โครงการ ปรับปรุงสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์

สถานที่ตั้ง

ตำบล กันทรอม อำเภอ ขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการปรับปรุงสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์

จังหวัดศรีสะเกษ

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงรับโครงการสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการทับทิมสยาม 06 และ พระราชทานชื่อว่า “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์” และมีพระราชดำริให้ปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมและดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์สัตว์ป่าและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง

2. งานก่อสร้างทำนบดินกั้นลำห้วยกว้าง 5 เมตร ยาว 250 เมตร สูง 1.50 เมตร พร้อมท่อระบายน้ำล้น ขนาด 1x1x1.5 เมตร จำนวน 1 แห่ง

3. งานก่อสร้างฝายน้ำล้น ขนาดผิวจราจรกว้าง 5 เมตร ยาว 21 เมตร จำนวน 1 แห่ง

4. งานก่อสร้างท่อระบายน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง

5. ปรับปรุงรั้วลวดหนามเป็นรั้วตาข่ายสูง 1 เมตร จำนวน 17 กิโลเมตร

6. เพาะชำกล้าพืชอาหารสัตว์ จำนวน 100,000 กล้า

7. ฝึกอบรมเยาวชนเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจำนวน 3 รุ่น (รุ่นละ 60 คน)

ประโยชน์ของโครงการ

สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านนาจะเรีย (หมู่ 13) หมู่บ้านโนนสมบูรณ์ (หมู่ 6) หมู่บ้านปรือใหญ่ (หมู่ 1) หมู่บ้านตาเป๊าะ (หมู่ 3) หมู่บ้านจองกอ (หมู่ 2) ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 300 ครอบครัว จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

กรมป่าไม้ ดำเนินการก่อสร้างรั้วลวดหนามเสริมตาข่ายเพิ่มเติม 2,000 เมตร ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง ก่อสร้างระบบประปา ฝายชะลอความชุ่มชื้น 4 แห่ง เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า จัดการสัตว์ป่า ตรวจตราดูแลพื้นที่ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า 3 รุ่น นอกจากนี้ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ประชาชนทั่วไป ได้ติดต่อขอใช้สถานที่ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน และศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า รวมจำนวน 14,526 คน

ก่อสร้างรั้วลวดหนามเสริมตาข่ายเพิ่มเติม ความยาว 2,000 เมตร                       กิจกรรมอบรมเยาวชน เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้และสัตว์ปีก

          ก่อสร้างฝายเพื่อชะลอการไหลของน้ำ จำนวน 4 แห่ง                                             กิจกรรมเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

กรมป่าไม้ ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอความชื้นแบบ A และแบบ B จำนวน 5 แห่ง ก่อสร้างหอดูสัตว์ป่า 2 หลังปลูกพืชอาหารสัตว์ 80 ไร่ จัดทำแผนที่จำลองสภาพพื้นที่ 1 ชุด จัดทำป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ จำนวน 200 แผ่น ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 1,500 เมตร เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า 42 ชนิด 550 ตัว

ประโยชน์ของโครงการ

การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธ์ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ อีกทั้งมีราษฎรที่ได้รับประโยชน์โดยตรง จำนวน 7 หมู่บ้าน 350 ครัวเรือน 1,050 คน

สัตว์ป่าที่ศูนย์ฯ เพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ                                           ฝายชะลอความชุ่มชื้น

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve