โครงการ เรือพระราชทาน "เวชพาหน์"

สถานที่ตั้ง

จังหวัด หลายพื้นที่

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

 

 

 

 

ตั้งแต่เร่ิ่มต้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยืี่ยมราษฎร ในพ้ื้นที่กันดารห่างไกลความเจริญ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงท่ี่ตามเสด็จฯ ทำการตรวจรักษาราษฎรท่ีเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามลำน้ำโดยไม่มีถนนเชื่อมต่อกับจังหวัด ต้องเดินทางสัญจรทางน้ำ ทั้ระยะทางก็ห่างไกล เมื่อเจ็บป่วยก็รักษาไปตามมีตามเกิด  เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2498 ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีพระราชทานเรือยนต์หลวง “เวชพาหน์” (อ่านว่า เวด-ชะ-พา) ให้แก่สภากาชาดไทย ณ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร  เพื่อใช้ในกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาถึง 56 ปี (พ.ศ.2556) ที่เรือรักษาพยาบาลทางน้ำลำแรกและลำเดียวในโลกยังคงลอยลำออกปฏิบัติงานให้บริการตรวจรักษาประชาชนตามพระราชประสงค์ทุกประการ ทั้งทางด้านการตรวจรักษาโรคทั่วไป มีการฝังเข็มประยุกต์ ตรวจรักษาทางทันตกรรม ให้บริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ให้บริการสุขศึกษา ให้ภูมิคุ้มกันโรค และการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ด้วยปัจจัยการดำรงชีวิตตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อัคคีภัย ตามวาระและโอกาสต่างๆ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาพยาบาลประชาชนตามลำน้ำต่างๆ โดยเรือยนต์หลวงพระราชทาน “เวชพาหน์” ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัท อู่เรือกรุงเทพฯ จำกัด ต่อเรือขึ้น ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์ตามข้อความที่เขียนติดไว้ด้านข้างเรือ 2 ด้าน ความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานเรือลำนี้ เมื่อ พ.ศ. 2498 เพื่อใช้บรรเทาทุกข์และรักษาประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ทั้งสิ้น”


เรือพระราชทาน “เวชพาหน์” เป็นเรือไม้ 2 ชั้น ขนาดกว้าง 3.81 เมตร ยาว 15.69 เมตร สูง 3.75 เมตร กินน้ำลึก 0.85 เมตร เครื่องยนต์ดีเซล 200 แรงม้า เครื่องยี่ห้อโตโยต้า 6 สูบ ความเร็วเรือ 12 น็อตต่อชั่วโมง และสามารถบรรทุกผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ประจำเรือได้ 30 คน
โดยมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ ชั้นบน เป็นโถงโล่ง ใช้เป็นที่พักผ่อนสำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ ชั้นล่าง ประกอบด้วย ห้องตรวจรักษาโรคทั่วไป ห้องทันตกรรม ห้องผ่าตัดเล็ก ห้องนอนเจ้าหน้าที่ประจำเรือ ห้องสุขา ห้องน้ำ ห้องครัว และห้องเครื่องยนต์ สำนักพระราชวังได้จดทะเบียน “เวชพาหน์” เป็นเรือยนต์หลวงและให้อยู่ในความดูแลรักษาของฝ่ายเรือยนต์หลวง กองพระราชทานพาหนะ สำนักพระราชวัง ซึ่งจะจัดเจ้าหน้าที่ประจำเรือในการนำออกใช้ปฏิบัติงานตามที่สภากาชาดไทยกำหนดแจ้งขอเป็นครั้งคราว


 

 

 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข

curve