โครงการ ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย

สถานที่ตั้ง

ตำบล ด่านซ้าย อำเภอ ด่านซ้าย จังหวัด เลย

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ

อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์ผลิตพันธุ์สัตว์ที่จำเป็น และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และขยายพันธุ์สัตว์ไปยังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ขาดแคลน รวมทั้งให้กับราษฎรที่ยากจนในเขตพื้นที่ต่างๆ

คำอธิบาย: TEE_6720.JPG คำอธิบาย: TEE_6559.JPG

ผลการดำเนินงาน ปี2553

ดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมงานด้านปศุสัตว์ในระยะเริ่มต้น อาทิ การสร้างพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย ผลิตไก่ไข่สาวเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงมอบให้แก่โรงเรียนและเกษตรกรยากจนในจังหวัดเลย ศึกษาวิจัยพันธุ์ไก่ไข่ไทยที่มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงในท้องถิ่นทุรกันดาร ศึกษาวิจัยและผลิตอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับไก่ไข่ไทย ตลอดจนการก่อสร้างและปรับปรุง/ซ่อมแซมโรงเรือน

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้เกษตรกร ผู้ปกครอง และนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารสามารถพึ่งตนเองด้วยการมีแหล่งอาหารโปรตีนไว้บริโภคเองได้  สามารถเลี้ยงและผลิตพันธุ์สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ไข่ไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับพื้นที่ทุรกันดารเพื่อกระจายสู่เกษตรกรยากจน และโรงเรียนในท้องที่ห่างไกล และ สามารถมีสูตรอาหารสัตว์ที่สามารถผลิตใช้เองได้โดยเกษตรกรและโรงเรียนในท้องที่ทุรกันดาร

คำอธิบาย: SDC11115 คำอธิบาย: DSCF3317

 ผลการดำเนินงาน ปี 2554

จัดทำแผนแม่บทซึ่งทรงพระกรุณาเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บทแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งในปีงบประมาณ 2554 นี้เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องในลักษณะบูรณาการร่วมกัน โดยแบ่งเป็นพื้นที่งานด้านการสาธิตการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ ควบคู่กับงานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งขยายพันธุ์สัตว์ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและราษฎรที่ยากจนในเขตพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยในปีงบประมาณ 2554 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ด้านปศุสัตว์

1. ก่อสร้างโรงเรือนพ่อแม่พันธุ์ไก่ จำนวน 3 หลัง เพื่อเป็นที่เก็บพ่อแม่พันธุ์

คำอธิบาย: DSCF4451 คำอธิบาย: DSCF4452

2. สร้างพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย จำนวน 350 ตัว คัดเลือกและพัฒนาพันธุ์จากพันธุ์โร๊ดไอแลนด์เรด เป็นสายพ่อพันธุ์ จำนวน 50 ตัว และพันธุ์ไทยบาร์พลีมัธร๊อ เป็นสายแม่พันธุ์ จำนวน 300 ตัว ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ มีข้อดี คือ เลี้ยงง่าย ต้านทานโรคดี เพื่อมาผลิตลูกไก่ไข่พันธุ์ “ไก่ไข่ไทยกรมปศุสัตว์”

คำอธิบาย: DSCF3317

3. ผลิตไก่ไข่สาว  จำนวน 6,500  ตัว นำลูกไก่ไข่เพศเมีย เลี้ยงเพื่อผลิตไก่ไข่สาวอายุประมาณ 20 สัปดาห์ เพื่อนำออกส่งเสริมโรงเรียนและเกษตรกรเป้าหมายพื้นที่ดำเนินการในรัศมี 200 กิโลเมตรจากศูนย์ฯ ด่านซ้าย จำนวน 7 จังหวัด มีแผนการส่งมอบไก่ไข่สาวให้แก่โรงเรียนเป้าหมายและผู้ปกครองนักเรียนในพื้นที่ 200 กิโลเมตร รอบศูนย์ฯ พร้อมทั้งฝึกอบรมให้กับครู นักเรียน และเกษตรกร

คำอธิบาย: DSCF4381 คำอธิบาย: DSCF4385


  4. ศึกษาวิจัยพันธุ์ไก่ไข่ที่เหมาะสม จำนวน 260 ตัว เพื่อพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่การเลี้ยงแบบปล่อย และใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น

คำอธิบาย: รูปภาพ1 คำอธิบาย: DSCF2827

5. ศึกษาวิจัยอาหารสัตว์ โดยทดลองผลิตหัวอาหารสัตว์เข้มข้นผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นของโรงเรียน ดำเนินการที่ ร.ร.ตชด.ฮิลมาร์พาเบิล และ ร.ร.ตชด.บ้านหนองแคน โดยสนับสนุนเครื่องผสมอาหารแบบมือหมุนให้โรงเรียน พร้อมสูตรการผสมอาหาร โดยโรงเรียนสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นแหล่งพลังงานได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ อาหารที่ผสมแล้วจะมีราคาต่ำกว่าตลาดประมาณ 3-5 บาทต่อกิโลกรัม

คำอธิบาย: D:\PiyakwanD\WorkdriveD\Pla Photo\รวมหนอนหนอน\หนอนขนุน\100_5281.JPG

6. ปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ ในพื้นที่ 20 ไร่ สาธิตการปลูกหญ้าและถั่วอาหารสัตว์พันธุ์ต่างๆ ได้แก่ หญ้ากินนี หญ้าเนเปียร์ หญ้ารูซี่ ถั่วลิสงเถา ถั่วฮามาต้า ถั่วท่าพระสไตโล และขยายพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ ในพื้นที่ 5 ไร่

คำอธิบาย: DSCF3432.JPG

      ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ 

ขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยศอก และปรับปรุงสระเก็บน้ำภายในศูนย์ปศุสัตว์ด่านซ้าย เพื่อส่งน้ำให้โครงการศูนย์ปศุสัตว์ด่านซ้าย และพื้นที่การเกษตรของราษฎรบ้านเดิ่น จำนวน 1,000 ไร่ 257 ครอบครัว

ด้านการประมง

จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อพัฒนาไปสู่การนำไปประกอบอาชีพด้านการประมงเพิ่มศักยภาพการผลิตในแหล่งน้ำ สร้างความหลากหลาย    และความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ มีการติดตั้งกระชังเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ จำนวน 6,000 ตัว และปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ เช่น ปลาสร้อยขาว

คำอธิบาย: D:\รูปถ่าย 54\ราชดำริปศุสัตว์ด่านซ้าย\DSC03558.JPG

                                                      ปลาตะเพียนขาว ปลากระแห ปลาตะเพียนทอง ปลาแกง จำนวน 50,000 ตัว

ด้านการเกษตร

จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด และจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเห็ด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และฝึกอบรมให้เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป มีการผลิตก้อนเชื้อเห็ด จำนวน 60,000 ก้อน ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ด จำนวน 10 กลุ่ม ให้มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืน

คำอธิบาย: DSC01939 คำอธิบาย: DSC02213

ประโยชน์ของโครงการ

เป็นศูนย์กลางในการแสดงสาธิต และการผลิตพันธุ์สัตว์ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมขยายพันธ์สัตว์ต่างๆ พร้อมทั้งกิจกรรมด้านการเกษตร รวมทั้งการฝึกอบรมให้นักเรียนในโรงเรียนพื้นที่ทุรกันดาร เกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปกครองในเขตพื้นที่จังหวัดเลย และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีความรู้ และทักษะในการเลี้ยงสัตว์ และด้านการเกษตร ในการผลิตอาหารสัตว์ที่สามารถผลิตขึ้นใช้เองได้ โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดีสามารถพึ่งตนเองได้

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

จัดทำแผนปฏิบัติการแต่ละปีให้สอดคล้องกับแผนแม่บทโดยพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและปัญหาอุปสรรคเพื่อมุ่งเน้นให้กรมปศุสัตว์เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานแบบบูรณาการ และประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานด้านการส่งเสริมและสาธิตในด้านการเลี้ยงสัตว์ และด้านการเกษตร ให้กับเกษตรกรได้มีรูปแบบในการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

ดำเนินงานตามแผนแม่บทตั้งแต่ปี 2553-2555 ในลักษณะบูรณาการประกอบด้วย งานด้านปศุสัตว์ และการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่กับงานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยในปี 2555 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ด้านปศุสัตว์

1.ผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย จำนวน 350 ตัว

คำอธิบาย: C:\Users\jinjana.k\Downloads\DSC00068.JPG คำอธิบาย: C:\Users\jinjana.k\AppData\Local\Microsoft\Windows\Temporary Internet Files\Content.IE5\ODUAADA4\DSC00087.JPG


2.   ผลิตการเลี้ยงไก่ไข่สาว จำนวน 3,825 ตัว และส่งเสริมการเลี้ยงในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 19 แห่ง และส่งเสริมผู้ปกครองนักเรียนและเกษตรกร 765 ราย ในพื้นที่ 13 จังหวัด ในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบศูนย์ฯ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมการเลี้ยงไก่ไข่ให้กับชุมชนในหมู่บ้านรอบโรงเรียน ทำให้เกิดผลสำเร็จคือเด็กเล็กที่อยู่ที่บ้านมีไข่ไก่รับประทาน ส่วนผู้ปกครองมีอาชีพเสริมจากการเลี้ยงไก่ไข่

จากข้อมูลการเก็บผลผลิตไข่ของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 1,229-1,867 ฟอง/ปี โดยรายที่ได้ผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 154 ฟอง/ตัว/ปี และรายที่ได้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 234 ฟอง/ตัว/ปี  

3.  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพศผู้ จำนวน 1,936 ตัว สำหรับเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงเป็นไก่เนื้อ โดยสามารถจำหน่ายผลผลิตได้กิโลกรัมละ 130 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 2,000-4,000 บาท/เดือน/ราย

คำอธิบาย: C:\Users\jinjana.k\AppData\Local\Microsoft\Windows\Temporary Internet Files\Content.IE5\P067BFNW\DSC00081.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSCF7651.JPG

4.   ปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ 5 ไร่ เพื่อสาธิตการปลูกหญ้าและถั่วอาหารสัตว์พันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ หญ้ากินนี หญ้าเนเปียร์ หญ้ารูซี่ ถั่วลิสงเถา ถั่วฮามาต้า ถั่วท่าพระสไตโล และขยายพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ 

คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSC00303.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSC00114.JPG

5. ปรับปรุงจุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดท้องถิ่น 9 ชนิด จำนวน 200,000 ตัว พร้อมทั้งส่งเสริม จัดฝึกอบรม ติดตามผล และให้คำแนะนำแก่เกษตรกร 

คำอธิบาย: D:\รูปถ่าย 54\ราชดำริปศุสัตว์ด่านซ้าย\คัดขนาด\DSC04094.JPG คำอธิบาย: D:\รูปถ่าย 54\ราชดำริปศุสัตว์ด่านซ้าย\คัดขนาด\DSC04098.JPG

ด้านการเกษตร

1. จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ 3 ไร่ เช่น ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง ฯลฯ พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรภายในแปลงและจุดเรียนรู้ให้กับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน นอกจากนี้ยังได้จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปสมุนไพรให้กับเกษตรกรที่สนใจด้วย

คำอธิบาย: IMG_2401

2.  ปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดและจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเห็ด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และฝึกอบรมให้กับเกษตรกร รวมทั้งผลิตก้อนเชื้อเห็ด จำนวน 60,000 ก้อน สนับสนุนโรงเรียน 17 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ด จำนวน 10 กลุ่ม

คำอธิบาย: C:\Users\jinjana.k\Downloads\DSC00296.JPG คำอธิบาย: C:\Users\jinjana.k\Downloads\DSC00188.JPG

3.  ฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปลูก การดูแลรักษา และการขยายพันธุ์ไม้ผลและผักพื้นบ้าน จำนวน 100 ราย

คำอธิบาย: E:\2. แฟ้ม เก็บภาพ ปีงบประมาณ 2555\อบรมสมุนไพรด่านซ้าย\อบรม\IMG_2049.JPG

4.  ผลิตและขยายพันธุ์พืช ได้แก่ อโวคาโด ผักชีลาว และผักหวานบ้าน จำนวน 3,000 ต้น

5.  จัดทำแปลงไม้ผลเมืองหนาวและไม้ผลพื้นเมือง จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ พลับ สาลี่ ม่อนไข่ มะปรางหวาน และสตาร์แอปเปิล

6.  ผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลเศรษฐกิจ ได้แก่ มะคาเดเมียนัท กระท้อน พลับ ท้อ และบ๊วย ชนิดละ 200 ต้น

7.  ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา จำนวน 13 ไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกกาแฟในสภาพร่มเงาให้แก่เกษตรกรจำนวน 60 ราย

8.  จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการผลิต ขยายพันธุ์ และแปรรูปผลผลิต จำนวน 2,000 แผ่น เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร 

คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSCF4440.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\กาแฟใต้ร่มลิ้นจี่.JPG

ด้านการพัฒนาที่ดิน

ผลิตและส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่น ให้กับกลุ่มเกษตรกรบริเวณรอบพื้นที่โครงการ และผลผลิตบางส่วนสำหรับใช้ภายในศูนย์ฯ

คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSCF4599.JPG คำอธิบาย: E:\รูปภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมบูรณาการศูนย์ฯ อ.ด่านซ้าย จ.เลย\DSC00252.JPG

ประโยชน์ของโครงการ

1. เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกร ผู้ปกครองนักเรียน และบุคคลที่สนใจในด้านการเกษตร

2. เป็นการเพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนให้กับครัวเรือนและเด็กในวัยก่อนเรียนในชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ปกครองซึ่งสามารถนำความรู้ไปต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย

3. การดำเนินกิจกรรมในลักษณะกลุ่มเกษตรกร ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและชุมชน

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. จัดทำแผนแม่บทโครงการระยะที่ 2 (ปี 2556-2559) แทนแผนแม่บทโครงการระยะที่ 1 (ปี 2553-2555)

2. พัฒนาให้เป็นศูนย์ผลิตไก่ไข่ให้กับโรงเรียนและผู้ปกครอง พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการในด้านการเลี้ยงสัตว์และการเกษตร 

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

ดำเนินงานตามแผนแม่บท 2556-2559 ในลักษณะบูรณาการประกอบด้วย งานด้านปศุสัตว์ และการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่กับงานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและอาชีพให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยในปี 2556 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้  

ด้านปศุสัตว์

  1. ก่อสร้างโรงเรือนพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ ขนาด 8x10 เมตร จำนวน 3 หลัง
  2. ก่อสร้างโรงเรือนคอกแพะ ขนาด 4x6 เมตร จำนวน 1 หลัง
  3. ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 1 หลัง
  4. ปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โรงฟักไข่ 

                    เตรียมพื้นที่สร้างโรงเรือนพ่อ-แม่พันธุ์                                                                โรงเรือนเลี้ยงสุกร

5.  ผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย จำนวน 350 ตัว  เพื่อผลิตลูกไก่ไข่ จำนวน 15,000 ตัว ภายในเดือนเมษายน 2557

6.  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่สู่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อม และดำเนินการฝึกอบรมการลี้ยงไก่ไข่ให้แก่ครู นักเรียนในโรงเรียน จำนวน 10 โรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับครูและนักเรียน ซึ่งจะส่งมอบไก่ไข่สาวในช่วงเดือนธันวาคม 2556

7.  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่สู่กลุ่มเกษตรกร ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ รวมถึงเกษตรกรที่มีความสนใจอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 5 กลุ่ม  ซึ่งจะส่งมอบลูกไก่ไข่ได้ภายในเดือนมีนาคม 2557

8.  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่สู่ผู้ปกครองนักเรียน โดยการคัดเลือกผู้ปกครองและเกษตรกร จำนวน 270 ราย ซึ่งจะส่งมอบลูกไก่ไข่ได้ภายในเดือนเมษายน 2557

9.   การพัฒนาพืชอาหารสัตว์ ดำเนินการสร้างแปลงรวบรวมพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ที่ได้รับพระราชทานได้แก่ สายพันธุ์ ไบโอเทค 1 - 2 และ 3 จากผลการศึกษาวิจัยในด้านผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการ และได้ดำเนินการปลูกและดูแลรักษาแปลงหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าขน และจะดำเนินปลูกหญ้าแพงโกล่า เพื่อเป็นอาหารหยาบคุณภาพดีสำหรับ โค แพะ และแกะ 

                             แปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง                                                 แปลงรวบรวมพันธุ์และทดสอบอ้อยอาหารสัตว์

10. งานโครงการจัดตั้งฐานการผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์ปีกในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานฯ จังหวัดมุกดาหาร โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตสัตว์ปีกให้กับนักเรียน ผู้ปกครองและเกษตรกรทั่วไป โดยการ จัดตั้งฐานการผลิตโรงเรือนเลี้ยงไก่ ห้องฟักไข่ คอกอนุบาล และฝึกอบรมผู้ปฎิบัติของโรงเรียนในด้านการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ การจัดการโรงเรือน พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยไก่พันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์เรด พ่อพันธุ์ 12 ตัว แม่พันธุ์ 60 ตัว  พร้อมตู้ฟักไข่ขนาด 1,000 ฟอง ตู้เกิดลูกไก่ขนาด 280 ฟอง

ด้านการประมง

-  จัดตั้งจุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาธิตการอนุบาลและเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำนวน 5 กระชัง สาธิตการเลี้ยงปลาดุกร่วมกับกบในบ่อพลาสติกล้อมคอกตาข่าย จำนวน 1 แห่ง สาธิตการเลี้ยงกบในคอนโด จำนวน 1 แห่ง ตรวจติดตามและประเมินผลผลิตชนิดปลา อัตราการเจริญเติบโต

ด้านการเกษตร

-  จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ 3 ไร่ เช่น ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง ฯลฯ พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรภายในแปลงและจุดเรียนรู้ให้กับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน นอกจากนี้ ยังได้จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปสมุนไพรให้กับเกษตรกรที่สนใจด้วย

-    ปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ด/จุดเรียนรู้/โรงพักก้อนเชื้อเห็ด พร้อมทั้งผลิตก้อนเชื้อเห็ดสนับสนุนโรงเรียน 17 โรงเรียน จำนวน 8,500 ก้อน และสนับสนุน    จุดเรียนรู้ 3 โรงเรือน จำนวน 4,500 ก้อน รวมทั้งงานถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ด     แก่เกษตรกร และสนับสนุนอุปกรณ์การผลิต

                       การถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ด                                                                โรงเรือนการเพาะเห็ด

-   ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียและอโวคาโดในพื้นที่เพื่อความมั่นคงจำนวน 20 ราย ในพื้นที่ 40 ไร่

-   กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตพันธุ์พืช จำนวน 1,500 ต้น

-   ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา จำนวน 13 ไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกกาแฟในสภาพร่มเงาให้แก่เกษตรกรจำนวน 60 ราย

-   จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการผลิต ขยายพันธุ์ และแปรรูปผลผลิต จำนวน 2,000 แผ่น เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร 

                           ผลผลิตแมคคาเดเมีย                                                                       ผลผลิตการแพพันธุ์อาราบิก้า

ด้านการพัฒนาที่ดิน

สาธิตการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการผลิตน้ำหมักชีวภาพ และสาธิตการทำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้กับกลุ่มเกษตรกรบริเวณรอบพื้นที่โครงการ และผลผลิตบางส่วนสำหรับใช้ภายในศูนย์ฯ

ด้านการติดตามผลการดำเนินงาน

สำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานการเลี้ยงไก่ไข่ที่ส่งเสริมไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และผู้ปกครองเด็กนักเรียน จากผลการส่งเสริมในช่วงระหว่างปี 2553-2555 โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ฯด่านซ้าย สามารถดำเนินการผลิตและแจกจ่ายไก่ไข่จำนวน 69 โรงเรียน ครอบคลุมพื้นที่ถึง 17 จังหวัด  ราษฎร 1,440 ราย จำนวน 15,225 ตัว

จากการดำเนินงานส่งผลให้โรงเรียนฯ สามารถมีผลผลิตไก่ไข่สำหรับเป็นโครงการอาหารกลางวันให้กับเด็กได้จำนวน 35-55 ฟอง/วัน ส่วนผู้ปกครองเด็กนักเรียน จำนวน 10 ราย ๆ 5 ตัว สามารถมีไข่ไว้รับประทานในครัวเรือน เฉลี่ยวันละ 3-4 ฟอง/วัน สามารถลดรายจ่ายได้

ประโยชน์ของโครงการ

1. สามารถจัดตั้งฐานการผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์ปีก มีการส่งเสริมและการผลิตไก่ไข่กระจายพันธุ์สู่โรงเรียนในพื้นที่ขาดแคลน ทำให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับความรู้และทักษะด้านการผลิตสัตว์ไข่ไก่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตในพื้นที่ห่างไกล สร้างความมั่นคงทางอาหารด้านโปรตีนได้อย่างบริโภคเพียงพอ

2. การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่สู่กลุ่มเกษตรกร ผู้ปกครองและเกษตรกร ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน เกษตรกรมีอาหารโปรตีนบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอจากการเลี้ยงไก่ไข่ มีรายได้เสริม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในศูนย์ฯ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพันธุ์สัตว์ และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

           เป็นศูนย์ผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์ไปสู่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร พร้อมทั้งขยายศูนย์การจัดตั้งฐานการผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์ปีก ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไปยังผู้ปกครองเด็กนักเรียน 

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2560

           ดำเนินงานตามแผนแม่บท 2560-2564 ในลักษณะบูรณาการประกอบด้วย งานด้านปศุสัตว์ และการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่กับงานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตพื้นที่จังหวัดเลย จำนวน 8 โรงเรียน และฝึกอาชีพให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยในปี 2560 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. ด้านปศุสัตว์

                1.1 การส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ เลี้ยงพ่อ แม่พันธุ์ไก่ไข่ จำนวน 500 ตัว    เพื่อผลิตลูกไก่ไข่ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ตัว อนุบาลลูกไก่ไข่ จำนวน 14,500 ตัว และไก่สาวเพื่อนำออกส่งเสริมให้กับโรงเรียน จำนวน 500 ตัว

                1.2 กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกสู่เกษตรกร เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรให้มีอาหารคุณภาพดีบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามารถจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยส่งเสริมพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ไก่ไข่เพศผู้ ไก่ไข่เพศเมีย และไก่พื้นเมือง

                1.3 นิเทศติดตามผลการดำเนินงานการเลี้ยงสัตว์ของครูและนักเรียน จำนวน 10 โรงเรียน และฝึกอบรมผู้ปกครองจำนวน 350 คน และเกษตรกร 60 คน

                1.4 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างบ้านพักคนงาน 2 ครอบครัว จำนวน 2 หลัง สร้างห้องน้ำบริเวณห้องประชุม จำนวน 1 หลัง และสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ขนาด 10 x 18 เมตร จำนวน 2 หลัง ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการผลิตลูกไก่ไข่หรือไก่สาวและสามารถลดปริมาณการเสียชีวิตของไก่แต่ละรุ่น

            2. ด้านประมง

                2.1 สาธิตการอนุบาลและเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำนวน 5 กระชัง สาธิตการเลี้ยงปลาดุกร่วมกับกบในบ่อพลาสติกล้อมคอกตาข่าย จำนวน 1 บ่อ สาธิตการเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกสัตว์น้ำโดยชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่ 2 แบบ พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต อาหารสัตว์น้ำเพื่อใช้ในจุดสาธิต

                2.2 ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำ โดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดท้องถิ่น สนับสนุนพื้นที่โครงการฯ และพื้นที่ขยายผล ในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 200,000 ตัว

                2.3 อบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับเกษตรกร อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 40 คน

 

3. ด้านการเกษตร

                3.1 กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                      - ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้น  ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียและอะโวคาโดในพื้นที่ความมั่นคง โดยฝึกอบรมเกษตรกร  จำนวน 22 คน ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมีย จำนวน 500 ต้น และอะโวคาโด จำนวน 250 ต้น       

                      - อบรมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้กับเกษตรกร จำนวน 20 คน     พร้อมสนับสนุนพันธุ์ไม้ดอก และปัจจัยการผลิต

 

     3.2 กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเห็ด

                        - แปลงเรียนรู้ด้านการเกษตร โดยจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด 5 โรงเรือน

                        - ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมอาชีพเกษตรกร 100 คน  โดยฝึกอบรม การผลิตและสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ด ให้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 5 โรงเรียน และโรงเรียนเพียงหลวง 18 ในพื้นที่จังหวัดเลย  โดยสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดให้โรงเรียนละ 1,000 ก้อน

                 3.3 แปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นที่ 3 ไร่ ดำเนินการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพรและการนำไปใช้ประโยชน์ และจัดอบรมหลักสูตรการผลิตและการแปรรูปสมุนไพร ให้แก่เกษตรกร นักเรียน และประชาชน จำนวน 100 คน

                 3.4 แปลงทดสอบไม้ผล และระบบการปลูกกาแฟ โดยเตรียมและจัดหาพันธุ์ไม้ผล เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สาลี่ มังคุด และ อะโวคาโด แมคคาเดเมีย และสนับสนุนการปลูกกาแฟแซม ในแปลงไม้ผล

                 3.5 กิจกรรมหม่อนไหม จุดสาธิต และเรียนรู้ด้านหม่อนไหม ถ่ายทอดความรู้ และขยายผลส่งเสริมการปลูกมัลเบอรี่ในโรงเรียน และส่งเสริมเกษตรกรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมัลเบอรี่

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

                    สามารถส่งเสริมกิจกรรมด้านปศุสัตว์ สัตว์ปีก และการเกษตรผสมผสานให้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ไม่น้อยกว่า 70 โรงเรียน ตลอดจนผู้ปกครองเด็กนักเรียน และเกษตรกร โดยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเลย และพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคเหนือ ไม่น้อยกว่า 3,000 ครัวเรือน ซึ่งมีหน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมมือในการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการ เพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

 

ผลการดำเนินงานปี 2561

                ดำเนินงานตามแผนแม่บท 2560-2564 ในลักษณะบูรณาการประกอบด้วย งานด้านปศุสัตว์ และการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่กับงานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตพื้นที่จังหวัดเลย จำนวน 8 โรงเรียน และฝึกอาชีพให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยในปี ๒๕61 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

                 ด้านปศุสัตว์

                1. การส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ เลี้ยงพ่อ แม่พันธุ์ไก่ไข่ จำนวน 500 ตัว เพื่อผลิตลูกไก่ไข่ อนุบาลลูกไก่ไข่ จำนวน 14,700 ตัว และไก่สาวเพื่อนำออกส่งเสริมให้กับโรงเรียน จำนวน 500 ตัว

                2. กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกสู่เกษตรกร เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีอาหารคุณภาพดีบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามารถจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยส่งเสริมพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ไก่ไข่เพศผู้ ไก่ไข่เพศเมีย และไก่พื้นเมือง

                3. นิเทศติดตามผลการดำเนินงานการเลี้ยงสัตว์ของครูและนักเรียน จำนวน 10 โรงเรียน และฝึกอบรมผู้ปกครองจำนวน 350 คน และเกษตรกร 290 คน

                4. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างโรงเรือนพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ขนาด 8 x 10 เมตร จำนวน 1 หลัง ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการผลิตลูกไก่ไข่หรือไก่สาวและสามารถลดปริมาณการตายของไก่แต่ละรุ่น

 

     ด้านประมง

                1. สาธิตการอนุบาลและเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำนวน 5 กระชัง สาธิตการเลี้ยงปลาดุกร่วมกับกบในบ่อพลาสติกล้อมคอกตาข่าย จำนวน 1 บ่อ สาธิตการเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกสัตว์น้ำโดยชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่ 2 แบบ พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต อาหารสัตว์น้ำเพื่อใช้ในจุดสาธิต

                2. ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำ โดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดท้องถิ่น สนับสนุนพื้นที่โครงการฯ และพื้นที่ขยายผลในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 200,000 ตัว

                3. อบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับเกษตรกร อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 40 คน

    ด้านการเกษตร

    1. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                    - ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้น ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียและอะโวคาโด  ในพื้นที่ความมั่นคง  โดยฝึกอบรมเกษตรกร จำนวน 20 คน ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมีย จำนวน 500 ต้น และอะโวคาโด จำนวน 200 ต้น

                    - อบรมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้กับเกษตรกร จำนวน 20 คน พร้อมสนับสนุน พันธุ์ไม้ดอก และปัจจัยการผลิต

   2. กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเห็ด

                  - แปลงเรียนรู้ด้านการเกษตร โดยก่อสร้างโรงเรือนผลิตก้อนเชื้อเห็ด ขนาด 10x10x3.5 เมตร จำนวน 1 โรงเรือน และจัดทำโรงเรือนเปิดดอกเห็ด จำนวน 3 โรงเรือน

                  - ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมอาชีพเกษตรกร จำนวน 100 คน โดยฝึกอบรม การผลิตและสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ด ให้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน  5 โรงเรียน และโรงเรียนเพียงหลวง 18 ในพื้นที่จังหวัดเลย โดยสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดให้โรงเรียนละ 1,000 ก้อน

               3. แปลงรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นที่ 3 ไร่ ดำเนินการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร   ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพรและการนำไปใช้ประโยชน์ และจัดอบรมหลักสูตรการผลิตและการแปรรูปสมุนไพร ให้แก่เกษตรกร นักเรียน และประชาชน จำนวน 100 คน

               4. แปลงทดสอบไม้ผล และระบบการปลูกกาแฟ โดยจัดหาพันธุ์ไม้ผล เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สาลี่ มังคุด อะโวคาโด แมคคาเดเมีย ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และก้านยาว และสนับสนุนการปลูกกาแฟแซมในแปลงไม้ผล

               5. กิจกรรมหม่อนไหม จุดสาธิต และเรียนรู้ด้านหม่อนไหม ถ่ายทอดความรู้ และขยายผลส่งเสริมการปลูกมัลเบอรี่ในโรงเรียน และส่งเสริมเกษตรกรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมัลเบอรี่

ประโยชน์ที่ได้รับ

                   ส่งเสริมกิจกรรมด้านปศุสัตว์ สัตว์ปีก และการเกษตรผสมผสานให้แก่ โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน และโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ไม่น้อยกว่า 70 โรงเรียน ตลอดจนผู้ปกครองเด็กนักเรียน และเกษตรกร โดยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดเลย และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ไม่น้อยกว่า 3,000 ครัวเรือน ซึ่งมีหน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมมือในการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการ เพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

คำอธิบาย: 20090930-131541
คำอธิบาย: ปศุสัตว์ด่านซ้าย.jpg

แผนที่โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ

ตำบลด่านซ้าย  อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย

คำอธิบาย: map

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2562

                  ดำเนินงานในลักษณะศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตพันธุ์สัตว์และด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ประชาชน นักเรียน และผู้ที่สนใจ ได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น ดังนี้

                   ด้านปศุสัตว์

                  1. ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ โดยสนับสนุนไก่เล็ก อายุ 2-6 สัปดาห์ (คละเพศ) ให้แก่เกษตรกร จำนวน 290 คน ๆ ละ 50 ตัว รวม 14,500 ตัว ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตไข่เฉลี่ยรายละ 590 ฟอง (ระยะการเลี้ยง 236 วัน) หรือคิดเป็นผลผลิตไข่เฉลี่ย 2.5 ฟองต่อวัน

                  2. ส่งเสริมการเลี้ยงสุกร โดยสนับสนุนลูกสุกรพันธุ์ผสมเหมยซาน อายุ 4-6 สัปดาห์ให้แก่เกษตรกร จำนวน 80 คน ๆ ละ 2 ตัว ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตลูกสุกรได้ปีละ2 คอก (เฉลี่ยปีละ 18 ตัว) สามารถจำหน่ายได้ราคาตัวละ 1,000 บาท

                3. ผลิตพันธุ์ไก่ไข่เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ รวม 1,000 ตัว  ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียนโดยสนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่ อายุ 20 สัปดาห์ ให้แก่โรงเรียน จำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนละ 50 ตัว สามารถผลิตไข่ได้เฉลี่ย 5,341 ฟอง (ระยะการเลี้ยง 217 วัน) ทำให้โรงเรียนมีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอต่อการบริโภคของ เด็กนักเรียนและมีบางส่วนเหลือจำหน่าย ส่งผลให้โรงเรียนมีแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพและยังเป็นการฝึกทักษะด้านการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เด็กนักเรียนซึ่งสามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคต 

                             

                                           พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่                                                        การฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ปีก

         

                            

                                 การสนับสนุนพันธฺุสุกรแก่เกษตรกร                                    การฝึกอบรมครูและนักเรียน

    

                            

                                          ผลผลิตที่ได้                                                            การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย

 

                 4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ด้วยการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์และต่อยอดผลผลิต โดยจัดอบรมการผลิตอาหารสัตว์จากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ต้นกล้วย มันสำปะหลัง หญ้าเนเปียร์ และจัดอบรมการทำไข่เค็ม ฝอยทอง ทองหยิบ
หมูสวรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์

                            

                     การเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารสัตว์                          ฝึกปฎิบัติการทำไข่เค็ม

    

              ด้านประมง

              1. สาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำ 4 แบบ ประกอบด้วย การเลี้ยงปลานิลในกระชัง  จำนวน 5 กระชัง การเลี้ยงปลาดุกร่วมกับกบในบ่อพลาสติกล้อมคอกตาข่าย การเลี้ยงปลาดุกร่วมกับกบในกระชังบนดิน และการเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกสัตว์น้ำโดยชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่

                 2. เพิ่มศักยภาพการผลิตในแหล่งน้ำ โดยการผลิตและปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลายี่สกเทศ ปลานิล ปลากดเหลือง ขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 200,000 ตัว ลงสู่แหล่งน้ำในชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้กับชุมชน และสร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำให้ราษฎรสามารถประกอบอาชีพประมงน้ำจืดได้อย่างยั่งยืน

                   3. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยจัดอบรมการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในบ่อดิน พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตในเบื้องต้นให้กับเกษตรกร จำนวน 40 คน

                             

                     บรรยายเรื่องการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในบ่อดิน                    ปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แหล่งน้ำในชนบท

                                    

ด้านการเกษตร

              1. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลและผักพื้นบ้าน โดยการจัดฝึกอบรมพร้อมมอบปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร จำนวน 20 คน นอกจากนี้ ยังสนับสนุน     พันธุ์ไม้ผล ผักพื้นบ้าน ให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ จำนวน 1,500 ต้น ประกอบด้วย ต้นกล้าพริก 700 ต้น ต้นกล้ามะเขือ 700 ต้น และต้นพันธุ์   อโวคาโด 100 ต้น

              2. กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเห็ด ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตและการดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดให้กับเกษตรกร จำนวน 50 คน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มในการบริหารจัดการผลผลิต จำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับการสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดกลุ่มละ 1,500 ก้อน  

                              

                             สนับสนุนต้นพันธุ์วโวคาโดให้เกษตรกร                             ส่งเสริมการรวมกลุ่มกิจกรรมเพาะเห็ด

               

              3. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร โดยได้พัฒนาแปลงรวบรวมและขยายพันธุ์พืชสมุนไพร พื้นที่ 3 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพรให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตและแปรรูปสมุนไพร ให้กับราษฎร จำนวน 50 คน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรและมีช่องทางในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย

                             

                        ฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตและแปรรูปสมุนไพร                             ฝึกปฎิบัติการแปรรูปสมุนไพร

 

              4. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกและขยายพันธุ์ไม้ผลที่มีศักยภาพ โดยได้ศึกษาทดสอบไม้ผลที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ในพื้นที่ 16 ไร่ ประกอบด้วย  ลิ้นจี่ แมคคาเดเมีย ปลูกแซมด้วยกาแฟอาราบิก้า และไม้ผลอื่น ๆ เช่น อะโวคาโด เงาะ สาลี่  มังคุด ทุเรียน จัดฝึกอบรบหลักสูตรเกษตรผสมผสาน และการปลูกขยายพันธุ์ไม้ผล พร้อมทั้งสนับสนุนพันธุ์ไม้ผลให้กับเกษตรกรที่สนใจ

          5. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านบัญชีประจำศูนย์เรียนรู้ และให้บริการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกรที่ขอรับบริการ

                            

                              สาธิตการปลูกไม้ผลที่มีศักยภาพ                                       ฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

                 ทำให้เกษตรกร นักเรียน และประชาชนทั่วไป ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน    ทั้งด้านองค์ความรู้และพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ เพื่อให้ราษฎรมีแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดี เพียงพอ สำหรับบริโภคในครัวเรือน และโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนต่าง ๆ เป็นการลดรายจ่ายและสามารถสร้างรายได้เสริม ซึ่งราษฎรสามารถเลือกอบรมหลักสูตรที่ตนเองสนใจเพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการทำการเกษตร โดยในปีงบประมาณ 2562 มีผู้เข้ามาศึกษาดูงาน รวม 1,747 คน มีผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ รวม 623 คน และมีโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริม จำนวน 21 โรงเรียน ส่งผลให้ราษฎรและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve