โครงการ ฝายกาเยาะมาตี

สถานที่ตั้ง

ตำบล กาเยาะมาตี อำเภอ บาเจาะ จังหวัด นราธิวาส

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการฝายกาเยาะมาตี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

บ้านยะลูตง  หมู่ที่ 2  ตำบลกาเยาะมาตี  อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

 

 

เรื่องเดิม

            เนื่องด้วยวันที่  27   สิงหาคม  2520  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการระบายน้ำยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และ โครงการระบายน้ำไม้แก่น กิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ในเขตโครงการระบายน้ำบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้

          "ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลำน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาบูโดด้านทะเลและก่อสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่นาบริเวณเชิงเทือกเขาบูโดจนจดขอบพรุบาเจาะ ตามความเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับโครงการระบายน้ำพรุบาเจาะทำให้สามารถส่งน้ำ  ระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่นาตั้งแต่บริเวณเชิงเทือกเขาบูโดจนจดพรุบาเจาะได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่างเก็บน้ำห้วยหินอาบ ที่หมู่บ้านยะลูตง อำเภอบาเจาะทำเลที่สร้างอ่างเก็บน้ำมีความเหมาะสมมากสมควรพิจารณาวางโครงการเป็นอันดับแรกโดยเร่งด่วน เนื่องจากราษฎรได้สร้างระบบเก็บน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำไว้แล้ว แต่ปัจจุบันฝายทดน้ำของราษฎรชำรุด ควรพิจารณาปรับปรุงฝายแห่งนี้พร้อมทั้งสร้างอาคารบังคับน้ำปากคลองส่งน้ำให้ถาวรต่อไป "

          เมื่อวันที่  6  ตุลาคม  2530  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการฝายทดน้ำบ้านปาแดกือแย  ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ  จังหวัดนราธิวาส  ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้ " ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างฝายทดน้ำกาเยาะมาตี ที่บริเวณบ้านกาเยาะมาตี  ตำบลกาเยาะมาตี  อำเภอบาเจาะ  จังหวัดนราธิวาส  เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรบ้านกาเยาะมาตีและบ้านใกล้เคียงให้มีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี "            

วัตถุประสงค์ของโครงการ 

  • อุปโภค-บริโภค 1 หมู่บ้าน 240 ครัวเรือน
  • การเกษตร 400 ไร่

การใช้ประโยชน์จากโครงการในปัจจุบัน

  • อุปโภค - บริโภค 1 หมู่บ้าน 240 ครัวเรือน
  • การเกษตร 400 ไร่

ลักษณะโครงการ

  • ข้อมูลอุทกวิทยา
  • พื้นที่รับน้ำเหนือฝาย 6.0 ตารางกิโลเมตร

 ก่อสร้างปี  2532 งบประมาณ   1,921,000   บาท

  • อาคารบังคับน้ำปากคลองส่งน้ำฝั่งซ้ายขนาด 2 -ø 0.50 ม. จำนวน 2 แถว ยาว 6.00 เมตร
  • คูส่งน้ำสายที่ 1 ขนาดปากคูกว้าง 0.50 เมตร สูง 1.00 เมตร จำนวน 1 แห่ง ยาว 480 เมตร
  • คูส่งน้ำสายที่ 2 ขนาดปากคูกว้าง 0.50 เมตร สูง 0.70 เมตร จำนวน 1 แห่ง ยาว 600 เมตร

การบริหารจัดการน้ำ

  • ได้ดำเนินการประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2532

 

 

nsra11

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve