โครงการ สาธิตทฤษฎีใหม่บ้านแดนสามัคคี

สถานที่ตั้ง

ตำบล คุ้มเก่า อำเภอ เขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์

เรื่องเดิม

1. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยขุดสระกักเก็บน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ ในบริเวณพื้นที่ที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน 13 ไร่  3 งาน  อยู่ที่บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

2. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่โครงการดังกล่าว และได้มีพระราชกระแสให้ขยายผลการดำเนินงานของโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง

3. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน  2538  ได้พระราชทานพระราชดำริให้ ก่อสร้างขยายระบบส่งน้ำพร้อมทั้งพิจารณาขุดสระน้ำประจำไร่นาเพื่อรับน้ำจากระบบส่งน้ำดังกล่าวตามแนวทฤษฎีใหม่และให้พิจารณาผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ซึ่งอยู่ทางฟากจังหวัดมุกดาหารมาเติมให้แก่อ่างเก็บน้ำลำพะยังเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานได้มากขึ้นและให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับป่าไม้
4. ต่อมาระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2537 และวันที่ 13 พฤศจิกายน 2539 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดมหาสารคาม ได้พระราชทานพระราชดำริให้ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่

5. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน  พ.ศ.2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณายกระดับการกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังจากเดิม 3,500,000  ลูกบาศก์เมตร  ให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้นถึง 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อจะได้มีน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรให้มากขึ้น พร้อมทั้งให้รีบดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดกับป่าไม้ เพราะหากไม่ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นั้นราษฎรก็จะบุกรุกป่าและทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ จนหมดและน้ำที่ออกมากให้พิจารณาว่าจะนำไปช่วยพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ในการบำรุงรักษาป่าให้เกิดความชุ่มชื้นได้มากเพียงใด

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

1. ได้ดำเนินการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษีใหม่ ขนาดกว้าง 42 เมตร ยาว 90 เมตร ลึก 5.30 เมตร เก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร

2. การขยายผลการขุดสระเก็บกักน้ำ ได้ดำเนินการขุดสระเก็บกักน้ำในพื้นที่ราษฎรบ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สนใจและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ แสดงความจำนงจะขุดสระเก็บน้ำ โดยขุดสระเก็บกักน้ำ ขนาดประมาณ 1 ไร่ ลึก 4 เมตร เก็บกักน้ำได้แห่งละ 4,800 ลูกบาศก์เมตร โดยราษฎรยินดีออกสมทบค่าน้ำมันบางส่วนรายละ 5,000 บาท  และได้นำราษฎรทั้ง 35 รายไปศึกษา อบรม และดูงาน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ 

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎร จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านแดนสามัคคี หมู่บ้านกุดตอแก่น หมู่บ้านหนองสำราญ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 35 ครัวเรือน มีน้ำใช้สำหรับอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 495 ไร่

ได้ดำเนินการขุดสระเก็บกักน้ำ (ตามทฤษฎีใหม่) ให้แก่ เกษตรกรอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งหมด 35 บ่อ

บริเวณคันรอบสระน้ำ ซึ่งถมดินให้มีปริมาณกว้างสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล 

ผลการดำเนินงานปี 2539

งานขุดสระเก็บกักน้ำ จำนวน 50 บ่อ ขนาด 1 ไร่ กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 4 เมตร

ประโยชน์ของโครงการ

1. จะทำให้ราษฎร จำนวน 2 หมู่บ้าน จำนวน 60 ครัวเรือน 120 คน มีน้ำใช้สำหรับอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี

2. ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่พื้นที่ จำนวน 150 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. โครงการสาธิตในพื้นที่บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง

    1) ขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นาตามทฤษฎีใหม่ จำนวน 3 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร

    2) พื้นที่ทำนา ประมาณ 3 ไร่ มีการศึกษาทดลองปลูกข้าว และพืชไร่หลังนา

    3) พื้นที่ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก ประมาณ 6 ไร่

    4) พื้นที่อยู่อาศัย ถนนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน

    5) บริเวณขอบสระทำโรงเลี้ยงหมูเหมยซาน และในสระน้ำมีการเลี้ยงปลา

2. การขยายผลการขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่

    ในขณะนี้ได้มีการขยายผลการดำเนินงานขุดสระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ให้แก่ราษฎรแล้ว ดังนี้

    1. ในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 5 ตำบล เป็นจำนวนสระ 135 สระ และภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 นี้ อีกจำนวน 88 สระ

    2. ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 32 สระ

    3. ในพื้นที่อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 60 สระ

    4. ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 53 สระ

    5. ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2540 จำนวน 155 สระ

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการเกษตรมากขึ้นมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากขึ้น บริเวณขอบสระจะปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ และเลี้ยงปลาในสระน้ำ นอกจากนี้ยังมีการสร้างคอกสัตว์แบบง่ายๆ เพื่อเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ราษฎรสามารถอาศัยน้ำจากสระเก็บสำรองไว้มาใช้เพาะปลูกกล้า หรือหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้ ราษฎรเจ้าของสระน้ำจะมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับก่อนขุดสระเก็บกักน้ำ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

สระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ที่มีการปลูกพืชไม้ผล ไม้ดอกรอบขอบสระและในสระยังเลี้ยงปลาอีกด้วย

สระเก็บกักน้ำตามทฤษฎีใหม่ ขยายผลเพื่อช่วยราษฎรในเขตพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ในปี 2540 นี้ เริ่มมีการเก็บกักน้ำได้บางส่วนแล้วและบริเวณรอบขอบสระเก็บกักน้ำเริ่มมีการปลูกพืชผักและไม้ผลแล้ว

ผลการดำเนินงานปี 2541

โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่บ้านแดนสามัคคี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงาน กปร. ได้ประสานหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันพิจารณาดำเนินการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 13 ไร่ 3 งาน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นการพัฒนาการเกษตรกรรมแบบใหม่ตามแนวพระราดชำริที่ได้พระราชทาน คือ “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเป็นโครงการศึกษา ทดลอง และสาธิตให้ราษฎรได้เห็นผลการพัฒนาการเกษตรกรรมตามแนวพระราดชำริดังกล่าว

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรมีสระเก็บกักน้ำไว้เพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และบางครอบครัวยังใช้เพื่ออุปโภคอย่างเพียงพอทั้งในฤดูแล้ง และฝนทิ้งช่วง

สระน้ำ และสภาพพื้นที่บริเวณขอบสระที่มีการปลูกพืชชนิดต่างๆ หลากหลายผสมผสานกันขณะนี้บางชนิดให้ผลผลิตเก็บบริโภคในครัวเรือน

และเหลือขายเป็นรายได้เสริมแล้ว

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

- การอำนวยการและประสานงาน

- การประชาสัมพันธ์

- การปรับปรุงสภาพแวดล้อม

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

การขุดสระน้ำขนาดพื้นที่ 1 ไร่ เก็บน้ำได้ประมาณ 4,800 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งสนับสนุนพันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์ สำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ ในที่ดินของตนเอง ตลอดจนนำราษฎรเข้ารับการอบรม ดูงาน เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต  328 ราย เป็นพื้นที่เกษตรกรน้ำฝน 228 ราย และพื้นที่ในเขตชลประทาน 100 ราย

ประโยชน์ของโครงการ

1. ราษฎรได้รับการพัฒนาอาชีพ โดยใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ ใช้น้ำในการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลาในสระ

2. ราษฎรมีแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งใช้น้ำในการตกกล้า ปลูกพืชผัก ซึ่งทำให้มีอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ หากมีผลผลิตมากก็นำไปขายเพื่อเป็นรายได้ และเป็นทุนสำหรับปีต่อๆ ไป

สระน้ำขนาด 1 ไร่ สำหรับเลี้ยงปลา และเป็นแหล่งน้ำสำรอง                                              แปลงที่ดินในเขตชลประทาน  

                                                                                                           ที่มีระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำพะยังมาเติมสระน้ำของเกษตรกร                                                                                                               

                   แปลงทฤษฎีใหม่ในเขตเกษตรน้ำฝน                                                       เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดปี

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

1. โดยส่งเสริมการขุดสระน้ำขนาดพื้นที่ 1 ไร่ เก็บน้ำได้ประมาณ 4,800 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งสนับสนุนพันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์ สำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ ในที่ดินของตนเอง ตลอดจนนำราษฎรเข้ารับการอบรมดูงาน เข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 328 ราย เป็นพื้นที่เกษตรกรน้ำฝน 228 รายและพื้นที่ในเขตชลประทาน 100 ราย

2. ในปี 2544 ดำเนินการขยายผลในการขุดสระกักเก็บน้ำเพิ่มเติมให้แก่ราษฎร จำนวน 25 สระ

3. เกษตรกรในพื้นที่การเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถใช้น้ำจากสระในการทำนา เลี้ยงปลาและปลูกไม้ผล โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวสามารถได้ผลผลิตข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงไร่ละ 30 ถัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ทำให้เกษตรกรกว่าร้อยละ 60 มีข้าว ผัก ผลไม้สำหรับบริโภคอย่างพอเพียง และเหลือขายเป็นรายได้สุทธิประมาณ 20,000-34,000 บาทต่อครัวเรือน

ขุดสระน้ำประจำไร่นาในพื้นที่อำเภอเขาวง จำนวน 25 สระ

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

1. พัฒนาพื้นที่ที่นายไขคำ  ศรีประไหม พร้อมทั้งญาติน้อมเกล้าฯ ถวาย ณ บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่และเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้วิชาการเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน การใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. การขยายผลขุดสระน้ำแก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 358 ราย โดยสนับสนุนการขุดสระน้ำขนาด 4,800 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่เขตชลประทาน 38 ราย ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 320 ราย พร้อมส่งเสริมการเพาะปลูกข้าว  พืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวของเกษตรให้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 50-70 ถังต่อไร่

3. การสนับสนุนการรวมกลุ่มโดยเกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มของตนเองได้แก่ กลุ่มศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตั้งอยู่ที่บ้านนาวี มีสมาชิก จำนวน 30 ราย

 4. การส่งเสริมการจัดทำบัญชีฟาร์ม ได้ฝึกอบรมเกษตรกรให้รู้จักการจดบันทึกอย่างเป็นระบบ รายรับ-รายจ่ายประจำเดือน เพื่อเกษตรกรสามารถควบคุมดุแลค่าใช้จ่ายให้พอเพียงตลอดปี

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ผลิตผลข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยได้เพียง 20 ถังต่อไร่ เมื่อเข้าร่วมโครงการทฤษฎีใหม่ จะมีผลผลิตข้าวอย่างน้อย 40 ถังต่อไร่มากที่สุดถึง 70 ถังต่อไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอยู่ประมาณ 40,000-80,000 บาทต่อครัวเรือน

ผลการดำเนินงาน ปี 2546

จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ให้แก่เกษตรกรโดยเฉพาะพื้นที่เกษตรน้ำฝน มีขนาดกว้าง 28.50 เมตร ยาว 50 เมตร ลึก 4 เมตร มีความจุ 3,700 ลูกบาศก์เมตร โดยแบ่งเกษตรกรเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 19 สระ รวม 114 สระ

ประโยชน์ของโครงการ

ส่งเสริมให้ราษฎรในอำเภอเขาวง จำนวน 11 หมู่บ้าน 114 ครัวเรือน 628 คน ได้มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภคในครัวเรือน และสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1,596 ไร่

เรื่องเดิม

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 สำนักงาน กปร. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนงานพัฒนาการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริในพื้นที่อำเภอเขาวง ปัจจุบันมีสระน้ำทฤษฎีใหม่ รวมทั้งสิ้น 471 สระ สามารถจำแนกตามพื้นที่และสภาพการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

                                                                                                                                   หน่วย : สระ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

สภาพการใช้ประโยชน์

พื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน (พื้นที่สีเขียว)

พื้นที่ชลประทานของอุโมงค์ผันน้ำ

(พื้นที่สีเหลือง)

พื้นที่เกษตรน้ำฝน

รวม

ดี

21

9

31

61

ปานกลาง

11

42

221

274

ต้องปรับปรุง

5

26

105

136

รวม

37

77

357

471

 

 

สระน้ำทฤษฎีใหม่ ขนาดความจุ 5,000 ลูกบาศก์เมตร

โดยมีการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค-บริโภคในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นการพัฒนาให้เกษตรกรพออยู่พอกินและสามารถพึ่งตนเองได้ แต่เนื่องจากสระน้ำบางส่วนไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพียงพอ  ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพียงพอ การรวมกลุ่มของราษฎรยังไม่เข้มแข็ง จึงมีความจำเป็นจะต้องเน้นในเรื่องการให้องค์ความรู้ ทักษะในการดำเนินกิจกรรมเพื่อขยายผลการเกษตรทฤษฎีใหม่ และให้เกิดการรวมกลุ่ม อันจะนำไปสู่การรวมพลังในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ และการขยายผลการเกษตรทฤษฎีใหม่ให้ก้าวสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 และ 3 ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

๑.      การดำเนินงานตามโครงการก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างมาก โดยราษฎรจะใช้น้ำในช่วงเวลาที่ข้าวตกกล้า และเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวในช่วงปลายฤดูแล้ง นอกจากนี้จากเดิมในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เกษตรกรที่เคยผลิตข้าวได้ประมาณ ๒๗๐ กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเข้าร่วมโครงการขุดสระน้ำทฤษฎีใหม่ ทำให้มีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น ๓๔๐ กิโลกรัม/ไร่ (ปี พ.ศ. ๒๕๔๐) และสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สามารถผลิตข้าวได้ ๕๘๐ กิโลกรัม/ไร่  ซึ่งทำให้เกษตรกรมีข้าวสำหรับบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอและยังมีข้าวเหลือสามารถจำหน่ายเป็นรายได้หลัก นอกจากนี้สามารถนำน้ำไปใช้ในการปลูกไม้ผล พืชผัก เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลา ทำให้เกษตรกรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย และมีรายได้ที่มั่นคงโดยเฉลี่ย ๘๐,๐๐๐ บาท/ครัวเรือน/ปี

๒.     ปัญหาที่พบในการดำเนินงานคือ การสนับสนุนการขุดสระน้ำให้แก่เกษตรกรในบางพื้นที่สระน้ำเก็บกักน้ำไม่ได้ ไม่มีระบบเติมน้ำในฤดูแล้ง ทำให้น้ำแห้ง  ขอบสระพังทลาย มีปัญหาดินไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช และเกษตรกรยังขาดความรู้ในเรื่องการรวมกลุ่ม การจัดการระบบการผลิตและการตลาดที่ดีส่งผลให้เกษตรกรไม่ได้ใช้สระน้ำให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพเท่าที่ควร

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

1. ส่งเสริมการปลูกพืชในเขตชลประทาน หมู่ที่ 5,6,7,10,14,15,16 ตำบลสงเปลือย  ได้แก่ ข้าวโพด 70 ไร่ ยาสูบเตอร์กิส 5 ไร่ ถั่วลิสง 40 ไร่ กระเทียม 5 ไร่ ฟักทอง 3 ไร่ บวบ 2 ไร่ ถั่วฝักยาว 2 ไร่ ถั่วพุ่ม 2 ไร่ รวมพื้นที่ 144 ไร่ เกษตรกร 48 ราย มูลค่าผลผลิต 527,056 บาท

                                             แปลงยาสูบเตอร์กิส                                 ส่งเสริมการผลิตข้าวชุมชน (ข้าวเหนียวกอเดียว) ในพื้นที่ หมู่ที่ 2,3,4,12

                                                                                      ตำบลสงเปลือย 126 ราย พื้นที่ 1,000 ไร่ และหมู่ 5 ตำบลคุ้มเก่า 44 ราย พื้นที่ 300 ไร่

2. ส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิชุมชน ในพื้นที่เกษตรกรหมู่ที่ 4,7,8 ตำบลสงเปลือย 90 ราย พื้นที่ 750 ไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ 30 ราย 250 ไร่ รวมทั้งสิ้น 120 ราย 1,000 ไร่

3. ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในโรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตการเกษตร 3 แห่ง ได้แก่ ตำบลสงเปลือย ตำบลหนองผือ  ตำบลกุดปลาเค้า สามารถผลิตปุ๋ยได้โรงงานละ 100 ตันต่อปี เพื่อสนับสนุนการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

4. จัดเวทีเสวนาคณะทำงานขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับตำบล เดือนละ 1 ครั้ง 73 คน และเวทีเสวนาเกษตรกรที่ได้รับการขุดสระน้ำปีละ 5 ครั้ง รวม 290 ราย ทำให้ทราบปัญหาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาของกลุ่ม

ปากอุโมงค์ผันน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.   เตรียมการจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการน้ำข้ามลุ่มน้ำระหว่างลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยัง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้งฝั่งจังหวัดมุกดาหารและฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อให้การบริหารจัดการผันน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด

2.   จัดตั้งศูนย์บริการและประสานงานโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีบุคลากรด้านการเกษตรประจำศูนย์เพื่อบริหารราษฎรประจำในพื้นที่

3.   ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและส่งเสริมด้านการตลาด

4.   มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้สู่ราษฎร โดยให้ประสานปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนนำในการขยายผลการมีส่วนร่วมในชุมชน

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

1.   คณะทำงานระดับตำบล 6 ตำบล ในอำเภอเขาวง รวม 80 ราย ได้เดินทางไปทัศนศึกษา ดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน  อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์แก่คณะทำงาน โดยจะสามารถถ่ายทอดความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ ทำให้เกษตรกรมีความรู้ในการประกอบอาชีพ และมีความสามารถในการพัฒนาตนเองและชุมชนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

                  การฝึกอบรมและทัศนศึกษา ดูงานของคณะกรรมการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์

2.   จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชนเพื่อแปรรูปข้าวเหนียวเขาวง เป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ อยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสงเปลือย  อำเภอเขาวง  ซึ่งได้ทำหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อจัดทำบริการสาธารณะในการจัดทำโครงการโรงสีข้าวชุมชนเป็นเวลา 10 ปี เรียบร้อย ทำให้ชุมชนมีบริการสาธารณะประโยชน์เพิ่มขึ้นและช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาตนเองและชุมชนมากขึ้น ทั้งนี้ทำให้เกษตรกรมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น มีการให้บริการโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในรูปสหกรณ์ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น

3.   คณะทำงานขยายผลการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการขุดสระน้ำราษฎร รัฐ เอกชน ร่วมใจขยายผลเกษตรกรทฤษฎีใหม่ 80 สระ 80 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยการขุดสระน้ำในไร่นาแก่เกษตรกรในพื้นที่รับน้ำอุโมงค์ผันน้ำจากห้วยไผ่ลงสู่พื้นที่อำเภอเขาวง

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยัง ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้ง 2 ฝั่ง ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และทำให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการผันน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.   ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรฝั่งจังหวัดมุกดาหารว่าน้ำที่จะผันมานั้น จะเป็นน้ำส่วนที่เหลือใช้จากจังหวัดมุกดาหารแล้วเท่านั้น

3.   ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเป็นการสร้างอำนาจในการต่อรอง พร้อมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดควบคู่กันไป

4.   ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกน ในการขยายผลการมีส่วนร่วมของราษฎร

5.   ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ

ผลการดำเนินงาน ปี 2551   คณะทำงานได้มีการดำเนินการ ดังนี้

1.  จัดอบรมและทัศนศึกษาดูงานเกษตรกรทฤษฎีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติราชการเพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์แก่คณะทำงาน โดยจะสามารถถ่ายทอดความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้อย่างถูกต้อง จนสามารถนำเอาไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ทำให้ราษฎรมีความรู้ในการประกอบอาชีพ และมีความสามารถในการพัฒนาตนเองและชุมชนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

2.  ได้มีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 165 คน เพื่อขยายผลเกษตรทฤษฏีใหม่สู่ขั้นที่ 2 โดยให้การสนับสนุนปัจจัย     การผลิตแก่ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ด้านเกษตรจะแบ่งเป็นไม้ผล 30 ชนิด พืชไร่ พืชผัก 30 ชนิด รวมทั้งด้านประมง  ด้านปศุสัตว์ และปัจจัยการผลิต ด้านอื่นๆ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.  การเก็บข้อมูลพื้นฐานของราษฎรโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

เริ่มเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 กันยายน 2551 สามารถเก็บข้อมูลเกษตรกรได้ 157 คน คงเหลือยังไม่ได้เก็บข้อมูล 5 ราย และ มีเกษตรกรขอถอนตัวออกจากโครงการ  2 ราย  เสียชีวิต 1 ราย  ดังนั้นมีราษฎรเข้าร่วมโครงการ 162 ราย เป็นสมาชิกกลุ่มบริหารใช้น้ำชลประทาน 28 ราย กลุ่มส่งเสริมการเกษตรทฤษฎีใหม่ 152 ราย กลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 99 ราย กลุ่มโรงสีข้าว 1 ราย (สมาชิก 1 ราย เข้าร่วมได้มากกว่า 1 กลุ่ม)

2.  การฝึกอบรมและทัศนศึกษาดูงานโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ครั้งที่ 2 ปี 2551

สำนักงานเกษตรอำเภอเขาวงร่วมกับศูนย์บริการและประสานงานโครงการฯ ได้จัดให้ราษฎรไปศึกษาดูงานโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่  ณ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 15-17 กันยายน 2551 (3 วัน 2 คืน) โดยมีหัวข้อกิจกรรมที่อบรมให้ความรู้ 6 กิจกรรม ได้แก่

2.1  หลักสูตรพืชน้ำมันและการผลิต

2.2  หลักสูตรการเพาะเห็ด

2.3  หลักสูตรการเลี้ยงกบ

2.4  หลักสูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพืชไร่

2.5  หลักสูตรการเลี้ยงโคและพืชอาหารสัตว์

2.6  หลักสูตรการเลี้ยงปลา/การเกษตรผสมผสาน

3.  การแจกจ่ายปัจจัยการผลิตแก่ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 162 ราย ได้ทำสัญญาผูกพันและขอกันงบประมาณเหลื่อมปีไว้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทำการแจกจ่ายปัจจัยการผลิตให้แก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2551

4.  นอกจากนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ได้เข้ามาช่วยโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้ส่งทีมงานเข้ามาศึกษาระบบการผลิต การตลาด และสร้างเครือข่าย สร้างต้นแบบเพื่อเสริมงานขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้ได้นำทีมงานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมดำเนินการเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งคณะทำงานโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงโรงสีให้ได้มาตรฐานพร้อมทั้งขอให้จัดอบรมให้องค์ความรู้ในเรื่องการบริหารและจัดการโรงสีให้แก่ราษฎร นอกจากนั้นขอให้ ธกส. สนับสนุนเงินลงทุนในรูปของเงินกู้ซึ่งขอให้ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ตลอดจนการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับบัญชีชุมชน

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.  จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยัง ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้ง 2 ฝั่ง ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และทำให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการผันน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.  ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรฝั่งจังหวัดมุกดาหารว่าน้ำที่จะผันมานั้น จะเป็นน้ำส่วนที่เหลือใช้จากจังหวัดมุกดาหารแล้วเท่านั้น

3.  ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเป็นการสร้างอำนาจในการต่อรอง พร้อมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดควบคู่กันไป

4.  ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนกลางในการขยายผลการมีส่วนร่วมของราษฎร

5.  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ

6.  สำหรับในปีงบประมาณ 2552 จะขับเคลื่อนแผนงาน/งบประมาณไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาไปสู่ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2552

สืบเนื่องจากได้มีการขุดสระน้ำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริในเขตพื้นที่อำเภอเขาวง จำนวน 471 สระ ปรากฏว่าสระน้ำบางส่วนไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เพียงพอ และการรวมกลุ่มของราษฎรในพื้นที่ยังไม่เข้มแข็ง ดังนั้น สำนักงาน กปร. จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตสกลนคร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) จึงได้ร่วมกันบูรณาการแผนงาน/งบประมาณโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ในปีงบประมาณ 2552 ทั้งนี้ โดยเน้นในเรื่องการให้องค์ความรู้ด้านการเกษตร ตลอดจนการเพิ่มทักษะในการทำการเกษตรให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งขับเคลื่อนให้ราษฎรเกิดการรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อพัฒนาไปสู่การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ตามแนวพระราชดำริต่อไป ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1.    จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (เกษตรกรแกนนำ)   ศูนย์หลัก 15 คน จำนวน 1 ศูนย์ ศูนย์เครือข่าย จำนวน 5 ศูนย์ ศูนย์ละ 10 คน

1.1  โดยจัดการฝึกอบรม ดังนี้

-   การผลิตข้าวคุณภาพดี จำนวน 65 ราย 5 ครั้ง ครั้งละ 5 วัน

-    การผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง จำนวน 65 ราย

-   การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 65 ราย

-   การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำจากสระ จำนวน 65 ราย

-   การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรแกนนำ (อบรม/ดูงาน) จำนวน 1 ครั้ง 65 ราย

-   การส่งเสริมด้านปศุสัตว์ จำนวน 65 ราย (2 วัน)

-   การอบรมการเพาะเห็ด จำนวน 65 ราย

1.2  ส่งเสริมการเลี้ยงโคให้ได้มาตรฐานปลอดภัย ราษฎร 109 ราย โค 680 ตัว โดยดูแลสุขภาพโคของราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ

1.3   ส่งเสริมด้านประมง โดยการพัฒนาพันธุ์พืชอาหารสัตว์ จำนวน 65 ราย

1.4  ตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จำนวน 120 ไร่ (6 ศูนย์)

1.5  รณรงค์การไถกลบตอซังและหว่านเมล็ดพืชร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 6 ศูนย์ ศูนย์ละ 20 ไร่

2.    พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของโรงสีชุมชน ตำบลสงเปลือย

-   สร้างตราสินค้า

-   ถุงบรรจุข้าวสาร

3.    ฝึกอบรมกรรมการโรงสีข้าวชุมชนตำบลสงเปลือยหลักสูตรการบริหารจัดการโรงสีเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการโรงสีเชิงธุรกิจจำนวน 1 รุ่น 40 ราย10 วัน

เนื่องจากในปีงบประมาณ 2552 การขอเบิกงบประมาณในการดำเนินงานล่าช้า จึงทำให้จำเป็นต้องทำสัญญาผูกพันและขอกันงบประมาณเหลื่อมปีไว้ ในส่วนของครุภัณฑ์และปัจจัยการผลิตได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว จะได้ทำการแจกจ่ายให้กับราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการต่อไป

กล่องข้อความ:

ดำเนินการปรับปรุงโรงสีข้าวให้ได้มาตรฐานพร้อมทั้งให้องค์ความรู้เรื่องการบริหารและจัดการโรงสีข้าวให้แก่ราษฎร

กล่องข้อความ:

ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์     

กล่องข้อความ:

สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการฯ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.    จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยังระดับจังหวัด ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้ง 2 ฝั่ง ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และทำให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการผันน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.    ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรฝั่งจังหวัดมุกดาหารว่าน้ำที่จะผันมานั้น จะเป็นน้ำส่วนที่เหลือใช้จากจังหวัดมุกดาหารแล้วเท่านั้น

3.    ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเป็นการสร้างอำนาจในการต่อรอง พร้อมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดควบคู่กันไป

4.    ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนกลางในการขยายผลการมีส่วนร่วมของราษฎร

5.    ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ

6.    สำหรับในปีงบประมาณ 2553 จะขับเคลื่อนแผนงาน/งบประมาณไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาไปสู่ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ต่อไป

7.    ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

ในปีงบประมาณ 2553 อำเภอเขาวงสามารถขยายผลเกษตรทฤษฏีใหม่ ในเรื่อง 1 ไร่ไม่ยากไม่จน จากสมาชิก 163 คน เพิ่มขึ้นเป็น 697 คน คิดเป็นร้อยละ 328 และยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมีการทำงานเชิงบูรณาการ ระหว่างภาครัฐ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น และภาคประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง มีเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่มาจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เกิดผู้นำและขยายเครือข่ายตามธรรมชาติ เครือข่ายฮักแพงแบ่งปันอำเภอเขาวง พร้อมทั้งพัฒนาตลาดนัดสีเขียวทุกเย็นวันศุกร์ จากผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรปลอดภัยจากแปลง 1 ไร่ไม่ยากไม่จนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ประชุมวางแผนทุกภาคส่วน (ภาครัฐ+ภาคประชาชน+ท้องถิ่น+วัด)

กำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนา “1 ไร่  ไม่ยากไม่จน”

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.    จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยังระดับจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรทั้งสองฝั่งให้เข้าใจ

2.    ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนกลางในการขยายผล การมีส่วนร่วมของราษฎร

3.    ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

ในปีงบประมาณ 2554 ดำเนินการขยายผลการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ ในเรื่อง “1 ไร่ ไม่ยากไม่จน” ดังนี้

ขั้นที่ 1 การพัฒนาด้านการผลิต ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคนและสังคมโดยจัดเวทีชุมชน/ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวความคิดเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานทั้งเรื่องงาน เงิน และคน มีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน เช่น

-    ขยายผลโครงการเกษตร 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน ในเครือข่ายฮักแพง-แบ่งปัน อำเภอเขาวง จำนวนสมาชิก 697 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 720 ราย

หลุมพอเพียง จะประกอบไปด้วย 1. ไม้พี่เลี้ยง คือ กล้วยไข่ 2. ไม้ยืนต้น คือ หอม กฤษณา 3. ไม้ฉลาด คือ ผักหวาน มะละกอ และ

4. ไม้ปัญญาอ่อน คือ พริก มะเขือ

-    สร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 6 ตำบล เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้สร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิด ดำเนินกิจกรรม 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน ภายใต้ 3 ตัวชี้วัด คือ 1) หลุมพอเพียง 2) พืชปลอดสารพิษ และ 3) การทำบัญชีครัวเรือน

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนทุกตำบล ( 6 ตำบล 180 ราย)

-    สร้างเกษตรกรประณีต จาก 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน เป็น 1 ไร่ 1 แสน โดยมีวิธีการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-สร้างโอกาส (สร้างองค์ความรู้ – เกษตรปลอดภัยสารพิษ – ระบบคุณธรรมคู่ปัญญา)

-    สร้างยุวเกษตรกร เด็กไทยหัวใจเกษตร ในโครงการ “My Little farm” บ้านกุดปลาค้าว

IMG_1621-1

โรงเรียนกุดปลาค้าวราษฎร์บำรุง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นตัวแทนของจังหวัด เด็กไทยหัวใจเกษตร

 “My Little Farm” เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ได้เข้ารับการคัดเลือกเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย

ขั้นที่ 2 การรวมกลุ่ม เครือข่ายจากทุกภาคส่วน สร้างแผนการตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP โดยการส่งเสริมสินค้านำมาจำหน่ายที่ร้าน Q-Shop และจัดให้มีตลาดนัดสีเขียวทุกวันศุกร์ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการในพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายฮักแพงแบ่งปัน อำเภอเขาวง จัดประชุมเสวนาผู้นำ เพื่อพัฒนาการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายประจำทุกเดือน และรวบรวมผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลผลิตข้าวเขาวงแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าและจัดจำหน่ายในตลาดชุมชนสีเขียว สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาล

ขั้นที่ 3 ร่วมมือกับแหล่งเงินและแหล่งทุน เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาอบรมด้านสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ            การบริหารจัดการสหกรณ์ ทั้งด้านการจำหน่ายผลิตผล การแปรรูป การทำบัญชีฟาร์ม รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งและธนาคารเมล็ดพันธุ์ กล้าพันธุ์ พัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย และมีการปรับปรุงโรงสีข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้น

   ประชุมเสวนาผู้นำ แบบเชิงบูรณาการในพื้นที่ อำเภอเขาวง             รวบรวมข้าว 50 ตัน จาก 250 ราย สี และแปรรูป

(โรงสีข้าวตำบลสงเปลือย)

ผลสำเร็จจากการพัฒนา

จากผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ส่ง “โครงการขยายผลเกษตรทฤษฏีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์” เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ผลการประเมินโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับดีเยี่ยม

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.   ควรให้มีการบริหารจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทรายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนร่วมมือประสานการดำเนินงาน

2.   ให้มีแนวทางการขยายผลและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3.   ให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในการส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาดสินค้าการเกษตรรองรับโรงงานอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย)

4.   ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อการขยายผลสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 และร่วมมือกับแหล่งทุนในการส่งเสริมการตลาด สู่ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

ดำเนินการขยายผลการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนี้

                        3.1 งานส่งเสริมการเกษตร (เกษตรประณีต 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน)

                          (ขั้นที่ 1) พึ่งพาตนเอง  โดยการทำหลุมพอเพียง ประกอบด้วยพืช
4 ชนิดในหลุมเดียวกัน ได้แก่ 1) พืชพี่เลี้ยง คือ กล้วย 2) พืชปัญญาอ่อน คือ พริก มะเขือ คะน้า 3) พืชฉลาด คือ มะละกอ และ 4) ไม้ยืนต้นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป เช่น มะนาว มะพร้าว สะเดา ยางนา ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายในอำเภอกว่า 700 คน จึงได้ต่อยอดจากเกษตรประณีต 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน ให้เป็น “เกษตรประณีต 1 ไร่ ได้ 1 แสน”

                         (ขั้นที่ 2) พึ่งพากันเอง  เมื่อคนที่พึ่งพาตนเองได้มีจำนวนมากขึ้น ของกินของใช้ก็จะเริ่มมีมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแบบให้ขาด เช่น พันธุ์หมู พันธุ์ปลา คนในเครือข่ายก็นำมาทำเป็นรูปแบบธนาคาร เกิดการขยายผลอย่างมาก จนกลายเป็นธนาคารหมู ธนาคารปลา ฯลฯ

                         (ขั้นที่ 3) เครือข่าย  เมื่อคนในหมู่บ้าน ตำบล มีของมากก็เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มและกระจายไปยังบุคคลภายนอก ทั้งในรูปแบบการแลกเปลี่ยนและการซื้อขายในตลาด โดยในระยะอันใกล้นี้กลุ่มราษฎรในพื้นที่โครงการจะตั้ง“ร้านฮักแพง-แบ่งปัน” เพื่อขายอาหารปลอดสารพิษโดยเฉพาะ

                         (ขั้นที่ 4) อำเภอแห่งการเรียนรู้  จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้ยิ่งเกิดความมั่นใจในแนวคิดทฤษฎีมากขึ้น และเริ่มมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ไปสู่คนรุ่นใหม่อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกระบบการศึกษา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอเขาวงนำไปใช้ประโยชน์ โดยวันที่ 4 กันยายน 2555 เจ้าหน้าที่และราษฎรในพื้นที่โครงการ ขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 27 คน ได้เดินทางมารับเครื่องสีข้าวขนาดเล็กพระราชทานดังกล่าว ณ สำนักงาน กปร. และได้จัดพิธีส่งมอบขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2555

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ ลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้านจัดการความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดชุดองค์ความรู้ที่เป็นระบบและมีระเบียบ เพื่อเป็นบทเรียนและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่สนใจและคนรุ่นหลังต่อไป

2. ขยายผลความสำเร็จ “เขาวงโมเดล” ไปสู่พื้นที่ 17 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ และจะขยายผลไปสู่จังหวัดและภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

การดำเนินการขยายผลการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนี้

4.1  จังหวัดกาฬสินธุ์และเครือข่ายภาคประชาชน ได้มีโอกาสทูลเกล้า ฯ ถวาย ข้าวเหนียวเขาวงอินทรีย์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในงานมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ ภายใต้แนวคิดหลักจากนโยบายสู่การขับเคลื่อน : คุณค่าจากท้องถิ่นต่อยอดสู่สากล เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ไฮแอท เซ็นทรัลเวิลด์

4.2  ด้านการตลาด ข้าวเหนียวเขาวงอินทรีย์ เป็นข้าวเหนียวที่ดีที่สุดของอำเภอเขาวง โดยนายวิเศษ คำไชโย ประธานเครือข่ายฮักแพงแบ่งปัน ตัวแทนเกษตรกร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายข้าวเหนียวเขาวงอินทรีย์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ ภายใต้แนวคิดหลักจากนโยบายสู่การขับเคลื่อน : คุณค่าจากท้องถิ่นต่อยอดสู่สากล รวมทั้งได้นำไปวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น เดอะมอลล์  เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามพารากอน

4.3  โครงการอบรมยุวเกษตร (Mini Smart Farmer) กลุ่มเป้าหมายจากโรงเรียนหนองแสงถวิลราษฎร์ จำนวน 25 คน หลักสูตร “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” โดยเริ่มจากละลายพฤติกรรม ปรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อบรมพัฒนาอาชีพเกษตรกร รวมทั้งได้มีโครงการขยายผลการเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร ภายใต้แผนพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เขตตรวจราชการเขต 10 และเขต 12 และจังหวัดสระแก้ว จำนวน 34 โรงเรียน

4.4  การติดตามประเมินผลสมาชิกโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2556 โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลรายรับ/รายจ่าย และต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ รายละเอียดปรากฏตาม ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การติดตามประเมินผลสมาชิกโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่

           

ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2556

ที่

ตำบล

เกรด (หน่วย:คน)

พักเข้าร่วมโครงการฯ

รวม

สมัครใหม่

รวมทั้งหมด

A

B

C

D

1

คุ้มเก่า

16

24

80

9

6

135

2

137

2

สงเปลือย

11

11

5

-

-

27

-

27

3

กุดปลาค้าว

5

12

14

2

-

33

1

34

4

สระพังทอง

2

8

9

1

-

20

-

20

5

กุดสิมคุ้มใหม่

7

18

11

2

2

40

1

41

6

หนองผือ

10

14

16

-

-

40

-

40

 

รวม

51

87

135

14

8

295

4

299

จากตาราง พบว่า ผลการติดตามประเมินผล มีเกษตรกรเกรด C มากเป็นอันดับ 1 คือมีจำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 45.15 จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด  299 คน รองลงมาได้แก่ เกรด B จำนวน 87 คน เกรด A จำนวน 51 คน และเกรด D จำนวน 14 คน ตามลำดับ  แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรที่ขอพักการเข้าร่วมโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ เนื่องจากยังไม่มีความพร้อม จำนวน 8 คน

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. มุ่งพัฒนาให้เป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ “กาฬสินธุ์โมเดล” และ “Organic city” โดยจะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรไปสู่ Smart Farmer ต้นแบบ เพื่อให้ประชาชนมีความกินดี อยู่ดี

3. กำหนดแผนงาน/มาตรการในการพัฒนากลุ่มเกษตรที่อยู่ในเกรด C ให้มีการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น

ผลการดำเนินงานปี 2559

เป็นการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนากลุ่มให้เกิดความเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มฮักแพง-แบ่งปัน อำเภอเขาวง มีสมาชิกประมาณ 700 ราย โดยสมาชิกทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดของเกษตรกร โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ พึ่งตนเอง พึ่งพากันเอง สร้างภาคีเครือข่าย และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ปัจจุบันยังคงมีกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม

   

 

ภาพกิจกรรมต่าง เช่น การอบรมบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และการปรับรูปแปลงนา

การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการขยายช่องทางการตลาด“ตลาดวิถีไทเขาวง”

การทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน ฯลฯ

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ

curve