โครงการ ฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวงอันเนื่องมาจาพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ทรายขาว อำเภอ วังสะพุง จังหวัด เลย

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวง
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

 

เรื่องเดิม

เมื่อปี 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการโครงการปลูกพืชอาหารช้างในพื้นที่ป่าธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เพื่อเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ช้างออกไปหากินนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและทำความเสียหายให้กับพืชสวนไร่นาของชาวบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ช้างถูกทำร้ายถึงกับเสียชีวิต

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

1.แผนงานเสริมสร้างแหล่งน้ำ และอาหารสัตว์ป่า ดำเนินการบำรุงป่า ปลูกป่า ฟื้นฟูอาหารช้าง ปลูกป่าเปียกสองข้างลำห้วย เพื่ออนุรักษ์ดิน น้ำ และเป็นอาหารช้าง ทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกป่า เสริมสร้างแหล่งน้ำในธรรมชาติ จัดทำโป่งเทียม

2.แผนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการลาดตระเวนป้องกันการกระทำผิดในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เฝ้าระวังมิให้ช้างป่าออกมาทำลายพืชไร่ของราษฎร และดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่

ปลูกป่าฟื้นฟูอาหารช้าง เช่น กล้วย ไผ่ และหวาย

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

กรมป่าไม้ ได้จัดทำแผนงานเสริมสร้างแหล่งน้ำและแหล่งอาหารสัตว์ป่า และแผนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผลการดำเนินงานต่อเนื่องจากเมื่อปี 2543 ดังนี้

1. แผนงานเสริมสร้างแหล่งน้ำ และอาหารสัตว์ป่า  ดำเนินการบำรุงป่า ปลูกป่าฟื้นฟูอาหารช้าง ปลูกป่าเปียกสองข้างลำห้วย เพื่ออนุรักษ์ดิน น้ำ และเป็นอาหารช้าง ทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกป่า เสริมสร้างแหล่งน้ำในธรรมชาติ จัดทำโป่งเทียม

2. แผนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ดำเนินการลาดตระเวนป้องกันการกระทำผิดในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เฝ้าระวังมิให้ช้างป่าออกมาทำลายพืชไร่ของราษฎร

             พื้นที่นาของราษฎรถูกช้างป่าบุกรุกเข้ามากินรวงข้าว                สภาพดินโป่งในพื้นที่โครงการฯ พบว่ามีรอยเท้าสัตว์หลากหลายชนิด

                                                                                                                        มากินดินโป่ง เช่น เก้ง  กวาง หมูป่า เป็นต้น          

                    ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันปลุกป่าอาหารช้าง                                                    ฝายชะลอความชุ่มชื้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

1. แผนงานเสริมสร้างแหล่งน้ำและอาหารสัตว์ป่า  ดำเนินการบำรุงป่า ปลูกป่าฟื้นฟูอาหารช้าง ปลูกป่าเปียกสองข้างลำห้วย

2. แผนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ดำเนินการลาดตระเวนป้องกันการกระทำผิดในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ประโยชน์ของโครงการ

1. เพื่ออนุรักษ์ดิน น้ำ และเป็นอาหารช้าง ทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกป่า เสริมสร้างแหล่งน้ำในธรรมชาติ จัดทำโป่งเทียม

2. เพื่อเฝ้าระวังมิให้ช้างป่าออกมาทำลายพืชไร่ของราษฎรจัดฝึกอบรมเยาวชนให้เกิดความรักป่าและดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่

โป่งเทียม และ กล้าไม้ ซึ่งเจ้าหน้าที่เตรียมสำหรับเป็นอาหารสัตว์

ฝายชะลอความชุ่มชื้น แบบถาวร และ กึ่งถาวร

เยาวชนและชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐร่วมกันปลูกป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

ลาดตระเวนเฝ้าระวังช้างป่า อบรมสร้างจิตสำนึกให้กับราษฎรเกี่ยวกับการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า จำนวน 5 รุ่น ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า 5 แห่ง สร้างโป่งเทียมสำหรับสัตว์ป่า จำนวน 50 แห่ง ปลูกพืชอาหารสำหรับช้างป่าพื้นที่ 50 ไร่ จัดการทุ่งหญ้าสำหรับสัตว์ป่าพื้นที่ 50 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ช้างป่าและสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ รวมทั้งสามารถป้องกันช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ไม่ให้ออกไปทำลายพืชผลของราษฎร และช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของราษฎรในพื้นที่ในการดูแลรักษาและระวังป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

คำอธิบาย: 100_2197 คำอธิบาย: 100_2404 คำอธิบาย: DSCF0768

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

ดำเนินการปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า 5 แห่ง  สร้างโป่งเทียมสำหรับสัตว์ป่า 100 แห่ง  เพาะชำกล้าไผ่หนามเพื่อปลูกเป็นรั้วป้องกันช้างป่า 10,000 ต้น  เพาะชำกล้าไผ่เพื่อปลูกเป็นอาหารสำหรับช้างป่า 100,000 กล้า ปลูกพืชอาหารสำหรับช้างป่า 150 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้มีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารสำหรับช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ป้องกันช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ไม่ให้ออกไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎร และป้องกันไม่ให้ช้างป่าถูกทำร้ายเสียชีวิตมีการดูแลรักษาป่า โดยการปลูกจิตสำนึกและใช้แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยชุมชนได้มีส่วนร่วม

แนวรั้วไฟฟ้า

 

คำอธิบาย: C:\Users\supaporn.j\Desktop\ช้างป่าภูหลวง.jpg

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve