. ทำให้ราษฎร จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองคอง หมู่ที่ 8 และบ้านห้วยเลา หมู่ที่ 7 ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร 240 คน มีรายได้เสริมจากการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารโดยการจ้างแรงงานปลูกป่า ก่อสร้างฝายต้นน้ำและจัดทำแนวกันไฟ

2. ทำให้รักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพเดิม โดยมีอัตราการรอดตายของป่าปลูกมากกว่าร้อยละ 80 ทำให้สภาพป่าเกิดความชุ่มชื้น  ชาวบ้านสามารถใช้น้ำประปาภูเขาได้เกือบตลอดปีและสามารถเก็บของป่า เช่น เห็ด ผักหวานที่เพิ่มขึ้นทุกปีมาบริโภคและจำหน่ายได้

3. ทำให้ราษฎรหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และมีความรู้ความเข้าใจ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสามารถลดปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าโดยตั้งคณะกรรมการป้องกันรักษาป่าและคณะกรรมการป้องกันไฟป่า โดยการลาดตระเวน  เพื่อป้องกันไฟป่าและการลักลอบตัดไม้

              การปลูกป่า  3  อย่าง  ประโยชน์  4  อย่าง                                                 การก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติภูผายลและพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงภูพาน ได้ทำการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า 300 ไร่ ได้แก่ ประดู่ 20,000 ต้น  มะค่าโมง 20,000 ต้น ตีนเป็ด 15,000  ต้น  แดง 5,000 ต้น ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 200 ไร่ ได้แก่ ประดู่ 10,000 ต้น มะค่าโมง 10,000 ต้น สะเดา 2,500 ต้น หวาย 1,000 ต้น  หมากเม่า 5,000 ต้น  สะเม็ก 2,500 ต้น ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 80 แห่ง และปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ 500 ไร่ โดยปลูกไม้ท้องถิ่น 15,000 ต้น ได้แก่ ประดู่ 5,000 ต้น มะค่าโมง 3,000 ต้น ตีนเป็ด 2,000 ต้น แดง 1,500 ต้น และจัดทำแนวกันไฟรอบพื้นที่แปลงปลูกระยะทาง 3 กิโลเมตร

ประโยชน์ของโครงการ

 ราษฎรจำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองคอง หมู่ที่ 8 และบ้านห้วยเลา หมู่ที่  7  ตำบลพังแดง  อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร  213  ครัวเรือน  899  คน มีรายได้เสริมจากการปลูกป่า ก่อสร้างฝายต้นน้ำ และจัดทำแนวกันไฟ ป้องกันและรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพเดิม สร้างจิตสำนึกให้ราษฎรหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และมีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ป้องกันการบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่า สามารถลดปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งเก็บหาของป่าของราษฎรในพื้นที่โครงการ

                                 ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                                                  ฟื้นฟูสภาพป่า 300 ไร่     

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ต้นน้ำลำธาร จำนวน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง  ปลูกป่าหวาย  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำโดยการปลูกป่าทดแทน จัดทำป่าเปียกเพื่อป้องกันไฟป่า ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน และจัดทำแนวกันไฟ

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการ 5 หมู่บ้าน จำนวน 647 ครัวเรือน ประชากร 1,751 คน มีรายได้เสริมจากการจ้างงาน และสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าตามแนวทางคนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อทดแทนและฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย จำนวน 150 ไร่ ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำโดยปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร จำนวน 500 ไร่ ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง จัดทำแนวกันไฟ ระยะทาง 10 กิโลเมตร และเพาะชำกล้าไม้มีค่าเพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรและส่วนราชการ จำนวน 50,000 กล้า

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการ จำนวน 5 หมู่บ้าน จำนวน 647 ครัวเรือนประชากร 1,750 คน ได้รับประโยชน์จากการจ้างงานของโครงการ ทำให้มีรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งสามารถอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากป่าตามแนวทางคนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

คำอธิบาย: G:\2222\Picture\Picture 234.jpg คำอธิบาย: G:\รวมรูปถ่าย\DSC00674.JPG

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

                   ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 150 ไร่  ปลูกป่าหวาย 100 ไร่ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำโดยปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร 250 ไร่  ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 100 แห่ง  เพาะชำกล้าไม้มีค่า 25,000 กล้า  เพาะชำกล้าหวาย 15,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรและส่วนราชการต่างๆ  และจัดทำแนวกันไฟระยะทาง 10 กิโลเมตร ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว

ประโยชน์ของโครงการ

                   ทำให้รักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารในเขตพื้นที่โครงการให้มีความอุดมสมบูรณ์ และลดการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้รับประโยชน์ จำนวน 5 หมู่บ้าน  647 ครัวเรือน  และพื้นที่การเกษตร จำนวน 2,500 ไร่

คำอธิบาย: E:\ภาพบ้านหนองคอง กิจกรรม กปร. 56\ปลูกป่า3อย่าง\DSCF0460.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภูเพ็ก56\สร้างฝาย\IMG_0423.JPG

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve