โครงการ อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน พร้อมระบบส่งน้ำ

สถานที่ตั้ง

ตำบล สงเปลือย อำเภอ เขาวง จังหวัด กาฬสินธุ์

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยัง(ตอนบน)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์

เรื่องเดิม

    เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดหาแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฎร โดยการขุดสระ กักเก็บน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ในบริเวณพื้นที่บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

    เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้ขยายผลการดำเนินงานโครงการไปสู่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง

    เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน  2538  ได้พระราชทานพระราชดำริให้ ก่อสร้างขยายระบบส่งน้ำพร้อมทั้งพิจารณาขุดสระน้ำประจำไร่นาเพื่อรับน้ำจากระบบส่งน้ำดังกล่าว ตามแนวทฤษฎีใหม่และให้พิจารณาผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ซึ่งอยู่ทางฟากจังหวัดมุกดาหารมาเติมให้แก่อ่างเก็บน้ำลำพะยังเพื่อขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานได้มากขึ้นและให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับป่าไม้ 

   ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน  พ.ศ.2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณายกระดับการกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังจากเดิม 3,500,000  ลูกบาศก์เมตร  ให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้นถึง 4,000,000  ลูกบาศก์เมตร  เพื่อจะได้มีน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรให้มากขึ้น พร้อมทั้งให้รีบดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง และให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่  ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็กๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่จะเกิดกับป่าไม้ เพราะหากไม่ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่นั้นราษฎรก็จะบุกรุกป่าและทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ  จนหมดและน้ำที่ออกมากให้พิจารณาว่าจะนำไปช่วยพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ในการบำรุงรักษาป่าให้เกิดความชุ่มชื้นได้มากเพียงใด

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

ในบริเวณพื้นที่ส่งน้ำทั้งสองพื้นที่จะทำการขุดสระเก็บกักน้ำประจำไร่นา ขนาดความจุ 5,000-6,000 และ 8,000 ลูกบาศก์เมตร ให้เกษตรกรตามคำร้องขอ เพื่อให้เก็บกักน้ำไว้ใช้และถ้าไม่พอก็จะได้ส่งน้ำจากท่อมาเติมให้เพียงพอต่อความต้องการ

ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนเสร็จเรียบร้อยแล้วในปี 2538 สามารถเก็บกักน้ำได้ตามเป้าหมายคือ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปี 2539 ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ระยะทาง 3.910 กิโลเมตร และขุดสระประจำไร่นา ขนาดความจุ 5,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 8 สระ ให้แก่เกษตรกรตามคำร้องขอ

ปี 2540 ได้ก่อสร้างท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายอีกระยะทาง 1,090 กิโลเมตร พร้อมท่อส่งน้ำสายซอย ความยาว 2,500 กิโลเมตร และขุดสระน้ำประจำไร่นา ขนาดความจุ 5,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 12 สระ

ประโยชน์ของโครงการ

จากสภาพที่ราษฎรเคยอาศัยเพียงแต่น้ำฝนเท่านั้นในการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งจะประสบปัญหาเป็นอย่างมาก มีน้ำไม่เพียงพอในการเพาะปลูก ดื่มกิน และใช้ได้ตลอดปี เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้จัดหาแหล่งเก็บกักน้ำช่วยเหลือแล้ว ราษฎรในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จะมีน้ำเพื่อการเพาะปลูก อุปโภคและบริโภคได้ตลอดปี และมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน จำนวน 4,600 ไร่ และพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการผันน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ จำนวน 10,000 ไร่ อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ตอนล่างได้บางส่วนและเป็นแหล่งน้ำเพื่อการประมงอีกด้วย

             อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์               ท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำพะยังไปยังพื้นที่การเกษตรของราษฎร

                    สามารถกักเก็บน้ำได้ 3,500,000 ลูกบาศก์เมตร                       ซึ่งจะสามารถส่งน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ 14,600 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ความจุ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมระบบส่งน้ำสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรประมาณ 4,800 ไร่ และขุดสระประจำไร่นาตามแนวทฤษฎีใหม่ จำนวน 100 สระ สำหรับในปี 2543 นี้ ได้ดำเนินการก่อสร้างยกระดับทางระบายน้ำล้น (Spill way) สูงประมาณ 80 เซนติเมตร สามารถเพิ่มความจุได้อีก 500,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาณมากขึ้นเป็น 4 ล้านลูกบาศก์เมตร และขุดสระน้ำให้แก่เกษตรกรเพิ่มเติม จำนวน 9 สระ

สำหรับงานเบื้องต้นเพื่อทำการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ จังหวัดมุกดาหาร มาลงพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบน จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างถนน เพื่อก่อสร้างอุโมงค์และผันน้ำทั้งจากทางฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์เชื่อมกับปลายอุโมงค์ และจากทางฝั่งจังหวัดมุกดาหารมาเชื่อมกับปากทางเข้าอุโมงค์

ทางระบายน้ำ (Spill way) ของอ่างเก็บน้ำลำพะยังที่ยกระดับสูง 80 เซนติเมตร

สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 4 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทางระบายน้ำ (Spill way) ของอ่างเก็บน้ำลำพะยังที่ยกระดับสูง 80 เซนติเมตร

สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 4 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2547

๑.กรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน พร้อมระบบส่งน้ำด้วยท่อแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๓๘ รวมทั้งยกระดับสันฝายสูงขึ้น ๘๐ เซนติเมตร ทำให้กักเก็บน้ำได้ทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ ๔,๖๐๐ ไร่

๒.ต่อมาเมื่อปี ๒๕๔๕ ได้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ จังหวัดมุกดาหาร มายังพื้นที่รับประโยชน์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนฯ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันมีผลการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ ๖๐ เร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ร้อยละ ๒๖ โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

    ๒.๑  ก่อสร้างถนนเข้าจุดก่อสร้างอุโมงค์ทางฝั่งกาฬสินธุ์และมุกดาหาร ระยะทาง ๙.๗ กิโลเมตร ได้แก่

            -   ถนนตามแนวท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว ๓.๗ กิโลเมตร และฝั่งขวายาว ๐.๑ กิโลเมตร

            -   ถนนตามแนวท่อผันน้ำท้ายอุโมงค์ ยาว ๑.๐ กิโลเมตร และปากอุโมงค์ฝั่งมุกดาหาร ยาว ๔.๘ กิโลเมตร

    ๒.๒    ขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร ยาว ๗๑๐ เมตร พร้อมปรับพื้นอุโมงค์เพื่อเตรียมงานวางท่อผันน้ำภายในอุโมงค์

    ๒.๓    ก่อสร้างถังพักน้ำ คสล. ฝั่งกาฬสินธุ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ เมตร สูง ๘ เมตร จำนวน ๑ แห่ง

    ๒.๔    วางท่อส่งน้ำจากปากอุโมงค์ไปยังถังพักน้ำ ยาว ๑๑๐ เมตร คงเหลือระยะทางอีก ๗๘๖ เมตร

    ๒.๕    วางท่อส่งน้ำจากถังพักน้ำไปสู่ระบบส่งน้ำ ยาว ๘๒๐ เมตร

ร่องชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ความยาว ๗๕๐ เมตร

แผนงานที่จะดำเนินการในปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙

ปี ๒๕๔๘

ปี ๒๕๔๙

๑.   วางท่อผันน้ำลอดอุโมงค์ ระยะทาง ๗๑๐ เมตร

๑.   วางระบบท่อส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ระยะทาง ๘.๓ กิโลเมตร

๒.  ก่อสร้างร่องชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ถึงปากท่อผันน้ำ ความยาว ๗๕๐ เมตร

๒.  วางระบบท่อส่งน้ำสายซอย จำนวน ๑๑ สาย ระยะทางรวม ๒๕.๒ กิโลเมตร

๓.  ก่อสร้างอาคารควบคุม (Control House) ฝั่งมุกดาหาร จำนวน ๑ แห่ง

๓.  ขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ความจุ ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๗๐๐ สระ

๔.  วางท่อผันน้ำจากถังพักไปยังปากอุโมงค์ที่เหลือ ระยะทางอีก ๗๘๖ เมตร

๔.  ก่อสร้างฝายทดน้ำในลำห้วยไผ่ โดยนำหินที่ได้จากการระเบิดอุโมงค์และ      ร่องชักน้ำมาทำการก่อสร้างฝาย

 

๕.  ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำพะยังและลำน้ำสาขาพร้อมงานขุดลอกลำน้ำประมาณ ๓๐.๐ กิโลเมตร

ประโยชน์

๑.   ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมในอำเภอเขาวง ที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน จำนวน ๔,๖๐๐ ไร่ สามารถพัฒนาการเพิ่มผลผลิตข้าวจากเดิมที่เคยผลิตข้าวได้ประมาณ ๒๗๐ กิโลกรัม/ไร่ (ปี ๒๕๓๙) ปัจจุบันเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตเป็น ๔๘๐ กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ทำให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการมีน้ำใช้ทำการเกษตร และอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี

๒.  เมื่อโครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแล้วเสร็จจะสามารถผันน้ำส่วนหนึ่งมายังพื้นที่รับประโยชน์ได้ ๑๒,๐๐๐ ไร่

พื้นที่รับประโยชน์ฝั่งกาฬสินธุ์                                             พื้นที่เตรียมการฟื้นฟูป่า

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. ในการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ไปยังพื้นที่เกษตรกรรมในเขตอำเภอเขาวง มีพื้นที่ก่อสร้างลอดผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู ในเขตติดต่อ ๒ จังหวัด คือ จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ ๑๐๘ ไร่ อยู่ในเขต         ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ๑ เอ ๒๐ ไร่ ซึ่ง สำนักงาน กปร. ได้ประสานให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและวางแผนการฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริต่อไป
  2. ในระยะยาวจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการจัดทำแผน พัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มายังพื้นที่ทำการเกษตรของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนฯ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีผลการดำเนินงานก่อสร้างแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ ๙๓ ของการก่อสร้างทั้งโครงการ กล่าวคือ

(๑)       ขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร  ความยาว ๗๑๐ เมตร

(๒)      วางท่อผันน้ำ รวมความยาวทั้งสิ้น ๑,๘๖๖ เมตร

(๓)      ก่อสร้างถังพักน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ เมตร ๑ แห่ง

(๔)      ขุดร่องชักน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่  ความยาว ๗๕๐ เมตร

ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างอาคารควบคุม (Control House) พร้อมวางระบบควบคุมการผันน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหารเสร็จแล้ว และจะเริ่มก่อสร้างท่อส่งน้ำสายซอยเข้าแปลงนา จำนวน ๑๑ สาย  ความยาว ๒๕.๒๗  กิโลเมตร พร้อมขุดสระกักเก็บน้ำประจำไร่นาตามความต้องการของราษฎร ประมาณ ๗๐๐ สระ

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 - พ.ศ. 2549 กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่   อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร มายังพื้นที่ทำการเกษตรของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนฯ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 

-    อุโมงค์ลอดภูเขายาว 710 เมตร

-     ขุดร่องชักน้ำยาว 750 เมตร

-     วางท่อผันน้ำยาว 1,860 เมตร

-     ก่อสร้างถังพักน้ำ 1 แห่ง 

ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำเข้าแปลงจำนวน 12 สาย ระยะทางรวม 33.538 กิโลเมตร ในวงเงินงบประมาณ 164 ล้านบาท ใช้เวลาในการ   ก่อสร้าง 2 ปี ( ปีพ.ศ.2549 - พ.ศ.2550 ) ทั้งนี้ภายในเดือนเมษายน 2550 จะก่อสร้าง  ระบบท่อส่งน้ำให้แล้วเสร็จก่อนเป็นระยะทาง 8.3 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำให้ราษฎรได้ใช้     ในฤดูแล้ง ในปี พ.ศ.2550 นี้ จำนวน 3,130 ไร่ จากพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมดของการผันน้ำเพิ่มเติม 12,000 ไร่

สรุป เมื่อก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแล้วเสร็จจะทำให้พื้นที่ฝั่งโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยัง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่รับประโยชน์ 4,600 ไร่ เมื่อได้น้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจะเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ได้อีก 12,000 ไร่ รวมพื้นที่รับประโยชน์  ทั้งหมด 16,600 ไร่

ในปีพ.ศ. 2549 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารควบคุม (Control House) และติดตั้งอุปกรณ์ผันน้ำฝั่งกาฬสินธุ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว

การบริหารจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ

สำนักงาน กปร. ได้จัดให้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องใช้ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร และน้ำที่สามารถจะผันมายังพื้นที่ทำการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการผันน้ำ เนื่องจากพื้นที่รับประโยชน์จากโครงการเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของทั้งจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดกาฬสินธุ์

การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหาร

อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มีความจุ 10,500,000 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้เฉลี่ย 9,000,000 ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน 1,600 ไร่ ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำไม่เกิน 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร (ในฤดูฝน 800,000 ลูกบาศก์เมตร ในฤดูแล้ง 1,150,000 ลูกบาศก์เมตร) และปริมาณน้ำกักเก็บต่ำสุด (Dead storage) 800,000 ลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำสำหรับผันมายังพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ประมาณ 6,000,000  ลูกบาศก์เมตร

การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

เนื่องจากพื้นที่รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ไร่ แต่น้ำที่จะผันมีจำนวน 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร สำนักงาน กปร. จึงได้ประสานกรมชลประทานให้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำและการใช้ประโยชน์ โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

1.   กำหนดพื้นที่นำร่อง (Pilot Area) สำหรับการทดลองผันน้ำและกระจายสู่พื้นที่รับประโยชน์ในระยะแรกเป็นพื้นที่ 3,130 ไร่  ในฤดูแล้งปี พ.ศ.2550

2.   การผันน้ำ จะเน้นการส่งน้ำในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งจะส่งน้ำให้เฉพาะพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จริงเท่านั้น

                                                                   ผังแสดงการควบคุมการผันน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

ถังพักน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร ฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

พื้นที่รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำ  ซึ่งจะเป็นพื้นที่นำร่อง 3,130 ไร่ เพื่อเฉลิม
พระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

1.  กรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนพร้อมส่งน้ำด้วยท่อแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2538  มีความจุ 3,500,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปีพ.ศ. 2543 ได้ยกระดับสันฝายสูงขึ้น 80 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งสิ้น 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร  และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 4,600 ไร่

2.  กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำเชื่อมต่อระหว่าง 2 อ่างเก็บน้ำ ในเขต 2 จังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2549  โดยเป็นการขุดอุโมงค์ลอดภูเขาภูภักดี ยาว 710 เมตร เพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร  ลงมายังพื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำลำพะยัง อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์  ซึ่งจะมีระบบท่อส่งน้ำเข้าแปลงนา จำนวน 12 สาย ระยะทาง รวม 33.538 กิโลเมตร

3.  การบริหารจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ

สำนักงาน กปร. ได้ประสานกรมชลประทานให้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำและการใช้ประโยชน์โดยเน้นการส่งน้ำในช่วงฤดูฝน และวางแผนการบริหารจัดการน้ำและที่ดินตามรูปแบบทฤษฎีใหม่เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในแปลงเกษตรอีกทางหนึ่ง 

                                            ร่องน้ำที่จะชักน้ำ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตรจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ไปยังอุโมงค์ผันน้ำ 

3.1    การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหาร

อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มีความจุ 10,500,000 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้เฉลี่ย 9,000,000 ลูกบาศก์เมตร  มีพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน 1,600 ไร่ ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำไม่เกิน 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร ในฤดูฝน 800,000 ลูกบาศก์เมตร ในฤดูแล้ง 1,150,000 ลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำกักเก็บต่ำสุด (Dead  storage) 800,000 ลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำสำหรับผันมายังพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ประมาณ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร มายังพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

3.2    การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

พื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำครอบคลุมพื้นที่ 12,000  ไร่ แต่น้ำที่จะผันมีจำนวน 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร สำนักงาน กปร. ร่วมกับกรมชลประทานได้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำและการใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


 

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

                        งานอุโมงค์ผันน้ำ

2.  กรมชลประทานได้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำเชื่อมต่อระหว่าง 2 อ่างเก็บน้ำ ในเขตจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ปี 2546- 2549 โดยขุดอุโมงค์   ลอดภูเขาภูภักดี ยาว 710 เมตร เพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร  ลงมายังพื้นที่ทำการเกษตรในลุ่มน้ำลำพะยัง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  ซึ่งจะมีระบบท่อส่งน้ำเข้าแปลงนา จำนวน 12 สาย มีหัวจ่ายน้ำ 138 หัวจ่าย รวมระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร1.   กรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนพร้อมระบบส่งน้ำด้วยท่อแล้วเสร็จเมื่อปี  2538  มีความจุ  3,500,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปี 2543 ได้ยกระดับสันฝายสูงขึ้น 80 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้รวมทั้งสิ้น 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ทำการเกษตรได้ครอบคลุมพื้นที่ 4,600 ไร่

                                        ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำแล้วเสร็จ สามารถส่งน้ำสู่พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 12,000 ไร่

ถังพักน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เมตร ฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

3.  การบริหารจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ

                                              ร่องน้ำที่จะชักน้ำ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตรจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ไปยังอุโมงค์ผันน้ำ 

3.1  การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหาร

อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มีความจุ 10,500,000 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้เฉลี่ย 9,000,000 ลูกบาศก์เมตร  มีพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน 1,600 ไร่ ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำไม่เกิน 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร (ในฤดูฝน 800,000 ลูกบาศก์เมตร ในฤดูแล้ง 1,150,000 ลูกบาศก์เมตร) มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำสุด (Dead  storage) 500,000 ลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำที่สามารถผันมายังพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ประมาณ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร

3.2  การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

พื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ไร่ แต่น้ำที่จะผันมีจำนวน 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร สำนักงาน กปร. ร่วมกับกรมชลประทานได้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำและการใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ได้เตรียมการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อรองรับการผันน้ำซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมทั้งได้ประสานให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ทราบเพื่อเตรียมแผนงานรองรับต่อไปด้วยแล้ว

พื้นที่รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำ 12,000 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2552

กรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนแล้วเสร็จและสามารถเก็บกักน้ำได้ในปี 2538 มีความจุ 3,500,000 ลูกบาศก์เมตร ได้ก่อสร้างระบบส่งน้ำแล้วเสร็จในปี 2541 สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรได้ประมาณ 4,600 ไร่ ต่อมาในปี 2543 ได้ยกระดับสันฝายสูงขึ้น 80 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร ในปี 2546  เริ่มก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ลอดใต้ภูเขาภูบักดีมายังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมระยะทางประมาณ 710 เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2551 สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรประมาณ 12,000 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “ลำพะยังภูมิพัฒน์” หมายถึง อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง

กล่องข้อความ:

 
 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความจุ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร

สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 4,600 ไร่

งานการบริหารจัดการน้ำข้ามลุ่มน้ำ

1.การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหาร

อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ มีความจุ 10,500,000 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้เฉลี่ย 9,000,000 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานประมาณ 1,600 ไร่ ต้องการใช้น้ำไม่เกิน 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร (ในฤดูฝน 800,000 ลูกบาศก์เมตร  ในฤดูแล้ง 1,150,000 ลูกบาศก์เมตร) ปริมาณเก็บกักต่ำสุด (Dead Storage) 500,000 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่เหลือสามารถผันมายังพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรลุ่มน้ำลำพะยังได้ประมาณ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร

2.การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์

ปริมาณน้ำต้นทุนที่จะผันมาจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร ในฤดูฝนจะมีเพียงพอสำหรับการปลูกข้าวนาปีเต็มพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ สำหรับในฤดูแล้งหากจะคิดจากปริมาณน้ำต้นทุน 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร จะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรได้ประมาณ 2,500-3,000 ไร่ เท่านั้น ดังนั้น พืชที่จะส่งเสริมให้ปลูกในฤดูแล้งจะเป็นพืชไร่หรือผัก ไม่ควรส่งเสริมให้ปลูกข้าว นาปรัง เนื่องจากมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำต้นทุน

พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ได้รับประโยชน์จากอุโมงค์ผันน้ำครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ไร่ ประกอบด้วย  15 หมู่บ้าน ในตำบลสงเปลือย  18 หมู่บ้านในตำบลคุ้มเก่า และ 7 หมู่บ้านในตำบลคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,037 ครัวเรือน ทั้งนี้โดยพื้นที่             ทำการเกษตรในแปลงที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 8 ไร่ขึ้นไปทุกแปลงจะพัฒนาให้ราษฎรทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยจะขุดสระขนาด 1,250-4,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในระดับแปลงนาอีก จำนวน 600 สระ สำหรับในปีงบประมาณ 2553 มีแผนที่จะทำการขุดสระ 60 สระ

ลำพะยังภูมิพัฒน์ หมายถึง อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง

  ระบบการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ จังหวัดมุกดาหาร ผ่านผ่านอุโมงค์ลอดใต้ภูเขาภูบักดี                                         

                   มายังฝั่งพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมระยะทางประมาณ 710 เมตร

3.    องค์กรบริหารและจัดการ

กรมชลประทานได้มีคำสั่งภายในแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทราย (ตอนบน) –ลำพะยัง ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2552  เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่จังหวัดมุกดาหารผ่านอุโมงค์ผันน้ำมายังพื้นที่ทำการเกษตรฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยขึ้นตรงกับสำนักชลประทานที่ 7 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเกลี่ยข้าราชการมาทำหน้าที่ในโครงการดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารและจัดการการผันน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะต้องทำความเข้าใจกับราษฎรผู้ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 จังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.    จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยังระดับจังหวัด ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการทั้ง 2 ฝั่ง ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และทำให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการผันน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.    ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรฝั่งจังหวัดมุกดาหารว่าน้ำที่จะผันมานั้น จะเป็นน้ำส่วนที่เหลือใช้จากจังหวัดมุกดาหารแล้วเท่านั้น

3.    ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเป็นการสร้างอำนาจในการต่อรอง พร้อมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดควบคู่กันไป

4.    ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนกลางในการขยายผลการมีส่วนร่วมของราษฎร

5.    ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ

6.    สำหรับในปีงบประมาณ 2553 จะขับเคลื่อนแผนงาน/งบประมาณไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาไปสู่ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ต่อไป

7.    ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

        อ่างเก็บน้ำลำพะยัง ความจุ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่ทำการเกษตรได้ 4,600 ไร่ ต่อมาในปี 2546 ได้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ มายังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วเสร็จในปี 2551 สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรได้ 12,000 ไร่

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุโมงค์ผันน้ำแห่งนี้ว่า ลำพะยังภูมิพัฒน์  ซึ่งหมายถึง อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดิน  ลุ่มน้ำลำพะยัง

 

งานการบริหารจัดการน้ำข้ามลุ่มน้ำ

1.  พื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดมุกดาหาร อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ มีความจุ 10,500,000 ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 1,600 ไร่  ซึ่งต้องการน้ำใช้น้ำไม่เกิน 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ปริมาณน้ำที่เหลือสามารถผันน้ำมายังพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรลุ่มน้ำลำพะยังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ประมาณ 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร

2.  พื้นที่ลุ่มน้ำฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 12,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอเขาวง มีราษฎรได้รับประโยชน์รวม 1,037 ครัวเรือน และราษฎรที่มีพื้นที่การเกษตรตั้งแต่  8 ไร่ขึ้นไป จะได้รับการพัฒนาให้ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยจะได้ทำการขุดสระเพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในระดับแปลงนาของราษฎร

3.  องค์กรบริหารและจัดการมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานในพื้นที่ฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ให้มีส่วนร่วมในการจัดสรร  แบ่งปันน้ำ การบำรุงรักษา และส่งเสริมการผลิตการตลาดให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.    จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร และจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทราย และลุ่มน้ำลำพะยังระดับจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับราษฎรทั้งสองฝั่งให้เข้าใจ

2.    ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ประชุมชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนกลางในการขยายผล การมีส่วนร่วมของราษฎร

3.    ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

1.   งานพัฒนาแหล่งน้ำ

ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยัง (ตอนบน) ขนาดความจุ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อส่งน้ำสนับสนุนช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรประมาณ 4,600 ไร่ ตั้งแต่ปี 2537 และต่อมาในปี 2546 ได้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ลอดใต้ภูเขาภูบักดีมายังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมระยะทางประมาณ 710 เมตร เพื่อส่งน้ำมาสนับสนุนพื้นที่การเกษตร อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 12,000 ไร่ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการข้ามลุ่มน้ำ โดยการนำน้ำที่มีปริมาณมากจากลุ่มน้ำหนึ่ง มาใช้ประโยชน์กับอีกลุ่มน้ำหนึ่งที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าแต่มีพื้นที่การเกษตรมาก

อุโมงค์ผันน้ำแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า ลำพะยังภูมิพัฒน์ ซึ่งหมายถึง อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง

ผลสำเร็จจากการพัฒนา

จากผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ส่ง “โครงการขยายผลเกษตรทฤษฏีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์” เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ผลการประเมินโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับดีเยี่ยม

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.   ควรให้มีการบริหารจัดการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำห้วยบางทรายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนร่วมมือประสานการดำเนินงาน

2.   ให้มีแนวทางการขยายผลและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3.   ให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในการส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาดสินค้าการเกษตรรองรับโรงงานอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย)

4.   ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อการขยายผลสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 และร่วมมือกับแหล่งทุนในการส่งเสริมการตลาด สู่ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2555            

                   1. งานพัฒนาแหล่งน้ำ

    ในปี 2537 ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ในพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ขนาดความจุ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรประมาณ 4,600 ไร่ มีราษฎรได้รับประโยชน์รวม 507 ครัวเรือน และต่อมาในปี 2546 ได้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ลอดใต้ภูเขาภูบักดีมายังฝั่งจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมระยะทางประมาณ 710 เมตร เพื่อส่งน้ำมาสนับสนุนพื้นที่การเกษตรทางด้านอำเภอเขาวง ประมาณ 12,000 ไร่ 

                   2. การบริหารจัดการน้ำ  จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ (กลุ่มพื้นฐาน) และได้พัฒนาให้เข้มแข็งเป็น “กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน” แล้วเสร็จ 4 กลุ่ม เมื่อปี 2550 ประกอบด้วยกลุ่มวังน้ำเย็น กลุ่มนาวี กลุ่มนาวี-กุดบอด และกลุ่มหนองเตาไห มีรูปแบบการบริหารการใช้น้ำ โดยมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานจำนวน 8 คน ยึดหลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ในปีงบประมาณ 2555 ได้ดำเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำโดยปรับปรุงแปลงนาให้แก่เกษตรกร รวมทั้งขุดบ่อบาดาลและขุดสระเก็บน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน และก่อสร้างกังหันลมสูบน้ำเพื่อการเกษตร

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้านจัดการความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดชุดองค์ความรู้ที่เป็นระบบและมีระเบียบ เพื่อเป็นบทเรียนและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่สนใจและคนรุ่นหลังต่อไป

2. ขยายผลความสำเร็จ “เขาวงโมเดล” ไปสู่พื้นที่ 17 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ และจะขยายผลไปสู่จังหวัดและภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป 

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

1.  แนวทางการบริหารจัดการน้ำ

มีการจัดประชุมเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับปริมาณน้ำและกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม แผนการใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำ และแผนการส่งน้ำ โดยมีเจ้าหน้าที่ชลประทานและเกษตรกร ร่วมติดตามการส่งน้ำ และสภาพน้ำในแปลงเพาะปลูก โดยผันน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ประมาณ 6.50–8.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรเต็มพื้นที่

2.  การดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ

ได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ (กลุ่มพื้นฐาน) ที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำของโครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ฯ รวมทั้งสิ้น 138 กลุ่ม และได้จัดตั้ง “กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน” จำนวน 10 กลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านการมีส่วนร่วม ในปี พ.ศ. 2556 โดยมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน จำนวน 8 คน

3.  การดำเนินการจุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา

พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการพัฒนาให้ทำการเกษตรตามแบบทฤษฏีใหม่ ในแปลงที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 8 ไร่ ขึ้นไป จะได้รับการขุดสระขนาด 1,250 – 4,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในระดับแปลงนา  โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปีงบประมาณ 2553 จำนวน 91 สระ และในปีงบประมาณ 2555 กรมพัฒนาที่ดิน ได้สนับสนุนงบประมาณมาดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ (Farm Pond) ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 680 สระ และถ้ารวมกับหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการไว้รวมทั้งสิ้นประมาณ 800 สระ 


 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve