โครงการ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 8

สถานที่ตั้ง

ตำบล ลำพูน อำเภอ บ้านนาสาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

เรื่องเดิม

ในปี พ.ศ. 2531 ได้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฏร์ธานี อุทกภัยดังกล่าวมีผลทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนที่อยู่อาศัย เรือกสวนไร่นาของราษฎรซึ่งประมาณค่ามิได้และผลกระทบที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง คือ การเสียขวัญและสภาพจิตใจของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ดังนั้นศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของราษฎร์ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้มีพระราชดำริให้ดำเนินการโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ให้ครบวงจร โดยจัดที่อยู่อาศัยที่ทำกิน การส่งเสริมอาชีพทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดทั้งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสม รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ให้ดีขึ้น 

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2535 สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาวลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินยังโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อทรงปฏิบัติพระราชภารกิจโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ในการนี้ได้มีพระราชดำริกับนายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิงห์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ร.ต.เชาวน์ ปุรินทราภิบาล ป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี ให้จัดทำสวนนกและสวนกวาง เพื่อให้เป็นที่สำหรับนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม และเป็นที่ขยายพันธุ์สู่ธรรมชาติ

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2536 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และตรวจเยี่ยมราษฎร หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 8 และทรงมีพระราชดำริกับพล .อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ รอบประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สรุปใจความได้ว่า ให้ปรับปรุงสถานที่ และก่อสร้างอาคารเพื่อสนับสนุนแผนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทรงมีพระราชดำริกับนายสมพล พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการ 4 และเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญได้ว่า ให้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ให้เป็นสถานที่ที่จะดึงดูดเยาวชนและประชาชนเข้ามาศึกษาธรรมชาติ และฟื้นฟูอนุรักษ์สภาวะสิ่งแวดล้อม โดยจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมชาติและตั้งค่ายพักแรม

ผลการดำเนินงาน

คอกสัตว์ป่า รั้วตาข่าย ความยาว 1,000 เมตร

- ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในเขตพื้นที่โครงการ เนื้อที่ประมาณ 910 ไร่

- ก่อสร้างศาลาแปดเหลี่ยม  เพื่อใช้เป็นอาคารศาลาเอกนกประสงค์

- ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ช่วยขยายพันธุ์สัตว์ป่า (กวาง,นกต่างๆ) ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสามารถทดแทน สัตว์ป่าในธรรมชาติที่ถูกล่าจนเหลือน้อยในปัจจุบัน
2. มีอาคารสำหรับการฝึกอบรม การสัมมนา การประชุม การจัดนิทรรศการ และแสดงผลงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในเขตพื้นที่โครงการ
3. อำนวยความสะดวกกับผู้เข้าไปศึกษาธรรมชาติ ตลอดทั้งประกอบกิจกรรมเข้าค่ายพักแรม ทัศนศึกษา ภายในพื้นที่โครงการ

4. นำพลังงานไฟฟ้าไปสูบน้ำเพื่อใช้ในด้านการเกษตรและผลิตแสงสว่าง
5. มีไฟฟ้าใช้ในเขตพื้นที่โครงการ โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในการติดตั้งและเดินสายไฟ

6. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาธรรมชาติของสัตว์ป่า 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve