โครงการ พัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี

สถานที่ตั้ง

ตำบล บ้านโต้น อำเภอ พระยืน จังหวัด ขอนแก่น

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดขอนแก่น

เรื่องเดิม

 เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระราชดำริ ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปความว่า ลำน้ำชีในฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งซึ่งเป็นห้วย หนอง บึงและพื้นที่สาธารณะมาก เมื่อถึงเวลาน้ำลด น้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวก็ลดตามไปด้วย ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำตามเดิม ให้พิจารณาหาวิธีเก็บกักน้ำให้อยู่ในพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้พระราชทานพระราชดำริ  เพิ่มเติม ณ จังหวัดขอนแก่น ให้สำรวจพื้นที่อ่างรอบๆจังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาขุดลอก อ่างเก็บน้ำเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูง เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนได้มากซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำนาปรังได้ รวมทั้งช่วยป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูที่มีฝนตกหนัก นอกจากนั้นสามารถจะนำน้ำมาใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามแนวทฤษฎีใหม่ได้

ผลการดำเนินงาน ปี 2541

1. โครงการขุดลอกหนองกุดโดก ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน โดยการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติขนาดพื้นที่ 130 ไร่ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 1,500,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรกรรมได้ประมาณ 2,000 ไร่

งานขุดลอกหนอง ขนาดกว้าง  40 เมตร  ลึก 3.00 เมตร  ความยาว 4,334 เมตร 

ในพื้นที่ 130 ไร่ ปริมาณดิน 378,090 ลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบ 14 แห่ง

2. โครงการขุดลอกหนองเบ็น ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี โดยการขุดลอกหนองน้ำขนาดความกว้าง 80 เมตร ยาว 1,624 เมตร ลึกเฉลี่ย 3.60 เมตร ให้สามารถเก็บกักน้ำเมื่อรวมกับของเดิมได้ประมาณ 5,120,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 1,500 ไร่

ขุดลอกหนองเบ็น ปริมาณ 476,330 ลูกบาศก์เมตร และก่อสร้างบันไดหินก่อสร้าง 3 แห่ง กว้างแห่งละ 3 เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. ขุดลอกอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า ประกอบด้วย

- ขุดลอกอ่างฯแก่งละว้า 1 บ้านหัวช้าง ขนย้ายดินปริมาณ 112,640 ม3

- ขุดลอกอ่างฯ แก่งละว้า 2 บ้านป่าแดง ขนย้ายดินประมาณ 121,600 ม3  

ขุดลอกอ่างฯ แก่งละว้า 3 บ้านชีกค้อ ขนย้ายดินปริมาณ 92,160 ม3  รวม 3 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มตามศักยภาพและราษฎรได้มีการนำน้ำไปใช้ในการเกษตรได้

2. โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกองแก้ว ประกอบด้วย

- งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกองแก้ว 2 บ้านหนองหวาย ขนย้ายดินพร้อมเกลี่ยปริมาณ 45,163 ม3

- งานขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกองแก้ว 3 บ้านท่าข่อย ขนย้ายดินพร้อมเกลี่ยปริมาณ 75,962 ม3   รวม 2 แห่ง

3. โครงการขุดลอกหนองอ้อวัด ปริมาณดิน 60,866 มขนาดกว้าง 100 ม. ยาว 217 ม. ลึก 3.50 ม. สามารถเก็บกักน้ำฝนได้แล้วประมาณ 20% ของความจุ

4. โครงการขุดลอดหนองเมย ปริมาณดิน 76,024 ม3 ขนาดกว้าง 125 ม.ยาว 216 ม. ลึก 3.50 ม.

5. โครงการขุดลอกหนองตะกล้า ขนาดกว้าง 66 ม. ยาว 272 ม. ลึก 3.50 ม. พร้อมอาคารประกอบ

6. โครงการขุดลอกห้วยวังขุมปูน ขนาดกว้าง 18 ม. ยาว 5,500 ม. ลึก 3 ม.

ประโยชน์ของโครงการ

เป็นการพัฒนาปรับปรุงหนองน้ำธรรมชาติให้มีการเก็บกักน้ำได้มากยิ่งขึ้น และราษฎรมีน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอุปโภคบริโภคได้โดยตรง จำนวน 11 หมู่บ้าน 1,524 ครัวเรือน 6,536 คน และเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองไว้สนับสนุนพื้นที่การเกษตรประมาณ 1,243 ไร่ รวมทั้งใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามแนวทฤษฏีใหม่

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

สำหรับในปี 2543 อยู่ระหว่างดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มอีก 3 โครงการ คือ

1. ขุดลอกและก่อสร้างฝายห้วยน้ำลัด บ้านหนองผักตบ ตำบลโนนสมบูรณ์ กิ่งอำเภอบ้านแฮด โดยการขุดลอกปริมาณดินประมาณ 215,900 ลูกบาศก์เมตร และก่อสร้างฝายคอนกรีต เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำ 300,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 1,000 ไร่

2. ขุดลอกและก่อสร้างฝายอ่างเก็บน้ำบึงแก่งน้ำต้อน บ้านกุดกว้าง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง โดยการขุดลอกอ่างเก็บน้ำขนาดกว้าง 100 เมตร ยาว 2,108 เมตร ลึกเฉลี่ย 5 เมตร เสริมคันดินและอาคารระบายน้ำล้น ซึ่งจะเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น จำนวน 5.8 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 2,500 ไร่

3. ก่อสร้างประตูระบายน้ำบึงกุดเค้า โดยก่อสร้างทำนบดินยาว 146.5 เมตร สูง 4.4 เมตร และบานระบายขนาด 2-2 X 2 เมตร กักเก็บน้ำได้ประมาณ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 5,700 ไร่

    อ่างเก็บน้ำบึงแก่งน้ำต้อน บ้านกุดกว้าง หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองเก่า                      ฝายห้วยน้ำลัด ตำบลโนนสมบูรณ์ กิ่งอำเภอบ้านแฮด 

             กักเก็บน้ำได้ประมาณ 5.8 ล้านลูกบาศก์เมตร                                             กักเก็บน้ำได้ประมาณ 300,000 ลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

คณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่จะกักเก็บน้ำจากแม่น้ำชีไว้ตามหนองน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในบริเวณสองฝั่งลำน้ำชี ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2541 มีเป้าหมายการขุดลอกและพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 34 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 17 โครงการ

ประโยชน์ของโครงการ

สามารถกักเก็บน้ำได้รวม 58.65 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 31,984 ไร่

การพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี จะดำเนินการทั้งสร้างฝายและการขุดลอก เพื่อบรรเทาน้ำท่วมและเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2541 มีเป้าหมายการขุดลอกและพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 34 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 24 โครงการ สามารถกักเก็บน้ำได้รวม 58.65 ล้านลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์ของโครงการ

เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 31,984 ไร่ อยู่ระหว่างการดำเนินการในปี 2545 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการขุดลอกหนองวัดบัว หนองปลาช่อน หนองห้วยบง หนองโสกปลาเข้ง และกุดหมากเท้ง             

                       สภาพน้ำท่วมในฤดูฝนในพื้นที่สองฝั่งลำชี                                             การดำเนินการก่อสร้างในฤดูฝนทำได้ลำบาก

การดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการขุดลอกและการก่อสร้างอาคารรับน้ำเพื่อบรรเทาน้ำท่วมและสามารถกักเก็บน้ำใช้ในฤดูแล้ง

คณะทำงานดำเนินการสำรวจพื้นที่และความต้องการของราษฎรเพื่อจัดทำแปลงสาธิต

และส่งเสริมการใช้น้ำเพื่อการเกษตรตามความต้องการของราษฎรนอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

สำนักงาน กปร. ร่วมกับกรมชลประทานและกองทัพภาคที่ ๒ ได้สำรวจสภาพพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณสองฝั่งลำน้ำชีในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน ๓๔ แห่ง ลักษณะการดำเนินงานเป็นการขุดลอกหนองน้ำเดิมและก่อสร้างอาคารรับน้ำเข้าหนอง และการยกระดับน้ำโดยการสร้างฝายเพื่อทดน้ำให้สูงขึ้นเป็นการเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำให้มากขึ้น ทั้งนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ๒๙ แห่ง สามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำลำชีได้ทั้งสิ้น ๔๑,๓๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมด  ๒๘,๒๗๓ ไร่ นอกจากนี้ กรมชลประทานมีแผนงานที่จะดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำอีก ๕ แห่ง ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำได้ ๑,๗๔๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ จำนวน  ๓,๐๕๙ ไร่

                         สภาพลำน้ำชี                                                                              ตัวอย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี

                                                                                                                         ราษฎรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง          

                                                                                          (หนองเบ็น ตำบลหนองแปน  อำเภอมัญจาคีรี  จังหวัดขอนแก่น)

ประโยชน์ของโครงการ

ในการดำเนินงานตามโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ ๒ ประการ คือ

๑.      เป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูฝน

๒.     เก็บกักน้ำในฤดูฝนสำหรับเป็นแหล่งน้ำต้นทุนนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง

ทั้งนี้ สำนักงาน กปร. ได้ประสานจังหวัดขอนแก่นและกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมสนับสนุนการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร เพื่อให้การสนองพระราชดำริในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อราษฎรอย่างต่อเนื่อง คือ สามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร รายได้และทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตการเกษตรในพื้นที่  ๖ โครงการ ได้แก่

๑.

บึงแก่งน้ำต้อน

พื้นที่ทำการเกษตร

๑,๐๐๐

ไร่

๒.

หนองกุดโดก กุดพาน

พื้นที่ทำการเกษตร

๒,๐๐๐

ไร่

๓.

อ่างเก็บน้ำห้วยยาง

พื้นที่ทำการเกษตร

๕,๐๐๐

ไร่

๔.

แก่งละว้า ๑

พื้นที่ทำการเกษตร

๑,๘๐๐

ไร่

๕.

                   แก่งละว้า ๒

พื้นที่ทำการเกษตร

๒,๐๐๐

ไร่

  ๖.

บึงละหานนา

พื้นที่ทำการเกษตร

 ๑๑,๐๐๐

ไร่

         


โดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักใช้วัสดุในท้องถิ่น ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก และการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ปลอดภัยและเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม

 

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

๑.   แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ โดยส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร เช่น การสนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ  การสาธิตการทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคงและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

๒.  สนับสนุนให้ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริให้ราษฎรที่สนใจสามารถมาศึกษาหาความรู้เพื่อนำเอาไปปฏิบัติในที่ดินของตนเองต่อไป

๓.  สนับสนุนการปลูกพืชพลังงานทดแทน อาทิเช่น การปลูกไม้ ๓ อย่างแต่ให้ประโยชน์ ๔ อย่าง ได้แก่ ไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ ซึ่งเกษตรกรใช้ประโยชน์ได้ในระดับครัวเรือน และให้ประโยชน์ในการรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน หรือการส่งเสริมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากพืชทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร ทั้งนี้ โดยสามารถศึกษาตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ พลังงานทดแทนจากปาล์มน้ำมันที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ได้แก่  การศึกษาทดลองพลังงานทดแทนจากมันสำปะหลังที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ พลังงานทดแทนจากสบู่ดำที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ  เป็นต้น

๔.  ส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัย โดยการจัดทำโครงการเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี นอกจากนั้นยังเป็นการลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วยโดยการสนับสนุนให้ราษฎรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

ตัวอย่างเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี

 

นางไสว เถื่อนโยธา บ้านโนนเขวา เกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จาก  โครงการขุดลอกหนองโง้ง มีพื้นที่ทำกิน ๑ ไร่ ก่อนมีโครงการจะทำการปลูกพืชได้เพียงในช่วงฤดูฝน ปัจจุบันสามารถทำการเกษตรปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วลิสง  พืชผักได้ตลอดปี

นายทอง  จันทบุญ  บ้านละหานนา  มีที่ดินทำกิน ๑๐ ไร่ เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยคอก เพื่อบำรุงดินซึ่งทำให้ต้นข้าวมีการแตกกอและจำนวนเมล็ดต่อรวงเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ผลผลิต ๔๕๐ กิโลกรัม/ไร่  ในฤดูแล้งจะใช้น้ำจากบึงละหานนาในการปลูกพืชไร่หลังนา ได้แก่ ถั่วลิสง  ทำให้มีรายได้ตลอดปี

นายสุบิน  ดีสวน  บ้านบึงบัวทอง  มีที่ดินทำกิน ๓๖ ไร่ นำน้ำจากบึงละหานนามาใช้ในการปลูกพืชไร่หลังนา เลี้ยงสัตว์ และเลี้ยงปลา

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve