โครงการ การปรับปรุงระบบระบายน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น

สถานที่ตั้ง

ตำบล โคกเคียน อำเภอ เมืองนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพรุบาเจาะ – ไม้แก่น อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดนราธิวาส – จังหวัดปัตตานี

*******************************

 

  1. ความเป็นมา

ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อ พ.ศ.2517 เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่า พื้นที่บริเวณพรุบาเจาะเป็นหนองน้ำ (พรุ) ไร้ประโยชน์ และราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณขอบพรุ ในเขตอำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และกิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ประสบปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำป่าจากภูเขาไหลลงสู่พรุ และท่วมล้นเอ่อไร่นาบริเวณขอบพรุได้รับความเสียหายปีละประมาณ 60,000 ไร่เป็นประจำทุกปี จึงได้พระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทานให้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว ต่อมาใน พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ หมู่บ้านลูโบ๊ะดาโต๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทาน พระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทานเพิ่มเติมว่า นอกจากระบบน้ำโดยคลองระบายน้ำของโครงการพรุบาเจาะแล้ว สำหรับพื้นที่ขอบพรุด้านกิ่งอำเภอไม้แก่น ซึ่งมีลำธารธรรมชาติไหลลงสู่ทะเลทางลำน้ำกอตออีกทางหนึ่ง หากทำการขุดลอกคลองธรรมชาติและขุดลอกคลองระบายน้ำเพิ่มเติมตามความจำเป็นพร้อมทั้งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อการระบายน้ำในฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งก็จะช่วยพื้นที่นาในเขตกิ่งอำเภอไม้แก่น ได้อีกไม่น้อยกว่า 30,000 ไร่ จึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่นาในบริเวณเหล่านี้ด้วย หลังจากนั้นได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานด้านการชลประทานของโครงการพรุบาเจาะ – ไม้แก่นอีกหลายครั้ง

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อระบายน้ำออกจากพรุลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้น อันเป็นการบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้แก่พื้นที่ตามบริเวณขอบพรุในช่วงฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่ใหม่ซึ่งบุกเบิกแล้วนำมาใช้เพาะปลูกได้ และให้มีการปรับปรุงพื้นที่เหล่านั้นแล้วจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินและทำประโยชน์โดย จัดตั้งเป็นรูปสหกรณ์ต่อไป

  1. สภาพพื้นที่ทั่วไปของพรุบาเจาะ

พรุบาเจาะมีเนื้อที่รวมประมาณ 90,000 ไร่ สภาพโดยทั่วไปของพรุบาเจาะเป็นที่ราบลุ่มทีน้ำท่วมขัง มีป่าพรุอยู่จำนวนมาก มีสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันหลายลักษณะ เช่น เป็นหาดทราย และสันทรายที่ราบลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีพืชพรรณขึ้นปกคลุมเบียดเสียดกันหนาแน่น (ส่วนใหญ่ได้แก่ ต้นเสม็ด) ที่ต่ำราบเรียบ (ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการทำนา) ที่ดอน และภูเขาลักษณะดินเป็นดินพรุมีน้ำท่วมขัง พรุบาเจาะ ประกอบรวมด้วยพรุย่อยจำนวน 3 แห่ง ซึ่งมีลักษณะขอบเขตและสภาพพื้นที่แบ่งได้ คือ

พรุแห่งที่ 1 อยู่ด้านตะวันตกของพรุบาเจาะ ในเขตท้องที่อำเภอบาเจาะ ในเขตท้องที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ลักษณะความลาดเทไปยังทิศเหนือด้านอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

พรุแห่งที่ 2 อยู่ด้านตะวันออกของพรุบาเจาะในเขตท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอ่000 ก็บกักน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน งปลากระพงในกระชังบริเวณบ้านละเวง และบ้านปาตาตีมอ

บปรุง โครงการ แ ปรี้บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ลักษณะความลาดเทของพื้นที่พรุ แบ่งได้ 2 ส่วน

2.1 ส่วนที่ 1 ลักษณะพื้นที่ลาดเทจากทางทิศใต้จากอำเภอเมือง ไปยังทิศใต้จากอำเภอเมือง ไปยังทิศเหนือด้านอำเภอบาเจาะ

2.2 ส่วนที่ 2 ลักษณะพื้นที่ลาดเทจากทิศตะวันออกของเขางูเหลือม ไปยังบ้านทุ่งกง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

พรุแห่งที่ 3 อยู่ด้านใต้ของพรุบาเจาะในเขตท้องที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ลักษณะพื้นที่ลาดจากตำบลลูโบ๊ะบือซา อำเภอยี่งอ ย้อนมายังทิศใต้ของขอบพรุบริเวณบ้านทุ่งคา

  1. สภาพลุ่มน้ำ

พรุบาเจาะประกอบด้วยลำน้ำสายสาขาต่างๆ คือคลองบาเจาะ คลองซากู คลองลูโบ๊ะกายอ คลองทุ่งวอ คลองบือว๊ะ คลองขุดและคลองละหาร ลักษณะความลาดเทของพื้นที่โดยลำน้ำสายสาขาต่างจะมีความลาดเทจากทิศตะวันออกและทิศเหนือสภาพระดับน้ำในพรุ ในอดีตก่อนการมีการพัฒนาพื้นที่พรุจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของน้ำฝนและน้ำทะเลทางด้านบ้านตะโล๊ะแลแวง บริเวณอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ต่อมาได้มีพระราชทานดำริให้กรมชลประทานดำเนินการขุดคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่พร้อมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำประตูระบายน้ำไม้แก่น เพื่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการชลประทาน การระบายน้ำ การป้องกันน้ำเค็มและการควบคุมรักษาระดับน้ำใต้ดินในพรุให้สมบูรณ์ขึ้น

  1. สภาพปัญหาพื้นที่โครงการพรุบาเจาะ – ไม้แก่น

โครงการระบายน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น คลอบคลุมพื้นที่ 94,000 ไร่ มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 376.10 ตร.กม. ปัญหาหลักของโครงการ แบ่งได้  4 ข้อใหญ่ๆ คือ

  1. น้ำท่วม จากลักษณะสภาพื้นที่โดยทั่วไปของโครงการฯ ในช่วงฤดูฝนน้ำจะไหลบ่าภูเขาจากทางด้านทิศตะวันตกของขอบพรุเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่พรุประจำทุกปี โดยที่การระบายน้ำออกจากโครงการ เป็นไปด้วยความลำบาก และไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากคลองระบายน้ำและอาคารควบคุม มีจำนวนไม่เพียงพอ การระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการฯแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
    1. ส่วนที่ 1 ระบายน้ำป่าและน้ำฝน จากภูเขาทางด้านทิศตะวันตกของขอบพรุ ลงสู่คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 2 บางส่วนไหลเข้าสู่คลองระบายน้ำสายที่ 3 และคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่จากนั้นไหลลงสู่ทะเล โดยผ่านประตูระบายน้ำบาเจาะ บางส่วนไหลลงสู่คลองระบายน้ำสายที่ 1 ไหลผ่านประตูระบายน้ำไม้แก่นแล้วไหลออกสู่ทะเลที่บ้านลาเวงและบ้านปาตาตีมอ
    2. ส่วนที่ 2  ระบายน้ำป่าและน้ำฝน จากภูเขาทางด้านทิศตะวันตกของขอบพรุ ลงสู่คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 1 ผ่านประตูระบายน้ำไม้แก่นแล้วไหลลงสู่ทะเลทางบ้านลาเวง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี และบางส่วนไหลผ่านบ้านปาตาตีมอลงสู่ทะเล
    3. ส่วนที่ 3 ระบายน้ำป่าและน้ำฝนจากภูเขาทางด้านทิศตะวันตกของขอบพรุ ลงสู่คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 1 ผ่านสู่คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ลงสู่ทะเล
  2. น้ำเปรี้ยว  ปัญหาน้ำเปรี้ยวเป็นปัญหาสำคัญของโครงการฯ เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นป่าพรุ น้ำที่ระบายผ่านคลองสายต่างๆ ในพื้นที่โครงการฯ จึงเปรี้ยวไปด้วย ปัจจุบันปัญหาเรื่องการระบายน้ำออกทางคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 1 ผ่านประตูระบายน้ำไม้แก่น เพื่อให้ไหลลงสู่ทะเลทางบ้านลาเวง และบ้านปาตาตีมอ จ.ปัตตานี มีปัญหาเนื่องจากน้ำพรุที่เป็นน้ำเปรี้ยวไหลผ่านบริเวณที่มีการเลี้ยงปลากะพงที่บ้านลาเวง และบ้านปาตาตีมอเป็นเหตุให้ปลาตายได้
  3. ดินเปรี้ยว ปัญหาดินเปรี้ยว ซึ่งเกิดจากในชั้นดินมีไพไรท์สูง ซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปในพื้นที่ โครงการฯ ปัจจุบันบางส่วนที่มีคลองระบายน้ำและอาคารควบคุมเข้าไปถึงพื้นที่ ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำทั้งใต้ดินและผิวดินได้ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างแร่ไพไรท์กับอากาศมีน้อยลง ดินเปรี้ยวในพื้นที่ส่วนนั้นจะลดความเป็นกรดลงได้มากทำให้ปัญหาดินเปรี้ยวลดน้อยลง แต่บางพื้นที่ยังไม่มีคลองระบายน้ำและมีอาคารควบคุมไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาดินเปรี้ยวโดยเฉพาะในฤดูแล้ง
  4. ไฟไหม้พรุ พื้นที่โครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นพรุ ซึ่งเกิดจากการทับถมของใบไม้และอินทรียวัตถุต่างๆ ฉะนั้นการเกิดไฟไหม้จึงเป็นไปได้ง่าย ปัจจุบันพื้นที่พรุบางส่วนที่มีคลองระบายน้ำ และอาคารควบคุมสามารถป้องกันไฟไหม้พรุได้ เนื่องจากสามารถรักษาระดับน้ำใต้ดินไว้ได้ แต่บางพื้นที่ยังไม่มีคลองระบายน้ำและอาคารควบคุมมีไม่เพียงพอ ทำให้การแพร่กระจายน้ำและการควบคุมรักษาระดับน้ำใต้ดินและผิวดินเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาไฟไหม้พรุในพื้นที่นั้นๆ ได้ง่าย

ปัจจุบันพื้นที่นขอบพรุทางตะวันตกของพรุบาเจาะบริเวณตำบลโบ๊ะบือซา ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ ตำบลลูโบะสาวอ และตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ ในฤดูฝนประสบปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่นาเป็นระยะเวลานาน ทำความเสียหายแก้พื้นที่นาบริเวณดังกล่าวเป็นประจำทุกปี เนื่องจากไม่มีคลองเพื่อช่วยในการระบายน้ำ ในฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร ส่วนบริเวณบ้านลูโบ๊ะดาโต๊ะ บ้านบาโง บ้านทุ่งคา และบ้านโคกมาแจ อำเภอยี่งอ ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ของพรุบาเจาะ ก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่ที่กล่าวมาข้างต้น

  1. การดำเนินงานสนองพระราชดำริ

        กรมชลประทานได้ดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ โดยเริ่มก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้

  1. คลองระบายน้ำ
    1. คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ สร้างเพื่อช่วยระบายน้ำบาเระในช่วงฤดูน้ำหลากในช่วงฤดูน้ำหลากให้ไหลออก สู่ทะเลได้สะดวก ขนาดก้นคลองกว้าง 12.00 ม. ลึก 2.66 ม. ลาดข้าง 1:3 ความยาวคลอง ประมาณ 5.600 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2517-2518 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 50 ลบ.ม./วินาที
    2. คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 1 ขุดลอกคลองและปรับปรุงคลองบาเระซึ่งเป็นคลองธรรมชาติจากปลายคลองพรุบาเจาะไปบรรจบกับคลองไม้แก่น ให้สามารถระบายน้ำจากบริเวณพรุและพื้นที่ลุ่ม ซึ่งถูกน้ำท่วมขังทำความเสียหายต่อการเพาะปลูกให้ไหลออกสู่ทะเลได้โดยเร็ว ขนาดก้นคลองกว้าง 6.00 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:3 ความยาวของคลองระบายน้ำบาเระ ประมาณ 13.250 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2520-2521 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 150 ลบ.ม./วินาที
    3. คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 2 สร้างต่อจากต้นคลองระบายน้ำบาเระแยกออกไปทางขอบพรุด้านทิศตะวันออก เพื่อช่วยระบายน้ำหลากลงสู่คลองระบายน้ำบาเระให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ขนาดก้นคลองกว้าง 4.00 ม. ลึก 2.60 ม. ลาดข้าง 1:3 ความยาวคลองประมาณ 12.00 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2554 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 24 ลบ.ม./วินาที
    4. คลองระบายน้ำสายที่ 3 สร้างต่อจากคลองระบายน้ำสายที่ 2 แยกออกไปลงคลองระบายน้ำบาเจาะ เพื่อช่วยระบายน้ำหลากสู่ทะเลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยระบายน้ำเปรี้ยวเพื่อไม่ให้ไหลลงในคลองระบายน้ำสายที่ 1 ขนาดก้นคลองกว้าง 20.00 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:3 ความยาวรวมประมาณ 6.78 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2538-2539 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 28.367 ลบ.ม./วินาที
    5. คลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายใหญ่ ขุดลอกคลองระบายน้ำ จำนวน 3 สาย จากบ้านป่าไหม้ไปบรรจบกับคลองระบายน้ำบาเจาะ ด้านฝั่งซ้ายของคลองเพื่อเก็บกักน้ำและระบายน้ำจากบริเวณพื้นที่พรุและพื้นที่ลุ่มบ้านป่าไหม้ซึ่งถูกน้ำท่วมขังทำความเสียหายต่อการเพาะปลูกให้ไหลลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว ขนาดก้นคลองกว้าง 1.00 ม. ลาดข้าง 1:2 ความยาวรวม 7.566 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2538 แต่ละสายสามรถระบายน้ำได้สูงสุด 0.804 ลบ.ม./วินาที
    6. คลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 2 สร้างเพื่อช่วยเก็บกักน้ำ และระบายน้ำในแปลงเพาะปลูกของสมาชิกในนิคมสหกรณ์บาเจาะ ขนาดก้นกว้าง 1.50 ม. ลาดข้าง 1:1.5 จำนวน    6 สาย ความยาวรวม 7.345 กม. และคูระบายน้ำขนาดก้นคลองกว้าง 0.50 ม. ลึก 0.30 ม. ลาดข้าง 1:1 จำนวน 1 สาย ความยาว 1.551 กม. ก่อสร้างปี 2529 และขนาดก้นกว้าง 3.00 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:1:5 จำนวน 6 สาย ความยาวรวม 6.766 กม. ก่อสร้างปี 2541
    7. คลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3 สร้างเพื่อช่วยเก็บกักน้ำ และระบายน้ำบริเวณบ้านพรุบาเจาะ ขนาดก้นกว้าง 1.00 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:2 จำนวน 1 สาย ความยาวรวม 4.292 กม.   ขนาดก้นกว้าง   2.00 ม.  ลาดข้าง 1:2 จำนวน 1 สาย ความยาว 2.770 กม. และขนาดก้นกว้าง 4.00 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:2 จำนวน 1 สาย ความยาว 1.030 กม. ก่อสร้างปี 2544
    8. คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 4 สร้างตามแนวขอบพรุบาเจาะเพื่อช่วยเร่งระบายน้ำหลากจากพื้นที่พรุบาเจาะและบ้านบาโงลงสู่คลองระบายน้ำบาเระให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ขนาดก้นคลองกว้าง 2.50 ม. ลึก 2.00 ม. ลาดข้าง 1:2 ความยาวคลองประมาณ 13.345 กิโลเมตร ก่อสร้างปี 2551-2554 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 5.661 ลบ.ม./วินาที
    9. คลองระบายน้ำบ้านบาโง สร้างเพื่อช่วยเก็บกักน้ำและระบายน้ำบริเวณบ้านบาโงขนาดก้นกว้าง 2.00 ม.ลึก 1.50 ม. ลาดข้าง 1:2 จำนวน 1 สาย ความยาวรวม 2.40 กม. สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 6.072 ลบ.ม./วินาที และขนาดก้นกว้าง 2.00-5.00 ม.ลึก 1.50 ม. ลาดข้าง 1:2 จำนวน 1 สาย ความยาวรวม 2.40 กม. ก่อสร้างปี 2545 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 11.911 ลบ.ม./วินาที
  2. อาคารบังคับน้ำ
    1. ประตูระบายน้ำไม้แก่น ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดช่องระบายน้ำกว้าง 6 เมตร จำนวน 4 ช่อง และติดตั้งบานประตูแบบโค้ง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 0+000 ของคลองระบายน้ำบาเระ (คลองระบายน้ำสายที่ 1) ซึ่งเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของโครงการเพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะระบายออกสู่คลองไม้แก่นและทะเล และป้องกันน้ำเค็มไมให้ไหลเข้าไปในเขตโครงการ ก่อสร้างปี 2525 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 150 ลบ.ม./วินาที
    2. ประตูระบายน้ำกลางคลองบาเระ  ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดช่องระบายน้ำกว้าง 6.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบโครงสร้างที่กลางคลองบาเระ ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 7+750 เพื่อยกระดับด้านหน้าประตูน้ำให้มีระดับสูงขึ้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันปัญหาดินเปรี้ยว ก่อสร้างปี 2530-2531 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 150 ลบ.ม./วินาที
    3. ท่อระบายน้ำบาเระ ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อเหลี่ยม ขนาด 2.00x2.00 เมตร และติดตั้งบานระบายแบบเลื่อนตรง สร้างที่ปลายคลองธรรมชาติบริเวณที่เชื่อมต่อกับปลายคลองระบายน้ำบาเระ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ระบายออก สู่คลองไม้แก่นและป้องกันน้ำเค็มไม่ให้ไหลเข้าไปในเขตโครงการก่อสร้างปี 2525 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 10 ลบ.ม./วินาที
    4. ประตูระบายน้ำปากคลองบาเจาะ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดช่องระบายน้ำ กว้าง 4.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบตรงและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาดกำลังสูบ 0.25 ลบ.ม./ต่อวินาที (ช่วยสูบน้ำเสริมในขณะที่ระดับน้ำในคลองลดลง) สร้างที่คันคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ บริเวณกิโลเมตรที่ 5+145 เพื่อควบคุมระดับน้ำในคลองระบายน้ำบาเจาะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมรวมถึงระดับน้ำใต้ดินบริเวณสองฝั่งคลองระบายน้ำบาเจาะ ป้องกันปัญหาดินเปรี้ยวและเพื่อการอุปโภค – บริโภค ในบริเวณกรมทหารราบที่ 5 รักษาพระองค์ค่ายจุฬาภรณ์อีกด้วย ก่อสร้างปี 2531 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 50 ลบ.ม./วินาที
    5. ประตูระบายน้ำปลายคลองบาเจาะ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดช่องระบายน้ำกว้าง 6.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง และติดตั้งบานประตูแบบโค้ง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 0+325 ของคลองระบายน้ำบาเจาะใกล้กับทะเล เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะระบายออกสู่ทะเลและป้องกันน้ำเค็มไม่ให้ไหลเข้าไปในโครงการก่อสร้างปี 2517 – 2518 สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 50 ลบ.ม./วินาที
    6. ท่อระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำสายที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด   2.00x2.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 2 บริเวณกิโลเมตรที่ 1+250 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่ของนิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2528
    7. ท่อระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำสายที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด 2.40x2.00 เมตร จำนวน 3 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 2 บริเวณกิโลเมตรที่ 6+695 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่นิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2538
    8. ท่อระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำสายที่ 3 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด 2.40x2.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 3 บริเวณกิโลเมตรที่ 0+000 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่นิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2538
    9. ท่อระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำสายที่ 3 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด 2.40x2.00 เมตร จำนวน 4 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 3 บริเวณกิโลเมตรที่ 4+660 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่นิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2538
    10. ท่อระบายน้ำปากคลองพรุบาเจาะสายที่ 3 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด 2.40x2.00 เมตร จำนวน 3 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 3 บริเวณกิโลเมตรที่ 6+700 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่นิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2545
    11. ท่อระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำสายที่ 4 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อขนาด 2.00x2.00 เมตร จำนวน 1 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำสาย 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 0+055 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่นิคมสหกรณ์พรุบาเจาะ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2551
    12. ท่อระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำบ้านบาโงสายที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อขนาด 2.50x1.50 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำบ้านบาโงสาย 2 บริเวณกิโลเมตรที่ 0+070 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่บ้านบาโง ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2545
    13. ท่อระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำบ้านบาโงสายที่ 1 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อขนาด 2.50x1.50 เมตร จำนวน 1 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรง สร้างที่คลองระบายน้ำบ้านบาโงสาย 1 บริเวณกิโลเมตรที่ 1+100 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำในบริเวณพื้นที่บ้านบาโง ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2545
    14. ท่อลอดคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะ ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด Ø 1.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงสร้างที่ต้นคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะ จำนวน 3 แห่ง พร้อมท่อลอดถนนขนาด Ø 1.00 ม. จำนวน 1 ช่อง 6 แห่ง เพื่อควบคุมการระบายน้ำ และการเก็บกักน้ำในบริเวณพรุ และพื้นที่ลุ่มบ้านป่าไม้ ให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสมก่อสร้างปี 2538
    15. ท่อลอดคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3   ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด Ø 0.80 เมตร จำนวน 1 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงสร้างที่ต้นคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 2 จำนวน 6 แห่ง ก่อสร้างปี 2529 และอาคารแบบท่อ ขนาด Ø 1.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงสร้างที่ต้นคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 2 จำนวน 6 แห่ง ก่อสร้างปี  2541
    16. อาคารบังคับน้ำปลายคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3   ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด Ø 1.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง และขนาด Ø 1.00 เมตร จำนวน 3 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงสร้างที่ต้นคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3 จำนวน 3 แห่ง ก่อสร้างปี 2544
    17. อาคารบังคับน้ำปากคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3/1 ลักษณะเป็นอาคารแบบท่อ ขนาด Ø 1.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ติดตั้งบานประตูแบบเลื่อนตรงสร้างที่ต้นคลองระบายน้ำสายซอยพรุบาเจาะสายที่ 3/1 จำนวน 1 แห่ง ก่อสร้างปี 2547
    18. อาคารรับน้ำป่า ลักษณะอาคารด้านฝั่งซ้ายเป็นเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หินเรียงยาแนวขนาดกว้าง 12 เมตร และท่อระบายน้ำด้านฝั่งขวา ขนาด 2 – Ø 1.00 เมตร ยาว 17.40 เมตร ของคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ ที่กิโลเมตร 5+040 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ เก็บกักน้ำในบริเวณขอบพรุทั้งสองฝั่งคลองระบายน้ำบาเจาะให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ก่อสร้างปี 2535
    19. อาคารรับน้ำป่า ลักษณะเป็นอาคารเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หินเรียงยาแนว ขนาดกว้าง 8 เมตร ด้านฝั่งซ้ายของคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ กิโลเมตรที่ 4+270 เพื่อควบคุมการระบายน้ำเก็บกักน้ำในบริเวณขอบพรุให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว  ก่อสร้างปี 2535
    20. อาคารรับน้ำป่า   ลักษณะเป็นอาคารเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หินเรียงยาแนว ขนาดกว้าง 16 เมตร ยาว 40 เมตร ของคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ ที่กิโลเมตรที่ 1+630 เพื่อควบคุมการระบายน้ำเก็บกักน้ำในบริเวณขอบพรุให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2521
    21. อาคารรับน้ำป่า   ลักษณะเป็นอาคารเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หินเรียงยาแนว ขนาดสันฝาย กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ของคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ ที่กิโลเมตรที่ 0+445 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ เก็บกักน้ำในบริเวณริมคลองระบายน้ำพรุบาเจาะให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2520
    22. อาคารรับน้ำป่า   ลักษณะเป็นอาคารเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หินเรียงยาแนว ขนาดสันฝาย กว้าง 15 เมตร ยาว 48 เมตร ของคลองระบายน้ำสายที่ 2 ที่กิโลเมตรที่ 1+437 เพื่อควบคุมการระบายน้ำ เก็บกักน้ำในบริเวณริมคลองระบายน้ำพรุบาเจาะให้อยู่ในระดับปริมาณที่เหมาะสม ก่อสร้างปี 2538
  3. สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
    1. สะพานข้ามคลองระบายน้ำสายที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง  7 เมตร ยาว 34  เมตร สร้างในคลองระบายน้ำสายที่ 2 กม.7+250 เพื่อเป็นทางสัญจรของสมาชิกนิคมสหกรณ์พรุบาเจาะและชาวบ้านใกล้เคียง ก่อสร้างปี 2524
    2. สะพานข้ามคลองระบายน้ำสายที่ 2 ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง  7 เมตร ยาว 45  เมตร สร้างในคลองระบายน้ำสายที่ 2  กม.1+500 เพื่อเป็นทางสัญจรของสมาชิกนิคมสหกรณ์พรุบาเจาะและชาวบ้านใกล้เคียง ก่อสร้างปี 2524
    3. สะพานข้ามคลองระบายน้ำพรุบาเจาะ จำนวน 3   แห่ง ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง  4 เมตร ยาว 38 เมตร ที่กิโลเมตรที่ 5+300,4+348 และ 1+400 เพื่อให้ราษฎรทั้งสองฝั่งสัญจรไปมาได้ และสามารถประกอบอาชีพร่วมกัน ก่อสร้างปี 2519
    4. สะพานข้ามคลองระบายน้ำบาเระ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 81 เมตร เพื่อเป็นทางสัญจรติดต่อระหว่างราษฎรหมู่ที่ 3 ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาสกับหมู่ที่ 1 ต.ไทรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี เพื่อให้ราษฎรทั้งสองฝั่งสามารถประกอบอาชีพร่วมกันได้ (งานปรับปรุงโครงการ ปี 2553)
  1. แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ

เนื่องจากปัจจุบันนิคมสหกรณ์บาเจาะจัดสรรพื้นที่พรุพัฒนาในเขตโครงการพรุบาเจาะ-ไม้แก่น ให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์พร้อมส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 40,000 ไร่ในเขตนิคมสหกรณ์บาเจาะและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ช่วงฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำต้นทุนสำหรับใช้เพื่อการเพาะปลูกและไฟไหม้พื้นที่พรุในฤดูแล้ง ทำให้สมาชิกนิคมสหกรณ์บาเจาะได้รับความเดือดร้อนผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประกอบกับการระบายน้ำผ่านทางประตูระบายน้ำไม้แก่นมีผลกระทบต่อกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณบ้านลาเวงและบ้านปาตาตีมอ จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามความเหมาะสมและความจำเป็นเร่งด่วน

  1. งานผันน้ำคลองยะกัง เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับใช้เพื่อการเกษตร รวมถึงป้องกัน บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว น้ำเปรี้ยวและไฟไหม้พื้นที่พรุในช่วงฤดูแล้งลักษณะงานประกอบด้วยงาน 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
    • งานขุดคลองผันน้ำ (ปรับปรุงคลองน้ำดำ) ขนาดก้นกว้าง 2.00 เมตร ลึก 1.65 ม.พร้อมอาคารประกอบ ความยาวรวม 4,530 เมตร ดำเนินการก่อสร้างในปี 2553
    • งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาดอัตราการสูบ 3 ลบ.ม./วินาทีและขุดคลองส่งน้ำขนาดก้นกว้าง 2.00 เมตร ลึก 1.65 ม.พร้อมอาคารประกอบ ความยาวรวม 5,470 เมตร แผนงานก่อสร้างปี 2555-56
  2. งานขยายคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่พรุโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมที่รองรับน้ำจากคลองบาเระ จำนวน 100 ลบ.ม./วินาที แต่ปัจจุบันโครงการฯ คลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายใหญ่ต้องรองรับน้ำจากคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 3 ที่รับน้ำจากคลองระบายน้ำสายที่ 2 เพิ่มเติมอีกจำนวน 25 ลบ.ม./วินาที ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานขยายประตูระบายน้ำปลายคลอง แผนงานก่อสร้างปี 2555
    • งานขุดขยายคลองระบายน้ำ ความยาว 2,800 เมตร แผนงานก่อสร้างปี 2556
    • งานก่อสร้างคันกั้นน้ำพร้อมอาคารประกอบ ความยาวรวม 5,600 เมตร แผนงานก่อสร้างปี 2556
  3. งานคลองระบายน้ำเปรี้ยวสายที่ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาความเสียหายของกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงบ้านลาเวงและบ้านปาตาตีตายที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบายน้ำในช่วงฤดูฝน อีกทั้งยังสามารถช่วยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานก่อสร้างประตูระบายน้ำน้ำเปรี้ยว แผนงานก่อสร้างปี 2556
    • งานขุดคลองระบายน้ำเปรี้ยวพร้อมอาคารประกอบ แผนงานก่อสร้างปี 2556-58
  4. งานคันคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 4 เพื่อป้องกันบรรเทาปัญหาน้ำล้นตลิ่งในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานก่อสร้างคันดินขนาดหลังคันกว้าง 4.00 เมตร ความยาว 13.345 กม.พร้อมสะพาน คสล. แผนงานก่อสร้างปี 2551-56
  5. งานเสริมคันคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 2 เพื่อป้องกันบรรเทาปัญหาน้ำล้นตลิ่งในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานก่อสร้างคันกั้นน้ำขนาดหลังคัน 4.00 เมตร ความยาวรวม 12,000 เมตร แผนงานก่อสร้างปี 2555-56
  6. งานเสริมคันคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสายที่ 3 เพื่อป้องกันบรรเทาปัญหาน้ำล้นตลิ่งในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานก่อสร้างคันกั้นน้ำขนาดหลังคัน 4.00 เมตร ความยาวรวม 6,780 เมตร แผนงานก่อสร้างปี 2555-56
  7. สะพานข้ามคลองระบายน้ำสายที่ 2 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรของสมาชิกนิคมสหกรณ์พรุบาเจาะและชาวบ้านใกล้เคียง ลักษณะงานประกอบด้วย
    • งานก่อสร้างสะพานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง  7 เมตร ยาว 45  เมตร สร้างในคลองระบายน้ำสายที่ 2  กม.1+-345 แผนงานก่อสร้างปี 2556
  1. ประโยชน์ที่ได้รับ
    1. เร่งระบายน้ำพื้นที่ 94,000 ไร่ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นภายในเขตโครงการได้
    2. เก็บกักน้ำไว้ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของสมาชิกนิคมสหกรณ์บาเจาะจำนวน 20,000 ไร่บรรเทาปัญหาการแพร่กระจายของดินเปรี้ยวและน้ำเปรี้ยว และบรรเทาปัญหาไฟไหม้พื้นที่พรุ
    3. บรรเทาปัญหาไม่ให้น้ำเปรี้ยวไหลไปทำความเสียหายกับ กลุ่มเลี้ยงปลากะพงในกระชังบริเวณบ้านละเวง และบ้านปาตาตีมอ จ.ปัตตานี
    4. เพื่อการอุปโภค–บริโภค ของกำลังพลกรมทหาราบที่ 5 รักษาพระองค์ค่ายจุฬาภรณ์

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve