โครงการ ฝายบ้านคลองคุ้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

อำเภอ ห้วยยอด จังหวัด ตรัง

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการฝายบ้านคลองคุ้ย 

หมูที่ 3 ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

      พิกัด 47 NNJ 752-545 ระวาง 4924 III ลำดับชุด L 7018

 

        

พระราชดำริ/เรื่องเดิม/ความเป็นมา

              สำนักราชเลขาธิการ  ได้มีหนังสือ  ที่ รล  0005.5/7775   ลงวันที่   4   พฤษภาคม  2549   และหนังสือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ กร 0007.4/ 1242 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 เรื่อง ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้มีหนังสือขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระมหากรุณา ในการก่อสร้างโครงการฝายทดน้ำบ้านคลองคุ้ย หมู่ที่ 3 ตำบลปากแจ่ม เพื่อช่วยเหลือราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน ซึ่งประสบความเดือนร้อนขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง  นั้น

              กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 15 ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพิจารณาโครงการ  ร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการชลประทานตรัง เข้าไปตรวจสอบสภาพภูมิประเทศเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในพื้นที่และพบผู้ร้องขอแล้ว พร้อมทั้งได้ศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ แล้วเห็นว่ามีแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนได้ โดยก่อสร้างฝายทดน้ำ ขนาดสันฝายยาวประมาณ 12.00 เมตร สูงประมาณ 2.00 เมตร พร้อมอาคารประกอบและก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ ยาวประมาณ 17.00 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างถังเก็บน้ำความจุ 70 ลบ.ม. จำนวน 6 แห่ง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตตำบลปากแจ่ม จำนวน 5 หมู่บ้าน ราษฎรทั้งหมด 775 ครัวเรือน ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านคลองคุ้ย  จำนวน 199 ครัวเรือน, หมู่ที่ 4 บ้านปากแจ่ม จำนวน 125 ครัวเรือน , หมู่ที่ 5 บ้านคลองคุ้ย จำนวน 197 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 บ้านท่ามะปราง จำนวน 118 ครัวเรือน และหมู่ที่ 7  บ้านใสมะนาว จำนวน 136 ครัวเรือน ให้มีน้ำใช้สำหรับอุปโภค – บริโภค และทำการเกษตรกรรม (สวนยางพารา 1,500 ไร่, ปลูกพักสวนครัว และสวนผลไม้ 200 ไร่) และใช้สำหรับปศุสัตว์ (วัว ควาย ประมาณ 500 ตัว)

 

ผลการดำเนินงาน

            ดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 แล้วเสร็จ 100%

           ปี พ.ศ. 2551 กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด สูง 2.50 เมตร ยาว 20.00 เมตร พร้อมอาคารประกอบ และท่อส่งน้ำ ความยาว 7,500 เมตร

ทั้งนี้ จะสามารถช่วยเหลือราษฎร จำนวน 2 หมู่บ้าน รวม 317  ครัวเรือน 1,264 คน ในพื้นที่ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้แก่ บ้านคลองคุ้ย หมู่ที่ 3 ประชากร 199 ครัวเรือน 783 และ บ้านท่ามะปราง หมู่ที่ 6 ประชากร 118 ครัวเรือน 481  คน ได้มีน้ำในการอุปโภคบริโภคได้เพียงพอ และสามารถมีน้ำสำหรับทำการเกษตร พื้นที่ประมาณ 340 ไร่ รวมทั้งน้ำเพื่อการปศุสัตว์

ปี 2552 กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำ 6,300 เมตรส หรับส่งน้ำเพิ่มเติมให้อีก 3 หมู่บ้านที่เหลือ นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำบ้านคลองคุ้ย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551เพื่อให้ราษฎรได้บริหารจัดการการใช้น้ำกันเองเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

              ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ จะเน้นการใช้น้ำในด้านการอุปโภค – บริโภคเป็นหลัก มีรายละเอียดดังนี้

              1. ทำให้ราษฎรในเขตตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 5 หมู่บ้าน ราษฎรจำนวน 775 ครัวเรือน ประมาณ 3,264 คน มีน้ำสำหรับอุปโภค – บริโภค และทำการเกษตรกรรม (สวนยางพารา 1,500 ไร่, ปลูกผักสวนครัวและสวนผลไม้ 200 ไร่) พื้นที่การเกษตรประมาณ 1,700 ไร่ ใช้สำหรับปศุสัตว์ (วัว, ควาย) ประมาณ 500 ตัว

              2. ทำให้ราษฎรในเขตตำบลปากแจ่ม จำนวน 5 หมู่บ้าน ราษฎรจำนวน 775 ครัวเรือน ประมาณ 3,264 คน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ปัญหาและอุปสรรค

แนวทางการแก้ไข

1.ด้านโครงสร้างทั่วไป

- น้ำมีสีขุ่น

- น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ

- น้ำมีสีขุ่น ทำให้มาตรวัดเสียบ่อย             

- ควรเพิ่มหัวงานอีก 1 แห่ง/บ่อพักน้ำขนาดใหญ่ (งบ 2,000 บาท)

- ติดตั้งตัวกรองหน้ามาตรวัดน้ำจำนวน 800 จุด (งบ 400,000 โดยแรงงานกลุ่ม)

2.ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการน้ำ

- กลุ่มยังมีกติกาความเข้มเเข็ง

 

 

- ตั้งกติกาให้เข้มแข็งขึ้น

3.ด้านการบริหารจัดการน้ำ

- ชาวบ้านยังไม่เข้าใจการใช้น้ำอย่างประหยัด

 

- สร้างความเข้าใจในการใช้น้ำอย่างประหยัด

 

 

 

 

 

 

 

โครงการฝายบ้านคลองคุ้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการ/แผนที่ 1 : 50,000

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve