โครงการ อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ท่างิ้ว อำเภอ ห้วยยอด จังหวัด ตรัง

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

 

เรื่องเดิม

   

พระราชดำริ/เรื่องเดิม/ความเป็นมา

 

                   ราษฎรตำบลท่างิ้ว ตำบลหนองช้างแล่น และตำบลห้วยนาง ได้มีหนังสือของพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ เมื่อวันที่ 25  กันยายน 2532  เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมและการอุปโภค – บริโภค  22  หมู่บ้าน  เนื้อที่เกษตรกรรมประมาณ  16,000 ไร่  สำนักราชเลขาธิการ จึงได้มีหนังสือที่ รล.005/13053  ลงวันที่ 30 กันยายน 2532 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นงาพระราชดำริ กรม ฯ ได้พิจารณาและมีหนังสือที่ กษ 0301/903  ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 ตอบราชเลขาธิการ ความว่าบริเวณที่ราษฎรร้องเรียนมีลู่ทางก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วสมควรนำความกราบบังคมทูลพระกรุณารับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งกรมฯ จะดำเนินการศึกษาขั้นรายละเอียด สำรวจ ออกแบบ และดำเนินการก่อสร้างตามความเหมาะสมโดยเร่งด่วนต่อไป ต่อมาสำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือที่ รล.0005/3231  ลงวันที่  2  มีนาคม  2533  แจ้งกรม ฯ ว่าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

 การดำเนินงาน

               ดำเนินการในปีงบประมาณ 2540  แล้วเสร็จ 100%

ผลการดำเนินงาน

        กรมชลประทาน ได้ดำเนินการศึกษา รายละเอียด สำรวจ และออกแบบโครงการ พร้อมทั้งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว และระบบส่งน้ำ รวมความยาวประมาณ 13.10 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์ ปี พ.ศ. 2543 โดยอ่างเก็บน้ำมีสันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 330 เมตร สูง 40 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 18.50 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

ปัญหาและอุปสรรค

แนวทางการแก้ไข

1.ด้านโครงสร้างทั่วไป 

- ไม่สามารถส่งน้ำได้ทุกพื้นที่

- ตะกอนดินทับถมหน้าอ่าง

- เส้นทางสันจรทางเข้าหัวงานไม่สะดวก

- คุณภาพน้ำไม่ดี

- ปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำสายที่ 4,5,6                            (งบ 19,500,000 บาท)

- ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ (งบ 5,000,000 บาท)

- ซ่อมแซมถนนลาดยางทางเข้าหัวงาน                        (งบ 5,000,000 บาท)

2.ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการน้ำ

- ยังไม่เข้าใจในการใช้น้ำ

 

- นัดประชุมชี้แจงการใช้น้ำอย่างมีระบบ

3.ด้านการบริหารจัดการน้ำ

- ไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน

 

- ร่างข้อบังคับการใช้น้ำของกลุ่มอย่างชัดเจน

4.เรื่องอื่นๆ

- ดูแลเรื่องการท่องเที่ยว

- แก้ไขความยากจน

- ไม่มีงานบริหารด้านร้านค้า

- สร้างอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงวัว

- เปิดร้านสวัสดิการ

 

23.jpg

15.jpg

ผลประโยชน์ของโครงการ/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

สามารถช่วยเหลือราษฎรในตำบลท่างิ้วมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งพื้นที่รับประโยชน์ 5,200 ไร่  ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 200 ครัวเรือน ให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

        1. อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีความจุ 18.50 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำโดยระบบท่อ ความยาวรวม 13.10 กิโลเมตร และส่งน้ำโดยลงสู่ตามลำน้ำเดิม (คลองธรรมชาติ) ความยาวรวม 27.00 กิโลเมตร โดยมีอาคารชลประทานขนาดเล็ก ตั้งอยู่เป็นช่วง ๆ ของลำน้ำ เพื่อบังคับน้ำแพร่กระจายเข้าสู่ แปลงเพาะปลูก

        2. อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถเก็บกักน้ำได้ปีละประมาณ 18.50 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังประโยชน์ให้แก่ราษฎรที่เคยเดือดร้อนอย่างมหาศาล ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอห้วยยอด เพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                1) ส่งน้ำเพื่อการเกษตร ครอบคลุม 5 ตำบล รวมประมาณ 60,853 ไร่ ทำให้พืชแต่ละชนิดมีผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 380 บาท ซึ่งแต่เดิมมีรายได้เพียงวันละประมาณ 200 บาทเท่านั้น

P1010009

             

2) ส่งน้ำให้ราษฎรทำฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 6 ฟาร์ม ฟาร์มละ 15,000 ตัว สามารถเลี้ยงและขายในแต่ละปีได้ 5 รุ่น คิดเป็นรายได้ประมาณ 4.5 ล้านบาท

 

                3) ส่งน้ำดิบให้แก่การประปาส่วนภูมิภาคสาขาห้วยยอดวันละ 6,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อผลิตน้ำประปาให้แก่ราษฎรประมาณ 5,191 ครัวเรือน และส่งน้ำสำหรับให้องค์การบริหารส่วนตำบล ทำน้ำประปาหมู่บ้านอีกวันละ 1,440 ลูกบาศก์เมตร เพื่อช่วยเหลือราษฎร 1,964 ครัวเรือน

                4) ส่งน้ำสนับสนุนการท่องเที่ยวในฤดูแล้งให้แก่ถ้ำเลเขากอบ สำหรับการพายเรือท่องเที่ยวในถ้ำ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบและราษฎรมีรายได้จากการท่องเที่ยวตลอดปี ตกปีละประมาณ 2.2 ล้านบาท

 

                5) มีการเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณอ่างเก็บเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี ขณะนี้มีถึง 30 กระชัง (กระชังละ 5x5 เมตร) ใน 1 ปี เลี้ยงและขายได้ 2 ครั้ง มีกำไรเฉลี่ย 15,000 บาทต่อกระชัง

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve