โครงการ สาธิต”ทฤษฎีใหม่” อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

28 ไร่ ตำบล ธงชัยเหนือ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการสาธิต “ทฤษฎีใหม่”

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้รับที่ดินที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย บริเวณบ้านฉัตรมงคล อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และพระราชทานที่ดังกล่าวให้จัดทำโครงการสาธิตทฤษฎีใหม่ขนาดเล็กๆ

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางจรรยา  ปั้นดี  เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 2 แปลง พื้นที่รวมทั้งสิ้น 21 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านฉัตรมงคล ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และพระราชทานที่ดินดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีพระราชดำริให้พิจารณาจัดทำเป็นโครงการสาธิต “ทฤษฎีใหม่”

ต่อมา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2541 นางสมควร มณีสุริยา ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าถวายที่ดิน ซึ่งอยู่ติดกันทางทิศใต้แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพิ่มเติมอีก จำนวน 7 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. กองทัพภาคที่ 2 ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ แล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังนี้

    - งานขุดสระน้ำ ขนาด 40 X 83 เมตร ลึก 4 เมตร คิดเป็นปริมาตรดิน 10,472 ลูกบาศก์เมตร และวางท่อน้ำขนาด 30 เซนติเมตร พร้อมกำแพงดินปากท่อ 2 แนว

- งานปรับพื้นที่เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่-สวน จำนวน 10 ไร่ พื้นที่สำหรับทำนา จำนวน 8 ไร่ และพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย จำนวน 1 ไร่

- ก่อสร้างอาคารศาลาวิชาการ ขนาด 6 X 9 เมตร เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงทางวิชาการ และเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ของโครงการ

- งานทำถนนลูกรังขนาดผิวจราจร 5 เมตร ยาว 464 เมตร โดยถมดินสูง 1 เมตร ผิวลูกรังหนา  10 เซนติเมตร และวางท่อลอดขนาด 60 เซนติเมตร ยาว 8 เมตร พร้อมกำแพงดินกั้น

2. กรมพัฒนาที่ดิน ได้ปลูกหญ้าแฝกบริเวณรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน จำนวน 6,000 ต้น

นางจรรยา  ปั้นดี เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน                            ถ้าทำโครงการสาธิต "ทฤษฎีใหม่" นี้เสร็จ

จำนวน 21 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา เพื่อทำเป็นโครงการสาธิต "ทฤษฎีใหม่"               ก็หมายความว่า ที่ต่างๆ หรือที่อื่น ก้ต้องทำได้ทั้งนั้น

                              ศาลาวิชาการเพื่อใช้แสดงข้อมูลทางการเกษตร                                    ปลูกแฝกบริเวณรอบขอบสระ

                                 และเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือของโครงการฯ                                  เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

                        ขุดสระกักเก็บน้ำขนาด 2 ไร่ ลึก 4 เมตร                         วางท่อทางน้ำเข้าขนาด 30 เซนติเมตร เพื่อรับน้ำเข้าสู่สระกักเก็บน้ำ

                สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

พัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานตามแนว “ทฤษฏีใหม่” โดยการจัดทำเรือนเพาะชำขนาด 20x20 เมตร จำนวน 1 หลัง ยกร่องทำแปลงขยายพันธุ์พืชและแปลงสาธิตพืชสมุนไพร และหว่านข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

1. พื้นที่ส่วนที่ 1  ประมาณ 15 ไร่ จัดทำโครงการสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่”

2. พื้นที่ส่วนที่ 2  ประมาณ 6 ไร่ ทำการเกษตรแบบวิถีชาวบ้านหรือวิธีการพื้นบ้านของเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบกับการทำการเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่”

3. พื้นที่ส่วนที่ 3  ประมาณ 7 ไร่ จัดทำเรือนเพาะชำ แปลงขยายพันธุ์พืชและแปลงสมุนไพร

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรได้รับประโยชน์โดยตรง 5 หมู่บ้าน 1 ตำบล ได้แก่ บ้านโคกศิลา บ้านคอนขว้าง บ้านโคกสะอาด บ้านไชโย และบ้านโคกเห็ดไคร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับการศึกษาอบรมทำให้สามารถนำไปปรับใช้ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นการยกมาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพดีขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2543  กำหนดแนวทางดำเนินงานโดยแบ่งการใช้พื้นที่เป็น 3 ส่วน

1. พื้นที่ส่วนที่ 1  ประมาณ 15 ไร่ จัดทำโครงการสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่”

2. พื้นที่ส่วนที่ 2  ประมาณ 6 ไร่ ทำการเกษตรแบบวิถีชาวบ้านหรือวิธีการพื้นบ้านของเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบกับการทำการเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่”

3. พื้นที่ส่วนที่ 3  ประมาณ 7 ไร่ จัดทำเรือนเพาะชำ แปลงขยายพันธุ์พืชและแปลงสมุนไพร

ประโยชน์ของโครงการ

เป็นต้นแบบสาธิตการทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งราษฎรทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาดูงานและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง พร้อมทั้งใช้เป็นแนวทางเลือกประกอบการตัดสินใจในการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่”

สระเก็บน้ำซึ่งสนับสนุนแปลงปลูกพืชผสมผสาน ซึ่งขณะนี้พืชที่ปลูกมีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตแล้ว

โดยจำหน่ายให้กับราษฎรในโครงการและบริเวณใกล้เคียงในราคาถูก เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีฐานะยากจน

          แปลงแสดงการปลูกข้าวตามแนวทฤษฎีใหม่                                                           แปลงแสดงการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม

             ให้ผลผลิตประมาณ 342 กิโลกรัมต่อไร่                                                                ให้ผลผลิตประมาณ 174 กิโลกรัมต่อไร่

การเลี้ยงไก่เนื้อพื้นเมืองพันธุ์ดี  ในระยะนี้ไก่ให้ไข่น้อยและมีเปอร์เซ็นต์การฟักต่ำมาก ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ 

ทำให้รายได้ไม่พอค่าอาหารไก่ เนื่องจากไก่มีอายุมากและอากาศในโรงเรือนร้อนเกินไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2544     สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. การปลูกข้าว  ทำนาในปี 2543 โดยวิธีปักดำ และการหว่าน ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ 4.5 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 387.8 กิโลกรัมต่อไร่

2. การปลูกพืชหลังนา  หลังการเก็บเกี่ยวข้าว และนวดข้าวแล้วในช่วงของการทำนาปี 2543 ประมาณเดือนมกราคม 2544 ได้ปลูกพืชไร่อายุสั้น ได้แก่ ข้าวโพดเทียนสุโขทัย 1 และหว่านถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36

3. การปลูกพืชผสมผสาน  ไม้ผลบางอย่างเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปี 2543  คือ ฝรั่ง มะละกอ กล้วย กระท้อน

4. การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงไก่ลูกผสม 3 ทาง โดยใช้พ่อพันธุ์พื้นเมืองและแม่ไก่พันธุ์เนื้อลูกผสมได้นำไข่มาฟักในตู้อบ สำหรับปลาเลี้ยงโดยให้อาหารตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นปลากินพืช แต่มีการให้อาหารสำเร็จรูปเสริมบ้าง

5.การถ่ายทอดเทคโนโลยี  มีเกษตรกรและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 ประมาณ 32 คณะ จำนวน 850 คน

พื้นที่บริเวณขอบสระน้ำ ปลูกไม้ผล พืชผัก ซึ่งความเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก

โดยมีราษฎรเข้ามาศึกษาดูงานและนำกลับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง

กิจกรรมปลูกพืช บริเวณคันดินและขอบสระน้ำ เพื่อสาธิตให้เห็นการบริหารจัดการดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสามารถทำได้จริง

ผลการดำเนินงาน ปี 2545    สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. กิจกรรมการปลูกข้าว

ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ 4.5 ไร่ ด้วยวิธีปักดำและหว่านในฤดูปกติ ได้ผลผลิตเฉลี่ยปริมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งนับได้ว่าให้ปริมาณผลผลิตสูงกว่าราษฎรที่เคยทำกันมา

2. กิจกรรมกากรปลูกพืชผสมผสาน

ปลูกพันธุ์ไม้ผลหลายชนิดในพื้นที่ 7 ไร่ เช่น มะม่วง ขนุน กระท้อน ฯลฯ ซึ่งมีความเจริญงอกงามดี ที่ปลุกหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวให้ผลผลิตพอใช้ได้ สามารถเก็บขายเป็นรายได้แล้ว

3. กิจกรรมการเลี้ยงไก่

ปศุสัตว์อำเภอปักธงชัย ได้นำไก่ 3 สายพันธุ์มาเลี้ยง ในช่วง 2 ปีแรก แต่เนื่องจากไก่มีเปอร์เซ็นต์การฟักไข่ต่ำ จึงเปลี่ยนสายพันธุ์ไก่มาเป็นไก่พื้นบ้านแทน

4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี

โครงการฯ ได้จำลองพื้นที่ โดยการจัดเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ชัดเจนในระบบการเกษตร “ทฤษฎีใหม่” ทำให้เกษตรกรและผู้สนใจศึกษาดูงานได้เห็นภาพรวมของกิจกรรมต่างๆ

ประโยชน์ของโครงการ

         เป็นต้นแบบสาธิตการทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งราษฎรทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษาดูงานและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง พร้อมทั้งใช้เป็นแนวทางเลือกประกอบการตัดสินใจในการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่”

                             กิจกรรมปลูกพืชผสมผสาน พื้นที่ 7 ไร่                                             ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่่เกษตรกร    

 

                                     

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านการเกษตร

curve