โครงการ ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ห้วยตึ๊กชู อำเภอ ภูสิงห์ จังหวัด ศรีสะเกษ

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

เรื่องเดิม

   เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ในการนี้มีพระราชดำริให้ส่วนราชการร่วมกันพิจารณาจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ ซึ่งประกอบอาชีพทำนาไม่ได้ผลและขาดแคลนน้ำในการประกอบอาชีพ ในลักษณะเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

   ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านวนาสวรรค์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ผู้เชี่ยวชาญด้านดินพิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่มีปัญหาเรื่องดินดาน และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำริให้จัดหาแหล่งน้ำและส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎรในบริเวณพื้นที่รอบศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ เพื่อให้มีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านพนมชัย ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ และมีพระราชดำริให้พิจารณาจัดหาแหล่งน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินแตก และลำห้วยไผ่ เพื่อช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ รวมทั้งให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ เพื่อทดลองทำโครงการโดยส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำลายป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2538

1. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกหมอนเลี้ยงไหมในพื้นที่ 50 ไร่

ได้ปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ในพื้นที่ 50 ไร่                        

2. กิจกรรมศึกษาและพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว พืชสวน ระบบการเกษตรผสมผสาน วนเกษตร และยางพารา

ได้ปลูกถั่วลิสงและไม้ผลในกิจกรรมศึกษา และพัฒนาการปลูกพืช

3. กิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ

    - สาธิตและทดสอบการอนุรักษ์ดินและน้ำ

    -ปลูกหญ้าแฝกตามระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

    - ปลูกไม้ผลตามระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

ได้ดำเนินการปลูกแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

4. กิจกรรมสาธิตและพัฒนาป่าไม้ส่งเสริมการปลูกต้นไม้

5. กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการประมง

    - สาธิตการเลี้ยงปลา

    - สาธิตการทำไร่นาสวนผสม

    - ฝึกอบรมเกษตรกร

6. กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด)

7. กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงโค

    - สาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงโค

    - สร้างทุ่งหญ้า 100 ไร่

    - ส่งเสริมการผสมเทียม

จัดสร้างทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้าคอกโกในพื้นที่ 100 ไร่

8. กิจกรรมอำนวยการการบริหารโครงการ

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรจำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวน 1,338 ครัวเรือน หรือ 5,385 คน สามารถศึกษาความรู้ด้านการเกษตร และพัฒนาอาชีพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้แก่ราษฎรต่อไป

                                                  ปรับปรุงโรงวัว                                                         ปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

ผลการดำเนินงาน ปี 2539

1. กิจกรรมก่อสร้างระบบส่งน้ำด้วยท่อ และการบริหารประสานงาน

2. กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลา

                           - สาธิตการเพาะและอนุบาลลูกปลา

                           - สาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลาในนาข้าว

                           - การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

                           - ก่อสร้างโรงเก็บวัสดุ , เก็บอาหารสัตว์ ปรับปรุงบ่ออนุบาล

                           - ฝึกอบรมเกษตร

3. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกป่า และการเพาะชำกล้าไม้ โดยดำเนินการจัดซื้อกล้าไม้หวายดง 19,000 ต้น และกล้าไม้อื่นๆ จำนวน 50,000 ต้น และทำการฝึกอบรมเกษตรกร 30 คน จำนวน 1 รุ่น

4. กิจกรรมสนับสนุนศูนย์กระจายพันธุ์สัตว์ปีก

5. กิจกรรมศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช ทดสอบการจัดระบบปลูกไม้ผลแบบผสม 4 ไร่ ปลูกไม้ผลพันธุ์ดี 6 ไร่ ขยายพันธุ์ไมผลพันธุ์ดี 5 ไร่ จัดระบบเกษตรแบบผสมผสานทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่ 20 ไร่

6. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จัดซื้ออุปกรณ์เลี้ยงไหม จำนวน 40 ห้อง ปลูกหม่อนในพื้นที่ จำนวน 100 ไร่ สร้างโรงเลี้ยงไหมในศูนย์ฯ 25 ห้อง และนอกศูนย์ฯ 25 ห้อง และส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ 60 รายๆ ละ 1 ไร่

7. กิจกรรมอนุรักษ์ดินและน้ำ

8. โครงสร้างพื้นฐานและบริหารโครงการ จัดซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์ ปรับปรุงอาคารสำนักงาน อาคารบ้านพัก ส่งเสริมการผสมเทียมโคและปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และได้ดำเนินการจัดหาอาหารและยาเพื่อปศุสัตว์และวัสดุอุปกรณ์การเกษตร

ปรับปรุงอาคารสำนักงาน

ประโยชน์ของโครงการ

1. ทำให้ราษฎร จำนวน 8 หมู่บ้าน 1,338 ครัวเรือน หรือ 5,385 คน สามารถศึกษาหาความรู้ด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้แก่ราษฎรต่อไป

2. เป็นแหล่งกลางในการศึกษาทดสอบทางเกษตรด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง ป่าไม้ ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และบริเวณใกล้เคียง

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

จัดตั้งศูนย์สาธิตการปศุสัตว์ภูสิงห์

 - สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พ่อ-แม่พันธุ์ โรงเรือนเลี้ยงเป็ดพ่อ-แม่พันธุ์ และโรงเก็บอาหาร

 - จัดซื้อพ่อ-แม่พันธุ์ไก่และเป็ดอย่างละ 108 ตัว เพื่อขยายพันธุ์

 - ฝึกอบรมเกษตรกร 200 คน

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน ของอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1,130 ครัวเรือน 4,580 คน ได้มีความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ถูกต้องตามหลักวิชาการและทำให้มีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น โดยเฉพาะไก่และเป็ดเทศ

โรงเรือนเลี้ยงไก่-เป็ด เพื่อขยายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. ดำเนินงานก่อสร้างอาคารสำนักงาน, ห้องน้ำ/ห้องส้วม,อาคารฝึกอบรมพร้อมหอนอน, ก่อสร้างโรงอาหาร, ระบบประปา, เสาอากาศ, และก่อสร้างเรือนพักวิทยากรพร้อมขยายเขตโทรศัพท์และก่อสร้างถังน้ำสูง

2. งานสนับสนุนโครงการทฤษฎีใหม่

3. งานก่อสร้างถนนภายในโครงการและระบบระบายน้ำ

4. งานก่อสร้างฝายน้ำล้นแบบ มข. 2527 พร้อมสะพานคนเดินข้าม และก่อสร้างท่อส่งน้ำเข้าสู่แปลงนา

5. งานพัฒนาการคมนาคมระบบ ผสมผสานตามแนว “ทฤษฎีใหม่” และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรติดตามประสานงานและประเมินผล

6. งานติดตามและประเมินผลในพื้นที่โครงการ

7. ค่ากระแสไฟฟ้าโรงสูบน้ำของศูนย์ฯ จัดทำป้ายศูนย์และค่าซ่อมบำรุงรักษาโรงสูบน้ำของศูนย์

8. ก่อสร้างอาคารศูนย์เด็กเล็ก, ค่าตอบแทนผู้ดูแลเด็กและค่าอาหารเสริม

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

1. งานอำนวยการ โดยดำเนินการประสานงาน กำกับดูแล จัดการประชุม และติดตามผลงาน จัดทำการประชาสัมพันธ์

2. งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้างอาคารสูบน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบกรองน้ำ พร้อมวางท่อส่งน้ำประปาไปยังอาคารต่างๆภายในศูนย์

3. งานพัฒนาแหล่งน้ำ ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู มายังพื้นที่แปลงสาธิตภายในศูนย์ และดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ ได้แก่ ขุดลอกคลองจากอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู ถึงอ่างเก็บน้ำบุกชะนัง ขุดลอกลำห้วยบ้านกระโดน บ้านตาเม็ง บ้านนกยูง ห้วยลันดะ และห้วยตามอญ

4. งานป่าไม้ จัดทำแปลงสาธิต 12 แปลง ทำถนนและร่องระบายน้ำภายในโครงการเพาะชำกล้าไม้ 123,000 กล้า เพาะชำกล้าหวาย 91,600 กล้า และแจกจ่ายพันธุ์กล้าไม้ให้แก่เกษตรกร 319,978 กล้า

5. งานพัฒนาที่ดิน ฝึกอบรมผู้นำเกษตรกร 100 ราย ปรับปรุงพื้นที่จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 40 ไร่

6. งานพัฒนาการเกษตร สาธิตและส่งเสริมการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ฝึกอบรมและผลิตพันธ์พืชพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร

7. งานปศุสัตว์ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ 110 ตัว พ่อแม่พันธุ์เป็ดเทศ 110 ตัว ผลิตลูกไก่ 4,235 ตัว ลูกเป็ดเทศ 2,128 ตัว ฝึกอบรมเกษตรกร เลี้ยงเป็ดไข่ 80 ราย สนับสนุนอาหารสัตว์

8. งานประมง มอบพันธุ์ปลาแก่ตัวแทนสมาชิกโครงการขยายผลทฤษฎีใหม่ ปล่อยพันธุ์ปลาดุกอุย พันธุ์ไทยแท้ และพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบนาในแปลงนาสาธิต

9. งานด้านการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ในรอบปี 2543 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรและผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมด้านการพัฒนาอาชีพการเกษตร และเข้ามาศึกษาดูงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 4,104 คน

อ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู ความจุ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำฯ 

แปลงปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อสาธิตและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว       เรือนเพาะชำไม้ผลพืชผัก เพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ     

                        การเลี้ยงเป็ดเทศและไก่พื้นเมือง                                      การใช้ตู้เครื่องช่วยฟักไข่ เพื่อขยายพันธุ์ไว้แจกจ่ายแก่เกษตรกร

การใช้ฟางทำปุ๋ยหมัก เพื่อเตรียมสาธิตให้เกษตรกรดูเป็นแบบอย่าง                         การสาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก เช่น ปลาดุก

ผลการดำเนินงาน ปี 2547

บำรุงรักษาป่าเปียก จำนวน ๒๘๐ ไร่ ในบริเวณศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์พร้อมทั้งเพาะชำกล้าไม้ทั่วไป จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กล้า และเพาะชำกล้าหวาย จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กล้า เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรและส่วนราชการ

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้มีพันธุ์ไม้มาปลูกเสริมในป่าชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าชุมชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ใช้แผนแม่บทฉบับที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๔ เป็นกรอบแนวทางการพัฒนามาจนหมดวาระแล้ว สำนักงาน กปร.ได้ติดตามประเมินผลโครงการร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้นำผลการประเมินผลโครงการมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาจัดทำแผนแม่บท  ฉบับที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาช่วงต่อไป และใช้สำหรับการติดตามเร่งรัดให้กิจกรรมต่างๆ บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

.      การดำเนินงานภายในพื้นที่ศูนย์ฯ

พื้นที่ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์มีทั้งหมดประมาณ ๕๔๐ ไร่ ได้แบ่งพื้นที่เพื่อดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ สำหรับเป็นการสาธิตและฝึกอบรมให้แก่ราษฎรซึ่งราษฎรสามารถนำไปเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพต่อไป โดยกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ศูนย์ที่ดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ได้แก่

กิจกรรมพืช

๑.      บำรุงรักษาแปลงสาธิตการปลูกหม่อน การปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ เพื่อเป็นต้นแบบให้ราษฎรและผู้สนใจเข้าศึกษาดูงาน

๒.     ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิเพื่อสาธิตโดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เฉลี่ย ๔๐๗ กิโลกรัมต่อไร่

๓.     ปลูกพืชไร่แซมในแปลงไม้ผล เช่น ถั่วลิสง ปอแก้ว และอ้อย ซึ่งสามารถให้ผลผลิตเป็นการเสริมรายได้จากไม้ผล

๔.     ปลูกพืชไร่หลังนา เพื่อสาธิตการบำรุงรักษาดินและยังมีผลผลิตเป็นรายได้อีกด้วย

๕.     ฝึกอบรมวิชาการเกษตรด้านพืชและข้าวให้แก่ราษฎรและนักเรียน

กิจกรรมประมง

๑.      ผลิตพันธุ์ปลา จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ ตัว เพื่อสาธิตและส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรเลี้ยงปลา รวมทั้งนำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำต่อไป

๒.     ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์น้ำแก่ราษฎรและนักเรียน

กิจกรรมปศุสัตว์

๑.      เลี้ยงสุกรและเป็ดเทศ เพื่อสาธิตและผลิตพันธุ์ส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรและโรงเรียนรอบศูนย์ฯ

๒.     ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ให้แก่ราษฎรและนักเรียน

กิจกรรมพัฒนาที่ดิน

๑.      ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปลูกพืชเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด และปลูกหญ้าแฝกเพื่อสาธิตและส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรนำแนวทางไปปฏิบัติ

๒.     ฝึกอบรมการทำปุ๋ยและการอนุรักษ์ดินและน้ำให้แก่ราษฎรและนักเรียน

กิจกรรมป่าไม้

๑.      บำรุงรักษาแปลงปลูกป่าและปลูกไม้เศรษฐกิจได้แก่หวายและไผ่ตง เพื่อสาธิตรวมทั้งเพาะกล้าไม้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้แก่ราษฎรและส่วนราชการนำไปปลูก

๒.     ให้คำแนะนำและบริการแก่ราษฎรและนักเรียนในการศึกษาดูงานกิจกรรมป่าไม้

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ มีราษฎรและนักเรียน  นักศึกษา เข้ามาศึกษาดูงานและรับการฝึกอบรมวิชาการด้านต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๘๕ คณะ จำนวน ๔,๒๐๐ คน

๒.     การขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๑.      ส่วนราชการที่ดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านพืช  ปศุสัตว์  ประมง  ป่าไม้  และพัฒนาที่ดินได้ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ไม้ผลไม้เศรษฐกิจ และพันธุ์สัตว์  พันธุ์ปลา  รวมทั้งให้บริการคำแนะนำและคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดแก่ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบศูนย์ฯ ที่นำพันธุ์พืช  พันธุ์ไม้  และพันธุ์สัตว์ดังกล่าวไปดำเนินการ

๒.     งานพัฒนาแหล่งน้ำทั้งการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ  และการขุดสระน้ำประจำไร่ที่ได้จัดทำให้แก่ราษฎรไว้แล้วนั้น ส่วนราชการต่างๆ ได้ติดตามและคอยแนะนำ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรมีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มตามศักยภาพ อันจะส่งผลให้ราษฎรมีผลผลิตและรายได้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

๑.      มีศูนย์กลางการประสานงานของส่วนราชการต่างๆ ที่สามารถให้บริการแก่เกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ และเบ็ดเสร็จในจุดเดียวทั้งด้านวิชาการเกษตร ด้านพืช  ด้านปศุสัตว์  ด้านประมง ด้านพัฒนาที่ดินและด้านป่าไม้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการในรูปแบบวิธีการสมัยใหม่เป็นการบูรณาการแผนงาน/งบประมาณร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

๒.     เกษตรกรมีโอกาสเรียนรู้จากการสาธิต การฝึกอบรมการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ตามหลักวิชาการที่เหมาะสม โดยเฉพาะเกษตรกรที่ยากจนและด้อยโอกาสในชนบทให้ได้รับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่อันเป็นการลดต้นทุนการผลิตและช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตผลมากขึ้น ช่วยเสริมรายได้ของครอบครัวและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเพียงพอ สามารถดำรงชีวิตประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ในท้องถิ่น ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่น

๓.     เกษตรกรในพื้นที่โครงการได้รับโอกาสการพัฒนา เพื่อให้สามารถพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองได้ อันเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและอยู่ดีกินดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรหมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์จำนวน ๑๘ หมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งจะได้รับประโยชน์โดยตรง

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

1.   การดำเนินงานภายในพื้นที่ศูนย์

      ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 540 ไร่ มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการสาธิตการทำการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการฝึกอบรม ได้แก่ ราษฎรเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ ดังนี้

           1.1    กิจกรรมพืช

                        1)   งานด้านพืชสวน ได้ทดสอบและพัฒนาการปลูกไม้ผสมผสานพื้นที่ 4 ไร่ พบว่าระบบที่มีมะม่วงแก้ว ศก.007 เป็นหลักมีการเจริญดีที่สุด

                        2)   ทดสอบและพัฒนาการปลูกไม้ผลพันธุ์ดี พื้นที่ 6 ไร่ พบว่าไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตดีที่สุด คือ ลิ้นจี่ มะกอกน้ำ มะม่วง กระท้อน เงาะ มังคุด ลำไย และทุเรียน โดยทุเรียนมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด

                       3)    การสร้างแปลงขยายพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดี พื้นที่ 10 ไร่ เช่น มะกอกน้ำ 500 ต้น  ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1   500 ต้น

           1.2    กิจกรรมข้าว  ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว  พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 พื้นที่ 5 ไร่ โดยได้ตกกล้าข้าวในเดือนมิถุนายน และปักดำในเดือนสิงหาคม 2549 โดยคาดว่าปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

           1.3    กิจกรรมพืชไร่  ทำแปลงสาธิตและขยายพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ  พันธุ์สุพรรณบุรี 50 ในระหว่างแปลงไม้ผล  พื้นที่ 6 ไร่ คาดว่าจะสามารถขยายพันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจได้ และปลูกพืชไร่หลังนา (ใช้ร่วมกับแปลงนา) พื้นที่ 5 ไร่

           1.4   กิจกรรมหม่อนไหม  ทดสอบความเหมาะสมของหม่อนพันธุ์ดี พื้นที่ 8 ไร่

           1.5   กิจกรรมด้านยางพารา  สาธิตการปลูกยางพารา พันธุ์ RRIM 600 พื้นที่ 15 ไร่

           1.6   กิจกรรมปศุสัตว์  สาธิตการเลี้ยงโค  สุกร สัตว์ปีก และได้ฝึกอบรมเกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์ปีก จำนวน 10 ราย ด้านการเลี้ยงสุกร  จำนวน 10 ราย

           1.7   กิจกรรมประมง  ผลิตสัตว์น้ำ 2,000,000 ตัว เพื่อสาธิตและปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ  20 แห่ง จำนวน 1,800,000 ตัว พร้อมทั้งแจกจ่ายพันธุ์ปลาให้แก่ราษฎร  รวมทั้งส่งเสริมราษฎรเลี้ยงปลา  จำนวน 150 ราย เพื่อการผลิตและจำหน่ายพันธุ์ปลาออกสู่ท้องตลาด

           1.8    ด้านการพัฒนาที่ดิน  สาธิตและฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด 22 ไร่ ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 20 ไร่ ประสานกับกระบวนการปลูกพืชผักปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 85 ราย และฝึกอบรมหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน 85 ราย

           1.9    ด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อม  สาธิตการปลูกป่าเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  เช่น ระบบวนเกษตร 8 ไร่ ธนาคารอาหารชุมชน 2 งาน บำรุงสวนป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง 60 ไร่ เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 30,000 ต้น กล้าหวายดง  20,000 ต้น และถ่ายทอดความรู้ด้านป่าไม้และแนวพระราชดำริ ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่า 300 ราย

2.   การขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์

      นอกเหนือจากกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านวิชาการแก่เกษตรกร ภายในศูนย์แล้วยังมีงานขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์  เพื่อเป็นการส่งเสริมแนะนำติดตามและให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร ซึ่งได้นำเอาความรู้ที่ได้จากการดูงานและฝึกอบรม ไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง  โดยสรุปดังนี้

2.1   ให้คำแนะนำในการนำเอาความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรไปใช้ในที่ดินของตนเอง เช่น เกษตรผสมผสาน การปลูกหม่อนเลี้ยง การปลูกยางพารา การเลี้ยงปลา กบ และส่งเสริม ถ่ายทอดเทคโนโลยีการถนอมอาหารและแปรรูป เพื่อปรับปรุงพัฒนาฝีมือให้มีคุณภาพให้สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้เองตามท้องตลาด

2.2   สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ราษฎรร่วมโครงการ เช่น พันธุ์อ้อยคั้นน้ำ  พันธุ์สุพรรณบุรี 50 พันธุ์พืชสมุนไพร  พันธุ์หญ้าแฝก  ปล่อยและแจกพันธุ์สัตว์น้ำ 20 แห่ง จำนวน 1,800,000  ตัว  ให้สมาชิกฯ เลี้ยงปลา  จำนวน 150 ราย  เพื่อการผลิตและจำหน่ายพันธุ์ปลาออกสู่ตลาด

ประโยชน์ของโครงการ

1.   เป็นศูนย์กลางการสาธิตฝึกอบรมในด้านการเกษตร โดยนำความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลมาจากการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์  การจัดหาแหล่งน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อเป็นตัวอย่างของการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ  โดยมีทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน โดยในปี 2549 (ต.ค.48- ก.ค.49) มีการศึกษาดูงานและจัดฝึกอบรมภายในศูนย์จำนวน 37 รุ่น 3,447 ราย

2.   เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเกษตร ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  มีความสอดคล้องและบูรณาการกันอันจะทำให้เกษตรกรมีโอกาสรับความรู้ทางวิชาการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง โดยมีการติดตามและให้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ทั้งยังสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ได้ ณ จุดเดียว เช่น  การสนับสนุนพันธุ์พืช
ไม่ว่าจะเป็น ไม้ผล พืชไร่ ข้าว สมุนไพร ยางพารา การสนับสนุนพันธุ์สัตว์ เช่น ไข่ไหม  เป็ดเทศ  สุกร  ปลา กบ เป็นต้น

3.   เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น     

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.  ปรับปรุงองค์กรดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถดำเนินงานได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

2.   จัดทำฐานข้อมูลของเกษตรกรหมู่บ้านรอบโครงการเพื่อจะได้สามารถติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือราษฎร อันจะทำให้ทราบทิศทาง
การพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

3.   ส่งเสริมให้หน่วยราชการร่วมกันทำงานโดยมีแผนงานและงบประมาณแบบบูรณาการ  ทั้งนี้โดยให้พิจารณาใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานราชการนั้นๆ ก่อนเป็นลำดับแรก  หากมีความจำเป็นจะขอใช้งบประมาณ กปร. ได้เป็นกรณีๆ ไป ตามความเหมาะสม

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

กิจกรรมพืชสวน

-   จัดทำแปลงทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเป็นแปลงต้นแบบ   ปลูกข้าวพื้นที่ 3 ไร่   ปลูกมะม่วงแซมด้วยข่าเหลือง  ตะไคร้  พริกไทยพุ่ม  มะกอกน้ำ  ขนุน  ปลูกพืชไร่และพืชผัก

    ขยายพันธุ์ไม้ผล    ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักปลอดสารพิษ

-     จัดทำแปลงพืชสมุนไพรตัวอย่าง 30 ชนิด  เช่น  สะเดา  กระเจียวขาว  กระชาย  กระทือ  ฟักขาว  บุก  ฯลฯ

-     จัดทำแปลงพืชสมุนไพรตัวอย่าง 30 ชนิด  เช่น  สะเดา  กระเจียวขาว  กระชาย  กระทือ  ฟักขาว  บุก  ฯลฯ

กิจกรรมพืชไร่

-     สาธิตการปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี  50  เพื่อผลิตท่อนพันธุ์สำหรับแจกราษฎร 10 ราย  พื้นที่ 20 ไร่

-     จัดทำแปลงปลูกงา  3  สายพันธุ์  (งาดำ  งาขาว  งาแดง)  ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 150 กิโลกรัม

-     สาธิตการปรับปรุงบำรุงดิน  โดยปลูกปอเทืองไถกลบ  พื้นที่ 30 ไร่  ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์  90 กิโลกรัม ปลูกถั่วพันธุ์ไทนาน 1 ไร่ เพื่อบำรุงดินและเก็บเมล็ดพันธุ์

-     ทดสอบปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง  7  และพันธุ์ระยอง 9  ได้ผลผลิต 13.2 ตันต่อไร่  และ 8.2 ตันต่อไร่  ตามลำดับ  เพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกร 10 ราย  พื้นที่ 50 ไร่

กิจกรรมข้าว

  • ทดสอบและพัฒนาข้าวโดยผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ  105  พื้นที่

5 ไร่ ได้ผลผลิต 369.57-725.7 กิโลกรัม  หลังเก็บเกี่ยวบำรุงดินโดยหว่านถั่วพุ่มเป็นปุ๋ยพืชสด โดยในปีนี้ได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่ราษฎรผู้สนใจ  5  ราย รวม 850 กิโลกรัม

กิจกรรมหม่อน

-  สาธิตการปลูกหม่อน พื้นที่ 6 ไร่ ผลิตกิ่งหม่อนพันธุ์ดี 5,700 ต้น สนับสนุนเกษตรกร  5,200 ต้น  สนับสนุนไข่ไหมพันธุ์ดี 242 แผ่นแก่เกษตรกร 30 ราย    ซึ่งสามารถผลิต รังไหมได้ 1,746 กิโลกรัม ผลิตเส้นไหมได้ 148.9 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 178,680 บาท

กิจกรรมพัฒนาที่ดิน

- จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำพื้นที่ 1,500 ไร่

-  สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด 50 ไร่  สาธิตการใช้ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 40 ไร่

- จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี 16 กลุ่ม

-  ผลิตหญ้าแฝก  125,725 กล้า  สนับสนุนเกษตรกรแล้ว 56,664 กล้า

กิจกรรมประมง

-     ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ  2,010,000 ตัว  ปล่อยพันธุ์สัตว์ในแหล่งน้ำไปแล้ว     40 แห่ง 1,810,000 ตัว และแจกจ่ายให้เกษตรกร 100 ราย  200,000 ตัว

-     ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 30 ราย  บ่อพลาสติก 20 ราย  และให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงปลาแก่เกษตรกร

-     ส่งเสริมประมงโรงเรียน 2 แห่ง  เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน

กิจกรรมปศุสัตว์

-     สาธิตการเลี้ยงสุกร  8  ตัว  ผลิตลูกสุกรได้ 68 ตัว

-     สาธิตการเลี้ยงเป็ดเทศ 110 ตัว  ผลิตลูกเป็ดได้ 1,876 ตัว

-     ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกแก่เกษตรกร 61 ราย จำนวนพันธุ์สัตว์ปีก 1,220  ตัว

-     ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรแก่เกษตรกร 30 ราย จำนวนสุกร 60 ตัว

กิจกรรมป่าไม้

-     เพาะชำกล้าไม้  100,000 กล้า  เพื่อสนับสนุนให้แก่ราษฎรรอบศูนย์ฯ โดยมีผู้สนใจขอรับพันธุ์กล้าไม้ 180 ราย

-     บำรุงรักษาสวนป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง  พื้นที่ 350 ไร่ ปลูกสร้างสวนหวาย 50 ไร่  เพาะชำกล้าหวาย 20,000 กล้า  ส่งเสริมการขยายพันธุ์หวาย 61 ราย พื้นที่ 78 ไร่

-     สาธิตการจัดทำธนาคารอาหารชุมชน (Food  Bank)  6  แห่ง  พื้นที่ 52 ไร่  เพื่อสร้างอาหารชุมชนและอนุรักษ์สมุนไพร อีกทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

-     ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการปลูกป่า  การพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์และจัดตั้งองค์กรชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์  ปรับระบบนิเวศน์ให้สมดุลสามารถอำนวยประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี

-     อบรมเกษตรกรหลักสูตรขยายพันธุ์ไผ่ตง  102 ราย

-     อบรมหมอดินอาสา  86 ราย  เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมอดิน

-     อบรมหลักสูตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงแก่เกษตรกร  นักเรียน  และคณะกรรมการแหล่งน้ำ จำนวน 90 ราย

-     อบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีก 80 ราย

-     ส่งเสริมการขยายเครือข่ายของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง 110 ราย

-     ในปีนี้ สำนักงาน กปร.ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับจัดทำแปลงต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 90 ราย เพื่อขยายผลและเป็นตัวอย่างของเกษตรกรในการเรียนรู้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

-     การจัดการความรู้  (Knowledge  Management)  ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน รวม 80 ราย โดยมีการแนะนำให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรแลกเปลี่ยน  การเรียนรู้ระหว่างกัน โดยในปีนี้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานภายในศูนย์ฯ 4,000 ราย

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ มีพื้นที่ 540 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่งานสาธิตการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ ควบคู่กับงานฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยในปีงบประมาณ  2551 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

กิจกรรมด้านประมง

-   ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆ 2,085,000 ตัว ได้แก่ ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลสายพันธุ์ดี

-   ปล่อยพันธุ์สัตว์ในแหล่งน้ำไปแล้ว 31 แห่ง 1,745,000 ตัว และแจกจ่ายให้เกษตรกร 190 ราย 340,000 ตัว

-   ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 30 ราย บ่อพลาสติก 20 ราย และให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงปลาแก่ราษฎร

-   ส่งเสริมประมงโรงเรียน 2 แห่ง เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน

   

กิจกรรมด้านป่าไม้

-   สร้างเครือข่ายเยาวชนรักษ์ป่า-รักษ์น้ำ โดยการฝึกอบรมเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จาก 14 โรงเรียน จำนวน       6 รุ่นๆ ละ 30 คน

-   ส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ ระบบวนเกษตรโดยการฝึกอบรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้พร้อมจัดทำแผนการบริหารจัดการให้แก่ราษฎรจาก 7 ตำบลในพื้นที่อำเภอภูสิงห์ และสนับสนุนปัจจัยการจัดทำระบบวนเกษตร

กิจกรรมด้านการเกษตร

-   สาธิตการจัดทำแปลงเรียนรู้การเกษตรแบบพอเพียงภายในศูนย์พื้นที่ 40 ไร่

-   ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน โดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาว    ดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

กิจกรรมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

-   ฝึกอบรมราษฎรหลักสูตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มผู้ใช้น้ำและการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มราษฎรในการใช้น้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 50 คน โดยจัดฝึกอบรมการปฏิบัติการส่งน้ำและบำรุงรักษา

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้มีศูนย์กลางในการจัดฝึกอบรมให้แก่ราษฎรและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง และขยายผลไปสู่ชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ ประมง ป่าไม้ การเกษตร และการชลประทาน โดยเป็นศูนย์บริการ   ให้คำแนะนำราษฎร ณ จุดเดียว ทำให้ราษฎรสามารถได้รับความรู้ทุกด้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนประชาชนและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน  น้ำ  ป่าไม้ ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2552 

ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ มีพื้นที่ 540 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เป็นงานสาธิตการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ ควบคู่กับงานฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ในหลักสูตรต่างๆ โดยในปีงบประมาณ 2552 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.    งานพัฒนาด้านการเกษตร

จุดเรียนรู้การเพาะเห็ด สาธิตการจัดทำแปลงเรียนรู้การเกษตรแบบพอเพียง เช่น แปลงเรียนรู้การปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ แปลงปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ศูนย์ฯ เพื่อให้ราษฎรได้เข้ามาเรียนรู้ พร้อมทั้งทำการฝึกอบรมเกษตรกร

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

2.     งานพัฒนาด้านป่าไม้

-     ฝึกอบรมส่งเสริมเครือข่ายเยาวชนรักษ์ป่า-รักษ์น้ำ

-     ฝึกอบรมส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ ระบบวนเกษตร

-     ฝึกอบรมพัฒนาศิลปาชีพด้านป่าไม้ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

-     เผยแพร่พระราชดำริด้านป่าไม้ โดยจะจัดทำจุดสาธิตการเรียนรู้ แนวพระราชดำริในพื้นที่โครงการ 9 จุด จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 500 เมตร และจัดทำศูนย์เรียนรู้และนิทรรศการการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

3.    งานพัฒนาด้านปศุสัตว์

-     สร้างจุดสาธิตเรียนรู้การปลูกแปลงหญ้าอาหารสัตว์ และฝึกอบรมเกษตรกร

-     ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ และสนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

4.    งานพัฒนาด้านประมง

-     ผลิตลูกพันธุ์ปลาไน ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลสายพันธุ์ดี พร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแจกจ่ายพันธุ์สัตว์น้ำให้เกษตรกรและโรงเรียน

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

5.    งานพัฒนาด้านชลประทาน

-     ฝึกอบรมการเสริมสร้างความรู้ กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเล้า  ด้านเกษตรอินทรีย์  และฝึกอบรมการบำรุงรักษาและบริหารจัดการน้ำ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

กล่องข้อความ:
 
กล่องข้อความ:

6.    งานพัฒนาด้านสหกรณ์

-     ฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์เกี่ยวกับหลักการวิธีการสหกรณ์ หน้าที่ของสมาชิก ตลอดจนการบริหารจัดการธุรกิจ และถ่ายทอดองค์ความรู้  งานสหกรณ์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ และสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อก่อสร้างอุปกรณ์การตลาดให้แก่สหกรณ์

กล่องข้อความ:
 
กล่องข้อความ:

7.    งานพัฒนาด้านการส่งเสริมศิลปาชีพฯ

-     ฝึกอบรมเพิ่มทักษะ และยกระดับฝีมือการทอผ้าไหม

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้มีศูนย์กลางในการแสดงสาธิตกิจกรรมด้านการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งฝึกอบรมให้แก่ราษฎรในด้านพืช ประมง ป่าไม้ ปศุสัตว์ และการชลประทาน โดยเป็นศูนย์บริการให้คำแนะนำราษฎร ณ จุดเดียว ทำให้ราษฎรสามารถได้รับความรู้ทุกด้าน รวมทั้งนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา ดูงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และขยายผลไปสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนราษฎรและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.    ฝึกอบรมภายในศูนย์ฯ โดยเน้นกิจกรรมที่เด่นและเป็นกิจกรรมที่เกษตรกรสนใจ

2.    ขยายผลการพัฒนาให้หมู่บ้านรอบศูนย์

3.    สนับสนุนการรวมกลุ่มที่ชัดเจน และเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการในพื้นที่ 540 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นงานสาธิตการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ ควบคู่กับงานฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีในหลักสูตรต่างๆ โดยในปีงบประมาณ 2553 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.  การบริการภายในศูนย์

ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารฝึกอบรม อาคารสำนักงาน และอาคารบ้านพัก พร้อมสาธารณูปโภค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน และฝึกอบรม

2.  การพัฒนาด้านการเกษตร

สาธิตการจัดทำแปลงเรียนรู้การเกษตร และส่งเสริมให้ราษฎรทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเพาะเห็ด การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  การถนอมอาหาร และแปรรูปสมุนไพร พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง และขยายผลไปสู่ชุมชนในบริเวณใกล้เคียง

3.  การพัฒนาด้านป่าไม้

สาธิตงานพัฒนาด้านป่าไม้ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าและและส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ตามแนวพระราชดำริให้แก่ราษฎรและเครือข่ายเยาวชนรักป่า-รักษ์น้ำในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนสร้างจิตสำนึก ให้ราษฎรรัก และหวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่า และเพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปปลูกในพื้นที่ตนเอง และนำไปปลูกเสริมป่าบริเวณที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านและเป็นแนวกันชนรอบป่าอนุรักษ์ รวมทั้งในป่าที่เสื่อมโทรมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

4.  การพัฒนาด้านประมง

สาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชังและผลิตลูกพันธุ์ปลาเพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรและนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันราษฎรในพื้นที่รอบศูนย์ฯ สามารถหาปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่ออุปโภคบริโภคและสามารถขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

5.  การพัฒนาด้านชลประทาน

ฝึกอบรมการเสริมสร้างความรู้ กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยเล้า และอ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู และฝึกปฏิบัติการส่งน้ำและดูแลบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ของโครงการ

เป็นศูนย์กลางในการแสดงสาธิตกิจกรรมด้านการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งฝึกอบรมให้แก่ราษฎรในด้านต่างๆ โดยเป็นศูนย์บริการให้คำแนะนำราษฎร ณ จุดเดียว ทำให้ราษฎรสามารถได้รับความรู้ทุกด้าน รวมทั้งนักเรียน  นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและขยายผลไปสู่ชุมชนหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนราษฎรและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการในพื้นที่ศูนย์พัฒนาการเกษตร จำนวน 540 ไร่ และพื้นที่ขยายผลในเขตจังหวัดศรีสะเกษ และพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบด้วยกิจกรรมงานสาธิตการเกษตรด้านต่างๆ ควบคู่ไปกับการฝึกอบรม และการขยายผลไปสู่เกษตรกร โดยในปีงบประมาณ 2554 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. งานด้านอำนวยการ

พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานโครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การบริการประชาชนผ่านคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมีประสิทธิภาพ   และกว้างขวางยิ่งขึ้น การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและเผยแพร่งานวิชาการของศูนย์ฯ รวมทั้งดำเนินการจัดหาครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านอำนวยการ จัดจ้างพนักงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน และปรับปรุงอาคารสถานที่ภายในศูนย์ฯ

                   จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรและจัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลของศูนย์ฯ

2. งานด้านวิชาการ

ดำเนินการสาธิตและจัดทำแปลงต้นแบบเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ภายในพื้นที่ศูนย์ฯ และพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เป็นตัวอย่างความสำเร็จ ทั้งในด้านการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการประมง เพื่อให้เกษตรกรและหน่วยงานที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งสาธิตด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยในปี 2554    มีผู้สนใจเข้ามาดูงานในศูนย์ฯ มากขึ้น จากปีละประมาณ 1,500 ราย เป็น 3,979 ราย

                                                       แปลงสาธิตการปลูกพืชเศรษฐกิจตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
                                                     เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มะนาวนอกฤดู เผือกหอม ยางพารา ไม้ผลต่างๆ

3.  งานด้านบริการวิชาการ

ดำเนินการขยายผลและถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และการพัฒนาอาชีพไปสู่ราษฎรในเขตจังหวัดศรีสะเกษ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมในท้องถิ่น เช่น การปลูกพืชเศรษฐกิจ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร การส่งเสริมระบบสหกรณ์และพัฒนากลุ่มอาชีพ การทอผ้าไหม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ผลิตพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์คุณภาพดี เพื่อสนับสนุนเป็นปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร รวมทั้งดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวอย่างความสำเร็จให้กับเกษตรกรรายอื่นและเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

                        ฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลการเกษตร (ข้าวกล้องงอก)

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้และขยายผลการพัฒนาด้านการเกษตรไปสู่ราษฎรในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นความต้องการของเกษตรกร และสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมในพื้นที่
  2. ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้มีเอกภาพมากขึ้น และพยายามจัดสรรเจ้าหน้าที่ให้มาปฏิบัติงานประจำศูนย์ฯ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
  3. พัฒนาการสาธิตและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อให้ศูนย์ ฯ มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตมากขึ้น
  4. ขยายงานในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อำเภอภูสิงห์และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะในด้านดินและป่าไม้ซึ่งอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมลง และถูกบุกรุกอย่างต่อเนื่อง

                                                                                                                                                                                                                                                                          การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขององคมนตรี

วันที่ 23 ธันวาคม 2553 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้ให้นโยบายการดำเนินงานว่า ขอให้หน่วยงานต่างๆ ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาร่วมทำงานประจำในศูนย์ฯ และทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ และขอให้ศูนย์ฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มากขึ้น

วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ฯ และเป็นประธานในโครงการปลูกป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในการนี้ ได้ขอให้เน้นการขยายผลโดยให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ตัวแบบการพัฒนาต่างๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วเลือกนำองค์ความรู้ที่เหมาะสมไปปฏิบัติในพื้นที่ตนเอง รวมทั้งขอให้พิจารณาอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ และกำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่าในบริเวณพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู

วันที่ 5 สิงหาคม 2554 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยได้กล่าวชื่นชมการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ ที่มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ทั้งนี้ ขอให้ศูนย์ฯ เน้นการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของราษฎรเป็นหลักควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจกับสภาพภูมิสังคมในพื้นที่ให้กระจ่าง เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์ทางการพัฒนาอย่างเต็มที่ในระยะยาว

ผลการดำเนินงาน ปี2555

1. งานด้านอำนวยการ

เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับราษฎรที่เข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านอาชีพซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โดยการปรับปรุงห้องประชุมและก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม จัดหาเต็นท์อเนกประสงค์สำหรับการจัดฝึกอบรมกลางแจ้ง วัสดุอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และจัดทำเอกสารวิชาการและโปสเตอร์สำหรับเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร รวมทั้งจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ที่จำเป็น และจัดฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

                                                           งานปรับปรุงห้องฝึกอบรมเกษตรกรและก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม

                                                               คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2555

2. งานด้านวิชาการ

ดำเนินการทดสอบ สาธิต และขยายผลเทคโนโลยีด้านการเกษตรไปสู่ราษฎร ประกอบด้วย การผลิตพืชไร่และพืชสวนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ อบรมและส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อลดต้นทุนการผลิต การจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรพอเพียงภายในศูนย์ฯ พื้นที่ 40 ไร่ และส่งเสริมการเลี้ยงโคทาจิมะและสัตว์น้ำให้แก่ราษฎรที่สนใจ

                          ปรับปรุงบ่อสาธิตและอนุบาลลูกปลาจำนวน 20 บ่อ                           นำเกษตรกรไปศึกษาดูงานการเลี้ยงโคทาจิมะ

                             คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2555                                            ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

                   แปลงเรียนรู้การปลูกมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์                                            แปลงเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่

                                                   จัดฝึกอบรมการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผลผลิต

ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้ หวายและไผ่ รวม 190,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรและหน่วยงานต่าง ๆ ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร จัดทำฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ส่งเสริมการจัดทำธนาคารอาหารชุมชน บำรุงดูแลสวนป่าและจัดทำแนวกันไฟ

นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมการปลูกป่าร่วมกับชุมชนในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ฝึกอบรมกลุ่มอนุรักษ์เยาวชน และทดสอบการเพาะเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางเพื่อขยายผลไปสู่แปลงวนเกษตรของราษฎร

                     แปลงทดสอบเพาะเลี้ยงเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง                                           ผลผลิตเห็ดป่าที่ได้จากแปลงทดสอบ

                         กิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่า–รักษ์น้ำ                     ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบถาถรและแบบผสมผสาน จำนวนรวม 43 แห่ง

3. งานด้านบริการวิชาการ

ให้บริการด้านความรู้ ฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ให้แก่ราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ติดตามผลและฝึกอบรมการทอผ้าไหมให้แก่สมาชิกศิลปาชีพ ฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิต รวมทั้งให้บริการปรับรูปแปลงนาเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำให้แก่ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน 2,500 ไร่

                           งานรังวัดที่ดินที่จะปรับรูปแปลงนา                                จัดฝึกอบรมการย้อมไหมโดยใช้สีธรรมชาติให้แก่สมาชิกศิลปาชีพ
                     เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พื้นที่ 2,500 ไร่


นอกจากนี้ ยังได้จัดอบรมอาชีพและมอบปัจจัยการผลิตเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554 จำนวน 4 หลักสูตร มีผู้เข้าร่วมจำนวน 1,187 ราย

ขยายผลองค์ความรู้และความสำเร็จของโครงการไปสู่ราษฎรเป้าหมาย โดยฝึกอบรม “เกษตรกรต้นแบบ” พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต มีผู้เข้าร่วมจำนวน 209 ราย

การร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

ในปี 2555 ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

1) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2555

 

2) กิจกรรม “สื่ออาสา สืบสานพระราชดำริ” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 โดยมีสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เข้าร่วมประมาณ 60 คน

3) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษา ปวงประชา ร่มเย็น เป็นสุข” ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 18 - 21 ตุลาคม 2555

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

        1. มุ่งเน้นการขับเคลื่อนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและผลสำเร็จด้านการเกษตรไปสู่ราษฎรโดยใช้รูปแบบ “เกษตรกรต้นแบบ” เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้จากกันและกัน รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการพัฒนาของโครงการในระยะยาว

                    2. เพิ่มการศึกษา สาธิตและให้บริการด้านเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น การปลูกผลไม้ การปลูกมะนาวนอกฤดู การเลี้ยงไก่พันธุ์ผสมพื้นเมือง เป็นต้น

                    3. เตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่และพื้นที่สาธิตการเกษตร เพื่อรองรับผู้เข้ามาใช้บริการที่มีจำนวนมากขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

1.  ด้านอำนวยการ

จัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและประสานงาน ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์พร้อมโต๊ะ 3 ชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ 1 เครื่อง โต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้ 3 ชุด โต๊ะอเนกประสงค์พร้อมเก้าอี้ 40 ชุด เครื่องขยายเสียงแบบกระเป๋าหิ้ว 2 เครื่อง วิทยุสื่อสาร 10 เครื่อง รถจักรยานยนต์ 2 คัน อุปกรณ์สำนักงาน และน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อปัจจัยการผลิตสนับสนุนเกษตรกรต้นแบบ และจัดจ้างพนักงานและคนงานเพื่อปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ

นอกจากนี้ยังได้ติดตามประเมินผลเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพเพื่อพัฒนาเป็นเกษตรกรต้นแบบในเครือข่ายขยายผลของโครงการที่ดำเนินการในปี 2555 จำนวน 4 หลักสูตร รวม 209 ราย ซึ่งปรากฏผลดังนี้

     1. หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่  มีผู้เข้าอบรม 50 ราย

ผลการประเมิน    ระดับดี 11 ราย (ร้อยละ 22)

                             ปานกลาง 31 ราย (ร้อยละ 62)

                             ล้มเหลวหรือเลิกดำเนินการ 8 ราย (ร้อยละ 16)

  1. หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดู  มีผู้เข้าอบรม 30 ราย

ผลการประเมิน    ระดับดี 19 ราย (ร้อยละ 63)

ปานกลาง 3 ราย (ร้อยละ 10)

                        ล้มเหลวหรือเลิกดำเนินการ 8 ราย (ร้อยละ 27)

  1. หลักสูตรการเพาะเห็ด  มีผู้เข้าอบรม 35 ราย

ผลการประเมิน    ระดับดี 14 ราย (ร้อยละ 40)

                        ปานกลาง 15 ราย (ร้อยละ 43)

                        ล้มเหลวหรือเลิกดำเนินการ 6 ราย (ร้อยละ 17)

  1. หลักสูตรการเลี้ยงไก่พื้นเมือง  มีผู้เข้าอบรม 94 ราย

ผลการประเมิน    ระดับดี 35 ราย (ร้อยละ 37)

                        ปานกลาง 57 ราย (ร้อยละ 61)

                        ล้มเหลวหรือเลิกดำเนินการ 2 ราย (ร้อยละ 2)                                                                                    

                      ประชุมติดตามเกษตรกรต้นแบบปี 2555                                                   ประเมินผลแปลงเกษตรกรต้นแบบ

2.  งานด้านวิชาการ

ดำเนินการทดสอบและจัดทำแปลงสาธิตด้านเกษตรกรรม เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจรวมทั้งผลิตพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์คุณภาพดีเพื่อให้บริการเกษตรกร ประกอบด้วย การจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ 10 ไร่ แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่พื้นที่ 15 ไร่ และดำเนินการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อแจกจ่ายเกษตรกรและปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 2,000,000 ตัว

                         แปลงนาสาธิตการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105                                         แปลงเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินการผลิตกล้าไม้มีค่า ไม้พะยูง และกล้าไม้ทั่วไป จำนวนรวม 140,000 กล้า กล้าไผ่ 10,000 กล้า และกล้าหวาย 10,000 กล้า สำหรับแจกจ่ายให้ราษฎรและหน่วยงานในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังจัดทำแปลงเพาะชำกล้าไม้เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้มีค่าหายากประจำถิ่น ขนาดความจุ    กล้าไม้ 100,000 กล้า จำนวน 1 หลัง จัดทำแปลงสาธิตการเพิ่มผลผลิตหวาย พื้นที่ 3 ไร่ จัดทำเส้นทางพร้อมป้ายสื่อความหมายสถานีการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมันป่าประจำท้องถิ่น เพื่อค้นหาศักยภาพในการขยายผลสู่เกษตรกรเครือข่ายวนเกษตร

                     แปลงเรียนรู้การปลูกหวาย                                                                      แปลงเรียนรู้เรื่องเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง

3.  งานด้านบริการวิชาการและขยายผล

ด้านการขยายผลสำเร็จสู่ราษฎร ได้ดำเนินการโดยจัดฝึกอบรมเกษตรกรต้นแบบและสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ จำนวน 4 หลักสูตร มีเกษตรกรในเขตอำเภอภูสิงห์และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมการฝึกอบรมจำนวน 209 คน แบ่งเป็น หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ 50 ราย หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดู 30 ราย หลักสูตรการเพาะเห็ด 35 ราย และหลักสูตรการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 94 ราย

ด้านการพัฒนาด้านข้าว ดำเนินการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี และกระจาย เมล็ดพันธุ์พร้อมทั้งให้ความรู้แก่เกษตรกร 85 ราย จำนวน 600 ไร่ มีเป้าหมายการผลิต 150 ตัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลและรวบรวมข้อมูลผลผลิตจากแปลงนาเกษตรกร

                            กระจายพันธุ์ข้าวสู่แปลงนาของเกษตรกร                                         ให้ความรู้เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ด้านปศุสัตว์ ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพานให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโค จำนวน 120 คน โดยจัดฝึกอบรมและนำไปศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อ-กระบือ จังหวัดสุรินทร์ จำกัด รวมทั้งได้ติดตามผลการผสมเทียมโคเนื้อภูพาน  ในรอบปี 2555-2556 จำนวน 98 ตัว ซึ่งปรากฏว่ามีลูกเกิด 9 ตัว และประสานจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อภูพาน 6 กลุ่ม จำนวนสมาชิกรวม 265 ราย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายขยายผลในระยะต่อไป

                              ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน                                             ศึกษาดูงานการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน

ด้านการประมง ได้จัดฝึกอบรมการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำระดับมืออาชีพ ซึ่งเป็นหลักสูตรเข้มข้นระยะ 10 วัน ให้แก่เกษตรกรที่สนใจและมีความพร้อม จำนวน    10 คน ส่งเสริมการเลี้ยงกบและปลาดุกในบ่อพลาสติกแบบครัวเรือน จำนวน 100 ราย พัฒนาและสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แหล่งประมงในโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง และปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารของราษฎร จำนวน 2 แห่ง

                     อบรมการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำระดับมืออาชีพ                                      สนับสนุนพันธุ์ปลาให้แหล่งประมงในโรงเรียน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบผสมผสานจำนวน 40 แห่ง เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในเขตป่าธรรมชาติในเขตบริการของศูนย์ พร้อมทั้งจัดทำแนวกันไฟ ระยะทาง 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังดำเนินการขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางสู่แปลงวนเกษตรของเกษตรกร ในเขตอำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ปรางค์กู่ และขุนหาญ จำนวน 50 ราย และจัดการสัมมนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง โดยมีนักวิชาการและเกษตรกรเครือข่ายวนเกษตรเข้าร่วมประมาณ 60 คน

                        ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นแบบผสมผสาน                                           จัดทำแนวกันไฟและบำรุงป่า

ด้านการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตข้าวกล้องงอก และจัดฝึกอบรมการย้อมสีเส้นไหมด้วยสารเคมีให้มีคุณภาพ จำนวน 25 ราย

                       ฝึกอบรมการย้อมไหมด้วยสารเคมี                                                 อบรมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กลุ่มแปรรูป

การร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

ในปี 2556 ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

1) ร่วมจัดการอบรมอาชีพพร้อมแจกปัจจัยการผลิต หลักสูตร “การปลูกมะนาวนอกฤดู”  ในงานนิทรรศการ  “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” จัดโดยกองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมกับ สำนักงาน กปร. และหน่วยงานต่างๆ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 13-20 กรกฎาคม 2556

2) จัดการอบรมอาชีพพร้อมแจกปัจจัยการผลิต หลักสูตร “การปลูกมะนาวนอกฤดู” ในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ ชุด “จากยอดดอย สู่ท้องทะเล” จัดโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับสำนักงาน กปร. ณ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556

การตรวจเยี่ยมโครงการ

                    เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางและแปลงเกษตรกรต้นแบบด้านการปลูกมะนาวนอกฤดู ในการนี้ องคมนตรีได้มอบแนวทางการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้

                    1) ขอให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันทำงานสนองพระราชดำริอย่างเต็มที่ โดยไม่แบ่งแยกหน่วยงาน และให้พยายามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

                   2) ให้พิจารณาขยายงานศึกษาและขยายผลการปลูกพืชที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการขยายพันธุ์พืชประจำ เช่น หลาวชะโอน ปาล์มงาช้าง และพืชที่มีผลสีออกแดง เช่น ทับทิม หมากเม่า กระเจี๊ยบแดง และหม่อน ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ดี

                    3) ควรหาช่องทางเผยแพร่องค์ความรู้ที่น่าสนใจผ่านสื่อวิชาการต่างๆ อาทิ วารสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ผลการดำเนินงานของโครงการนี้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

มุ่งเน้นการขยายผลไปสู่ราษฎรโดยใช้รูปแบบ “เกษตรกรต้นแบบ” เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้ระหว่างกันและเป็นการสร้างเครือข่ายการพัฒนาในระยะยาว

ผลการดำเนินงานปี 2559

1. งานด้านอำนวยการ

                       ดำเนินการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะทำงานโครงการ จัดการประชุมและดูแลงานบริหารโครงการ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเอกสารวิชาการ จัดซื้อจัดหาวัสดุสำนักงานและครุภัณฑ์การเกษตรสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานและกลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายงานขยายผล และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมาเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน จำนวน 152 คณะ จำนวน 11,140 คน

 

ผลการดำเนินงานปี 2560

1. งานด้านอำนวยการ

                     ดำเนินการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเอกสารวิชาการ จัดหาครุภัณฑ์การเกษตรสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร

          จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ                          การประชุมคณะทำงานโครงการ

              พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9                                                 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานในระดับพื้นที่

                            เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล                                                        จำนวน 11 หน่วยงาน

                                     เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ                                           

 

2. งานด้านวิชาการ

                      จัดทำและปรับปรุงแปลงสาธิตด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ และฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ฐาน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ รวมทั้งผลิตพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์คุณภาพดี สำหรับสนับสนุนให้แก่เกษตรกรในกิจกรรมงานขยายผล และส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นรายได้หมุนเวียนของโครงการ

 

             สาธิตการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมือง จำนวน 5,000 ตัว                           สาธิตการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 2,000,000 ตัว  

 

3. งานด้านการขยายผล

                      3.1 จัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ 6 หลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร จำนวน 250 คน ได้แก่ หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดูและการขยายพันธุ์พืช หลักสูตรการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก  หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ หลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และหลักสูตรการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์

                      นอกจากนี้ ยังดำเนินการโครงการโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สถานศึกษานำร่อง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านยางเครือ อำเภอยางชุมน้อย และโรงเรียนบ้านหัวเหล่า อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ และโครงการหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านปราสาท และบ้านเสรี ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

                      โครงการหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง                                    โรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

 

                   3.2 ด้านการประมง จัดการฝึกอบรมด้านการประมง จำนวน 5 หลักสูตร มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวนรวม 450 คน ได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก การเลี้ยงสัตว์น้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรประมง การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน และปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน จำนวน 4 แห่ง

      โครงการประมงโรงเรียน                                                 ปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน

 

                      3.3 ด้านการพัฒนาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ จัดการอบรมเยาวชน “สร้างคนสร้างป่า” จำนวน 100 คน จัดกิจกรรมคุณครูป่าไม้ จำนวน 3 โรงเรียน จัดฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรปลูกหวาย จำนวน 50 คน สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่ จัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตำบลต้นแบบ สาธิตการปลูกข้าวอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพกรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 50 ไร่ สาธิตการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และจัดทำแปลงสมุนไพรเพื่อผลิตสารไล่แมลงศัตรูพืช

กิจกรรมคุณครูป่าไม้

 

                3.4 ด้านหม่อนไหมและโครงการศิลปาชีพ ได้จัดฝึกอบรมพัฒนาฝีมือและเพิ่มทักษะการทอผ้าไหม การย้อมสีไหมให้กับสมาชิก จำนวน 40 คน จัดฝึกอบรมหลักสูตรการย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ จำนวน 30 คน หลักสูตรเทคนิคการสาวไหม จำนวน 27 คน และหลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม จำนวน 20 คน พร้อมทั้งถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่โครงการเพื่อสืบทอดอาชีพหม่อนไหม จำนวน 30 คน

 

      ฝึกอบรมและมอบปัจจัยการผลิตใน                                   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนำองค์ความรู้เกี่ยวกับ

               หลักสูตรการย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ                               หม่อนไหมไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในโรงเรียน

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

               1. ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ ฯ สามารถดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

               2. ทำให้เกิดโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน อาจารย์ และโรงเรียนอื่น ๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน

               3. ทำให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 หมู่บ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้
ให้เกษตรกร ไปปรับใช้ในการดำรงชีพและประกอบอาชีพของตนเอง

               4. ประชาชนที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 113 คณะ 7,903 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ และผู้ที่เข้ารับการอบรมในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ ฯ 18 หลักสูตร จำนวน 997 คน สามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

 

ผลการดำเนินงานปี 2561

         1. งานด้านอำนวยการ

                        ดำเนินการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเอกสารวิชาการ จัดหาครุภัณฑ์การเกษตรสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร

              การประชุมคณะทำงานโครงการ  จำนวน 11 หน่วยงาน                   ประชุมจัดทำหนังสือเดินทางตามรอยพระราชา 

 

         2. งานด้านวิชาการ

                       จัดทำและปรับปรุงแปลงสาธิตด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ และฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 ฐาน อาทิเช่น แปลงสาธิตเกษตรผสมผสาน สาธิตการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลา สาธิตการเลี้ยงไก่พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ จุดสาธิตการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สาธิตการอนุรักษ์ดินและน้ำ แปลงสาธิตการปลูกหวาย แปลงสาธิตการปลูกไม้วงศ์ยาง เป็นต้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ รวมทั้งผลิตพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์คุณภาพดี สำหรับสนับสนุนให้แก่เกษตรกรในกิจกรรมงานขยายผล และส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นรายได้หมุนเวียนของโครงการ ฯ

                  สาธิตต้นแบบการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก                                สาธิตการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์   

 

          3. งานด้านการขยายผล

                          3.1 ด้านการเกษตร ประกอบด้วย งานวิชาการเกษตร  งานส่งเสริมเกษตร
งานข้าว และงานพัฒนาที่ดิน จัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ 7 หลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร จำนวน 403 คน ได้แก่ หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจในพื้นที่ที่มีศักยภาพ หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดูและการขยายพันธุ์พืช หลักสูตรการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก  หลักสูตรการผลิตพืชอินทรีย์ หลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และหลักสูตรการแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่ การทำน้ำหมัก ชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน สาธิตการไถเบิกดินดานเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชไร่ 

                           นอกจากนี้ ยังดำเนินการโครงการโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สถานศึกษานำร่อง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านวนาสวรรค์ และโรงเรียนบ้านห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โครงการหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านวนาสวรรค์ และบ้านพนมชัย  อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  งานผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีโดยสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 3 ศูนย์  โครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตำบลต้นแบบ

 

                             หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต                        หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดูและการขยายผลพันธ์ุพืช                                 

                                    ไม้ผลเศรษฐกิจ (ทุเรียน)                                                                                                                                                                                           

                            3.2 ด้านการประมงและปศุสัตว์ จำนวน 7 หลักสูตร มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวนรวม 771 คน จัดการฝึกอบรมด้านการประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก การเลี้ยงสัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน และโครงการเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน  จำนวน ๔ แห่ง และด้านการปศุสัตว์ จัดฝึกอบรมและส่งเสริมด้านปศุสัตว์ จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน พร้อมจัดตั้งฟาร์มเครือข่ายด้านผลิตลูกไก่ผสมพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 2 ฟาร์ม

                   การเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำสาธารณะ                                     ส่งเสริมกากรเลี้ยงโคเนื้อภูพาน 

               ของชุมชน โดยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (mobile Hatchery)                                                

 

                            3.3 ด้านการพัฒนาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และจัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน จำนวน 100 คน ได้แก่ หลักสูตรส่งเสริมเกษตรกรปลูกหวาย  กิจกรรมคุณครูป่าไม้ จำนวน 4 โรงเรียน  หลักสูตร “สร้างคน สร้างป่า”  กิจกรรมส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้ในโรงเรียน จัดทำแปลงขยายผล “สร้างป่า สร้างรายได้”และงานขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง ในพื้นที่ของเกษตรกรและพื้นที่สาธารณะ จำนวน 5 แปลง

                            

                  ส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้ในโรงเรียน                              งานขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางสู่พื้นที่ป่าสาธารณะของชุมชน

                       

                              3.4 ด้านหม่อนไหมและโครงการศิลปาชีพ จัดหลักสูตรส่งเสริมและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือและเพิ่มทักษะการทอผ้าไหมให้กับสมาชิกโครงการศิลปาชีพและเกษตรกร จำนวน 8 หลักสูตร 206  คน ได้แก่ หลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม การย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติและสารเคมี การผลิตเส้นไหมสาวมือให้ได้มาตรฐาน และหลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม 

                  ฝึกอบรมการย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ                             จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนำองค์ความรู้เกี่ยวกับ

                                                                                                                    หม่อนไหมไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในโรงเรียน       

ประโยชน์ที่ได้รับ

                           1. ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ ฯ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

                           2. ทำให้เกิดโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๒ โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน อาจารย์ และโรงเรียนอื่น ๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน

                           3. ทำให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๒ หมู่บ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกษตรกร นำไปปรับใช้ในการดำรงชีพและประกอบอาชีพของตนเอง

                           4. ประชาชนที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 90 คณะ จำนวน 7,652 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ต่อไป และผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมและส่งเสริมในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ ฯ จำนวน  24 หลักสูตร จำนวน 1,480 คน นักเรียน 15 โรงเรียน ได้เรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

 

แผนที่โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

 

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2562

1. งานด้านอำนวยการ

            ดำเนินการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเอกสารวิชาการ จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุการเกษตรสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานและกลุ่มเกษตรกร

 

                            

                                การประชุมคณะทำงานโครงการฯ                             จัดทำเอกสารและสื่อประชาสัมพัธ์เพื่อเผยแพร่

 

2. งานด้านวิชาการ

                   จัดทำและปรับปรุงแปลงสาธิตด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ และฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อาทิ สาธิตต้นแบบการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก แปลงสาธิตเกษตรผสมผสาน จัดทำแปลงศึกษาการปลูกข้าว พื้นที่ 12 ไร่ จุดสาธิตการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สาธิตการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมือง สาธิตการเลี้ยงและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แปลงสาธิตการปลูกและขยายพันธุ์ไม้วงศ์ยาง สาธิตและขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง สาธิตการอนุรักษ์ดินและน้ำ สาธิตการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แปลงสาธิตการปลูกหวาย เป็นต้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ รวมทั้งผลิตพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์คุณภาพดี สำหรับสนับสนุนให้แก่เกษตรกรในกิจกรรมงานขยายผล และส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นรายได้หมุนเวียนของโครงการ ฯ

                         

                                สาธิตการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมือง                            จัดทำแปลงศึกษาาการปลูกข้าวพื้นที่ 12 ไร่

 

 3. งานด้านการขยายผล

              3.1 ด้านการเกษตร ประกอบด้วย งานวิชาการเกษตร  งานส่งเสริมการเกษตรงานพัฒนาด้านข้าว และงานพัฒนาที่ดิน ดำเนินการเสริมสร้างเกษตรกรต้นแบบ โดยจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ 7 หลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร จำนวน 368 คน ได้แก่ หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักสูตรการปลูกมะนาวนอกฤดูและการขยายพันธุ์พืช หลักสูตรการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกไม้ผลเศรษฐกิจในพื้นที่ที่มีศักยภาพ หลักสูตรการผลิตพืชอินทรีย์คุณภาพ หลักสูตรการผลิตสารชีวภัณฑ์ และหลักสูตรการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศ รวมทั้งดำเนินการส่งเสริมการเกษตรโดยจัดฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และหลักสูตรการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน โดยสาธิตการไถเบิกดินดานเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชไร่ 

                      นอกจากนี้ ยังดำเนินการโครงการโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สถานศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านละลม อำเภอภูสิงห์ และโรงเรียนบ้านแขว อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งโครงการหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บ้านคลองสาน และบ้านโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  และงานผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีโดยสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 3 ศูนย์  โครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตำบลต้นแบบ

                           

                              หลักสูตรการผลิสารชีวภัณฑ์                                      หลักสูตรการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

                                                                                                                และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกร      

 

                3.2 ด้านการประมงและปศุสัตว์ จำนวน 8 หลักสูตร มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวนรวม 828 คน จัดการฝึกอบรมด้านการประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกการเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงสัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่โครงการประมงโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน และโครงการเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน จำนวน 4 แห่ง และด้านการปศุสัตว์ จัดฝึกอบรมและส่งเสริมด้านปศุสัตว์ จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อภูพาน พร้อมจัดตั้งฟาร์มเครือข่ายผลิตลูกไก่ผสมพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 2 แห่ง

                          

                           ส่งเสริมการเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก                                 ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

 

                3.3 ด้านการพัฒนาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งจัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน จำนวน 5 หลักสูตร จำนวน 230 คน ได้แก่ หลักสูตร “สร้างป่า สร้างรายได้” จัดทำแปลงขยายผล จำนวน 4 แปลง งานขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง ในพื้นที่ของเกษตรกร จำนวน 2 แปลง  หลักสูตรส่งเสริมเกษตรกรปลูกหวาย  หลักสูตร “สร้างคน สร้างป่า”  กิจกรรมเรียนรู้กับครูป่าไม้ จำนวน 5 โรงเรียน และกิจกรรมส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้ในโรงเรียน จำนวน 2 โรงเรียน

                          

                      งานขยายผล "สร้างป่า  สร้างรายได้"ให้กับชุมชน                กิจกรรมอบรมเยาวชน  "สร้างคน   สร้างป่า"

 

               3.4 ด้านหม่อนไหมและโครงการศิลปาชีพ จัดหลักสูตรส่งเสริมและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือและเพิ่มทักษะการทอผ้าไหมให้กับสมาชิกโครงการศิลปาชีพและเกษตรกร จำนวน ๖ หลักสูตร ๑๘๒ คน ได้แก่ หลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม การย้อมและฟอกสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติและสารเคมี การผลิตเส้นไหมสาวมือให้ได้มาตรฐาน และหลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม

                           

                                ฝึกอบรมการผลิตเส้นไหมสาวมือ                           จัดกิจกรรมการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับหม่อนไหม

                                            ให้ได้มาตรฐาน                                                   ไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในโรงเรียน

 

            ประโยชน์ที่ได้รับ

              1. ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

              2. ทำให้เกิดโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน อาจารย์ และโรงเรียนอื่น ๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน

              3. ทำให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 หมู่บ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกษตรกร นำไปปรับใช้ในการดำรงชีพและประกอบอาชีพของตนเอง

              4. ประชาชนที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน 109 คณะ จำนวน 11,730 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ต่อไป และผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมและส่งเสริมในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ จำนวน 26 หลักสูตร จำนวน 1,608 คน ได้เรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ และโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ

curve