โครงการ พัฒนาพื้นที่บ้านเนินธัมมังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จัดหาแหล่งน้ำ)

สถานที่ตั้ง

ตำบล แม่เจ้าอยู่หัว อำเภอ เชียรใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2536 คราวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มนํ้าคลองนํ้าจืด คลองแแแแอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งเค็จ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี และบ้านแแแแ ตำบลนํ้าบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ได้มีพระกระแสพระราชดำรัส สรุปความว่า...ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบแยกนํ้าสามารถออกจากกัน ได้แก่ การก่อสร้างระบบป้องกันนํ้าเปรี้ยวจากพรุที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกเป็นดินกรด ระบบป้องกันนํ้าเค็มบุกรุก และระบบส่งนํ้าจืดช่วยเหลือการเพาะปลูก และการอุปโภคบริโภคของราษฎรเนินธัมมัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรบ้านเนินธัมมัง ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการนี้ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ให้เร่งพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบป้องกันน้ำเปรี้ยวจากพรุเข้าพื้นที่ทำกินของราษฎร ระบบป้องกันน้ำเค็มบุกรุก และระบบส่งน้ำจืดช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานสนองพระราชดำริ  กปร.ได้สนับสนุนงบประมาณปี 2538 และ 2539 แก่กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำเปรี้ยวจากพรุ และป้องกันน้ำท่วมพื้นที่โครงการโดยใช้เครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จในปี 2540 มีรายละเอียดดังนี้ 1. หัวงานโครงการ ประกอบด้วยโรงสูบน้ำ และอาคารประกอบพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบ Submersible Pump สามารถสูบน้ำได้ในอัตรา 600 ลิตร/วินาที ขับเครื่องด้วยมอเตอร์ขนาด 165 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 25 KVA จำนวน 1 ชุด เพื่อสูบน้ำในพื้นที่ และสามารถสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม 2. ระบบส่งน้ำ ประกอบด้วย - ท่อส่งน้ำ HDPE ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 630 มิลลิเมตร จากโรงสูบน้ำไปยังอาคารกระจายน้ำ ความยาว 536 เมตร - อาคารกระจายน้ำ ขนาดกว้าง 3.60 เมตร ยาว 7.00 เมตร สูง 4.30 เมตร จำนวน 1 แห่ง - ท่อส่งน้ำจากอาคารกระจายน้ำไปยังพื้นที่ฝั่งซ้ายของโครงการ โดยใช้ท่อ HDPE ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 560 มิลลิเมตร ยาว 1,185 เมตร พร้อมอาคารจ่ายน้ำ จำนวน 3 แห่ง - ท่อส่งน้ำจากอาคารกระจายน้ำไปยังพื้นที่ฝั่งขวาของโครงการ โดยใช้ท่อ HDPE ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 900 มิลลิเมตร ยาว 2,080 เมตร พร้อมอาคารจ่ายน้ำ จำนวน 6 แห่ง 3. ระบบป้องกันน้ำท่วม ประกอบด้วยคันดินกั้นน้ำล้อมรอบพื้นที่โครงการ โดยใช้ถนน รพช. สาย นศ. 3087 เป็นคันกั้นน้ำด้านหนึ่ง และก่อสร้างคันดินใหม่ขนาดหลังคันกว้าง 3.00 เมตร สูง 2.50 เมตร ยาว 5,400 เมตร 4. ระบบระบายน้ำ ประกอบด้วย - คูระบายน้ำภายใน และภายนอกโครงการ กว้าง 1.00 เมตร ลึก 1.20 เมตร ความยาวรวม 9,720 เมตร - ท่อระบายน้ำลอดถนน รพช. และคันกั้นน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 ยาว 13.00 เมตร จำนวน 13 แห่ง ประโยชน์ของโครงการ พื้นที่จำนวน 1,900 ไร่ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันน้ำเปรี้ยว และน้ำท่วมพื้นที่ ทำให้มีพื้นที่ทำการเกษตรได้ตลอดปี การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ปัจจุบันโครงการพัฒนาพื้นที่บ้านเนินธัมมังฯ มีพื้นที่ 1,900 ไร่ อยู่ในคันกั้นน้ำที่ก่อสร้างขึ้น แบ่งพื้นที่การใช้ประโยชน์หลักเป็นสองส่วน ได้แก่พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 1,000 ไร่ และพื้นที่ทำนา ประมาณ 600 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก ประมาณ 300 ไร่ เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า การประกอบอาชีพทำนาตามโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเริ่มตั้งแต่ปี 2553 ถึงปีปัจจุบัน โดยกปร. สนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีเข้ามาดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการทำนา

ประโยชน์ที่ได้รับ

พื้นที่บ้านเนินธมมัง ประมาณ 1,900 ไร่ ได้รับการป้องกันน้ำเปรี้ยวจากพรุ และน้ำท่วมในฤดูฝน มีน้ำจืดในการทำการเกษตรตลอดปี ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 52 ราย พื้นที่ดำเนินการประมาณ 630 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปรังประมาณ 300 ไร่ และพื้นที่ทำนาปี ประมาณ 330 ไร่ ขุดลอกคลองเพื่อเก็บกักและระบายน้ำ คันกั้นน้ำพร้อมอาคารประกอบ

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve