โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

สถานที่ตั้ง

65 หมู่บ้าน 5 ตำบล อำเภอ นาโพธิ์ จังหวัด บุรีรัมย์

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

จังหวัดบุรีรัมย์

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภอนาโพธิ์ ทรงรับทราบถึงปัญหาความแห้งแล้งและคุณภาพชีวิตของราษฎร จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับแผนแม่บทโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามพระราชดำริ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา “เกษตรเลื่องชื่อ ผ้าไหมลือเลื่อง” ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2544 ได้เสด็จฯ เยี่ยมโครงการฯ เพื่อทรงพระกรุณาติดตามผลการดำเนินงานและมีพระราชกระแสชื่นชมและเห็นควรให้พัฒนารูปแบบและคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

1. กรมการปกครอง  โดยอำเภอนาโพธิ์ ดำเนินการก่อสร้างอาคารผลิตผ้าไหม ร้านค้าสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของราษฎร ก่อสร้างถนนคอนกรีต จัดซื้อกี่และฟืมทอผ้า จำนวน 50 ชุด จักรพันรีมแบบธรรมดา 3 คัน และจักรแซกรังดุม 2 คัน

2. กรมชลประทาน ดำเนินงานสำรวจเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน โดยการขุดลอกลำห้วยกอก กักเก็บน้ำได้ 224,000 ลูกบาศก์เมตร ห้วยกลาง (ตูมกา) เก็บกักน้ำได้ 37,000 ลูกบาศก์เมตร และหนองแดง กักเก็บน้ำได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตร

3. กรมประมง  ดำเนินงานการเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำ 5 แห่ง  จัดทำโครงการประมงโรงเรียน 2 แห่ง

4. กรมพัฒนาที่ดิน จัดทำระบอนุรักษ์ที่ดินและน้ำในพื้นที่ 100 ไร่

5. กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำระบบให้น้ำในแปลงหม่อนพื้นที่ 50 ไร่

6. กรมปศุสัตว์ สนับสนุนอาหารสัตว์ให้แก่เกษตรกร จำนวน 10 ตัน

    อาคารผลิตผ้าไหม เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม                                              ร้านค้าสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของราษฎร

        งานพัฒนาอาชีพฝึกอบรมการเย็บเสื้อผ้า                                                    กี่และฟืมที่ราษฎรใช้เป็นเครื่องมือประกอบการทอผ้า 

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

กรมการพัฒนาชุมชนได้ทำการฝึกอบรมอาชีพการทอผ้าไหม การตัดเย็บเสื้อผ้า การเย็บกระเป๋าผ้าไหมและการตัดเย็บเน็คไทแก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้าน อำเภอนาโพธิ์ จำนวน 140 คน จาก 65 หมู่บ้าน 5 ตำบล

ประโยชน์ของโครงการ

สมาชิกกลุ่มแม่บ้านอำเภอนาโพธิ์ 65 หมู่บ้าน 5 ตำบล จำนวน 6,371 ครัวเรือน 25,285 คน และพื้นที่ใกล้เคียง มีความรู้ ความชำนาญ มีทักษะเพิ่มขึ้น ในกิจกรรมการทอผ้าไหม การตัดเย็บเสื้อผ้า

ราษฎร จำนวน 140 คน จาก 65 หมู่บ้าน 5 ตำบล เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ การทอผ้าไหม การตัดเย็บเสื้อผ้า การเย็บเสื้อผ้า การเย็บกระเป๋าผ้าไหม

และการตัดเย็บเน็คไท

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ

curve