โครงการ หมู่บ้านทับทิมสยาม 06

สถานที่ตั้ง

ตำบล ปรือใหญ่ อำเภอ ขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน


โครงการทับทิมสยาม 06 (สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์)

อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงรับโครงการสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของจังหวัดศรีสะเกษเข้าร่วมโครงการทับทิมสยาม 06 และพระราชทานชื่อเป็น “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์” เพื่อทำการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมและดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเป็นการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศของพื้นที่

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา มีพระราชดำริสรุปความว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่อดีตศูนย์อพยพชาวกัมพูชาและหมู่บ้านในจังหวัดตามแนวชายแดน โดยให้จัดตั้งหมู่บ้านที่พระราชทานนามว่า “โครงการทับทิมสยาม”

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 ทรงได้รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรสมาชิกโครงการทับทิมสยามที่ยังไม่มีที่พักอาศัย จึงทรงเห็นชอบให้พิจารณาก่อสร้างบ้านพักในส่วนที่เหลืออยู่เพื่อช่วยเหลือราษฎร

และต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2551 มีพระดำริเพิ่มเติมให้เตรียมความพร้อมรองรับการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า และทำการฝึกสัตว์ป่าให้มีความพร้อมก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ปรับปรุงเพิ่มเติมแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และสร้างแหล่งอาหารเสริมให้สัตว์ป่า ตลอดจนพัฒนาปรับปรุงระบบประปาให้สามารถใช้ในการบำรุงแปลงพืชอาหารสัตว์

ผลการดำเนินงาน ปี 2539  (ทดลองปลูกสร้างสวนป่าไม้เศรษฐกิจ)

                        1. งานบริหารโครงการฯ

                        2. สร้างเรือนเพาะชำ 1 หลัง

                        3. สร้างสำนักงานชั่วคราว 1 แห่ง

                        4. เพาะชำกล้าไม้ยางบง 50,000 กล้า

                        5. จัดหาหวายดง 60,000 ต้น

                        6. จัดทำแปลงสาธิต 5 ไร่

                        7. ปลูกต้นไม้สองข้างถนน 5,000 ต้น

ประโยชน์ของโครงการ

1. มีป่าไม้เพิ่มมากขึ้นจากการปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ

2. ราษฎรสามารถนำผลการทดลองและสาธิตการปลูกขยายผล เพื่อทำเป็นการค้าต่อไปในอนาคต

การเพาะชำกล้าไม้ เพื่อใช้ปลูกป่าทดแทนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

กองทัพภาคที่ 2 ได้ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักให้กับสมาชิกในโครงการทับทิมสยาม 06 อำเภอขุขันธ์ จำนวน 48 หลัง 

             บ้านของราษฎรสมาชิกโครงการทับทิมสยาม                          บริเวณบ้านมีสระน้ำขนาดเล็ก เลี้ยงกบ หรือปลาและมีการปลูกพืชสวน

        ที่กองทัพภาคที่ 2 ดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 92 หลัง 

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

กองทัพภาคที่ 2 ได้ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักเพิ่มเติมให้แก่ราษฎร ซึ่งเป็นสมาชิกของโครงการทับทิมสยาม 06 อำเภอขุขันธ์ จำนวน 22 หลัง

การก่อสร้างบ้านพักอาศัยแบบถาวร โครงการทับทิมสยาม 06 จำนวน 22 หลัง

ผลการดำเนินงาน ปี 2552

ได้จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ 100 ไร่ ปลูกไม้ผลอาหารสัตว์ 20 ไร่ ทำโป่งเทียม 10 แห่ง เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า 34 ชนิด จำนวน 400 ตัว ปรับปรุงระบบประปา ขยายเขตไฟฟ้าและจะดำเนินการก่อสร้างรั้วตาข่าย ยาว 2,000 เมตร ปัจจุบันมีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 80 คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการในเดือนธันวาคม 2552

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้สัตว์ป่ามีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ และสามารถรองรับสัตว์ป่าที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อย่างเพียงพอ มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พร้อมเตรียมความพร้อมในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ  อันจะเป็นการเพิ่มและขยายปริมาณพันธุ์สัตว์ป่าในธรรมชาติ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เพื่อการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่ และสร้างจิตสำนึกให้ราษฎรรู้จัก รัก หวงแหนทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า อย่างยั่งยืน

?

ปลูกไม้ผลอาหารสัตว์

?

จัดทำโป่งเทียม

 

ผลการดำเนินงาน ปี2553

จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ 100 ไร่  โดยปลูกไม้ผลอาหารสัตว์ 1,500 ต้น และทำโป่งเทียม 10 แห่ง  พร้อมทั้งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า 34 ชนิด 450 ตัว  ส่งเสริมให้ราษฎรเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าสร้างรายได้ 12 ราย ฝึกอบรมราษฎร 3 รุ่น และเพาะชำกล้าไผ่ชนิดต่างๆ แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปปลูกในพื้นที่ตนเองและนำไปปลูกเสริมป่าบริเวณที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน 50,000 กล้า เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อม และการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้สัตว์ป่าที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เตรียมความพร้อมในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ  เพื่อให้มีจำนวนสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น  และทำให้ราษฎรในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงมีจิตสำนึกรู้จักรัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้สัตว์ป่าอย่างยั่งยืน

คำอธิบาย: IMGP0074.JPG คำอธิบาย: DSCN0239

   

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 100 แห่ง ปลูกไม้มีค่า (พยุง) จำนวน 100 ไร่ (25 ต้น/ไร่) ปรับปรุงบำรุงแปลงพืช/ไม้ผลอาหารสัตว์ 200 ไร่/1,500 ต้น ปรับปรุงแหล่งน้ำสัตว์ป่า 4 แห่ง และส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าสร้างรายได้

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้เคียง 9 หมู่บ้าน จำนวน 250 ครัวเรือน ประชากร 1,250 คน มีจิตสำนึกรัก หวงแหน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และเป็นแนวทางให้ราษฎรหันมาสนใจทำการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสานจำนวน 100 แห่ง ปลูกไม้พะยูงจำนวน 500 ไร่ (25 ต้น/ไร่) ฟื้นฟูบำรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่าจำนวน 100 ไร่ ปรับปรุงแหล่งน้ำสัตว์ป่า 6 แห่ง และส่งเสริมการเลี้ยงหมูป่า 60 ตัว ให้ราษฎรจำนวน 12 ราย

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้พื้นที่ป่าไม้บริเวณสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และมีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ป่าที่หากินอยู่ในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งยังทำให้ราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมีโอกาสเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

คำอธิบาย: IMGP1606.JPG คำอธิบาย: IMGP1456.JPG

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 100 แห่ง  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำพื้นที่ 300 ไร่ และปลูกหวายเสริมป่าธรรมชาติ 50 ไร่  ฟื้นฟูและบำรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่า ปรับปรุงแหล่งน้ำสัตว์ป่าโดยการซ่อมแซมทำนบดินเก็บน้ำ 1 แห่ง และขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 4 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้พื้นที่ป่าไม้และระบบนิเวศธรรมชาติในพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 06 ได้รับการฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทำให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำให้สัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ และปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

บำรุงแปลงหญ้าแหล่งอาหารสัตว์ป่า

                                ขุดลอกแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า


005.jpg

กล่องข้อความ:

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve