โครงการ ปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานฯ

สถานที่ตั้ง

11000 จังหวัด สกลนคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอนุรักษ์ป่าไม้ในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์

จังหวัดสกลนคร

เรื่องเดิม

           ได้มีพระราชเสาวนีย์เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2532 สรุปว่าให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณภูพานราชนิเวศน์มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย

            ได้ มีพระราชเสาวนีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 สรุปว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณภูพานราชนิเวศน์ มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น และจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย

             สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ กับท่านผู้หญิง      สุประภาดา  เกษมสันต์  ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 “ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มที่อยู่ให้แก่สัตว์ป่าโดยการจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณรอบๆ ภูพานราชนิเวศน์มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้มากขึ้น กับทั้งจะเป็นการสร้าง ความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย”

             เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2536 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์สรุปว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ในสัตว์ป่า โดยจ้างราษฎรที่ยากจนมาทำการปลูกป่าเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น

             เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2538 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์สรุปความว่า ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ในสัตว์ป่า โดยจ้างราษฎรที่ยากจนในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูพานมาทำการปลูกป่าเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่าด้วย

             เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลง และเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า โดยการจ้างราษฎรที่ยากจน ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูพาน มาทำการปลูกป่า เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น กับทั้งจะสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญในการปลูกป่า

             เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า และสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่า

             เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ให้สัตว์ป่า และสร้างความเข้าใจให้กับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่า

             เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2541 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการปลูกป่าเสริมธรรมชาติและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ เพื่อแก้ไขสภาพป่าถูกทำลายลงและเป็นการเพิ่มเติมที่อยู่ของสัตว์ป่า รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญในการปลูกป่าด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2532

              เพาะชำกล้าไม้ จัดเตรียมที่ดิน ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน 1,040 ไร่ และปล่อยสัตว์บางชนิดให้อยู่อาศัย

ประโยชน์ของโครงการ

              1. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็งและไม้ทนแล้งไม่น้อยกว่า 1,040 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุมชื้นและขจัดความแห้งแล้ง รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

              2. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว

              3. ช่วยให้ราษฎรที่ยากจนบริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ให้มีรายได้มากขึ้น และช่วยกันรักษาป่าไม้ด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2533

              ได้ดำเนินการปลูกป่าและเพาะชำกล้าไม้ จำวน 100,000 ต้น จัดเตรียมที่ดินปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน 1,040 ไร่ และปล่อยสัตว์ป่าบางชนิดให้อยู่อาศัย

ประโยชน์ของโครงการ

               1. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า 1,040 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและขจัดความแห้งแล้ง รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

               2. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว

               3. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน ให้มีรายได้มากขึ้น และช่วยกันรักษาป่าไม้ด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2534

              ได้ดำเนินการปลูกป่าและเพาะชำกล้าไม้จัดเตรียมที่ดินปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน 1,040 ไร่ และปล่อยสัตว์ป่าบางชนิดให้อยู่อาศัย

ประโยชน์ของโครงการ

               1. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า 1,040 ไร่ ซึ่งปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและขจัดความแห้งแล้งและเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

                2. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนบริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ ให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้

ผลการดำเนินงาน ปี 2535

            ดำเนินเพาะชำกล้าไม้ จัดเตรียมที่ดินทำแนวป้องกันไฟ ทำทางตรวจการและปลูกป่าเสริมธรรมชาติ

ประโยชน์ของโครงการ

            1. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็งและไม้ทนแล้ง ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติและขจัดความแห้งแล้งและเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

            2.  เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจน บริเวณใกล้เคียงภูพานราชนิเวศน์ให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ผลการดำเนินงาน ปี 2536

             ได้ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ 500 ไร่ ปลูกไม้ มีค่า 10 ชนิด จำนวน 50,500 กล้า และจัดเตรียมที่ดินทำแนวป้องกันไฟ ทำการตรวจการและปลูกป่าเสริมธรรมชาติ จำนวน 1,000 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

1. ได้สวนป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง และไม้ทนแล้งไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

2. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนให้มีรายได้มากขึ้น โดยการจ้างราษฎรปลูกป่ากับทั้งจะเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

- สำรวจ และรังวัดพื้นที่

- เพาะชำกล้าไม้ ประมาณ 100,000 ต้น และดำเนินการปลูกป่าตามแผนงานรวมทั้งจัดเตรียมที่ดินเพื่อทำแนวป้องกันไฟ

ประโยชน์ของโครงการ

ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็วไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของธรรมชาติ และลดความแห้งแล้ง

ผลการดำเนินงาน ปี 2538

1. การสำรวจรังวัดพื้นที่ที่จะดำเนินการการเพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้า พยูง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ 100,000 ต้น

2. การทำแนวป้องกันไฟป่า

3. การทำทางตรวจการ

4. การปลูกและบำรุงรักษา

5. การติดตามและประเมินผล

ประโยชน์ของโครงการ

1. ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดินไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่เพื่อรักษาความชุ่มชื้น

2. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกไม้โตเร็ว และเป็นแนวทางในการนำไปปรับปรุงปรุงแก้ไขในโครงการปลูกป่าแห่งอื่นๆ รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น

สภาพพื้นที่แปลงปลูกป่าเสริมธรรมชาติปี 2538 ได้ดำเนินการปลูกไม้โตเร็ว

เช่น ประดู่ มะค่าโรง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้าพยูง นนทรี ฯลฯ ป,ุกเสริมธรรมชาติเพื่อให้ป่าอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2539

1. สำรวจรังวัดพื้นที่ที่จะดำเนินการ

2. เพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ์ หว้า พยุง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ 100,000 ต้น

3. ทำแนวป้องกันไฟป่า

4. ทำทางตรวจการ

5. ปลูกและบำรุงรักษา

6. ติดตามและประเมินผล

ประโยชน์ของโครงการ

1. ได้ประโยชน์โดยตรงแก่หมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน ราษฎรจำนวน 1,936 คน 124 ครัวเรือน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

2. ได้พื้นที่ป่าไม้โตเร็ว ไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดิน ไม่น้อยกว่า 500 ไร่

3. ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลุกไม้โตเร็ว และเป็นแนวทางในการนำไปปรับปรุงแก้ไขในโครงการปลุกป่าแห่งอื่นๆ ต่อไป

4. ทำให้เกิดแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

- งานสำรวจพื้นที่ดำเนินการ

- ลาดตระเวนตรวจตราการลักลอบและล่าสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการ

- ปลูกต้นไม้เสริมธรรมชาติ

- ทำแนวป้องกันไฟป่า

- ปล่อยสัตว์ป่า

ประโยชน์ของโครงการ

จะได้ประโยชน์โดยตรงแก่หมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน 1,936 คน ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากการจ้างมาปลูกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญของการปลูกป่าและรักษาป่า

ผลการดำเนินงาน ปี 2541

- งานสำรวจรังวัดพื้นที่ที่ดำเนินการ

- งานเพาะชำกล้าไม้ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ พฤกษ หว้า พยุง นนทรี ไทร ฯลฯ ประมาณ 100,000 ต้น

ประโยชน์ของโครงการ

1. จะได้ประโยชน์โดยตรงแก่ราษฎร จำนวน 3 หมู่บ้าน 1,993 คน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลุกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจกับราษฎรให้เห็นความสำคัญของการปลุกป่าและรักษาป่า

2. ได้พื้นที่ป่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ทนแล้ง และไม้บำรุงดินไม่น้อยกว่า 500 ไร่ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ความชุ่มชื้นของธรรมชาติและลดความแห้งแล้งประมาณ 11,000 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. งานสำรวจรังวัดพื้นที่ที่ดำเนินการ

2. งานเพาะชำกล้าไม้ประมาณ 100,000 ต้น

3. การทำแนวป้องกันไฟ, ทำทางตรวจการ

4. การปลูกป่า และบำรุงรักษา

5. การติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการฯ

ประโยชน์ของโครงการ

ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่ราษฎรจำนวน 3 หมู่บ้าน 1,993 คน 250 ครัวเรือน ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการปลูกป่าและเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับราษฎร ให้เห็นความสำคัญของการปลูกป่าและรักษาป่า

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve