โครงการ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรนิคมสร้างตนเองลำปาว

สถานที่ตั้ง

ตำบล ภูดิน อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการจัดหาน้ำช่วยเหลือราษฎรนิคมสร้างตนเองลำปาว

จังหวัดกาฬสินธุ์

เรื่องเดิม

1. เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริกับพลเอกเทียนชัย  จั่นมุกดา  ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ให้พิจารณาฟื้นฟูบูรณะสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในเขตนิคมสร้างตนเองลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภค   จะใช้วิธีการสูบน้ำจากจุดเดียวแนวเดียวจากต่ำไปสูงทางเดียวกันไม่ได้ ต้องทำทีละทอดให้ทำอ่างพักน้ำก่อน แล้วสูบน้ำต่อออกไปเป็นทอดๆ มีทางใดหรือไม่ ที่จะใช้วิธีการขุดลอกคลอง ให้เข้าไปใกล้จุดที่ต้องการน้ำ

2. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เลขาธิการ กปร. (นายมนูญ  มุกข์ประดิษฐ์) พร้อมเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กปร. และ กรมชลประทานเข้าเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติม สรุปความว่า ให้พิจารณาเร่งดำเนินการช่วยเหลือราษฎรซึ่งทางราชการอพยพมาอยู่บริเวณนี้ แต่ไม่มีน้ำ ราษฎรต้องเร่ร่อนไปทำมาหากินที่อื่นถ้าทำโครงการให้พออยู่ได้ราษฎรก็จะอาศัยทำกินในพื้นที่นี้ตลอดไป   ภูมิประเทศในบริเวณนิคมสร้างตนเองลำปาวเป็นเนิน การสูบน้ำขึ้นไปใส่บ่อพักเลยจะมีความสูงมาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก แพงเกินไป ควรพิจารณาสูบน้ำส่งไปตามร่องห้วยเดิม แล้วก่อสร้างฝายกั้นน้ำตามความเหมาะสมของภูมิประเทศจะทำให้เก็บน้ำไว้ในร่องห้วยได้ ต่อจากนั้นค่อยสูบต่อไปใส่บ่อพักบนสันเนินเป็นระยะๆ ไม่ต้องใหญ่ เพียง 2 เมตร ก็พอแล้วปล่อยกระจาน้ำลงมารอบๆ บ่อได้เลย ราษฎรจะได้ใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยให้สูบน้ำเป็นช่วงๆ อาจจะแบ่งเป็น 3 ช่วง และสูบขึ้นเป็นระยะๆ ในขณะเดียวกันก็จะเก็บกักน้ำไว้ในลำห้วย ทำให้บ่อชุ่มชื้นเป็นเหมือน Check Dam อีกด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

กรมชลประทานได้กำหนดแผนการดำเนินงานโดยเร่งด่วน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กปร. เป็นจำนวนเงิน 3,658,400 บาท โดยได้ทำการขุดลอกลำน้ำ และหนองน้ำธรรมชาติ จำนวน 4 แห่ง

1. ขุดลอกลำห้วยบง

2. ขุดลอกลำห้วยด่าน

3. ขุดลอกหนองดอนดู่

4. ขุดลอกหนองโสกหิน

ประโยชน์ของโครงการ

โครงการนี้ จะเป็นแหล่งน้ำเสริมให้แก่ราษฎรในด้านการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรในฤดูฝน ฤดูแล้ง ให้กับราษฎร 185 หลังคาเรือน 4 หมู่บ้าน 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง และอำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

    ลำห้วยบง กว้าง 4 เมตร ยาวประมาณ 800 เมตร ลึกเฉลี่ย 3 เมตร                ลำห้วยด่าน กว้าง 4 เมตร ยาวประมาณ 1,000 เมตร

  ลึกเฉลี่ย 3 เมตร ความจุประมาณ 36,000 ลูกบาศก์เมตร                             ลึกเฉลี่ย 3 เมตร ความจุประมาณ 36,000 ลูกบาศก์เมตร

ซึ่งราษฎรได้รับประโยชน์จำนวน 47 หลังคาเรือน                                      ซึ่งราษฎรจะได้รับประโยชน์ จำนวน 76 หลังคาเรือน                   

          หนองดอนดู่ กว้าง 4 เมตร ยาว 74 เมตร                                                      หนองโสกหิน กว้าง 108 เมตร ยาว 156 เมตร

  ลึกเฉลี่ย 3 เมตร   ความจุ 10,800 ลูกบาศก์เมตร                                                ลึกเฉลี่ย 3 เมตร ความจุ 10,800 ลูกบาศก์เมตร 

                         ซึ่งราษฎรได้รับประโยชน์ 21 หลังคาเรือน                                        ซึ่งราษฎรได้รับประโยชน์ 21 หลังคาเรือน

ผลการดำเนินงานปี 2541

สำนักงาน กปร. ได้ประสานกับหน่วยราชการต่างๆ เพื่อดำเนินการ ดังนี้

1. ได้ดำเนินการเร่งด่วน ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามบริเวณที่มีศักยภาพ โดยการขุดลอกลำห้วย และหนองน้ำธรรมชาติสาธารณะ จำนวน 4 แห่ง เสร็จสมบูรณ์ สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มพื้นที่ ดังนี้

   - ลำห้วยบง บ้านป่ากล้วย หมู่ 8 ตำบลโนนเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ความจุ 28,800 ลูกบาศก์เมตร ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 47 ครัวเรือน

   - ลำห้วยด่าน บ้านแก้งนคร หมู่ 7 ตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ความจุ 36,000 ลูกบาศก์เมตร ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 76 ครัวเรือน

   - หนองดอนดู่ บ้านดอนดู่  หมู่ 3 ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ความจุ 10,800 ลูกบาศก์เมตร ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 21 ครัวเรือน

   - หนองโสกดิน บ้านโนนทอง หมู่ 4 ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ความจุ 48,195 ลูกบาศก์เมตร ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 41 ครัวเรือน

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรนิคมสร้างตนเองลำปาว จำนวน 21 หมู่บ้าน 3 ตำบล 2 อำเภอ เป็นจำนวนประมาณ 7,289 คน 1,360 ครัวเรือน เป็นราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำปาว โดยทางราชการช่วยเหลือจัดที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้ใหม่บริเวณพื้นที่ริมขอบอ่างเก็บน้ำลำปาวฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่สูง และเป็นลูกเนินสลับซับซ้อน ให้ครอบครัวละ 1.5 ไร่

หนองน้ำธรรมชาติที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง โดยการขุดลอก สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มเป็นประโยชน์ต่อราษฎร

และสนับสนุนพื่นที่การเกษตรในบริเวณใกล้เคียง

ผลการดำเนินงาน  ปี 2542  

1. งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำ  

ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ 2 แห่ง และสถานีสูบทอย 1 แห่ง อาคารควบคุม 2 แห่ง บ่อพักน้ำ 14 แห่ง ท่อสูบน้ำยาว 11,783 เมตร และท่อส่งน้ำยาว 14,438 เมตร

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ทำให้ราษฎรจำนวน 14 หมู่บ้าน 982 ครัวเรือน 4,844 คน ได้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และอุปโภค บริโภค
  2. เป็นการจัดหาน้ำเพื่อสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 1,964 ไร่

2. งานขุดสระน้ำประจำไร่นา

ดำเนินการขุดสระน้ำขนาดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ กว้าง 40 ม.ยาว 40 ม. ลึก 4 ม. ความจุ 4,768 ม3 จำนวน 100 สระ สามารถเก็บกักน้ำฝนได้ และราษฎรมีน้ำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดเล็ก เพื่อรองรับน้ำฝนและเก็บกักไว้ใช้ในการเกษตรและการอุปโภค บริโภค ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรง จำนวน 22 หมู่บ้าน 500 คน 100 ครัวเรือน
  2. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 735 ไร่

3. งานพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน 

ดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยบง บ้านป่ากล้วย จำนวน 2 แห่ง พร้อมขุดลอก และก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยเสือเต้น บ้านห้วยเสือเต้น จำนวน 5 แห่ง พร้อมขุดลอก ขุดลอกห้วยบง บ้านโคกศาลาทอง ขุดลอกห้วยเสือเต้น ต.โนนน้ำเกลี้ยง และ ขุดลอกหนองน้ำสาธารณะประจำหมู่บ้านโคกใหญ่

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เป็นการปรับปรุงแหล่งน้ำผิวดิน ให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้นและเป็นแหล่งน้ำให้ราษฎรได้ใช้สำหรับการเกษตร การประมง และอุปโภคบริโภค จำนวน 778
  2. เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 5,168 ไร่

ผลการดำเนินงาน  ปี 2543   พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตพื้นที่ที่ 2 โดยดำเนินการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง คือ

1. อ่างเก็บน้ำนาไร่เดียว กักเก็บน้ำได้ประมาณ 150,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 100 ไร่

2. อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน กักเก็บน้ำได้ประมาณ 520,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 600 ไร่

สถานีสูบน้ำที่สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปาวสู่ระบบบ่อพักน้ำในพื้นที่เป้าหมาย 14 หมู่บ้าน

บ่อพักน้ำที่พร้อมจะส่งน้ำให้ราษฎรใช้อุปโภค-บริโภคในครัวเรือน

ผลการดำเนินงาน  ปี 2544

1. พัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎรไปแล้วบางส่วน ดังนี้

1.1 ขุดลอก ปรับปรุงหนองน้ำธรรมชาติสาธารณะ และลำห้วยในบริเวณที่มีศักยภาพให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น จำนวน 5 แห่ง

1.2 ขุดลอกลำห้วยบง ลำห้วยเสือเต้น ขุดสระน้ำประจำไร่นา 100 สระ

1.3 ก่อสร้างสถานีสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปาว จำนวน 2 สถานี พร้อมระบบท่อส่งน้ำและจ่ายน้ำให้หมู่บ้าน จำนวน 14 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ที่ 3

1.4 ขุดสระน้ำประจำไร่นาให้แก่ราษฎรเพิ่มเติม จำนวน 52 สระ

ราษฎรดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำไปยังที่ดินของตนเอง

ผลการดำเนินงาน ปี 2545  คณะทำงานดำเนินการดังนี้

1. แบ่งพื้นที่สำหรับจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบจ่ายน้ำออกเป็น 3 พื้นที่ คือ

  1.1 พื้นที่บริเวณตำบลขมิ้น และตำบลโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์

  1.2 พื้นที่บริเวณตำบลนิคม ตำบลโนนบุรี  อำเภอสหัสขันธ์ จะดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำในปี 2546 สามารถจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค ให้ 9 หมู่บ้าน ประชากร 735 ครัวเรือน รวม 3,438 คน

  1.3 พื้นที่บริเวณตำบลภูดิน อำเภอเมือง ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 สามารถจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค ให้หมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน ประชากร 973 ครัวเรือน รวม 4,824 คน

2. งานขุดลอกหนองน้ำและสระน้ำประจำไร่นาในปี 2545 คณะทำงานโครงการฯ ดำเนินงาน

  2.1 ขุดลอกลำห้วยย่างอึ่ง ความจุเพิ่มขึ้น 44,200 ลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือราษฎร จำนวน 348 ครัวเรือน 2,094 คน

  2.2 ขุดลอกสระน้ำโรงเรียนบ้านสิงห์สะอาด  พร้อมระบบได้ความจุเพิ่มขึ้น 22,280 ลูกบาศก์เมตร

  2.3 ขุดสระน้ำประจำไร่นา ขนาด 3,700 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 76 สระ ในพื้นที่อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมือง รวม 10 หมู่บ้าน

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่ 3 จำนวน 14 หมู่บ้าน มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และเป็นการสนับสนุนระบบการทำประปาหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสรรค์กระตุ้นให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และร่วมเป็นเจ้าของระบบสูบน้ำ ระบบท่อส่งน้ำ เพื่อให้ราษฎรสามารถดูแลจัดการภายในชุมชนต่อไปได้

สำนักงาน กปร. ดำเนินการติดตามการใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำของราษฎร พบว่าราษฎร จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรในครัวเรือน ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อน้ำเป็นจำนวน 500 บาทต่อเดือน โดยราษฎรยินดีเสียค่าสูบน้ำและการจัดการเป็นจำนวน 5 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ทำให้มีค่าใช้จ่ายน้ำเพียงเดือนละ 200 บาท

โรงสูบน้ำสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปาวเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และปลูกผักสวนครัว

                          งานขุดลอกสระน้ำโรงเรียนบ้านสิงห์สะอาด                                                งานขุดลอกลำห้วยยางอึ่ง

การสอบถามความต้องการของราษฎรในพื้นที่โครงการฯ พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ต้องซื้อน้ำอุปโภค-บริโภค เฉลี่ยเดือนละ 500 บาท

ผลการดำเนินงาน ปี 2546

กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม จำนวน 2 แห่ง ก่อสร้างและปรับปรุงบ่อพัก-จ่ายน้ำ รวม 9 แห่ง วางท่อเหล็กส่งน้ำจากสถานีสูบน้ำที่ 1 ไปยังสถานีสูบน้ำที่ 2 และไปยังบ่อพักน้ำตามหมู่บ้านต่างๆ รวมระยะทาง 17.3 กิโลเมตร

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในเขตตำบลนิคมและตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 9 หมู่บ้าน 726 ครัวเรือน 3,678 คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในระดับครัวเรือนอย่างพอเพียง


 


เป็นการพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำผิวดิน ให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากยิ่งขึ้นตามศักยภาพ เพื่อเป็นแหล่งน้ำให้ราษฎรได้ใช้สำหรับการเกษตรกรรม และอุปโภคบริโภครวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตร

สามารถแก้ไขปัญหาให้ราษฎรในหมู่บ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำ มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค และระบบประปาที่ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ราษฎรมีน้ำใช้อุปโภคบริโภค อย่างเพียงพอตลอดปี และมีน้ำสำหรับการทำการเกษตร


 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve