โครงการ ศูนย์บริการโลหิต

สถานที่ตั้ง

จังหวัด หลายพื้นที่

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารของฝ่ายกองทัพพันธมิตร ได้รับบาดเจ็บ และล้มตายเป็นจำนวนมาก แพทย์ประจำกองทัพพันธมิตรจึงได้ร้องขอให้สภากาชาด ของแต่ละประเทศจัดตั้งหน่วยบริการโลหิตขึ้น เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนบริจาคโลหิต ช่วยชีวิตทหารที่บาดเจ็บในสนามรบ จนกระทั่งสงครามสงบลงหน่วยรับถ่ายโลหิต ที่จัดตั้งขึ้นในขณะนั้นก็ยังดำเนินการต่อมา

สำหรับประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยไม่นิยม และยังไม่ยินยอม บริจาคโลหิตกัน เมื่อโรงพยาบาลจำเป็นต้องใช้โลหิตรักษาคนไข้ จะต้องเจาะจากญาติคนไข้ หรือไม่ก็มี การซื้อขาย

จวบจนในปีพุทธศักราช 2494 ได้มีการประชุมสันนิบาตกาชาด ครั้งที่ 17 ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ได้มีมติให้สภากาชาด แต่ละประเทศพยายามจัดตั้งงานบริการโลหิตขึ้น โดยให้ยึด ถือหลักที่ว่า บริจาคโลหิตด้วยจิตศรัทธา ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน หรือหวังผลตอบ แทนใด ๆ 

หลังจากการประชุมสันนิบาตกาชาดครั้งที่ 17 เสร็จสิ้นลง ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย ในขณะนั้นได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อ กรรมการสภากาชาดไทยขอจัดตั้งแผนกบริการโลหิตขึ้นในกองวิทยาศาสตร์ งานบริการโลหิตของ สภากาชาดไทยจึงได้เริ่มกิจการขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2495 เพื่อตอบสนองต่อ ข้อเสนอของ สภากาชาดสากล ต่อมา พ.ศ.2496 ราชสกุลรังสิต 

ได้บริจาคเงินสร้างตึกที่ทำการงานบริการโลหิต ขึ้นชื่อว่า ตึกรังสิตานุสรณ์ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินเปิดตึก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 

การบริจาคโลหิตในปีแรก ๆ นั้น จะกระทำเฉพาะภายในสถานที่เท่านั้น มีผู้บริจาควันละไม่ถึง 10 ราย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เป็นผู้บริจาคหมายเลข 1 ต่อมาในปี พ.ศ.2498 จึงได้เริ่มออกรับบริจาคโลหิตภายนอกสถานที่ โดยได้รับบริจาครถยนต์จากสมาคมเซ็นต์แอนดรูแห่งกรุงเทพฯ

ในปี พ.ศ.2506 รัฐบาลฝรั่งเศส ได้แสดงความสนใจ ที่จะช่วยเหลืองานบริการโลหิตใน ประเทศไทย และเสนอให้ความช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อ จัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และรัฐบาลไทย ได้มอบหมายให้สภากาชาดไทยรับไปดำเนินการ ที่ประชุมกรรมการสภากาชาดไทย มีมติอนุมัติให้แยกแผนกบริการโลหิตออกจากกองวิทยาศาสตร์ ตั้งเป็นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และแต่งตั้งนายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ เป็นผู้อำนวยการท่านแรก ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

ปี พ.ศ.2511 รัฐบาลได้จัดตั้งงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พร้อม เครื่องเรือน เมื่ออาคารแล้วเสร็จ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2512 ซึ่งอาคารดังกล่าวยังคงใช้ เป็นที่ทำการจวบจนปัจจุบัน 

วัตถุประสงค์ :

รับบริจาคโลหิต เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ประสบอุบัติเหตุและเก็บสำรองไว้ใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ

กิจกรรมมูลนิธิ :

งานบริการโลหิตเป็นงานสาธารณสุขงานหนึ่ง ที่มีบบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนมาตลอด นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับผิดชอบงานด้านบริการโลหิตทั้งหมดของประเทศ 

โดยมีหน้าที่ในการจัดหาโลหิตจากผู้บริจาคซึ่งไม่หวังผลตอบแทน เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ

เพื่อให้การดำเนินงานบริการโลหิตเป็นไปในระบบแบบแผนที่มีมาตรฐานเดียวกันและทัดเทียมกันทั่วประเทศ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้มีนโยบายจัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ กระจายไปตามภูมิภาค จำนวน 12 ภาค เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการจัดหาโลหิตตรวจคัดกรอง คุณภาพโลหิต เก็บ และจ่ายโลหิต ส่วนประกอบของโลหิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโลหิต โดยใช้ขั้นตอนและวิธีการเดียวกันกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติทุกประการ

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข

curve