โครงการ เกลือเสริมไอโอดีน

สถานที่ตั้ง

จังหวัด หลายพื้นที่

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพบว่าปัญหาการขาดสารไอโอดีนจนเกิดเป็นโรคคอพอกนั้นยังมีอยู่มากมายหลาย พื้นที่ และยามที่เสด็จพระราชดำเนินไปในท้องที่ทุรดันดารนั้นมีผู้คนที่เข้าเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาทจำนวนมากที่เป็นโรคนี้  และขอรับการรักษาจากคณะแพทย์หลวงที่ตามเสด็จฯ 
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระเมตตาและสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนเป็น อย่างมาก ถึงกับเคยทรงนำเกลือผสมไอโอดีนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปทรงแจกประชาชนในถิ่น ทุรกันดารมาแล้วหลายครั้ง 

เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมกิจกรรมของวิทยาลัยเทคนิค เชียงใหม่ ซึ่งในการนี้ได้ทอดพระเนตรการสาธิตการทำงานของเครื่องผสมเกลือไอโอดีน ซึ่งทางวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ได้ผลิตขึ้นและน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้แก่จังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือที่ราษฎรประสบปัญหาของการขาดสารไอโอดีน 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริว่า 
"...ให้ พิจารณาแก้ไขปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎรโดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละ พื้นที่ถึงปัญหา และความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะต้องสำรวจ  เส้นทางเกลือ   ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือเสียเลยทีเดียว..."

วิธีการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ  เส้นทางเกลือ 

1.  ศึกษาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีน โดยการค้นหา  เส้นทางเกลือ ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภค

2.  นำไอโอดีนไปผสมที่แหล่งผลิตหรือแหล่งจัดจำหน่ายโดยเติมให้ฟรีก่อน หากภายหลังพ่อค้าและภาคเอกชนเกิดศรัทธาสมทบก็สามารถทำได้ 

3.  หาก บางท้องที่ไม่อาจเติมไอโอดีนที่แหล่งต้นทางได้ ทรงแนะนำว่าควรนำเครื่องเกลือผสมไอโอดีนไปบริการในลักษณะหน่วยบริการเคลื่อน ที่เข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ กล่าวคือ ใครมีเกลืออยู่แล้วก็ผสมให้ฟรี หรืออาจเอาเกลือธรรมดามาแลกกับเกลือผสมไอโอดีนก็ได้ 

4.  พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีนว่ามี  เส้นทางเกลือ มาจากแหล่งใด


ผลการสำรวจ  เส้นทางเกลือ 

จาการค้นคว้า  เส้นทางเกลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาสรุปได้ว่า

  • เกลือผสมไอโอดีนส่วนใหญ่เป็นเกลือป่น
  • เกลือที่ไม่ได้ผสมสารไอโอดีนเพิ่มเข้าไปจะมีทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด
  • เกลือป่นส่วนใหญ่เป็นเกลือสินเธาว์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกลือเม็ด
  • ส่วนใหญ่เป็นเกลือสมุทรจากสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี



เส้นทางเกลือที่ไม่ผสมไอโอดีน มีแหล่งผลิตและจำหน่ายที่สำคัญ รวม 4 เส้นทาง คือ

  1. ส่วนที่ 1  จาก จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งรวมเกลือสมุทรจากเพชรบุรีและสมุทรสงครามส่งไปยังตัวเมืองเชียงใหม่ และส่งขายต่อร้านค้าย่อยในอำเภอสะเมิง
  2. ส่วนที่ 2  พ่อ ค้าเชียงใหม่ซื้อตรงจากสมุทรสาคร โดยรถสิบล้อบรรทุกขึ้นมาแล้วมาบรรจุใส่ซองพลาสติดใส นำขึ้นรถปิดอัพเร่ขายในอำเภอสะเมิงและพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ส่วนที่ 3  พ่อ ค้าจากมหาสารคาม มีการซื้อเกลือสินเธาว์ป่นแถบอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และย่านหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มาบรรจุซองที่จังหวัดมหาสารคาม แล้วนำเกลือไปเร่ขายทั่วประเทศโดยใช้รถหกล้อ ซึ่งมีการส่งขายถึงเชียงใหม่ และเข้าสู่อำเภอสะเมิงในที่สุด
  4. ส่วนที่ 4  จากกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้ารายใหญ่จัดส่งไปขายที่เชียงใหม่และแถบใกล้เคียงโดยใช้เกลือสมุทรธรรมดา


วิธีการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนหรือเกลืออนามัย

โดยปกติแล้วคนเราต้องการธาตุไอโอดีนวันลประมาณ 100-150 ไมโครกรัมในปริมาณเกลือที่บริโภคต่อวัน เฉลี่ย 5.4 กรัม

อัตราส่วนเกลือไอโอดีน
ต้องใช้ปริมาณไอโอเดทที่เสริมในเกลืออัตราส่วน 1:20,000 โดยน้ำหนัก
เกลือ 1 กิโลกรัม ต้องเสริมโปแตสเซียมไอโอเดท 50 มิลลิกรัม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัมต่อคนต่อวัน

โปแตสเซียมไอโอเดท 1 กิโลกรัม ผสมเกลือได้ 18 ตัน ซึ่งมีหลายวิธีการ ดังนี้

การเสริมไอโอดีนในเกลือโดยใช้วิธีผสมเปียก

โดยการใช้ผงไอโอเดทปริมาณ 25 กรัม ผสมกับน้ำจำนวน 1 ลิตร ซึ่งผลการ

ทดลอง ของวิทยาลัยเทคนิคสกลนครสามารถผลิตเกลือผสมไอโอดีนได้ครั้งละ 60 กิโลกรัม โดยการพ่นฉีดแต่ละครั้ง 60 กิโลกรัม โดยการพ่นฉีดแต่ละครั้ง จะใช้ไอโอดีนน้ำผสมประมาณครั้งละ 200 ซีซี. ต่อเกลือจำนวน 60 กิโลกรัม ซึ่งพบว่าได้ความเข้มข้นของไอโอดีนสม่ำเสมอดี


การเสริมเกลือไอโอดีนแบบผสมแห้ง

เป็นเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่ดำเนินการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงโดยใช้วิธี

ผสม แห้งและใช้หลักการทำงานของเครื่องผสมทรายหล่อ และหลักการทำงานของเครื่องไซโลผสมอาหารสัตว์มาเป็นการทำงานของเครื่องผสม เกลือไอโอดีน ซึ่งใช้สะดวก กระทัดรัด ประหยัด ผสมได้ครั้งละ 60 กิโลกรัม โดยใช้ใบกวนหมุนภายในถังที่ตรึงอยู่กับที่  โดย ให้ความเร็วของการหมุนใบกวนสัมพันธ์กับลักษณะของใบกวนที่วางใบให้เป็นมุม เอียง เพื่อให้เกลือไหลและเกิดการพลิกตลอดเวลา ใช้เวลาในการคลุก 2 นาที โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ในกรณีที่มีความประสงค์จะผสมเกลือไอโอดีนด้วยตนเอง ก็สามรถทำได้ในอัตราส่วนดังกล่าว โดยใช้กะบะและไม้พายผสมโดยใช้แรงคนใช้เวลาผสมประมาณ 20-30 นาที หรือนานกว่าจึงจะได้ส่วนผสมที่ใช้การได้

ที่มา : มูลนิธิชัยพัฒนา


การส่งเสริมให้นักเรียนได้ดื่มน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำทุกวัน

โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
 

ความเป็นมา 

         ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ อันเกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน ส่งผลให้ธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดินถูกพืชดูดซึมเข้ามาน้อย ทำให้อาหารที่คนเราบริโภคมีคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลงไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุไอโอดีน ซึ่งคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทะเลมีโอกาสได้รับอาหารที่มีไอโอดีนน้อย ไอโอดีนเป็นสารอาหารสำคัญถึงแม้ร่างกายจะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็มีความจำเป็นสำหรับสร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต ถ้าได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สติปัญญา รวมทั้งการเรียนรู้ต่างๆของเด็กด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงมีพระราชดำริให้มีการดำเนินงานโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดารมาตั้งแต่ พ.ศ.2533 มาจนถึงปัจจุบันนี้

การดำเนินงาน

  • การส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารกลางวันที่โรงเรียน และการปรุงอาหารในครัวเรือน
  • การให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและครอบครัว เพื่อให้เห็นความสำคัญของสารไอโอดีน
  • การเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน โดยการตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน 

        การดำเนินงานได้ครอบคลุมสถานศึกษาที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร จำนวน แห่งทั่วประเทศ ทำให้อัตราการเป็นโรคคอพอกในเด็กนักเรียน ร้อยละ 21.2 ในปี 2536 เหลือเพียงร้อยละ 1.8 ในปี 2547 ซึ่งแสดงว่าชุมชนในท้องถิ่นทุรกันดารในโครงการตามพระราชดำริไม่มีปัญหาการขาดสารไอโอดีนแล้ว อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเกรงว่าปัญหาการขาดสารไอโอดีนอาจจะปรากฏขึ้นได้ในอนาคต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง


 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข

curve