โครงการ แก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทานในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

สถานที่ตั้ง

ตำบล ม่วง อำเภอ บ้านม่วง จังหวัด สกลนคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทานในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

จังหวัดสกลนคร

เรื่องเดิม

          1. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ณ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ทรงทราบเกี่ยวกับความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการทำนาเกลือสินเธาว์ในเขตอำเภอบ้านม่วงและอำเภอวานรนิวาส จึงมีพระราชดำริให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการทำนาเกลือทั้ง 9 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอบ้านม่วงและอำเภอวานรนิวาส โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน

         2. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้พิจารณาช่วยเหลือราษฎร 9 หมู่บ้าน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาดินเค็ม และอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กรมชลประทาน พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มและดินเค็มที่เกิดจากการทำนาเกลือสินเธาว์ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ทำนาข้าวในเขตจังหวัดสกลนคร

        3. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 นางประเพ็ญ  ปลัดกอง กำนันตำบลม่วง นายศูนย์ทอง  สมใจ  กำนันตำบลหนองกวั่ง  และนายจำปา  สุวรรณไตร  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงได้ร่วมกันกราบบังคมทูลถวายรายงานเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในเขตจังหวัดสกลนคร และขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ ขอให้ก่อสร้างฝายกั้นน้ำห้วยบ่อแดง

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1. แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ  ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณลำห้วยบ่อแดง ความยาว 10.700 กม. ขนาดกว้าง 12 ม. ปริมาตรดินขุดลอก 510,000 ลบ.ม. เพื่อขนย้ายคราบเกลือที่สะสมอยู่บนดิน และทำการล้างดินในลำห้วยเพื่อให้เกลือเจือจาง และราษฎรสามารถนำน้ำในลำห้วยไปใช้ในการเกษตรได้ ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ

2. แผนงานพัฒนาที่ดิน  ดำเนินการจำแนกดินและวางแผนการใช้ที่ดินทั้งโครงการฯ โดยการออกแบบเป็นพื้นที่นำร่อง และส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด

3. แผนการลดผลกระทบจากเกลือที่เก็บกักไว้ เนื่องจากในช่วงฤดูการผลิตราษฎรผลิตเกลือไว้จำนวนมาก (ประมาณ 30,000 ตัน) และเก็บไว้ในที่ดินของตนเอง  โดยทางจังหวัดสกลนครร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พยายามแนะนำส่งเสริมให้ราษฎรหาที่จัดเก็บให้ถูกต้อง รวมทั้งประสานขอความร่วมมือกับผู้ซื้อให้รับดำเนินการจัดซื้อและขนย้ายเกลือออกจากพื้นที่ก่อนที่ฝนจะตกลงมา ทั้งนี้ ราษฎรได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของโครงการ

1. ทำให้ราษฎร จำนวน 9 หมู่บ้าน 1,347 ครัวเรือน มีน้ำดีสำหรับการเกษตรกรรม และใช้อุปโภค บริโภค รวมพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 1,200 ไร่

2. ช่วยลดปัญหาดินเค็ม ปรับปรุงดินและสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถใช้ประโยชน์จากดิน และน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งลดความขัดแย้งระหว่างชุมชน

ลการดำเนินงาน ปี 2543

1. กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการสำรวจจำแนกดินและวางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่ 10,005 ไร่ ก่อสร้างคันคูและคลองระบายน้ำ เพื่อกั้นน้ำเค็มไม่ให้ไหลลงสู่ลำน้ำธรรมชาติ ปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกโสนอัฟริกันเพื่อช่วยปรับสภาพดิน ขุดบ่อเลี้ยงปลา และสนับสนุนการเลี้ยงเป็ดเทศ ให้ราษฎร จำนวน 9 ราย ฟื้นฟูนาข้าวที่ได้รับผลกระทบ 354 ไร่ และปรับปรุงพื้นที่เพื่อการทำนาและปรับปรุงบำรุงดินให้สามารถปลูกพืชได้

2. กรมชลประทาน ดำเนินการขุดลอกลำห้วยบ่อแดง ยาว 16.673 กิโลเมตร กว้าง 12 เมตร และก่อสร้างฝายน้ำล้น เพื่อระบายน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จำนวน 15,000 ไร่ ในเขตตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของพื้นที่นาเกลือ

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎร จำนวน 9 หมู่บ้าน 1,560 ครัวเรือน 8,416 คน ของตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร สามารถทำการเกษตร เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ และอุปโภค-บริโภคตลอดปี

                    แปลงสาธิตการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็ม                    ฝายน้ำล้นห้วยบ่อแดง กักเก็บน้ำและระบายน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร

                                                                                              จำนวน 15 ไร่ ในเขตตำบลม่วง ที่ได้รับผลกระทบจากการทำนาเกลือสินเธาว์

ผลการดำเนินงาน ปี 2546  (งานพัฒนาลำห้วยบ่อแดง ลำห้วยซาง) 

กรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายคอนกรีตสูง 3.50 เมตร ยาว 40 เมตร พร้อมทั้งก่อสร้างสะพาน คสล. ข้ามฝาย และประตูระบายทราย กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร บริเวณบ้านจารหมู่ที่ 5 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎรบ้านจาร หมู่ที่ 5 ตำบลม่วง  อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร จำนวน 3 หมู่บ้าน 935 ครัวเรือน 5,700 คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค อย่างเพียงพอและสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ 3,800 ไร่

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve