โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

102000 ไร่ ตำบล กกตูม อำเภอ ดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

 โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

เรื่องเดิม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และ 5 กรกฎาคม 2537 กับเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2537 ได้มีพระราชกระแสกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. สรุปความว่า

         ใ้ห้พิจารณาวางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำบางทรายตอนบน อำดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และพัฒนาอาชีพของราษฎรด้านการเกษตรกรรม ด้านศิลปาชีพ ด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารอีกด้วย ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำให้พิจารณาจัดดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยพุ อ่างเก็บน้ำห้วยหอย พร้อมระบบส่งน้ำเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านปากช่อง และบ้านหินกอง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร สำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตร และให้พิจารณาพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานให้เป็นลักษณะโครงการสหกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้วางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อพัฒนาอาชีพของราษฎรทั้งในด้านเกษตรกรรม ด้านศิลปาชีพ ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ โดยดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลำน้ำสาขาห้วยบางทราย พร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรให้แก่ราษฎรตำบลกกตูม ตลอดจนให้พิจารณาพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานให้เป็นลักษณะโครงการสหกรณ์

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้จัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือการทำการเกษตรปลูกและการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม  2537  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ โดยประสานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการเพื่อเร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคและทำการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร และศิลปาชีพ

พื้นที่โครงการฯ ทั้งหมด 102,000 ไร่ ได้สำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 เป็นเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า ครอบคลุมพื้นที่ 52,462 ไร่

ส่วนที่ 2 เป็นเขตพัฒนาการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตเกษตรน้ำฝน 31,600 ไร่ และพื้นที่เขตชลประทาน 8,400 ไร่

ส่วนที่ 3 เป็นเขตพัฒนาอาชีพเสริม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณกว่า 4,000 ไร่ และมีศูนย์ศิลปาชีพพิเศษของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้การอบรม และพัฒนาอาชีพในครัวเรือน

ผลการดำเนินงาน ปี 2538

ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

- อ่างเก็บน้ำห้วยพุ (ห้วยแข้) ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินยาว 365 เมตร สูง 25.80 เมตร กว้าง 8.00 เมตร ความจุ 3,600,000 ลูกบาศก์เมตร

- อ่างเก็บน้ำห้วยหอย ดำเนินการก่อสร้างทำนบดิน ยาว 365 เมตร สูง 15.50 เมตร กว้าง 6.00 เมตร ความจุ  2,000,000 ลูกบาศก์เมตร

         กำลังดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ                                           กำลังดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ

      3,600,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ 27                ขนาดความจุ 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ 26

1. งานพัฒนาที่ดิน

    - ปรับปรุงบำรุงดิน และอนุรักษ์ดินและน้ำ

2. งานพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม

    - ฝึกอบรมคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน

    - เพิ่มผลผลิตสัตว์ปีก

    -ส่งเสริมพืชผักสวนครัว

     - แก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร

3. งานส่งเสริมพัฒนาอาชีพ

    3.1 หัตถกรรมและช่างฝีมือ

         - ตุ๊กตาประดิษฐ์ , ทอผ้าไหม , ดอกไม้ประดิษฐ์ , ไม้กวาดดอกหญ้า และช่างซ่อมเครื่องยนต์

    3.2 ด้านการเกษตร

         - การปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผล , การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม , ไร่นาสวนผสม , การประมงและการเลี้ยงโคเนื้อ , ศึกษาพัฒนาปลูกพืชเศรษฐกิจ และส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร

ประโยชน์ของโครงการ

1 . จะทำให้ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 1,072 ครัวเรือน หรือ 5,048 คน ได้พัฒนาอาชีพทั้งในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง หัตถอุตสาหกรรม และเป็นการเสริมรายได้ให้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                  ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมคณะกรรมการหมู่บ้าน                                            การทำผ้ามัดหมี่

                   ฝ่ายกิจกรรมสตรีด้านการวางแผนระดับหมู่บ้าน

ผลการดำเนินงาน ปี 2539

1. ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ 

  1.1 อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ เขื่อนดินสูง 18 เมตร ยาว 970 เมตร ขนาดความจุ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร 

2. งานพัฒนาที่ดิน

                           - สำรวจ วางแผนการใช้ที่ดิน และทำแผนที่

                           - อบรมผู้นำเกษตรกร 50 ราย

                           - สาธิตและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน

3. งานพัฒนาคุณภาพชีวิต

                           - งานก่อสร้างระบบประปาประจำหมู่บ้าน

                           - งานก่อสร้างทำนบปลาประจำหมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ 1 แห่ง

                           - เพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำ 8 แห่ง

                           - สร้างศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง

                           - อบรมด้านโภชนาการปลา 6 หมู่บ้าน

                           - สร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 หลัง  2 แห่ง

4. งานส่งเสริมพัฒนาอาชีพ

                            3.1 ฝึกอบรมด้านช่าง

                            3.2 ฝึกอบรมเตรียมเข้าทำงาน

                            3.3 ฝึกอบรมกลุ่มสตรีด้านการจัดทำแผนและส่งเสริมอาชีพ

                            3.4 ส่งเสริมด้านการเกษตร

                                   - กิจกรรมการเกษตรผสมผสาน

                                   - ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว 100 ไร่

                                   - ส่งเสริมการปลูกถั่วลิสง 300 ไร่

                                   - ส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ 300 ไร่

                                   - ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร

5. กิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้

                             - งานก่อสร้างสำนักงานหน่วยป้องกันรักษาป่า และดำเนินงานป้องกันรักษาป่า

                             - ปลูกป่าเชิงอนุรักษ์ดินและน้ำ

                             - งานป้องกันไฟป่า

                             - งานจัดตั้งโครงการหมู่บ้านป่าไม้

                             - ปลูกฟื้นฟูสภาพป่า 500 ไร่ พร้อมแนวกันไฟ

                             - เพาะชำกล้าไม้

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 1,072 ครัวเรือน ได้พัฒนาอาชีพทั้งในด้านการเกษตร สหกรณ์ ประมงและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้มากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ

2. แผนงานพัฒนาป่าไม้

  งานฟื้นฟูและพัฒนาป่าไม้

  - งานปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่า 950 ไร่

  - งานบำรุงสวนป่าที่ปลูกเดิม 950 ไร่

  - งานปลูกแนวกันชน 500 ไร่

  - งานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า

3. แผนงานการพัฒนาที่ดิน

4. แผนงานพัฒนาอาชีพ

   จัดตั้งศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ประจำตำบลกกตูม

     - บริการผสมเทียม

     - บริการป้องกันสุขภาพสัตว์

     - ฝึกอบรมการเกษตร                    

5. แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม

6. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

7. งานติดตามผลการดำเนินงาน

    - จัดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานและการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ 102,000 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

1. ทำให้ราษฎรมีที่ดินทำกินที่ถูกต้อง และวางแผนการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับพื้นที่ อันจะนำไปสู่รายได้ ฐานะความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของราษฎรที่ดีขึ้น

2. สามารถรักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้คงสภาพ ลดการบุกรุก ทำลายป่าแหล่งต้นน้ำ ลำธาร รวมทั้งฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลายให้กลับคืนสภาพเดิม  ตลอดจนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

3. ทำให้ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง และอีก 1 หมู่บ้าน ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้พัฒนาอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์และด้านการอนุรักษ์ป่าไม้

  อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2540 กักเก็บน้ำได้                 อ่างเก็บน้ำห้วยพุุงสามารถกักเก็บน้ำได้ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร

        10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำสนับสนุน                                    สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เกษตรได้ 1,600 ไร่

                        พื้นที่เกษตรกรได้ 2,500 ไร่

ทางระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยพุง กำลังดำเนินการก่อสร้างแล้ว                         เรือนเพาะชำกล้าไม้สำหรับผลิตกล้าไม้

ประมาณร้อยละ 90 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2540                        เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาป่าให้สมบูรณ์

         อาคารสำนักงานสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด บนเนื้อที่ 33 ไร่                การส่งเสริมการปลูกยางพาราพันธ์ RRIM 600

                          เพื่อใช้ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ให้กับราษฎร                    แซมสับปะรดและพืชไร่แก่เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

                          

ผลการดำเนินงานปี 2541

สำนักงาน กปร. ได้ประสานส่วนราชการต่างๆ ดำเนินการตามรูปแบบพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อพัฒนาอนุรักษ์ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร รวมทั้งพัฒนาอาชีพของราษฎร โดยจำแนกออกเป็น 5 แผนงาน ซึ่งมีผลความก้าวหน้า ดังนี้

1. งานพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

- งานสระเก็บน้ำในไร่นาขนาดความจุ 1,260 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 65 บ่อ

- งานก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำจากคลองส่งน้ำไปสู่สระเก็บน้ำและแปลงปลูกพืชของเกษตรกร พื้นที่ 1,000 ไร่

2. งานฟื้นฟูและพัฒนาป่าไม้

- งานปลูกป่าแนวกันชน 20 กิโลเมตร เนื้อที่ 300 ไร่

- งานปลูกฟื้นฟูสภาพป่าเหนืออ่างเก็บน้ำและพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม จำนวน 800 ไร่

- งานบำรุงป่าที่ปลูกเป็นแนวกันชน ในปี 2540 จำนวน 500 ไร่

- งานป้องกันรักษาป่า และป้องกันไฟป่าพื้นที่ 102,000 ไร่

3. งานส่งเสริมสหกรณ์

- งานส่งเสริมดำเนินการธุรกิจการขาย โดยจัดตั้งร้านค้า สหกรณ์ และร้านค้าย่อยและธุรกิจรวบรวมผลผลิต

4. งานพัฒนาด้านประมง

- จัดตั้งศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง พื้นที่ 6 ไร่ สามารถผลิตพันธุ์ปลาได้ปีละกว่า 2 ล้านตัว

5. งานพัฒนาด้านปศุสัตว์

- งานพัฒนาปศุสัตว์ประจำตำบลกกตูม โดยให้บริการผสมเทียมโค กระบือ ป้องกันโรคและสุขภาพสัตว์

6. งานด้านการพัฒนาชุมชน

- งานก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

7. งานด้านสาธารณสุข

- งานก่อสร้างสุขามาตรฐาน จำนวน 288 ครัวเรือน

8. งานตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

ประโยชน์ของโครงการ

การดำเนินงานตามโครงการฯ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน ในพื้นที่โครงการฯ และบ้านห้วยตาเปอะ อำเภอคำชะอี รวมทั้งสิ้น 1,770 ครัวเรือน ทำให้ราษฎรมีแหล่งน้ำสำหรับประกอบการเกษตร ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายภาพ รวมถึงการรู้จักและเข้าใจในลักษณะการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำไปสู่รูปแบบการพัฒนาแบบพึ่งตนเองต่อไป

งานสระเก็บน้ำในไร่นาขนาดความจุ 1,260 ลูกบาศก์เมตร                                ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง พื้นที่ 6 ไร่     

                  การวางท่อส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยหอย                                              แนวท่อส่งน้ำของอ่างเก้บน้ำห้วยพุที่เสร็จแล้ว

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค โดยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน 7 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาตรสูงสุด 25 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ 8,400 ไร่

2. ด้านพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่า ดำเนินการบำรุงรักษาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ 52,462 ไร่ 

               - เป็นพื้นที่ปลูกป่าแนวกันชนระยะทาง 42 กิโลเมตร รวม 800 ไร่

               - ดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไปแล้ว 2,850 ไร่ ปัจจุบันปลูกป่าเพิ่มเติมอีก 950 ไร่ 

3. ด้านการพัฒนาที่ดิน ดำเนินการสำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ 102,000 ไร่

4. ด้านการพัฒนาอาชีพ

          4.1 การส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตรแก่ราษฎร ได้แก่

          - การปลูกยางพารา พื้นที่ 270 ไร่

          - การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พื้นที่ 150 ไร่

          - การปลูกข้าวไร่ จำนวน 200 ราย  พื้นที่ 1,050 ไร่

          - การปลูกไม้ผล พื้นที่ 450 ไร่

          - การทำไร่นาสวนผสม พื้นที่ 1,260 ไร่

          - การเกษตรแบบผสมผสาน พื้นที่ 460 ไร่ ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น

          4.2 การส่งเสริมอาชีพด้านประมงและปศุสัตว์ ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานการเลี้ยงปลาในนาข้าว จำนวน 210 ราย ปัจจุบันมีศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน ซึ่งสามารถผลิตพันธุ์ปลาสนับสนุนแก่ราษฎรได้ 2 ล้านตัว เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ

            4.3 การส่งเสริมระบบสหกรณ์ ได้จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัดมีสมาชิกทั้งสิ้น 752 ครอบครัว ซึ่งดำเนินการธุรกิจสหกรณ์ โดยจัดหาวัสดุการเกษตรแก่สมาชิก ได้แก่ ปุ๋ย อาหารสัตว์ และยาปราบศัตรูพืช บริการให้สินเชื่อด้านการเกษตร 2.7 ล้านบาท ตลอดจนการรวบรวมผลผลิตมันสำปะหลังของสมาชิกในลักษณะรวมขายเพื่อลดการถูกเอาเรียบและลดความเสี่ยงด้านราคา นอกจากนี้สหกรณ์ฯ ยังให้บริการด้านต่าง ๆ แก่สมาชิก อาทิ การอบรมผู้นำกลุ่มการส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มสตรีและเยาวชนให้สามารถประกอบอาชีพเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนต่อไป

5. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงสร้างพื้นฐาน

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

1. ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ    จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค โดยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ 7 แห่ง คือ

- อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ความจุ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่ สำหรับระบบส่งน้ำอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการส่งน้ำ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของพื้นที่รับน้ำ ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้ใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่แล้ว โดยราษฎรได้สร้างทำนบกั้นลำห้วยธรรมชาติไว้ 3 แห่ง และสูบน้ำเข้าแปลงเพาะปลูกได้ประมาณ 30 ราย

- อ่างเก็บน้ำห้วยพุง ความจุ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่

- อ่างเก็บน้ำห้วยตะไถ ความจุ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 400 ไร่

- อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน ความจุ 0.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้400 ไร่

- อ่างเก็บน้ำห้วยทา ความจุ 2.8 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่

- อ่างเก็บน้ำห้วยพุ ความจุ 4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่

- อ่างเก็บน้ำห้วยหอย ความจุ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่ได้ 1,200 ไร่

2. ด้านพัฒนาฟื้นฟูป่า     ดำเนินการบำรุงรักษาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ 52,462 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม 4,750 ไร่ ซึ่งได้ดำเนินการฟื้นฟูโดยการปลูกป่าซ่อมแซมแล้วเสร็จทั้งหมด รวมทั้งปลูกป่าแนวกันชนเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 950 ไร่ พร้อมจัดทำป้ายแบ่งเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าออกจากเขตชุมชน นอกจากนี้ได้จัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) ในเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินและเป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร

3. ด้านการพัฒนาที่ดิน    ดำเนินการสำรวจและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ และจัดเขตปฏิรูปที่ดินพร้อมมอบเอกสารสิทธิ์ สปก. 4-01 แก่ราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย เป็นจำนวน 3,396 ราย เป็นเนื้อที่ 50,834 ไร่ พร้อมนี้ได้ดำเนินการอบรมผู้นำเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงดิน 350 ราย ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดินแก่ราษฎรในพื้นที่โครงการโดยใช้ปุ๋ยคอก จำนวน 150 ไร่ และปุ๋ยพืชสด จำนวน 600 ไร่ เพื่อเพิ่มแร่ธาตุความสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกแก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ

4. ด้านการพัฒนาอาชีพ

4.1 การพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรกรรม ดำเนินการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎร ได้แก่

                                    - การปลูกยางพารา 833 ไร่

                                    - การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 490 ไร่

                                    - การปลูกข้าวไร่ 1,075 ไร่

                                    - การปลูกถั่วลิสง 350 ไร่

                                    - การเกษตรผสมผสาน 640 ไร่

                                    - การทำไร่นาสวนผสม 1,260 ไร่

                                    - การปลูกไม้ผล 450 ไร่

                                    - การปลูกหวาย 125 ไร่

                                    - การปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผล 100 ไร่

4.2 การพัฒนาอาชีพด้านปศุสัตว์ ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ไก่ เป็ดเทศ โดยได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ประจำตำบลกกตูม เพื่อบริการผสมเทียมโค กระบือ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ผลิตพันธุ์สัตว์เล็ก และสัตว์ปีก ได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย 11 หมู่บ้าน

4.3 การพัฒนาอาชีพด้านการปกครอง ดำเนินการก่อสร้างบ่อปลาประมงโรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง เพื่อผลิตพันธุ์ปลาปีละ 2,000,000 ตัว สำหรับสนับสนุนให้เกษตรกรและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเพื่อแพร่พันธุ์เป็นแหล่งอาหารแก่ชุมชน

4.4 การพัฒนาอาชีพเสริม ดำเนินการจัดฝึกอบรมกลุ่มอาชีพสาขาต่างๆ ให้แก่ เกษตรกร ซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม ได้แก การทอผ้าไหม การทำไม้กวาด การตัดเย็บ การซ่อมเครื่องยนต์ ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 612 คน

5. ด้านการพัฒนาระบบสหกรณ์

สหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 879 ครอบครัว ดำเนินการธุรกิจสหกรณ์โดยจัดหาวัสดุการเกษตรให้แก่สมาชิก อาทิ ปุ๋ย อาหารสัตว์ และยาปราบศัตรูพืช นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการอบรมผู้นำกลุ่มและส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มสตรีและเยาวชน

ปัจจุบันได้เตรียมจัดตั้งกลุ่มอาชีพสาขาต่างๆ ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ กลุ่มผู้เลี้ยงปลา กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร เป็นต้น เพื่อพัฒนาการผลิตให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นระบบ สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้กลุ่มมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่เข้มแข็งต่อไป นอกจากนี้ สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนเงินทุน จำนวน 1,000,000 บาท ให้สหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด สำหรับดำเนินงานธุรกิจสหกรณ์พัฒนาอาชีพของเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคงอันจะเกื้อกูลให้สหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด สามารถดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งต่อไป

6. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงสร้างพื้นฐาน

ดำเนินการพัฒนาสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ การศึกษาของเยาวชนและเด็กเล็ก โดยจัดตั้งโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  7 แห่ง ตลอดจนสถานีอนามัย 3 แห่ง เพื่อให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของราษฎร การป้องกันโรคระบาด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ กองบัญชาการตรวจตระเวนชายแดน ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการเตรียมความพร้อมของประชาชน โดยประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน การลักลอบตัดไม้ การรณรงค์การปลูกป่า และคัดเลือกราษฎรที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการขยายผล ต่อไป

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโคกกุง  บ้านสานแว้ บ้านคำผักกูด บ้านแก่งนาง หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 11 บ้านนาหินกอง และบ้านปากช่อง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มีน้ำสำหรับการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา ซึ่งจะทำให้ราษฎรสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างเต็มที่ และมีผลผลิตสำหรับการอุปโภค และเหลือขายเป็นรายได้ รวมทั้งการพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข ชุมชน อันส่งผลให้ราษฎรมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

                                การส่งเสริมเกษตรกรรมแก่ราษฎร                                              แปลงเพาะปลูกข้าวไร่ของเกษตรกร

                         การก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam)                     การปลูกป่าแนวกันชน และจัดทำป้ายแบ่งเขตอนุรักษ์ป่า

การอบรมเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ให้รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  การสัมมนาร่วมกันระหว่างส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น และราษฎร 

ผลการดำเนินงาน ปี 2545 

การพัฒนาแหล่งน้ำ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 7 แห่ง มีความจุรวม 25 ล้านลูกบาศก์เมตร  ส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 8,400 ไร่

การพัฒนาอาชีพการเกษตร  ดำเนินการส่งเสริมการปลูกข้าว กข 6 สำหรับพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน และส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อให้ราษฎรมีข้าวพอเพียงสำหรับบริโภคในครัวเรือน นอกจากนั้นได้ส่งเสริมการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 200 ไร่ ลิ้นจี่ ลำไย 320 ไร่ ขนุน 200 ไร่ หวาย 400 ไร่ ตลอดจนส่งเสริมการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงสุกรเป็นพื้นที่ประมาณรวมทั้งสิ้น 1,785 ไร่

การพัฒนาป่าไม้ บำรุงรักษาป่า 52,640 ไร่ และดำเนินการจัดทำฝายต้นน้ำลำธารขนาดเล็ก 30 แห่ง ขนาดกลาง 10 แห่ง เพื่อชะลอการไหลหลากของน้ำป่า

ประโยชน์ของโครงการ

1. ราษฎรมีแหล่งน้ำสำรองซึ่งมีปริมาณน้ำมากเพียงพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง ทำให้เกษตรกรสามารถเปลี่ยนวิถีการประกอบอาชีพจากการปลูกมันสำปะหลัง มาปลูกข้าวเพื่อบริโภคมากขึ้น

2. ทำให้ป่าไม้ที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟูสภาพ และมีฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้บริเวณใกล้เคียงมีความเขียวชอุ่มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สมบูรณ์

3. จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพและกระจายพื้นที่เพาะปลูกให้ครอบคลุมเขตส่งน้ำทั้ง 8,400 ไร่ และสร้างจิตสำนึกในการดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเองจากบุคคลภายนอก

4. ติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับราษฎรในพื้นที่ในด้านการส่งเสริมอาชีพให้มากขึ้น และประสานแผนงาน/งบประมาณให้ลงไปสู่พื้นที่เป้าหมายอย่างเป็นบูรณาการ

5. คัดเลือกเกษตรกรเพื่อฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เพื่อเป็นตัวอย่างนำร่องในหมู่บ้านเป้าหมายของโครงการ โดยทุกหน่วยงานให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เมื่อประสบความสำเร็จจะได้ถ่ายทอดไปสู่เกษตรกรรายอื่นต่อไป

6. ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการระวังป้องกันอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

7. สนับสนุนสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทรายเป็นแกนกลางในการส่งเสริมการผลิต การรวบรวมผลผลิต และจัดหาตลาดสำหรับจำหน่ายผลผลิตซึ่งมีผลงานก้าวหน้าในระดับหนึ่งแล้ว ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ราษฎรยินยอมอพยพออกจากป่าเพื่อมาทำกินในที่ดินทำกิน สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรม ควบคู่กับการดูแลรักษาป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2547

- ดำเนินการขุดสระเก็บน้ำในไร่นา ความจุ ๔,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบ ให้แก่ราษฎรตำบลกกตูม ๒๗ แห่ง โดยราษฎรมีส่วนร่วมออกเงินสบทบ รายละ ๕,๐๐๐ บาท  ปัจจุบันสามารถเก็บกักน้ำได้และราษฎรได้ใช้ประโยชน์จากสระน้ำในการทำการเกษตรแล้ว พร้อมทั้งได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำตามโครงการส่งเสริมการใช้น้ำและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรด้วย

- ได้จัดเจ้าหน้าที่นักประสานงานชุมชนชลประทาน และส่งเสริมการใช้น้ำประจำอ่างเก็บน้ำทั้ง ๗ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยพุง  อ่างเก็บน้ำห้วยตะไถ  อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน  อ่างเก็บน้ำห้วยพุ  อ่างเก็บน้ำห้วยหอย  อ่างเก็บน้ำห้วยทา  และอ่างเก็บน้ำ  ห้วยไผ่ เพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่เกี่ยวกับการใช้น้ำ การใช้ประโยชน์จากที่ดินและผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งได้ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการส่งน้ำและบำรุงรักษาการฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำเกี่ยวกับการบริหารการจัดการน้ำชลประทานและ การมีส่วนร่วมของเกษตรกร เพื่อกระตุ้นให้ราษฎรเห็นประโยชน์แก่ส่วนรวมมีการแบ่งปันน้ำใช้ให้ที่ดินแปลงใกล้เคียง  ซึ่งจะทำให้มีการกระจายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรมอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

1. ทำให้ราษฎรในเขตพื้นที่โครงการ จำนวน ๒๗ ครัวเรือน มีน้ำสำรองใช้อย่างเพียงพอในการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง อาทิ  การเพาะปลูกไม้ผล  พืชผัก การเลี้ยงสัตว์  และการเลี้ยงปลา ส่งผลให้ราษฎรในพื้นที่เป้าหมายมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์เพื่อบริโภคในครัวเรือ

2. เป็นการนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่โครงการฯ มาเติมลงสระเก็บน้ำในไร่นาซึ่งจะส่งผลให้ราษฎรสามารถเพาะปลูกพืชหมุนเวียน ได้ตลอดปี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

3. ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการใช้น้ำและดูแลรักษาระบบส่งน้ำ ให้สามารถใช้การได้ดี  ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับราษฎรในหมู่บ้าน ด้านการใช้น้ำชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

               ขุดสระเก็บน้ำในไร่นา จำนวน ๒๗ แห่ง                   ราษฎรผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีส่วนร่วมออกเงินสมทบรายละ ๕,๐๐๐ บาท

ผลการดำเนินงานปี 2548

๑.   ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำทั้ง ๗ แห่ง ความจุรวม ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยจัดจ้างนักประสานงานชุมชนชลประทาน (นปช. ชป.) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในด้านสำรวจความต้องการใช้น้ำของสมาชิกผู้ใช้น้ำ การวางแผนจัดสรรน้ำในแต่ละฤดูกาล  บำรุงรักษาคลองซอย คูน้ำ และอาคารชลประทาน จัดทำระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการใช้น้ำ จัดกิจกรรม เพื่อสาธารณประโยชน์ พร้อมทั้งดูแลรักษาสภาพแหล่งต้นน้ำไม่ให้เกิดมลพิษ นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่สมาชิก เพื่อให้ราษฎรมีความรู้และรู้จัก วิธีการนำน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งมีส่วนร่วมส่งเสริมการใช้น้ำ การรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.  ด้านพัฒนาป่าไม้  ป้องกันรักษาป่าพื้นที่ประมาณ ๕๒,๐๐๐ ไร่ ให้คงสภาพความสมบูรณ์ ดังนี้

๑)     ส่งเสริมการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง โดยเพาะชำกล้าไม้ ใช้สอยไม้ผลและไม้เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ หมากเม่า ๕,๐๐๐ กล้า ไผ่ป่า ๕๐,๐๐๐ กล้า และหวายดง ๕๐,๐๐๐ กล้า สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่และสนับสนุน ให้ราษฎรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกวิธี เป็นการส่งเสริมการขยายผลในที่ดินของราษฎร เพื่อเป็นแหล่งอาหารและเพิ่มพืชอาหารป่าโดยใช้ประโยชน์จากหน่อและลำต้น เพื่อบริโภคในครัวเรือนและแปรรูปเป็นสินค้า สำหรับจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่ราษฎร

๒)    ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่จำนวน ๕ รุ่น เพื่อทำให้เยาวชนเป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกวิธี และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ

๓)    อบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าจำนวน ๑๐ หมู่บ้าน เพื่อให้ “คน” และ“ป่า” สามารถอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของราษฎรจากผู้บุกรุกทำลายให้เป็นผู้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและราษฎรให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

๓.  ด้านพัฒนาอาชีพ

-  การส่งเสริมอาชีพเสริมแก่กลุ่มสตรี ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา การทอผ้าด้วยกี่กระตุก การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ การมัดย้อมและทอผ้าฝ้าย การตัดเย็บ รวมจำนวน ๑๘๐ คน เพื่อช่วยให้ราษฎรมีความรู้ในการประกอบอาชีพ   หลังจากการทำนา ทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นอีก ทั้งเป็นการลดปัญหาการว่างงานและการอพยพแรงงาน

-  การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมดำเนินการนำราษฎรไปศึกษาดูงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน ๖๐ คน ตลอดจนสนับสนุนการปลูกถั่วลิสงพันธุ์ดี จำนวน ๓๐๐ไร่ เพื่อเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์แก่ดิน

นอกจากนี้ยังได้มีการทำแปลงสาธิตปลูกกาแฟตามรูปแบบวนเกษตรพันธุ์อาราบิก้า และมะคาเดเมียในพื้นที่ ๕ ไร่ เพื่อให้ราษฎรใช้เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพต่อไป

๔.  ด้านพัฒนาที่ดิน

ในปี  ๒๕๔๖ ฯพณฯ นายจุลนภ  สนิทวงศ์  ณ  อยุธยา  องคมนตรีและที่ปรึกษา กปร. ได้มีบัญชาให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการใช้น้ำชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยพุงครอบคลุมพื้นที่ ๑,๒๐๐ ไร่ โดยได้ดำเนินงานดังนี้  

๑.)   ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นแปลงนาในลักษณะของ Bench Terrace จำนวน ๑,๑๙๕ ไร่ สามารถเพิ่มพื้นที่ทำนาได้มากขึ้นเนื่องจากแปลงนาสม่ำเสมอและมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ราษฎรสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตที่สูงขึ้น

๒.)   ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด จำนวน ๑,๒๐๐ ไร่ ด้วยการไถกลบเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก

๓.)   จัดหากิ่งพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดีแจกจ่ายให้เกษตรกรปลูกไว้บริโภค จำนวน ๘๒๕  กิ่ง ได้แก่ เงาะ  ลำไย  ฝรั่ง และส้มโอ

๔.)   แนวทางการส่งเสริมการเกษตร มีแนวทางดำเนินงานดังนี้

             ๑.   พื้นที่นา ในช่วงฤดูฝนเกษตรกรจะปลูกข้าวเพื่อให้มีผลผลิตที่เพียงพอสำหรับบริโภคในครัวเรือน หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น  แตงร้าน  ข้าวโพดหวาน  ถั่วลิสง  พืชผักสวนครัว และผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดเพื่อจำหน่าย โดยกรมพัฒนาที่ดินจะเป็นผู้รับซื้อและประกันราคาผลผลิต ซึ่งทำให้ราษฎรมีรายได้ตลอดปี อีกทั้งเป็นการปรับปรุงบำรุงดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

             ๒.   พื้นที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและพืชอื่น ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่เชิงอนุรักษ์ เช่น การไถพรวนดิน การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการชะล้าง         พังทลายของดิน โดยการใช้หญ้าแฝกควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงดิน เช่น ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด

๕.  ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต

สหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด ทำหน้าที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพให้ราษฎรมีการช่วยเหลือพึ่งพากันในกลุ่ม และสนับสนุนครัวเรือนในการประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว นอกจากนี้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ ได้สนับสนุนการอบรมปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรมให้แก่  เยาวชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน

๖.   ด้านประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงาน

เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้ราษฎรได้รับทราบ มีความเข้าใจและมีทัศนคติเชิงบวกในการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานรับทราบปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและความต้องการของประชาชน

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

๑.  กำหนดพื้นที่นำร่องโดยแบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็น ๒ พื้นที่ที่มีความพร้อมคือ พื้นที่ในเขตรับน้ำชลประทาน ๔๓๐ ไร่ ซึ่งสำนักงานพัฒนาที่ดิน

จังหวัดมุกดาหารจะดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรที่มีความขยันและตั้งใจเข้าร่วมโครงการประมาณ ๓๐ ราย พื้นที่ ๑๒๐ ไร่ เพื่อเป็นเกษตรกรตัวอย่าง (กลุ่มปลูกพืชหลังนาเพื่อการปรับปรุงดิน) ส่วนที่เหลืออีก ๓๑๐ ไร่ จะดำเนินการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาในลักษณะของการจ้างเกษตรกรเป็นแรงงาน

๒.  การจัดทำแปลงสาธิต  เนื้อที่ประมาณ ๕–๑๐ ไร่

-     สาธิตการปลูกไม้ผลในพื้นที่ดินลูกรัง เพื่อปรับสภาพดินและปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

-     สาธิตการปลูกไม้ผลตามแนวระดับพื้นที่ที่มีความลาดชันควบคู่กับการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย

-     สาธิตการปลูกยางพารา

๓.  เน้นการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ทั้งในเขตพื้นที่
ชลประทาน และพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อวางแผนทางการพัฒนาที่เหมาะสม และเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่ดีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเร่งพัฒนาบทบาทของสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทรายฯ ให้มีความเข้มแข็ง เป็นองค์กรกลางของชุมชนในการพัฒนาจิตใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความร่วมมือสมานฉันท์ตามอุดมการณ์ของสหกรณ์

สภาพพื้นที่ก่อนมีโครงการ

ผลการดำเนินงานปี 2549

สำนักงาน กปร.ได้ประสานให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบบูรณาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน มีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจมาตามลำดับ  โดยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่  อ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง ศูนย์ประสานงานโครงการฯ ฯลฯ ด้านพัฒนาป่าไม้ได้มีการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่า ทำให้ป่าไม้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ด้านการพัฒนาที่ดินได้มีการสำรวจวางแผนการใช้ที่ดิน และจัดที่ดินทำกิน ด้านการพัฒนาอาชีพได้มีการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิด การปศุสัตว์  การประมง และอาชีพเสริม ตลอดจนส่งเสริมระบบสหกรณ์ในพื้นที่โครงการสำหรับปีงบประมาณ 2549 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.      ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

       ในพื้นที่โครงการมีอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง มีศักยภาพความจุ รวม 25,500,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทำการเกษตร 8,900 ไร่ แต่ในปีพ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนน้อย ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บน้อยกว่าทุกๆปี

ปริมาณน้ำกักเก็บน้ำ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2549

อ่างเก็บน้ำห้วยไผ่                   9,378,000        ลูกบาศก์เมตร              (ร้อยละ 87)

อ่างเก็บน้ำห้วยพุ                    3,093,000        ลูกบาศก์เมตร               (ร้อยละ 68)

อ่างเก็บน้ำห้วยพุง                  3,014,000        ลูกบาศก์เมตร                (ร้อยละ 74)

อ่างเก็บน้ำห้วยทา                   2,034,000       ลูกบาศก์เมตร                (ร้อยละ 89)

อ่างเก็บน้ำห้วยหอย                  710,000         ลูกบาศก์เมตร                (ร้อยละ 35)

อ่างเก็บน้ำห้วยตะไถ                405,000         ลูกบาศก์เมตร                 (ร้อยละ 52)

อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน                  540,000         ลูกบาศก์เมตร                (ร้อยละ 100)

รวมทั้งสิ้น                      19,174,000     ลูกบาศก์เมตร          (ร้อยละ 75)

                               อ่างเก็บน้ำห้วยพุง ความจุ 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 1,600 ไร่

2.      ด้านการพัฒนาส่งเสริมอาชีพ

2.1   ส่งเสริมการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง โดยเพาะชำกล้าไม้ใช้สอยไม้ผลและไม้เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ หมากเม่า 6,000 กล้า กล้าไม้ไผ่ 40,000 กล้า กล้าหวายดง 50,000 กล้า โดยให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปลูกพืชอาหารป่า เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ดินและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างถูกวิธี โดยมีอัตราการรอดตายร้อยละ 80 ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตพืชป่าที่มีความหลากหลายและสามารถใช้ประโยชน์จากหน่อและลำต้นสำหรับการบริโภคและแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายเพิ่มรายได้เสริมให้แก่ราษฎร

2.2   ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่  5 รุ่น 300 คน เพื่อให้เยาวชนเป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและราษฎรให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

2.3   อบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) 10 หมู่บ้าน 291 คน เพื่อให้ “คน” และ “ป่า” สามารถอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ราษฎร

เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของราษฎรจากผู้บุกรุกทำลายป่าให้เป็นคนดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน

2.4  ฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณต้นน้ำภายในพื้นที่โครงการฯ โดยการเพาะชำกล้าไม้ ชนิดต่างๆ 200,000 กล้าประกอบด้วย ประดู่ สัก ไผ่ สะเดา ขี้เหล็ก นนทรี ยางนา ตีนเป็ด มะกอกป่า พันชาด เม่า เต็ง และส่งเสริมราษฎรในท้องถิ่นปลูกป่าซ่อมแซมป่าเสื่อมโทรมพื้นที่ 1,000 ไร่

2.5  ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน (Check  Dam) 200 ฝาย เพื่อกักเก็บน้ำไว้บนภูเขา  สร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ ดิน และบรรยากาศไม่ให้เกิดความแห้งแล้ง โดยใช้แรงงานจากราษฎรในพื้นที่ 100 คน เป็นการสร้างงานและรายได้แก่ราษฎร

3.      ด้านการพัฒนาที่ดิน

วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการนำร่อง (พื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำห้วยพุง 1,600 ไร่) โดยในฤดูฝนส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่
ที่มีการปรับรูปแปลงนาแล้ว  ทำให้จากเดิมพื้นที่นี้เคยปลูกมันสำปะหลัง  ปัจจุบันสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน สำหรับฤดูแล้งได้คัดเลือกเกษตรกรประมาณ  30 ราย สนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้ง ได้แก่ โสนอัฟริกัน  ปอเทือง เป็นต้น เพื่อปรับปรุงบำรุงดินที่เสื่อมโทรมให้คืนความอุดมสมบูรณ์

4.      ด้านการพัฒนาอาชีพ

-  ส่งเสริมการปลูกกาแฟตามรูปแบบวนเกษตร 10 ไร่ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ราษฎรในการประกอบอาชีพและทำให้มีรายได้จากการปลูกสวนป่า ปัจจุบันต้นกาแฟสามารถเจริญเติบโตได้ดี  เริ่มออกดอกและให้ผลผลิตแล้ว 

-  อบรมเกษตรกรในการปลูกสบู่ดำและสาธิตการนำไปใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิง 2 รุ่น 140 คน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็กและลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 

-  ฝึกอบรมอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เพิ่มทักษะและจัดตั้งศูนย์ผลิตและจำหน่าย 30 คน

-  ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองและส่งเสริมอาชีพทอผ้ามัดหมี่ 60  คน  ทำให้ราษฎรมีอาชีพเสริม

-  ศึกษาดูงานการบรรจุหีบห่อผลผลิตทางการเกษตร สำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และพัฒนาระบบการตลาด 2 รุ่น 60 คน

-  นำเกษตรกรศึกษาดูงานการจัดทำแปลงสาธิตไม้ผล แปลงพืชผักสวนครัว สาธิตระบบการเลี้ยงโค สัตว์ปีกและจัดทำระบบบ้านเกษตรพอเพียงตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่  ณ โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดงยอและโครงการฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า 190 คน เพื่อเพิ่มทักษะและขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยังเป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้

5.      ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

-  จัดจ้างครูอาสาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 5 คน เพื่อให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่เยาวชนให้ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน

-  ปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรมแก่ประชาชนและเยาวชน 2 รุ่น 140 คน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน เช่น สร้างความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัว ส่งเสริมการออกกำลังกาย ประชาสัมพันธ์และอบรมเรื่องโทษของยาเสพติด และฝึกอบรมอาชีพเยาวชน เป็นต้น

6.      ด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงาน

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการให้ราษฎรได้รับทราบ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าตลอดจนปัญหา  อุปสรรคระหว่างการดำเนินโครงการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของโครงการ

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรในพื้นที่ชลประทานมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นจากที่เคยปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียว ปัจจุบันสามารถประกอบอาชีพเกษตรผสมผสานทำสวนมะละกอ สวนยางพารา  สวนส้ม ฯลฯ ส่งผลให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม มีรายได้เฉลี่ย 28,000 บาทต่อครัวเรือน ต่อปี (ปีพ.ศ. 2540) ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 46,000 บาท ต่อครัวเรือน ต่อปี (ปี พ.ศ. 2546)

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

-     วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำที่เหลืออยู่อีก 6 แห่ง ตามรูปแบบโครงการนำร่องของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำห้วยพุง

-    บริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน 7 แห่ง เพื่อให้มีการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

-     ส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสาน เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีการเพาะปลูกจากพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นพืชหลากหลายหรือพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าควบคู่กับการปรับปรุงบำรุงดินและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

-    เตรียมจัดหาพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร (ชุมชนโนนป่าก่อ) ที่อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน  66  ครัวเรือนให้ ออกมาจากป่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านตามรูปแบบของบ้านศรีถาวรพนาที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 โดยมีราษฎรร้อยละ 90  ยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการและให้ความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพ  การพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ คนและป่า ทั้งนี้จะช่วยลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า และส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงานปี 2550

1.      แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ

         1.1    ฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ใช้น้ำชลประทานทั้ง 7 อ่าง อ่างละ 50 คน รวม 350 คน โดยการพบปะเกษตรกร การสำรวจปัญหาและความต้องการ กำหนดแนวทางแก้ไขร่วมกัน ตลอดจนการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำตามระเบียบข้อบังคับ

         1.2    ส่งเสริมการใช้น้ำและมีส่วนร่วมของเกษตรกร การจัดจ้าง นักประสานงานชุมชน  12 คน เพื่อเสริมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการพบปะและรับทราบปัญหาในการส่งน้ำ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลการใช้น้ำ การเพาะปลูกพืช และร่วมให้คำแนะนำในการใช้น้ำอย่างถูกวิธีกับเกษตรกร

2.      แผนงานพัฒนาป่าไม้

2.1    เพาะชำหมากเม่าต่อยอดพันธุ์ดี  5,000 กล้า  เพาะชำกล้าไม้ไผ่   150,000 กล้า  เพาะชำกล้าหวายดง  50,000 กล้า  เพาะชำกล้าไม้โตเร็ว    เพื่อทดแทนไม้ฟืนจากป่า  250,000  กล้า

2.2    ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่ (ยชป. พม.)  4 รุ่น 349 คน  เพื่อให้เป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำเป็นการสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและราษฎรให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

2.3    ฝึกอบรมพนักงานราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)  10 หมู่บ้าน  172 คน  เพื่อให้ “คน”  และ “ป่า”  สามารถอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  สร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีความรู้  ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน

2.4    ประกวดผลงานนิทรรศการด้านการอนุรักษ์และพัฒนา 13 หมู่บ้าน  3 คน และการประกวดการกล่าวสุนทรพจน์  เรื่อง คนอยู่ร่วมกับป่า 5 คน  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ด้านการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืนและปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์แก่ชุมชนและประชาชนทั่วไป


3.2    สาธิตการปลูกกาแฟตามรูปแบบวนเกษตร 10 ไร่ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ราษฎรในการประกอบอาชีพและทำให้มีรายได้จากการปลูกสวนป่า  ปัจจุบันได้ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 250 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี3.1    เพาะกล้าสบู่ดำ    40,000 ต้น  และได้แจกจ่ายสบู่ดำให้เกษตรกรนำไปปลูกตามท้องไร่ปลายนา พร้อมสร้างแปลงทดสอบ  5 ไร่  1  แปลง  ที่บ้านคำผักกูด หมู่ที่  6  ตำบลกกตูม  เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แหล่งผลิตพืชพลังงานทดแทนที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล โดยสามารถผลิตขึ้นไว้ใช้เองได้ในระดับครัวเรือน  ชุมชน  และเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย  ร่วมกับองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรและชุมชนให้เข้มแข็ง

3.3 ส่งเสริมการปลูกข้าว พื้นที่ 755 ไร่ เกษตรกร 186 ราย และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวประจำหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมการกระจายข้าวพันธุ์ดีภายในชุมชน

3.4 ฝึกอบรมการกรีดยาง  เกษตรกร  110 ราย  เกษตรกรที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความสามารถและทักษะในการกรีดยางพารา

3.5    ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดินแก่ราษฎร  100 ราย 13 หมู่บ้าน  เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้ราษฎรมีอาหารโปรตีนไว้บริโภคในครัวเรือนและเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ


3.6 สำรวจและประเมินผลผลิตด้านการประมงของเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 500 ราย 12 หมู่บ้าน  เพื่อเป็นการจัดเก็บข้อมูลผลผลิต  แก้ไขปัญหาผลผลิตด้านการประมง  และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร

3.7    พัฒนาการจักสานและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านแก่งนาง หมู่ที่ 7  ตำบลกกตูม  19 คน  สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 5,000 บาท    ต่อคนต่อปี

3.9    ฝึกอบรมกลุ่มอาชีพตามถนัด “ตามรอยพ่อชีวิตที่พอเพียง” ฝึกอบรมอาชีพและแจกปัจจัยการผลิตให้กับผู้เข้ารับการอบรม 74 คน ได้แก่กลุ่มอาชีพทำขนมทองม้วน กล้วยฉาบและการทำน้ำผลไม้3.8    ฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้และเพิ่มศักยภาพสมาชิกสหกรณ์ห้วยบางทราย สมาชิก 100 คน  โดยจัดฝึกอบรมภาคทฤษฎี 1 วันและศึกษาดูงาน 2 วัน เพื่อให้สมาชิกผู้ฝึกอบรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ได้นำไปปรับใช้และปรับปรุงดำเนินงานในสหกรณ์และนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมต่อเนื่องให้สมาชิกสหกรณ์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสหกรณ์ โดยการระดมทุนในสหกรณ์ ทำธุรกิจในสหกรณ์ให้ เข้าใจบทบาทสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกเพิ่มมากขึ้น

3.10  ฝึกอบรม “โรงเรียนผู้นำ สร้างความเข้มแข็ง” ผู้เข้าอบรม 100 คน เพื่อสร้างจิตสำนึกและตระหนักให้ราษฎรมีความรู้รักสามัคคี การให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาหมู่บ้าน การป้องกันและรักษาทรัพยากรป่าไม้ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

3.11  ฝึกอบรมการเผยแพร่อาชีพการทอและการออกแบบผ้าห่มลวดลายต่างๆ ตามความต้องของตลาด ผู้อบรม 20 ราย

3.12  พัฒนาเทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (สีสมุนไพร) เพื่อเพิ่มทักษะ 20 สี การทอผ้าเป็นผืน ผ้าพันคอ ผ้าขาวม้า ผ้าผืน  60 กี่ และการแปรรูปเป็นกระเป๋า ตุ๊กตา ผ้าเช็ดมือ ผู้อบรม 30 ราย

3.13  ฝึกอบรมการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา อบรมการทำดอกไม้ประดิษฐ์ชนิดต่างๆ จากใบยางพารา และดอกไม้ไร่นาซึ่งเป็นดอกไม้แห้งและใช้ไม้ไผ่เป็นแจกัน ผู้เข้าอบรม 30 ราย

3.14   โครงการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

3.15  ฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมวกคาวบอย เพื่อสวมใส่ท่องเที่ยวหรือทัศนาจร

4.      ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

4.1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่โครงการจำนวน 11 หมู่บ้าน ให้มีความรู้ ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ สร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับคณะทำงาน ตลอดจนราษฎรได้รับความรู้จากการสาธิตอาชีพเสริมด้านต่างๆ ได้แก่ การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากแป้งข้าวเจ้า การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดชีวภาพ การวางแผนชีวิต และตลอดจนทำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

4.2 ก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.33 รางระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บ้านศรีถาวรพนา และราษฎรบริเวณใกล้เคียง

4.3 จัดประชุมสัมมนาปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรมให้กับประชาชน เยาวชน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำหมู่บ้าน      14 หมู่บ้าน 280 คน

5.      ด้านการติดตามและประชาสัมพันธ์โครงการ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯให้ราษฎรทราบและให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ ตลอดจนรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและทำให้ราษฎรได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการและได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2550 พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดมุกดาหารโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน

ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด  สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน  ทำให้ราษฎรมีความรู้เพิ่มทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน  มีทางเลือกในการประกอบอาชีพหลากหลาย  ส่งเสริมการรวมกลุ่ม  สร้างความเข้มแข็ง  พึ่งพา เกื้อกูลซึ่งกันและกัน  สร้างรายได้  ลดปัญหาการว่างงานและการอพยพแรงงานประโยชน์ของโครงการ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.   ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทาน 7 แห่ง เพื่อให้มีการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

2.   ส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสาน ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเน้นการพัฒนาเพื่อพออยู่พอกิน การพัฒนาความสามารถและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยยึดหลักความประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย ลดความเสี่ยง ความไม่แน่นอนทางดินฟ้าอากาศ ผลผลิต การตลาดฯลฯ ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติและใช้สารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช

3.   ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพด้านต่างๆตลอดจนการให้ความรู้ด้านสหกรณ์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

4.   ส่วนราชการที่เกี่ยงข้องร่วมกันวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ชลประทานที่เหลืออยู่อีก 6 แห่ง ตามรูปแบบโครงการนำร่องของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยพุง

5.   ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนในการดำเนินงานโครงการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การผลิต และการตลาด

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

1.    ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ  ส่งเสริมการใช้น้ำและมีส่วนร่วมของราษฎรโดยการจัดจ้าง นักประสานงานชุมชนเพื่อเสริมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการพบปะและรับทราบปัญหาการส่งน้ำ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลการใช้น้ำ การเพาะปลูกพืช และร่วมให้คำแนะนำในการใช้น้ำอย่างถูกวิธีแก่ราษฎร

2.    ด้านการพัฒนาป่าไม้

2.1  เพาะชำหมากเม่าต่อยอด 10,000 ต้น   เพาะชำกล้าไม้ไผ่   ชนิดต่างๆ 150,000 ต้น   เพาะชำกล้าหวายดง 100,000 ต้น

2.2     ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่ (ยชป. พม.) 4 รุ่น 400-500 คน เพื่อให้เป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำเป็นการสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและราษฎรให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

2.3  ฝึกอบรมทบทวนราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) 10 หมู่บ้าน 100 คน  เพื่อให้ “คน” และ “ป่า” สามารถอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน

2.4  ปลูกป่าชุมชนในหมู่บ้านเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บ้านสุขสวัสดิ์ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร 100 ไร่ โดยใช้กล้าไม้รวม     6  ชนิด  จำนวน 40,000 กล้า

2.5  ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบกึ่งถาวรในลำห้วยสาขาของห้วยตาเปอะ ห้วยเลา ห้วยแคน  และห้วยในยาง  ท้องที่บ้านตาเปอะ  บ้านโนนสมบูรณ์  และบ้านด่านช้าง ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 40 ฝาย

3.    ด้านการพัฒนาที่ดิน

บุกเบิกพื้นที่และจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำพื้นที่เขตชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ 1,500 ไร่   ปรับรูปแปลงนา 5 กิโลเมตร ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 100,000 กล้า  อนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 1,450 ไร่

4.    ด้านการพัฒนาอาชีพ

4.1  ฝึกอบรมเพิ่มทักษะสมาชิกด้านการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์กลุ่มจักสานไม้ไผ่ 50 คน

4.2  ฝึกอบรมราษฎรทำบรรจุภัณฑ์ 20 ผลิตภัณฑ์ ๆ ละ 5,000 ชิ้นพร้อมทำฉลากและบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ เสื้อเย็บมือ  หมวกคาวบอย  และดอกไม้ประดิษฐ์

4.3  พัฒนาเครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง และตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

4.4  ศึกษาการปลูกกาแฟในพื้นที่ป่าตามรูปแบบวนศาสตร์เกษตร 10 ไร่  จำนวน 4,000 ต้น  และศึกษาการปลูกชาในพื้นที่ป่าตามรูปแบบวนศาสตร์เกษตร 2.5 ไร่

4.5  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โดยการฝึกอบรมราษฎรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 100 ราย

4.6  ฝึกอบรมการกรีดยางพาราให้แก่ราษฎรตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง และตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 80 ราย

4.7  ฟื้นฟูสภาพป่าและทรัพยากรธรรมชาติโดยปลูกต้นไม้ ปรับสภาพพื้นที่บริเวณอุโมงค์ผันน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่และป้ายสื่อความหมาย

5.    ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

5.1  จัดประชุมสัมมนาปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ราษฎร เยาวชน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน

5.2  ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ และฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

6.    ด้านสหกรณ์

ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำกัด ตั้งแต่ปี 2538  โดยมีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 155 ครอบครัว และขณะนี้มีสมาชิกทั้งสิ้นจำนวน 1,180 ครอบครัว  มีเงินทุนดำเนินงาน 9,381,693 บาท    คิดเป็นทุนเรือนหุ้น 675,640 บาท  และสหกรณ์ได้ดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โรงสีข้าว  การรวบรวมผลผลิต เช่น มันสำปะหลัง  ธุรกิจจัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก และธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร

7.    ด้านการติดตามและประชาสัมพันธ์โครงการ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ให้ราษฎรทราบและให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ ตลอดจนรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและทำให้ราษฎรได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการและได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทำให้ราษฎรมีความรู้เพิ่มทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน รู้จักรวมกลุ่มการผลิตเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์และรวมกลุ่มการขายผลผลิตในลักษณะของระบบสหกรณ์การเกษตร โดยนำความรู้ในการดำเนินงานของสหกรณ์ไปถ่ายทอดให้แก่สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลายมากขึ้น ทำให้มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการว่างงาน และอพยพแรงงานราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำเนินงาน ปี 2552  การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการในด้านการจัดหาแหล่งน้ำพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์  ศิลปาชีพ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรวมกลุ่มบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.    งานพัฒนาแหล่งน้ำ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง มีศักยภาพความจุรวม 24,520,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร  8,900 ไร่ และเพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้ส่งเสริมการใช้น้ำและสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการบริหารจัดการใช้น้ำร่วมกันอย่างทั่วถึง และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ใช้น้ำชลประทานทั้ง 7 อ่าง ซึ่งในฤดูแล้งปี 2552 ราษฎรมีการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกถึง 5,086 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57 และฤดูฝนทำนาปีถึง 8,595 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของพื้นที่ชลประทาน

กล่องข้อความ:
กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

2.    งานพัฒนาป่าไม้

ฟื้นฟูสภาพป่าไม้บริเวณต้นน้ำและเหนืออ่างเก็บน้ำประมาณ 5,000 ไร่ ปลูกป่าแนวกันชนระหว่างราษฎรกับป่าอนุรักษ์ 800 ไร่ ซึ่งจากสภาพเป็นป่าหญ้าคา จนขณะนี้เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเพิ่มความชุ่มชื้น โดยการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบกึ่งถาวร รวมทั้งเพาะชำพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เช่น กาแฟ หวายดง ไม้ไผ่ ตลอดจนสร้างค่านิยมและแนวคิดในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพิทักษ์ป่า โดยฝึกอบรมเยาวชนและราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ซึ่งมีผลทำให้ราษฎรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการป้องกันและดูแลทรัพยากรป่าไม้ ให้คงอยู่ต่อไป

หลัง 2.JPG
หลัง 1.JPG

3.    งานพัฒนาที่ดิน

เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินทราย ดินตื้น และมีความลาดชันสูง จึงต้องปรับปรุงบำรุงดิน 600 ไร่ และปรับรูปแปลงนา 1,200 ไร่ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก โดยดำเนินการในพื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อน ซึ่งราษฎรเพาะปลูกได้ผลผลิตมากขึ้นและมีการใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุง บำรุงดิน จำนวน 80 ไร่ ร่วมไปกับจัดทำระบบหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

4.    งานพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และศิลปาชีพให้แก่ราษฎรและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย โดยการเพิ่มความรู้และทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ฝึกอบรมทอผ้า  ฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม  จัดหาเครื่องสีกาแฟ  และส่งเสริมการปลูกกาแฟ  อบรมการจักสาน  ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแม่โคเนื้อเพื่อผลิตลูกโคขุน พัฒนาตลาดยางพารา สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการสหกรณ์

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:
 
กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:
กล่องข้อความ:

5.    งานพัฒนาคุณภาพชีวิต

ปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรมและจริยธรรม โดยฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการฯ ฝึกอบรมการนวดแผนไทย และสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.    งานประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้ราษฎรทราบ และให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้ราษฎรได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการ และได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

1.    ทำให้ราษฎรใน 14 หมู่บ้าน ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง และตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 8,505 คน  2,447 ครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งแต่เดิมราษฎรยากจน ต้องบุกรุกทำลายป่าไม้และหาของป่า

2.    ทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทั้งด้านแหล่งน้ำ ถนน และการพัฒนาที่ดิน เป็นผลให้สามารถปลูกข้าวและพืชฤดูแล้งไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ หากมีเหลือก็ขายเป็นรายได้เสริม

3.    สภาพแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุงดีขึ้น มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารที่หลากหลาย ดังคำพูดที่ราษฎรแสดงความรู้สึกด้วยความภาคภูมิใจ ตอนหนึ่งว่า “เป็นบุญอย่างมหาศาลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานความช่วยเหลือพวกเราอย่างหาที่สุดมิได้

แนวทางในการดำเนินงานต่อไป

1.    ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง

2.    อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นและเพาะกล้าพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายให้กับผืนป่า ควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้เยาวชนและราษฎรเกิดจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืนและเกิดความต่อเนื่อง

3.    พัฒนาอาชีพและการใช้ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องต่อไป

4.    พัฒนาระบบการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์การเกษตรให้เข้มแข็งเพื่อประโยชน์ของตัวราษฎรเอง

5.    ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานอย่างบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ ดังนี้

1.  การพัฒนาแหล่งน้ำ

พื้นที่โครงการฯ มีแหล่งน้ำ 7 แห่ง มีความจุรวมประมาณ 24,520,000 ลูกบาศก์เมตร โดยส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่เกษตรกรด้วยการจัดประชุมให้ความรู้ จัดประชุมเวทีชาวบ้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้แก่เยาวชนในพื้นที่โครงการ ฯ ตามหลักสูตรยุวชลกรเรียนรู้งานชลประทาน ควบคู่ไปกับการสร้างฝายต้นน้ำลำธารเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และยังสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่า พร้อมทั้งขุดสระเพื่อการประมงและเพื่อการเกษตรทฤษฎีใหม่

ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งตระหนักและมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา ดูแล แหล่งน้ำเป็นอย่างดี

2.  การพัฒนาป่าไม้

ป้องกันรักษาป่าไม้ในพื้นที่โครงการกว่า 184,000 ไร่ พร้อมทั้งเพาะชำกล้าไม้ใหญ่ และนำไปปลูกฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ เพื่อรักษาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่โครงการให้อุดมสมบูรณ์ และฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดจิตสำนึกหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีงานป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ เช่น ยึดของกลางจำพวกเลื่อยโซ่ยนต์  รถบรรทุก และตัดฟันเผาทำลายไร่กัญชา

3.  การพัฒนาดิน

ส่งเสริมการใช้พันธุ์หญ้าแฝกให้เกษตรกรปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและอนุรักษ์สภาพพื้นดิน รวมทั้ง ส่งเสริมอบรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน ราษฎรสามารถทำการเพาะปลูกพืชเพื่อการพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี

4.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพ

ได้มีการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพให้แก่ราษฎร ปัจจุบันราษฎรมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเปรียบเทียบกับในอดีตได้ดังนี้

1. ราษฎรในพื้นที่โครงการในเขตตำบลกกตูม เมื่อปี 2550 มีจำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. เรื่องรายได้ จำนวน 580 ครัวเรือน จาก 1,884 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.8 แต่ในปี 2553 จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. เรื่องรายได้มีจำนวนลดลงเหลือ 33 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.75 เท่านั้น

2. รายได้เฉลี่ยต่อคนของราษฎรตำบลกกตูม เพิ่มขึ้นเป็น 38,754 บาท ต่อคนต่อปี ในปี 2553 จาก 24,722 บาท ต่อคนต่อปี ในปี 2550

5.  การอพยพราษฎรบ้านโนนป่าก่อ

จังหวัดมุกดาหาร สำนักงาน กปร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรบ้านโนนป่าก่อ จำนวน 66 ครัวเรือน ที่อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูสีฐาน และป่าสงวนแห่งชาติดงภูสีฐาน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร โดยการจัดหาพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรฯ ประมาณ 200 ไร่   บริเวณบ้านด่านช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ  ดังนี้

 1)     รังวัดและแบ่งแปลงที่ดินเพื่อจัดสรรให้ราษฎร 66 ครอบครัว ครอบครัวละ 3 ไร่ พร้อมทั้งปลูกสร้างบ้านชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน จำนวน 47 หลัง สำหรับรองรับราษฎรที่อพยพลงมาก่อน

                           การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรองรับผู้อพยพบ้านโนนป่าก่อ

2) จัดหาระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ การขยายเขตและติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขยายเขตประปาและติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาเข้าสู่บ้านที่รองรับผู้อพยพจากชุมชนโนนป่าก่อ

สภาพอ่างเก็บน้ำหนองแคน ก่อนดำเนินการปรับปรุง

4) ส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎรที่อพยพ โดยขุดสระน้ำขนาดเล็ก และสร้างโรงเรือนปศุสัตว์ พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์โคพื้นเมือง พันธุ์สุกรและพันธุ์ไก่พื้นเมือง
3) กำลังปรับปรุงอ่างเก็บน้ำหนองแคน บ้านด่านช้าง ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี พร้อมก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบกระจายน้ำ เพื่อให้ราษฎรที่อพยพลงมาอาศัยอยู่  มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอต่อไป           

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ตามแนวทางที่เน้นให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุล โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า

2.  ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพ  ภูมิสังคม และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และยังสนับสนุนการบริหารจัดการด้วยรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ ที่เน้นการมีส่วนรวมของราษฎร

3. จัดทำแผนฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารอย่างเร่งด่วน และให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมุกดาหาร ประสานงานหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อรับรองสิทธิทำกินให้กับราษฎรต่อไป

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการช่วยเหลืออพยพราษฎรบ้านโนนป่าก่อ โดยได้ชื่นชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการช่วยเหลืออพยพราษฎรได้เป็นอย่างดี

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 กระทรวงการต่างประเทศนำสื่อมวลชนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่พำนักอยู่ในนครลอสแองเจลิส เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ฯ ซึ่งสื่อมวลชนต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมากและจะนำความซาบซึ้งนี้ไปเผยแพร่ให้แก่คนไทยในนครลอสแองเจลิส ประมาณ 200,000 คน ได้รับรู้ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

หน่วยงานต่างๆได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการในการพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาที่ดิน ส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ แก่ราษฎร รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ดังนี้

1.  การพัฒนาแหล่งน้ำ

ในพื้นที่โครงการได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วเสร็จ 7 แห่ง มีศักยภาพความจุ รวม 24,520,000 ลูกบาศก์เมตร มีการส่งเสริมการใช้น้ำและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน ในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำหนองแคนพร้อมระบบกระจายน้ำ ซึ่งมีความจุเดิม 80,000 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 100,000 ลูกบาศก์เมตร โดยจะทำให้ราษฎรบ้านโนนป่าก่อ จำนวน 66 ครัวเรือน มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร

P1070659.JPG

                  อ่างเก็บน้ำหนองแคนก่อนการปรับปรุง                                                           ขณะก่อสร้างอาคารระบายน้ำล้น

2.    ด้านการพัฒนาป่าไม้

2.1  ปลูกป่าหวาย จำนวน 300 ไร่ ในพื้นที่ป่าบ้านศรีถาวรพนา  ช่วยให้ราษฎรในพื้นที่มีงานทำ

2.2 สร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 200 แห่ง ที่บ้านปากช่อง บ้านหินกอง และบ้านศรีถาวรพนา

2.3  ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่ (ยชป. พม.) จำนวน 400 คน เพื่อให้เป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำเป็นการสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและราษฎรให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

2.4   ฝึกอบรมทบทวนราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)  จำนวน 100 คน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน

     

3.    ด้านการพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมและสาธิตการไถกลบตอซังพืช และปรับปรุงบำรุงดิน โดยมีการสาธิตการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด การไถกลบ ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 100,000 กล้า เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

4.    ด้านการพัฒนาอาชีพ

4.1  ฝึกอบรมหลักสูตรการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกร จำนวน 66 ราย เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำผลผลิตมาบริโภค ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

4.2  ส่งเสริมการปลูกผักหวานป่าแบบสวนหลังบ้าน จำนวน 1,500 ต้น ให้แก่เกษตรกร จำนวน 30 ราย และการปลูกไผ่เลี้ยงพันธุ์เบาให้แก่เกษตรกร จำนวน 35 ราย

4.3  ฝึกอาชีพการทำชุดม้านั่งปูน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มหัวไวใจสู้ จำนวน 16 คน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

4.4  ฝึกอบรมอาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกรหัวไวใจสู้ จำนวน 12 คน เพื่อให้ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภาระด้านค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร

               อบรมเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง                                                         ส่งเสริมการปลูกผักหวานป่า

               อบรมอาชีพการทำชุดม้านั่งปูน                                                                     อบรมอาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก

5.    ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

5.1  จัดประชุมสัมมนาองค์กรผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ 14 หมู่บ้าน รวม 280 คน

 5.2  จัดอบรมเยาวชน เพื่อป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของยาเสพติด และพัฒนาคุณภาพชีวิต/ชุมชน จำนวน 4 รุ่น รวม 305 คน

6.    ด้านการติดตามและประชาสัมพันธ์โครงการ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ให้ราษฎรทราบและให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ ตลอดจนรับทราบปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและทำให้ราษฎรได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการและได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  ทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากขึ้น

 

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทำให้ราษฎรมีความรู้เพิ่มทักษะในการพัฒนาฝีมือแรงงาน รู้จักรวมกลุ่มการผลิตเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ และรวมกลุ่มการขายผลผลิตในลักษณะของระบบสหกรณ์การเกษตร รวมทั้งมีการพัฒนาอาชีพ สามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลายมากขึ้น ทำให้มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการว่างงานและอพยพแรงงาน ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการในการ พัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาที่ดิน ส่งเสริมอาชีพด้านต่าง ๆ ให้แก่ราษฎร รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ดังนี้

1.  การพัฒนาแหล่งน้ำ

ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำในพื้นที่โครงการจำนวน 7 แห่ง มีความจุรวม 24,520,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค โดยมีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานทั้ง 7 อ่าง จำนวน 180 คน รวมทั้งจัดทำเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็น สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ และลดปัญหาข้อขัดแย้งในการใช้น้ำระหว่างชุมชน นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันปัญหาสารพิษไหลชะล้างลงสู่อ่างเก็บน้ำซึ่งจะเป็นผลเสียทั้งต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                       ประชุมพบปะเกษตรกรและจัดทำเวทีประชาคม                               พืชผลทางการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน 7 อ่าง

2.  การพัฒนาป่าไม้

2.1 ปลูกป่าหวาย จำนวน 300 ไร่ เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน รวมทั้งช่วยสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้กับราษฎรในพื้นที่ จำนวน 121 คน เฉลี่ยรายละ 11,000 บาท

2.2 ป้องกันและรักษาป่าไม้พื้นที่ 30,558 ไร่ โดยมีการจับกุมผู้กระทำผิด และตรวจยึดของกลาง เช่น ไม้พะยูง ไม้แดง และเลื่อยโซ่ยนต์

2.3 ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง ในพื้นที่ปลูกป่าหวายและหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อช่วยชะลอน้ำ ดักตะกอน และทำให้พื้นที่โดยรอบชุ่มชื้น

2.4 ฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่ (ยชป.พม.) จำนวน 2 รุ่น จำนวน 109 คน เพื่อให้เป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในด้านอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติในกลุ่มเยาวชนและราษฎรในพื้นที่

2.5 จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำห้วยบางทราย จำนวน 11 หมู่บ้าน โดยจัดประชุมชาวบ้านเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน และเพื่อปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนเห็นความสำคัญของลุ่มน้ำ และช่วยกันดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไป

3.  ด้านการพัฒนาที่ดิน

ส่งเสริมและสาธิตการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และการไถกลบตอซังข้าว ในพื้นที่ 250 ไร่ เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งดำเนินการปลูกหญ้าแฝก จำนวน 100,000 กล้า เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

4.  ด้านการพัฒนาอาชีพ

นำเกษตรกรในพื้นที่อำเภอคำชะอี และอำเภอดงหลวง จำนวน 144 คน ไปศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านอาชีพตามหลักสูตรที่เกษตรกรสนใจ จำนวน 2 รุ่น
ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีการมอบปัจจัยการผลิตเบื้องต้นให้แก่เกษตรกรเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมด้วย

                    อบรมหลักสูตรการเลี้ยงหมูหลุม                                                                มอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร

5.  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

5.1 จัดฝึกอบรมสมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำนวน 260 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการของสหกรณ์ รวมทั้งมีการให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการปรับสภาพดินด้วย

5.2 จัดอบรมเยาวชน จำนวน 150 คน โดยให้มีความรู้ความเข้าใจในโทษภัยของยาเสพติด และทำให้ชุมชนปลอดยาเสพติด รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าในการทำความดี

6.  ด้านการติดตามและประชาสัมพันธ์โครงการ

จัดประชุมเพื่อรับทราบผลการดำเนินงานพร้อมทั้งสภาพปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยจัดประกวดสารคดีโทรทัศน์ “คนรุ่นใหม่เดินตามรอยพระบาทโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ผลิตสารคดีวิทยุเกี่ยวกับผลสำเร็จของโครงการฯ และจัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต

การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขององคมนตรี

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีพร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ และเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนราษฎรบ้านใต้ร่มพระบารมี (ชุมชนอพยพโนนป่าก่อ) ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

ในการนี้ องคมนตรีได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ โดยต้องทำความเข้าใจสภาพภูมิสังคมในพื้นที่เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง พร้อมทั้งขอให้ราษฎรในพื้นที่ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความร่มรื่นและเพิ่มความชุ่มชื้น ซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนต่อไป

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 แห่ง อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์เกื้อกูลต่อระบบนิเวศและการประกอบอาชีพของราษฎร ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ ราษฎรยังได้รับการส่งเสริมด้านสหกรณ์ และได้รับความรู้ตลอดจนมีโอกาสฝึกฝนทักษะในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะทำให้ราษฎรมีโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลายมากขึ้นแล้วการดำเนินงานดังกล่าวยังช่วยลดปัญหาการว่างงาน การอพยพแรงงาน และการบุกรุกป่าไม้ในพื้นที่ได้อีกด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ ดังนี้

1.  การพัฒนาแหล่งน้ำ

มีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานทั้ง 7 อ่าง จำนวน 150 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งได้ตระหนักในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม

                     อบรมความรู้ให้แก่กลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน 7 อ่าง                     กลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมกันปรับปรุงคลองดาดคอนกรีตส่งน้ำ

2.  การพัฒนาป่าไม้

ปรับปรุงระบบนิเวศฟื้นฟูสภาพป่าไม้บริเวณต้นน้ำและเหนืออ่างเก็บน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง ปลูกหวายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งอาหารชุมชนให้ราษฎรในพื้นที่ เพาะชำกล้าพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ไม้พะยูง ไม้มะค่าโมง ไม้สักฯลฯ  เพื่อปลูกเสริมแนวกันชน นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันรักษาป่าพื้นที่ 30,558 ไร่ ด้วยการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และตรวจยึดของกลาง เช่น ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่าโมง และอุปกรณ์ตัดไม้ต่างๆ

                              ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                                                                   ปรับปรุงระบบนิเวศน์

3. การพัฒนาคุณภาพชีวิต

จัดจ้างครูอาสาช่วยสอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 5 อัตรา และได้ย้ายโรงสีข้าวของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานฯ ไปยังบ้านแก่งนาง หมู่ที่ 7 ตำบลกกตูม เนื่องจากราษฎรในชุมชนมีความต้องการโรงสีข้าวชุมชน ทั้งนี้ได้สร้างโรงเรือนไว้แล้ว

4.  การพัฒนาอาชีพโรงสีข้าวโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การจักสานไม้ไผ่ในกับเยาวชน จำนวน 100 คน โดยเป็นการเพิ่มความรู้และทักษะฝีมือ และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (ข้าวไร่ชิวแม่จันทร์)  จำนวน 200 ไร่ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ดี แข็งแรง มีความทนทานต่อโรคและแมลง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดขอนขาวให้กับราษฎรใน 14 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการสร้าง,000-2,000 บาท และส่งเสริมการเลี้ยงกบนาในคอก และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกให้กับเกษตรกร จำนวน 60 คน เป็นการเพิ่มรายได้ อีกทั้งสามารถนำผลผลิตมาบริโภคได้ ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

                         เพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว                                                                 พันธุ์ข้าวไร่ชิวแม่จันทร์

                        เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก                                                                       งานจักสานไม้ไผ่

5.  ด้านการติดตามและประชาสัมพันธ์โครงการฯ

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และการได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ได้ผลิตสารคดีเกี่ยวกับโครงการเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง และจัดทำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด

ผลการดำเนินงานปี 2557

1. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

ในพื้นที่โครงการได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง มีการส่งเสริมการใช้น้ำ และ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน โดยจะดำเนินการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อบริหารจัดการน้ำ 120 คน และจัดทำเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ 7 อ่าง เพื่อระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้น้ำและให้ตระหนักในการบำรุงรักษาดูแลแหล่งน้ำในพื้นที่ 

                  

                      เวทีประชาคมย่อยกลุ่มผู้ใช้น้ำ                                                               พื้นที่รับประโยชน์จาก 7 อ่าง

2. ด้านการพัฒนาป่าไม้

สร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง เพื่อช่วยชะลอน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าที่บ้านนาหินกอง บ้านปากช่อง และบ้านตาเปอะ ปลูกหวายเพื่อ ,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎรนำไปปลูกเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าและเป็นเขตแนวกันชน

                   เพาะชำกล้าหวาย                                                ฝายแบบผสมผสาน                                            ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ

3. ด้านการพัฒนาอาชีพ

ฝึกอบรมอาชีพด้านการก่อสร้างให้กับราษฎรอำเภอดงหลวงและอำเภอคำชะอี จำนวน 20 คน โดยใช้เวลาอบรม 10 วัน นอกจากนี้ ฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฝ้าย จำนวน 50 คน และอบรมพัฒนาทักษะการทำไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 50 คน โดยเป็นการเพิ่มความรู้และทักษะฝีมือและสร้างอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการฯจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

              

                        การทำไม้กวาดดอกหญ้า                                                                   การฝึกอาชีพช่างก่อสร้าง

4. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

 อบรมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกเทศในบ่อพลาสติก ตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 5 อัตรา และแห่งชุมชน                       

               การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก                                                 สภาพโรงสีข้าวอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

5. ด้านการประชาสัมพันธ์ และติดตามผลการดำเนินโครงการ

ได้ดำเนินการผลิตและเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับโครงการฯ ทางวิทยุ กระจายเสียงในลักษณะสารคดีข่าว พร้อมทั้งจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ จัดทำข้อมูลสารสนเทศผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานโครงการจัดประชุมเวทีชาวบ้านเพื่อคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบโดยจะจัดเป็นศูนย์เรียนรู้สร้างสมาชิกหมู่บ้านละ 10 คน จำนวน 15 หมู่บ้าน

                       

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความเข้มแข็ง และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิผลทำให้ราษฎรและเยาวชนในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญเกื้อกูลต่อระบบนิเวศ และการประกอบอาชีพของราษฎรทำให้ราษฎรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ทำให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความรู้และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีการรวมกลุ่มการผลิต และรวมกลุ่มขายผ่านสหกรณ์

ทำให้มีการดูแลรักษา และระวังป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ โดยใช้แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศเกิดความสมดุล เป็นการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.  องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ สร้างกลุ่มเครือข่ายและจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขึ้น

2. ฝึกอบรมทักษะพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่างๆ ให้กับราษฎรในพื้นที่ เช่น การจักสาน การก่อสร้าง การทอผ้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้

3. สนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทรายให้ดำเนินไปอย่างมีระบบรวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของสหกรณ์

4. อบรมกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้น้ำภายในพื้นที่โครงการฯ

ผลการดำเนินงานปี 2558

หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ”  ในหลากหลายมิติ ดังนี้

1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

มีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทานทั้ง 7 อ่าง จำนวน 180 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ เพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งได้ตระหนักในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม

     

             อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกร                                                 จัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่

2. การพัฒนาด้านป่าไม้

ปรับปรุงระบบนิเวศฟื้นฟูสภาพป่าไม้บริเวณต้นน้ำและเหนืออ่างเก็บน้ำด้วยการปลูกเสริมป่าต้นน้ำ 1,100 ไร่ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าด้วยการก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง ปลูกหวายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งอาหารชุมชนให้ราษฎรในพื้นที่ จำนวน 100 ไร่ จัดทำป่าเปียกป้องกันไฟ 20 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันรักษาป่า ด้วยการตั้งสายตรวจปราบปรามการบุกรุกและลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

       

                       ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน

3. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

จัดจ้างครูอาสาช่วยสอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 5 อัตรา จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้รู้โทษของยาเสพติดแก่นักเรียนโรงเรียนห้วยตาเปอะ โรงเรียนสานแว้ โรงเรียนกกตูม จำนวน 390 คน  และอบรมถ่ายทอดความรู้การสหกรณ์สู่เกษตรกร ในพื้นที่ป่าดงภูศรีฐาน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินงานของสหกรณ์และการออมทรัพย์ แก่เกษตรกรในพื้นที่ป่าดงภูสีฐานจำนวน 150 คน

              

               อบรมถ่ายทอดความรู้การสหกรณ์สู่เกษตรกร                                  อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่องยาเสพติด

4. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานโดยอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ และเพิ่มทักษะการแปรรูปผ้าให้แก่เกษตรกร จำนวน 90 คน อบรมการแปรรูปสมุนไพรให้แก่กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 20 คน และฝึกอบรมอาชีพช่างในชนบท สาขาก่ออิฐฉาบปูนให้กับผู้ที่สนใจ จำนวน 10 ราย ทั้งนี้เมื่อได้รับความรู้จากการอบรมแล้ว สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

       

                  อบรมการแปรรูปสมุนไพร                                                          อบรมการเลี้ยงสุกรเนื้อ

      

              อบรมการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน                                                     อบรมช่างก่ออิฐฉาบปูน

5. ด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

ได้ดำเนินการผลิตและเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางวิทยุกระจายเสียง เป็นสารคดีเชิงข่าว จำนวน 6 ตอน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ นอกจากนี้  มีการจัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยบางทรายตอนบนฯ ในระดับศูนย์ปฏิบัติการฯ จำนวน 50 คน รวม 6 ครั้ง/ปี และจัดประชุมเวทีชาวบ้านติดตามประเมินผลเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 6 หมู่บ้าน

      

                                               ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

                        

                                  ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ในระดับพื้นที่

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความเข้มแข็ง และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิผล ทำให้ราษฎรและเยาวชนในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญเกื้อกูลต่อระบบนิเวศ และการประกอบอาชีพของราษฎรทำให้ราษฎรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพทำให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความรู้ และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีการรวมกลุ่มการผลิต และรวมกลุ่มขายผ่านสหกรณ์

ทำให้มีการดูแลรักษา และระวังป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ โดยใช้แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศเกิดความสมดุล เป็นการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวและความหลากหลาย ทางชีวภาพ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ สร้างกลุ่มเครือข่ายและจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขึ้นในพื้นที่โครงการฯ

2. ฝึกอบรมทักษะพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่างๆ ให้กับราษฎรในพื้นที่ เช่น การจักสาน การก่อสร้าง การทอผ้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวได้

3. สนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทรายให้ดำเนินไปอย่างมีระบบรวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของสหกรณ์

4. อบรมกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้น้ำภายในพื้นที่โครงการฯ

ผลการดำเนินงานปี 2559

หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ”   ในหลากหลายมิติ ดังนี้

1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

มีการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน จำนวน 3 รุ่น รวมทั้งสิ้น 130 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ 7 อ่าง จำนวน 14 ครั้ง โดยจ้างนักประสานงานชุมชนชลประทาน จำนวน 3 คน เพื่อช่วยในการประสานงานและทำความเข้าใจกับราษฎรในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในรอบปีที่ผ่านมา ราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าว และพืชผัก ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น รวมทั้งได้ตระหนักในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม

         

         อบรมความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้แก่กลุ่มเกษตรกร             พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง

2. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองต้นแบบและไก่ดำต้นแบบ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 40 คน นอกจากนี้ได้ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน โดยอบรมความรู้ด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร จำนวน 30 คน ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติกให้แก่เกษตรกร จำนวน 200 คน และพัฒนาชุมชนอำเภอดงหลวง ได้ฝึกอบรมการแปรรูปผ้าฝ้ายให้แก่เกษตรกร จำนวน 120 คน อบรมการแปรรูปสมุนไพร สำหรับอำเภอคำชะอี ได้ฝึกอบรมการทำไม้กวาดดอกหญ้าให้แก่ราษฎร จำนวน 30 ราย  ทั้งนี้ เมื่อราษฎรได้รับความรู้จากการฝึกอบรมในสาขาวิชาต่างๆ แล้ว ก็สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้ราษฎรที่อยู่ภายใต้โครงการฯ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

         

                อบรมการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติก                            อบรมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองพร้อมแจกปัจจัยการผลิต

         

                          อบรมการผลิตถ่านอัดแท่ง                                                        อบรมการทำไม้กวาดดอกหญ้k

3.  การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

จัดจ้างครูอาสาช่วยสอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 5 อัตรา และส่งเสริมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน 5,000 ตัว นอกจากนี้ ได้จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษา (กลุ่มเสี่ยง) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางกระบวนการรวมพลังสร้างอนาคต (A.I.C) เพื่อให้ความรู้และเห็นโทษของยาเสพติด ให้แก่เยาวชน 15 หมู่บ้าน ภายใต้โครงการฯ จำนวน 500 คน  

   

    อบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด               การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์เพื่อโครงการอาหารกลางวัน  

4. การพัฒนาด้านป่าไม้

4.1 โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยแคน ห้วยไร่ ห้วยขาหน้า ได้ดำเนินการสร้างฝายถาวร 5 แห่ง ฝายกึ่งถาวร 10 แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่า โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลหนองแคน ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง ตำบลดงมอน อำเภอเมือง

4.2 โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ (ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ) ได้ดำเนินการบำรุงฟื้นฟูเสริมป่าต้นน้ำปีที่ 2-6 จำนวน 1,300 ไร่ ก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน 70 แห่ง และปลูกป่าหวาย จำนวน 50 ไร่  เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี ทั้งนี้ ในเขตพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน 150 ไร่ ปลูกป่าหวาย 100 ไร่ และก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน 70 แห่ง

4.3 โครงการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ห้วยตาเปอะ และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ โดยดำเนินการเพาะเลี้ยงแมลงกินได้ (จิ้งหรีด) และดำเนินงานธนาคารอาหารและ พืชสมุนไพร โดยจัดทำแปลงสาธิตปลูกพืชกินได้และสมุนไพรไทย นอกจากนี้ยังดำเนินการ จัดทำกล้าไม้ใหญ่ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรโดยดำเนินการในตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง

     

  ฝายต้นน้ำแบบผสมผสานสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดิน                    ต้นกล้ามะค่าโมง ไม้ใหญ่เพื่อแจกจ่ายราษฎร

 

           ปลูกป่าหวายเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน                         เห็ดโคนซึ่งเกิดขึ้นในแปลงปลูกป่าพื้นบ้านอาหาร

5. ด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

ได้ดำเนินการผลิตและเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางวิทยุกระจายเสียง เป็นสารคดีเชิงข่าว จำนวน 6 ตอน และกิจกรรมตามรอยพระราชา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ มีการจัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยบางทรายตอนบนฯ ในระดับศูนย์ปฏิบัติการฯ รวม 4 ครั้ง และจัดประชุมเวทีชาวบ้านติดตามประเมินผลเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 6 หมู่บ้าน

                                                       ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ

                              

                                                ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ในระดับ

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความเข้มแข็ง และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิผล ทำให้ราษฎรและเยาวชนในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญเกื้อกูลต่อระบบนิเวศ และการประกอบอาชีพของราษฎรทำให้ราษฎรมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพทำให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีความรู้ และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีการรวมกลุ่มการผลิต และรวมกลุ่มขายผ่านสหกรณ์

ทำให้มีการดูแลรักษา และระวังป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ โดยใช้แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ทำให้พื้นที่ป่าและระบบนิเวศเกิดความสมดุล เป็นการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ

 

ผลการดำเนินงานปี 2560

                หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2561 ดังนี้

                 1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

                  จะดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน จำนวน 3 รุ่น มีผู้เข้าอบรม 180 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ทั้ง 7 อ่าง เพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรอบปีที่ผ่านมาราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวและพืชผัก  ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น ทั้งนี้ จะจัดจ้างนักประสานงานชุมชนชลประทาน จำนวน 4 คน เพื่อคอยช่วยให้คำแนะนำแก่เกษตรกรให้ได้ตระหนักรู้ในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม

 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกร                                              พื้นที่การเกษตรที่รับประโยชน์จาก 7 อ่าง

   2. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

              จะดำเนินการฝึกอบรมอาชีพช่างในชนบท สาขาก่ออิฐฉาบปูนให้กับผู้ที่สนใจ จำนวน 15 คน นอกจากนี้มีการฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการทอผ้าลายประยุกต์และเพิ่มทักษะการทอผ้าให้แก่เกษตรกร จำนวน 60 คน อบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช จำนวน 60 คน ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานโดยอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร จำนวน 20 คน ให้แก่เกษตรกรอำเภอดงหลวง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงและอนุบาลลูกสัตว์น้ำ พร้อมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อดิน จำนวน 130 คน ทั้งนี้เมื่อได้รับความรู้จากการอบรมแล้ว สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่คณะกรรมการสหกรณ์และสมาชิก เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของสหกรณ์มากขึ้น

                                   ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน                      ฝึกอาชีพช่างในชนบทสาขาช่างก่ออิฐฉาบปูน

 

                3. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

                        จะดำเนินการจัดจ้างครูอาสาช่วยสอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำนวน 5 อัตรา และส่งเสริมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโดยการวางระบบน้ำในแปลงเกษตรภายในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานฯ ทั้งนี้ได้ส่งเสริมการผลิตไข่เสริมไอโอดีนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยฝึกอบรมให้แก่เกษตรกร จำนวน 110 คน นอกจากนี้ได้จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษา (กลุ่มเสี่ยง) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางกระบวนการรวมพลังสร้างอนาคต (A.I.C) เพื่อให้ความรู้และเห็นโทษของยาเสพติด ให้แก่เยาวชน จำนวน 200 คน

อบรมเยาวชนระดับมัธยมศึกษาเรื่องยาเสพติด                      การวางระบบน้ำในแปลงเกษตรโครงการเกษตร

                                                                                   เพื่ออาหารกลางวันโรงเรียน ตชด.การท่าอากาศยานฯ

 

4. การพัฒนาด้านป่าไม้

                    4.1 โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ) จะดำเนินการบำรุงฟื้นฟูเสริมป่าต้นน้ำปีที่ 2-6 จำนวน 400 ไร่ ก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน 50 แห่ง และปลูกป่าหวาย จำนวน 50 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี ทั้งนี้ในเขตพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน 150 ไร่ ปลูกป่าหวาย 100 ไร่ และก่อสร้างฝายแบบผสมผสาน 50 แห่ง เพาะชำกล้าไม้พื้นบ้าน จำนวน 30,000 กล้า นอกจากนี้ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการฯ

                   4.2 โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยแคน ห้วยไร่ ห้วยขาหน้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะดำเนินการสร้างฝายถาวร 2 แห่ง ฝายกึ่งถาวร 5 แห่ง ฝายผสมผสาน 50 แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่า โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลหนองแคน ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง ตำบลดงมอน อำเภอเมือง นอกจากนี้ได้ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำเดิม 500 ไร่ และนำเกษตรกรไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร จำนวน 250 คน เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทำเกษตรของตน

                   4.3 โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านหนองคอง จะดำเนินการเพาะชำกล้าหวาย 30,000 กล้า และจัดทำแปลงปลูกป่าธนาคารอาหารชุมชน 60 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับราษฎรในชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอดงหลวง ทั้งนี้ ได้จัดกิจกรรมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันให้กับโรงเรียนในพื้นที่โครงการ เป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนปลูกพืชผักสวนครัวนำไปประกอบเป็นอาหารกลางวันภายในโรงเรียน

                   4.4 โครงการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้บ้านห้วยตาเปอะ และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเพาะชำกล้าไม้กินได้ 30,000 กล้า เพาะชำกล้าหวาย 30,000 กล้า เพาะเลี้ยงแมลงกินได้ (จิ้งหรีด) และจัดแปลงสาธิตธนาคารอาหารและพืชสมุนไพร    3 ไร่ นอกจากนี้ยังดำเนินการจัดทำกล้าไม้ใหญ่ เช่น มะค่า พะยูง สัก ประดู่ ยางนา 30,000 กล้า เพาะชำหญ้าแฝก เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรไปปลูก ในเขตตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง

 

ฝายต้นน้ำแบบผสมผสานสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดิน                          แปลงกล้าไม้ยางนา เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎร

ปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำให้มีสภาพสมบูรณ์                        ปลูกป่าหวายเพื่อเป็นแหล่งอาหารชุมชน 

 

               5. ด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

                       จะดำเนินการผลิตและเผยแพร่รายการ “ร่มเกล้าชาวไทย” ผ่านสื่อวิทยุ 20 ตอน   จัดกิจกรรมตามรอยพระราชา โดยนำเยาวชนไปศึกษาดูงานที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายฯ  50 คน เพื่อให้รับรู้และเข้าใจโครงการฯ นอกจากนี้ มีการจัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนา   พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ เพื่อพิจารณาแผนแม่บท และแผนงาน/โครงการฯ จัดประชุมเวทีชาวบ้านเตรียมความพร้อมเกษตรกรต้นแบบเพื่อจัดเป็นศูนย์เรียนรู้

        กิจกรรมตามรอยพระราชาโดยนำเยาวชนมาศึกษาดูงาน                ประชุมคณะทำงานโครงการฯ เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการ              

ประโยชน์ที่ได้รับ

                     ทำให้ราษฎร จำนวน 14 หมู่บ้าน ในอำเภอดงหลวง และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 อ่าง อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์เกื้อกูลต่อระบบนิเวศ มีการพัฒนาด้านป่าไม้เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ฟื้นฟูพัฒนาให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ 82,000 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของ      ลำห้วยต่าง ๆ ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การประกอบอาชีพของราษฎรทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งมีความรู้และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์   ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

 

ผลการดำเนินงานปี 2561

                   หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บรรลุวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ” ในหลากหลายมิติ

                 1.  การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

                         จะดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน จำนวน 3 รุ่น มีผู้เข้าอบรม 180 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ทั้ง 7 อ่าง จำนวน 14 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรอบปีที่ผ่านมาราษฎรมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร  ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งมากขึ้น ทั้งนี้ จะดำเนินการสร้างคนเข้มแข็งของกลุ่ม โดยผู้ชำนาญด้าน งานชุมชนชลประทาน เพื่อคอยช่วยให้คำแนะนำแก่เกษตรกรให้ได้ตระหนักรู้ในการบำรุงรักษาและดูแลแหล่งน้ำ รณรงค์ให้ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี หรือใช้ในปริมาณที่น้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม

     จัดทำเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ทั้ง 7 อ่าง                  พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง

 

2.  การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

                     จะดำเนินการฝึกอบรมอาชีพช่างตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับผู้ที่สนใจ จำนวน 20 คน ฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากพลาสติกสาน จำนวน 20 คน ฝึกอาชีพการทำผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 20 คน นอกจากนี้ยังมีการฝึกการบริหารจัดการด้านการตลาดและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 20 คน ให้แก่เกษตรกรอำเภอดงหลวง  และอำเภอคำชะอี ทั้งนี้เมื่อได้รับความรู้จากการอบรมแล้ว เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

 

                                            อบรมการตัดเย็บเสื้อผ้า                                              อบรมการทำผลิตภัณฑ์พลาสติกสาน

                 3. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

                         ดำเนินการจัดจ้างครูอาสาระดับวุฒิปริญญาตรี จำนวน 6 อัตรา เพื่อการเรียน    การสอนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ได้จัดอบรมความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษา (กลุ่มเสี่ยง)  จาก 15 หมู่บ้าน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางกระบวนการรวมพลังสร้างอนาคต (A.I.C) เพื่อให้ความรู้และเห็นโทษของยาเสพติด ให้แก่เยาวชน จำนวน 200 คน

                     อบรมเยาวชนระดับมัธยมศึกษาเรื่องยาเสพติด                    การเรียนการสอนในโรงเรียน ตชด. การท่าอากาศยานฯ

 

4. การพัฒนาด้านป่าไม้

                        โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ) จะดำเนินการบำรุงฟื้นฟูเสริมป่าต้นน้ำปีที่ 2-6 จำนวน 1,000 ไร่ จัดทำแปลงสาธิตปลูกผักหวานป่า จำนวน 50 ไร่ และพัฒนาอาชีพรูปแบบวนเกษตร จำนวน 50 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน โดยดำเนินการในพื้นที่ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี ทั้งนี้ ในเขตพื้นที่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จะดำเนินการปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ จำนวน 150 ไร่ เพาะชำกล้าหวายเพื่อเป็นอาหารชุมชน จำนวน 50,000 กล้า และจะก่อสร้างฝายแบบกึ่งถาวร จำนวน 10 แห่ง

                         การปลูกต้นไม้เสริมป่าต้นน้ำปีที่ 2-6                                    เพาะชำกล้าหวายเพื่อเป็นอาหารชุมชน

 

                                 ก่อสร้างฝายแบบกึ่งถาวร จำนวน 10 แห่ง                                แปลงสาธิตการปลูกผักหวานป่า

 

5. การพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

                    จะดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนฯ เพื่อพิจารณาแผนงาน/โครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงาน กปร.   และจัดประชุมเวทีชาวบ้านเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นเกษตรกรต้นแบบขยายผลเป็นศูนย์เรียนรู้  จะดำเนินการผลิตและเผยแพร่รายการ “ร่มเกล้าชาวไทย” ผ่านสื่อวิทยุ 10 ตอน  ผลิตและเผยแพร่สปอต 2 สปอต  ผลิตป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ 3 ป้าย

    

                จัดประชุมเวทีชาวบ้านเพื่อพัฒนาเป็นเกษตรกรต้นแบบ                                 ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

                     ทำให้ราษฎร จำนวน 14 หมู่บ้าน ในอำเภอดงหลวง และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำทั้ง 7 อ่าง  อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์เกื้อกูลต่อระบบนิเวศ มีการพัฒนาด้านป่าไม้เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ฟื้นฟูพัฒนาให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ 82,000 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของ ลำห้วยต่าง ๆ ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การประกอบอาชีพของราษฎรทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งมีความรู้และการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์   ซึ่งจะส่งผลให้มีการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2562

                หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จในหลากหลายมิติ ดังนี้

                1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

                   ดำเนินการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและถ่ายทอดความรู้ในด้านการบริหารจัดการน้ำ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน จำนวน 3 รุ่น มีผู้เข้าอบรม 180 คน รวมทั้งจัดเวทีประชาคมย่อยในพื้นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำในเขตโครงการทั้ง 7 แห่ง รวมจำนวน 14 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน   

 

                       

กิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ
และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน

   

                   2. การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

                      ดำเนินการจัดฝึกอบรมการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าเพื่อเป็นของที่ระลึก สำหรับเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ในครัวเรือนราษฎร หลักสูตร 5 วัน ให้แก่ราษฎร    บ้านศรีถาวรพนา และบ้านแก่งนาง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง รวมจำนวน 40 คน

                        

                                                 การฝึกอบรมออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าเพื่อเป็นของที่ระลึก


                 3. การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต                                     

                     ดำเนินการจัดจ้างครูอาสา วุฒิปริญญาตรี จำนวน 6 อัตรา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  นอกจากนี้ ยังได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขต 15 หมู่บ้าน รวมจำนวน 200 คน เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ ดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กไทยไอคิวดี เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กและเยาวชน โดยการให้ความรู้และสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มผลิตอาหารขบเคี้ยว (snack for kids) และอาหารสำหรับเด็ก จำนวน 3 กลุ่ม 50 คน จากวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็ก เช่น ถั่วเขียวผ่าซีก ลูกเดือย ถั่วลิสง งา และไข่ไก่ไอโอดีน เป็นต้น และดำเนินการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษให้แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยบางทราย จำนวน 35 คน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้เสริม

 

                          

                       คณะครูอาสาที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน               ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผลิตอาหารขบเคี้ยว และอาหาร

                                   ประจำปีงบประมาณ 2562                                  สำหรับเด็ก ตามโครงการพัฒนาเด็กไทยไอคิวดี

 

                  4. การพัฒนาด้านป่าไม้

                      ดำเนินการบำรุงรักษาระบบนิเวศต้นน้ำ ปีที่ 2-6 จำนวน 500 ไร่ ปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ ปีที่ 7-10 จำนวน 150 ไร่ รวมทั้งเพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายและส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร ประกอบด้วย กล้าไม้เศรษฐกิจ จำนวน 100,000 กล้า กล้าหวาย จำนวน 40,000 กล้า และผักหวานป่า จำนวน 10,000 กล้า

                      นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมอาชีพในรูปแบบวนเกษตร พื้นที่ 50 ไร่และลาดตระเวนป้องกันการลักลอบตัดไม้ การล่าสัตว์ป่า และปัญหาไฟป่า ในบริเวณป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

                            

                                           ชำกล้าไม้ชนิดต่าง ๆ                                         งานลาดตระเวนป้องกันการลักลอบตัดไม้
                                       เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎร                                การล่าสัตว์ป่า และปัญหาไฟป่า ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ

 

      5. การพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ฯ

               อำนวยการด้านงานธุรการและประสานหน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พิจารณากลั่นกรองแผนงานที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กปร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังดำเนินการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และส่งเสริมด้านการขยายผลโครงการ โดยจัดประชุมเวทีชาวบ้านเพื่อคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ และสนับสนุนการดำเนินงานโครงการเยาวชนเรียนรู้บูรณาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ฯ รวมทั้งถ่ายทอดผลการดำเนินงานไปสู่ประชาชน ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ รายการวิทยุ “ร่มเกล้าชาวไทย” จำนวน 10 ตอน  ผลิตสปอตเกี่ยวกับข้อมูลโครงการและเผยแพร่ จำนวน 2 ชุด ผลิตและเผยแพร่สารคดี จำนวน 4 ตอน และผลิตป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 3 ป้าย

                              

                     งานอำนวยการและประสานการทำงานในระดับพื้นที่                  กิจกรรมโครงการเยาวชนเรียนรู้บูรณาการ

                      ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก             ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

                             พระราชดำริ ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุน                     โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ฯ

                           องค์ความรู้และปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

                    ทำให้ราษฎร จำนวน 14 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอดงหลวง และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่โครงการทั้ง 7 แห่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ประมาณ 82,000 ไร่ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญและเกื้อกูลกับการดำรงชีวิตของราษฎรที่อยู่อาศัยในบริเวณลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน นอกจากนี้ ราษฎรในพื้นที่โครงการยังได้รับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve