โครงการ โครงการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้บ้านห้วยตาเปอะ และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล หนองสูงใต้ อำเภอ คำชะอี จังหวัด มุกดาหาร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้บ้านห้วยตาเปอะ และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอคำชะอี อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าและต้นน้ำลำธาร

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

ฟื้นฟูสภาพป่า โดยส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้เศรษฐกิจ และไม้กินได้ จำนวน 500,000 กล้า ฝึกอบรมและดูงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้ราษฎร มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎร 8 หมู่บ้าน เกิดจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ ดูแล และฟื้นฟูสภาพป่า ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศเกิดความสมดุลเพิ่มความหลากหลาย ทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์และเอื้อต่อการประกอบอาชีพของราษฎร ทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

เพาะชำกล้าไม้เศรษฐกิจ และไม้กินได้ จำนวน 150,000 กล้า จัดทำแนวกันไฟแบบป่าเปียกโดยปลูกต้นกล้วย 500 หน่อ และหญ้าแฝก 100,000 กล้า รวมทั้งจัดการฝึกอบรมและดูงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ราษฎรในพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ  8 หมู่บ้าน ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจะเอื้อต่อการประกอบอาชีพของราษฎรในระยะยาว 

คำอธิบาย: IMG_4505.JPG คำอธิบาย: P1090031.JPG

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

เพาะชำกล้าไม้เศรษฐกิจและไม้กินได้เช่น สัก มะค่าโมง พะยูง เพกา หวายไผ่รวก มะขามป้อม ฯลฯ 150,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรและหน่วยงานราชการต่างๆ จัดทำแนวกันไฟแบบป่าเปียก โดยปลูกต้นกล้วย 500 หน่อ และหญ้าแฝก 100,000 กล้า เพื่อเป็นแนวกันไฟและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ปลูกป่าธนาคารอาหารชุมชน และพืชสมุนไพร (Food Bank) เพิ่มแหล่งพืชอาหารของชุมชน ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว

ประโยชน์ของโครงการ

สามารถอนุรักษ์ป่าที่สมบูรณ์ให้คงสภาพและฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมเพื่อเป็นแหล่งน้ำ ลำธาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และทำให้ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน เกิดจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ ลดการบุกรุกทำลายป่า และสามารถเพิ่มแหล่งพืชอาหารของชุมชนได้มากขึ้น

คำอธิบาย: มะค่าโมง คำอธิบาย: 8


 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve