โครงการ โรงงานทำแขนขาเทียมและฝึกอาชีพขึ้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สถานที่ตั้ง

จังหวัด กรุงเทพมหานคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

ประวัติของหน่วยแขนขาเทียม และศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทาน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 

ความเป็นมา

          ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๐ ได้มีการส่งหน่วยทหารหาญของชาติ มีชื่อว่า "จงอางศึก" ไปรบในสมรภูมิเวียดนาม ผู้บาดเจ็บจากภารกิจนี้ได้ถูกส่งกลับมารักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๖ มกราคม  ๒๕๑๐ ระหว่างที่ได้พักและรับการรักษาอยู่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมทหารเหล่านั้น และได้ทรงปรารภกับเจ้ากรมแพทย์ทหารบกสมัยนั้น (พลโท สมุทร ชาตินันท์)   ถึงความห่วงใยต่อทหารที่บาดเจ็บถึงพิการ ทุพพลภาพ และได้พระราชทานแนวทางในการให้ความช่วยเหลือไว้ดังนี้
          ๑. ควรจะสนับสนุนในด้านจิตใจ ให้มีความรู้สึกว่า ความพิการมิได้ทำให้คนไร้ประโยชน์ถูกเหยียดหยามจากสังคมว่าเป็นคนพิการจนไม่อยากคิดต่อสู้กับชีวิตต่อไป
          ๒. เมื่อได้รับการรักษาพยาบาลแล้ว ให้ได้รับความช่วยเหลือเรื่องอวัยวะแขนขาเทียมโดยเร็ว
          ๓. ทรงห่วงใยเรื่องที่พักระหว่างรับการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพและการใช้อวัยวะแขนขาเทียม
          ๔. ระหว่างฝึกหัดการใช้อวัยวะแขนขาเทียม และฟื้นฟูสมรรถภาพ ควรดูความถนัดและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อฝึกอาชีพต่อไป

เพื่อบำบัดรักษาดูแลทหารทุพพลภาพที่สูญเสียอวัยวะบางส่วน จากการรบในสมรภูมิเวียดนามและในประเทศ

ในตอนกลาง พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึกพิการ โดยมีสถานที่ตั้งศูนย์ฯ ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และมี พลตรีขุนประทุมโรคประหาร เป็นผู้อำนวยการคนแรก  เพื่อฝึกให้ทหารพิการพยายามปรับปรุงตนเองจนมีความสามารถเยี่ยงคนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมสืบไป และในปีต่อมาได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดตั้งโรงงานแขนขาเทียมพระราชทาน ต่อมาปรับปรุงเป็นแผนกแขนขาเทียม กองออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และสามารถดำเนินงานในเรื่องบริการอวัยวะแขนขาเทียมสำหรับทหารพิการสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : สารานุกรมสำหรับเยาวชน เล่มที่ 12

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข

curve