โครงการ พัฒนากลุ่มบึงบองออันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

จังหวัด ยะลา

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

พัฒนากลุ่มบึงบองอ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

พิกัด UTM E 741679  N 681965

แผนที่มาตราส่วน 1: 50,000

 

เรื่องเดิม

         ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ กร.0007.4/1355 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2530 ข้อให้กรมชลประทานพิจารณากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนปรับปรุงบึงในเขตตำบลบันนังสาเรง จำนวน 19 บึง เพื่อช่วยเหลือราษฎร หมู่ที่ 3,4,5 และ 5 ตำบลบันนังสาเรง ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร

         ตามที่เกิดภาวะฝนตกติดต่อกันหลายวันในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 17-26 ธันวาคม 2550 เกิดน้ำท่วมที่ไหลล้นจากแม่น้ำปัตตานีร่วมกับน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบือยอ จึงทำให้ราษฎรในเขตตำบลบันนังสาเรงได้รับความเดือดร้อนทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเดิมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรงได้มีหนังสือฎีกาที่เสนอสำนักราชเลขาธิการตามข้างต้น โดยสำนักชลประทานที่ 17 ได้พิจารณาโครงการเบื้องต้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยได้จัดทำรายงานโครงการจัดหาน้ำให้ราษฎรตำบลบันนังสาเรง ตามทะเบียนรายงาน สปช.17-กพค..001/51 ซึ้งได้พัฒนากลุ่มพัฒนาบึงบองอเป็นโครงการเร่งด่วนและเสนอขอรับการสนับสนนงบประมาณจากสำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แล้วนั้น

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

      - เพื่อฟื้นฟูลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเชินและป้องกันการบุกรุกลำน้ำสาธารณะ

      - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเก็บกักน้ำของลำน้ำในช่วงฤดูแล้ง

      - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

      - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร

 

การพิจารณาโครงการ

          จากการพิจารณาตรวจสอบสภาพพื้นที่โครงการเบื้องต้นประกอบกับแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด L 7018 ระวาง 5221 IV-5221 I ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เช่น สภาพการใช้พื้นที่วัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เห็นสมควรพัฒนาบึงเป็นพื้นที่รับน้ำที่มีความสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้เพียงพอตลอดปี โดยมีจำนวนบึงทั้งหมด 19 บึง โดยสามารถแบ่งกลุ่มบึงเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้คือ

           กลุ่มที่ 1 บึงยันนังรายอ (หมู่ที่ 4-5) ซึ่งประกอบด้วยบึงบันนังรายอ บึงกือจา บึงบาแจกอแปะ ซึ่งปัจจุบันมีความตื้นเขิน เก็บกักน้ำได้น้อย พื้นที่รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพด,ยางพารา,มังคุด มีพื้นที่บีงรวมประมาณ 30.40 ไร่ ปริมาณเก็บกักรวม ประมาณ 97,200 ลบ.ม.

           กลุ่มที่ 2 กลุ่มบึงบองอ (หมู่ที่ 3-4) ซึ่งประกอบด้วย บึงจาแว บึงแง บึงตาราแด๊ะ บึงบองอ บึงกือนางอ บึงโต๊ะกาโบ โดยปี 2538 กรมชลประทานได้ชุดลอกหนองน้ำบึงตาราแด๊ะ ซึ่งบึงในกลุ่มปัจจุบันมีความตื้นเขินบางแห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่การเกษตรและชุมชน ลงทุนน้อย รับน้ำจากพื้นที่รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ไม้ผล เช่น ทุเรียน,ยางพารา,ลองกอง,มะนาว มีพื้นที่บึงรวม ประมาณ 44.60 ไร่ ปริมาณเก็บกักรวมประมาณ 138,400 ลบ.ม.(โดยได้เสนอขอรับเป็นโครงการพระราชดำริแล้ว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2550)

           กลุ่มรา 3 กลุ่มบึงตวายุ (หมู่ที่ 3 ) ซึ่งประกอบไปด้วย บึงตวายุ บึงอุเซ็ง บึงโต๊ะแลเบาะ ซึ่งปัจจุบันมีความตื้นเขินบางแห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ พื้นที่รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพืชไร ไม้ผล เช่น ทุเรียน,ยางพารา,ลองกอง มีพื้นที่บึงรวมประมาณ 11.9 ไร่ ปริมาณเก็บกักรวมประมาณ 33,000 ลบ.ม.

            กลุ่มที่ 4 กลุ่มบึงเปาะยามา (หมู่ที่ 6) ซึ่งประกอบด้วย บึงลือแป บึงธาเน๊าะ บึงปาดีอัย บึงเปาะยามา บึงปายัง ซึ่งปัจจุยันมีความตื้นเชินบางแห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้มากที่สุด ลงทุนสูงสุด พื้นที่รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ไม้ผล เช่น ทุเรียน,ยางพารา,ลองกอง มีพื้นที่บึงรวมประมาณ 60 ไร่ ปริมาณเก็บกัก รวมประมาณ 205,550 ลบ.ม.

          จากแนวทางการพิจารณาที่มีความเหมาะสมเห็นควรดำเนินการเร่งด่วนคือแนวทางการพัฒนาบึง กลุ่มที่ 4 กลุ่มบึงเปาะยามา โดยพัฒนาความสามารถในการเก็บกักน้ำ โดยการขุดลอกบึงเดิมที่สามารถเก็บกักได้ประมาณ 205ลม550 ลบ.ม. เพิ่มเป็น 276,000 ลบ.ม. และการผันน้ำจากแม่น้ำปัตตานีในช่วงหน้าแล้ง โดยการขุดคลองเพื่อมต่อระหว่างบึงในกลุ่มบึงบองอสามารถเพิ่มพื้นที่การเกษตรให้มีน้ำเพียงพอตลอดปีและยังบรรเท่าอุทกภัยในหน้าฝน ส่วนในช่วงฤดูแล้งจะมีปริมาณน้ำน้อยแต่ยังคงมีสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม เป็นช่วงที่มีน้ำหลาก และช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่มีน้ำน้อย โดยในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำน้อยที่สุด

             ในส่วนของปริมาณแหล่งน้ำต้นทุนที่ไหลมาจากเขาบือยอเข้าบึงเปาะยามามีปริมาณน้ำท่า 5.349 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี มีปริมาณมากในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-ธันวาคม) ส่วนฤดูแล้ง (มกราคม-เมษายน) เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำน้อยที่สุดประมาณ 103 ลูกบาศก์เมตร จำเป็นต้องรับน้ำจากการผันน้ำจากแม่น้ำปัตตานี

 

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            7.1 สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่โครงการ ประมาณ 700 ไร่

            7.2 ทำให้ราษฎรมีผลผลิตรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้น มีอาชีพและที่ทำกินที่สมบูรณ์

            7.3 เพื่อการอนุรักษ์และรักษาสภาพต้นน้ำลำธารธรรมชาติให้เกิดความชุ่มชื่อแก่พื้นดินและป่าไม้

           7.4 สามารถป้องกันการทำลายป่าไม้ เนื่องจากราษฎรได้ใช้พื้นที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง

 

ราคาค่าก่อสร้างโดยประมาณ

          ราคาค่าก่อสร้างโดยประมาณของโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาภัยแล้งบ้านเปาะยามาแยกออกตามกิจกรรมย่อยต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

           - งานเตรียมงานเพื่อการก่อสร้าง               0.50                ล้านบาท

           - กิจกรรมขุดลอกคลองและสร้างทำนบดิน   4.50               ล้านบาท

           - กินกรรมอาคารบังคับน้ำ                        2.00               ล้านบาท

           -กิจกรรมคลองส่งน้ำเขื่อมต่อระหว่างบึง       1.50               ล้านบาท

          - ค่าดำเนินการและอำนวยการ                     0.50             ล้านบาท

         รวมราคาก่อสร้างโดยประมาณ                      9.00              ล้านบาท

 

ขอบเขตการสำรวจ

            เพื่อให้มีรายละเอียดเพียงพอ ที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาออกแบบโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาภัยแล้งบ้านเปาะยามา ผลสำรวจที่นำมาใช้พิจารณามีขอบเขตการสำรวจ ดังนี้

           - สำรวจ Site Plan บริเวณหัวงานขนาด 200*200 เมตร ให้สำรวจแสดงเส้นชั้นความสูงชั้นละ 1.00 เมตร และเขียนเป็นแผนที่สำรวจภูมิประเทศมาตราส่วน 1:500

          - สำรวจรูปตัดขุดลอกบึง ยาวประมาณ 1,800 เมตร กว้างประมาณ 40-60 เมตร

            การสำรวจแผนที่ต่างๆให้เก็บรายละเอียดภูมิประเทศให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำหนดให้ใช้ระดับอ้างอิงกับระดับน้ำทะเลปานกลาง และให้ครอบคลุมตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในแผนที่ที่แนบให้ ขอบเขตหมู่บ้าน แนวลำน้ำ แนวถนน สะพาน เหมืองฝาย พื้นที่นา ไร่ สวน เป็นต้น

หมายเหตุ

       - ผู้ที่สามารถติดต่อประสานงานได้ดี คือ นายอับดุลรอนิง ต๊ะยอ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรง

        - ข้อมูลที่ใช้พิจารณาประกอบในการจัดทำรายงานการศึกษา ได้จากการตรวจสอบสภาพภูมิประเทศจริงในพื้นที่โครงการ ประกอบกับการพิจารณาแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหารและข้อมูลที่ได้รับจากการสอบถามราษฎรในพื้นที่

 

                                   

พัฒนากลุ่มบึงบองอ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve