โครงการ พัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยแคน ห้วยไร่-ห้วยขาหน้า

สถานที่ตั้ง

มุกดาหาร อำเภอ เมืองมุกดาหาร จังหวัด มุกดาหาร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยแคน-ห้วยไร่-ห้วยขาหน้าอำเภอดงหลวง และอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
 

เรื่องเดิม

                   เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแคน และระบบส่งน้ำเพิ่มเติมอ่างเก็บน้ำห้วยไร่ โดยให้พิจารณาความต้องการของราษฎรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด และเลือกพื้นที่ให้ถูกหลักการพร้อมเก็บกักน้ำให้ได้มาก

                   เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขาหน้า เพื่อช่วยเหลือราษฎรบ้านหนองคองและบ้านหนองเลา ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งให้ช่วยกันดูแลรักษาป่าให้สมบูรณ์ตลอดไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

เพาะชำกล้าไผ่สำหรับปลูกเป็นแนวเขตอนุรักษ์และเพื่อแจกจ่ายให้ราษฎร จำนวน 15,000 กล้า ปลูกไม้พะยูงเสริมป่าอนุรักษ์ 250 ไร่ เพาะชำกล้าไม้พะยูง 50,000 กล้า และจัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบผสมผสานในบริเวณป่าต้นน้ำรวม 250 แห่ง

ประโยชน์ของโครงการ

          ทำให้ผืนป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำทั้งสามแห่งจำนวน 131,634 ไร่ ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแห่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติ
ลดปริมาณตะกอนสะสมในอ่างเก็บน้ำ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำน้ำต่าง ๆ

คำอธิบาย: H:\งานห้วยแคน ห้วยไร่ห้วยขาหน้า\ฝายผสมผสานห้วยไร่\DSC04816.JPG คำอธิบาย: H:\งานห้วยแคน ห้วยไร่ห้วยขาหน้า\ปลูกไม้พะยูง\DSCN5226.JPG

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

สร้างฝายแบบผสมผสาน บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำทั้ง 3 อ่าง 150 แห่ง ปรับปรุงระบบป่านิเวศต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ 3 อ่าง 500 ไร่ เพาะชำกล้าหวาย 30,000 กล้า และปลูกหวายเสริมป่า 200 ไร่ ปลูกไม้พะยูงเสริมป่า จำนวน 400 ไร่ เสริมแนวกันชนและแจกจ่ายแก่ราษฎรและหน่วยงานต่างๆ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว

ประโยชน์ของโครงการ

                   ทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายลและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ได้รับการฟื้นฟูให้อุดมสมบูรณ์ โดยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศน์เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ราษฎรในพื้นที่โครงการจำนวน 12 หมู่บ้าน 1,816 ครัวเรือน ราษฎร 7,896 คน ได้รับการจ้างงานทำให้มีรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัวมากขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และคนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

คำอธิบาย: E:\ภาพบ้านหนองคอง กิจกรรม กปร. 56\ปลูกป่า3อย่าง\DSCF0460.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภูเพ็ก56\สร้างฝาย\IMG_0423.JPG
คำอธิบาย: C:\Users\ACHI\Desktop\2555-10-07 14-13-35_0002.jpg

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve