โครงการ พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำ

สถานที่ตั้ง

จังหวัด สกลนคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดสกลนคร – จังหวัดนครพนม

 

เรื่องเดิม

             เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำก่ำที่มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน และขาดแคลนน้ำใช้สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง

             ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำเล็กๆ โดยลดขนาดความสูงของประตูระบายน้ำลงมาแล้วเจรจากับราษฎรที่ครอบครองพื้นที่ถูกน้ำท่วม และให้กักเก็บน้ำในร่องน้ำแล้วให้ราษฎรสูบน้ำไปใช้เอง

 

                         ภาพยึกยือ : ร่างเค้าโครงพระราชทานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ ทรงวาดบนเครื่องบินพระที่นั่ง

 
   

DSC00707

ประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อว่า ธรณิศนฤมิต มีความหมายว่า ประตูระบายน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้สร้างขึ้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2536

โดยมีวัตถุประสงค์ในปี 2536 ได้แบ่งลักษณะการดำเนินงานออกเป็น 3 โครงการ คือ

1. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน จังหวัดสกลนคร

3. โครงการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร-จังหวัดนครพนม

1. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

     1.1 ลักษณะและขนาดของโครงการ

           - ก่อสร้างประตูระบายลำน้ำก่ำ ที่บริเวณบ้านโนนสังข์ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีประตูเหล็กกว้าง 10 เมตร สูง 8 เมตร จำนวน 4 ช่อง สามารถเก็บกักน้ำได้ 35.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ความสามารถในการระบายน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

     1.2 ระบบชลประทาน แบ่งออกเป็น 9 สถานีย่อย ส่งน้ำให้แก่พื้นที่รวม 82,900 ไร่

     1.3 ค่าลงทุนและผลตอบแทนของโครงการ สามารถคำนวณค่าลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 2,300 ล้านบาท ผลตอบแทนโครงการฯ ประกอบด้วย

           - การกระจายการพัฒนาสู่ชนบท

           - เกษตรกรมีแหล่งน้ำที่แน่นอน และปลูกพืชในฤดูแล้งเสริมรายได้

           - ผลผลิตการเกษตรได้เต็มตามเป้าหมาย

           - ลดความรุนแรงของน้ำท่วมขังที่เกิดจากแม่น้ำโขง

           - ลดปัญหาการว่างงานในชนบท

     1.4 ผลกระทบต่อราษฎร กรมชลประทานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากราษฎรในบริเวณพื้นที่โครงการฯ ทั้งจากฝ่ายที่ถูกน้ำท่วมและราษฎรที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการฯ เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ เสนอปัญหา และตัดสินใจร่วมกัน คือ อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม และอำเภอเรณูนคร รวมทั้งสมาชิกสภาพจังหวัด องค์กรเอกชน และสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ข้อสรุปดังนี้

           - เห็นด้วยที่จะให้มีการดำเนินงานก่อสร้างตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ

           - พึงพอใจวิธีการช่วยเหลือราษฎรที่พื้นที่ทำกินถูกน้ำท่วม และยินดีให้ความร่วมมือต่อโครงการฯ

           - ราษฎรต้องการให้ทางราชการจังหวัดที่ทำกินให้ใหม่ด้วย

     1.5 แนวทางความช่วยเหลือราษฎร ราษฎรที่มี นส. 3 จะได้รับการชดเชยค่าที่ดินให้อย่างเหมาะสม ส่วนราษฎรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จ่ายค่าชดเชยเป็นค่ารื้อย้ายและค่าขนย้ายได้ ซึ่งจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาประเมินที่ดินในบริเวณนั้น สำหรับราษฎรที่ยากจนและไม่มีที่ทำกิน กรมชลประทานจะพิจารณาถมพื้นที่บริเวณขอบๆ อ่างเก็บน้ำ พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่

2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ตอนบน จังหวัดสกลนคร

    ปรับปรุงหนองน้ำและคลองชักน้ำในพื้นที่มากกว่า 50 ไร่

3. โครงการขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ มีหนองน้ำทั้งหมดรวม 146 แห่ง แบ่งเป็นในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร 52 แห่ง จังหวัดนครพนม 94 แห่ง ส่วนหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป มีทั้งหมด 19 แห่ง อยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดสกลนคร 9 แห่ง จังหวัดนครพนม 10 แห่ง 

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

ขุดลอกหนองบึง จำนวน 14 แห่ง ในเขตอำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร และอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ประโยชน์ของโครงการ

ในฤดูแล้งราษฎรจังหวัดนครพนม จำนวน 15 หมู่บ้าน 1,407 ครัวเรือน 6,391 คน สามารถใช้น้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และการประมง

ได้ดำเนินการขุดลอกหนองบึงในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน 14 แห่ง ขนาดพื้นที่ 45 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ 365,000 ลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2538

ขุดลอกหนองบึง จำนวน 4 แห่ง จังหวัดสกลนคร

ประโยชน์ของโครงการ

ในฤดูแล้งสามารถใช้น้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคให้กับราษฎรจังหวัดสกลนคร จำนวน 4 หมู่บ้าน 574 ครัวเรือน 2,400 คน ได้อย่างพอเพียง

ขุดลอกหนองบึงในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 11 แห่ง ในภาพเป็นหนองหล่มที่ได้ขุดลอกเสร็จแล้ว เก็บกักน้ำได้ 25,000 ลูกบาศก์เมตร

ผลการดำเนินงาน ปี 2539

1. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน

    1.1 การขุดลอกและเชื่อมหนองบึง

          - งานพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก มีจำนวน 116 แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร 24 แห่ง และจังหวัดนครพนม 109 แห่ง

          - งานพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ มีจำนวน 20 แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร 3 แห่ง และจังหวัดนครพนม 17 แห่ง ดังนี้

                  1.1.1 งานพัฒนาหนองคำฮุย อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

                  1.1.2 งานพัฒนาหนองสาธารณะหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 

                             ประโยชน์ของโครงการ   1. พื้นที่ประมาณ 1,180 ไร่ จะได้รับผลประโยชน์โดยตรง

                                                              2. ราษฎร จำนวน 931 ครัวเรือน 4,655 คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรตลอดปี

                          สภาพโดยทั่วไปของหนองสังข์                                                 การก่อสร้างอาคารรับน้ำโครงการพัฒนาหนองสังข์

                  1.1.3 งานพัฒนาหนองสาธารณะบึงสะพาน อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

ได้ดำเนินการปรับปรุงลำน้ำก่ำโดยการขุดลอก และขุดลำน้ำช่วงที่คดเคี้ยวให้ตรงตามความเหมาะสม พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำเป็นระยะๆ จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ 

- ก่อสร้างคันดิน อาคารประกอบ และ ขุดลอกหนอง ขนาดพื้นที่ 1,000 ไร่ ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบ และ ก่อสร้างคันดิน

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎร จำนวน 536 ครัวเรือน 2,680 คน มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดปี รวมทั้งมีน้ำสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรมได้ประมาณ 1,200 ไร่

สภาพหนองขนาดพื้นที่ 1,000 ไร่ จะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

    1.2 อาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ

          1.2.1 การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านนาขาม สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ 20,400 ไร่

          1.2.2 การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านนาคู่ ตำบลนาแก  

  ประโยชน์ของโครงการ

1. ราษฎร จำนวน 10 หมู่บ้าน 4 ตำบล จำนวน 1,296 ครัวเรือน 7,844 คน จะมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรตลอดปี

2. พื้นที่จำนวนประมาณ 26,200 ไร่ จะได้รับน้ำสนับสนุนเพื่อการเกษตร

                     แนวถนนที่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง                                                บริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาดู่

2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

    2.1 ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บริเวณบ้านโนนสังข์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    2.2 ระบบชลประทาน เป็นระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมพื้นที่ชลประทาน 71,880 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน

     1. การพัฒนาหนองน้ำ

                  1.1 งานพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก จำนวน 116 แห่ง เก็บกักน้ำได้ ประมาณ 3.6 ล้านลูกบาศก์เมตร

                  1.2 งานพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง  ได้แก่ หนองคำฮุย บีงสะพาน จังหวัดสกลนคร และ หนองสังข์ จังหวัดนครพนม

     2. อาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ จำนวน 5 แห่ง คือ ลำน้ำก่ำ 3 แห่ง ลำน้ำบัง 2 แห่ง 

                  2.1 ก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 

                  2.2 ก่อสร้างประตูราบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

                  2.3 ก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

     3. พื้นที่ชลประทานระบบส่งน้ำและสถานีสูบน้ำ

2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง จังหวัดนครพนม

     1. ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บริเวณบ้านโนนสังข์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

     2. ระบบชลประทาน เป็นการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 8 สถานี 

ประโยชน์ของโครงการ

เก็บกักน้ำไว้ใช้ในลำน้ำก่ำและหนองบึงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปี โดยโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบนสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 40.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 60,000 ไร่ และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ประมาณ 35.7 ล้านลูกบาศก์เมตร และสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 71,880 ไร่ ใน 13 ตำบล 55 หมู่บ้าน และจำนวน 6,932 ครัวเรือน จำนวน 40,340 คน ที่ได้ประโยชน์จากโครงการฯ

หนองสังข์ ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณ ตำบลบ้านแมดนาทม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ก่อสร้างแล้วเสร็จจะกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 7.4 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 400 ไร่

ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่

ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม

                                       ประตูระบายน้ำสุรัสวดี                                              ปากลำน้ำก่ำจดแม่น้ำโขง

ผลการดำเนินงาน ปี 2541

สำนักงาน กปร. ได้ประสานกับกรมชลประทาน พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนคร – นครพนม โดยมีองค์ประกอบสำคัญๆ ของโครงการประกอบด้วย

2.1 ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน 3 แห่ง

 ได้แก่ ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง

2.2 การขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ 20 แห่ง ขนาดเล็ก 116 แห่ง

2.3 ก่อสร้างคลองดักน้ำ (Intercept Drains) ในลำน้ำย่อยที่จะไหลลงลำน้ำก่ำ จำนวน 4 แห่ง

2.4 ก่อสร้างระบบชลประทาน พื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 73,200 ไร่

   ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม                  ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 

   ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร                       การพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก

การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

1 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน  มีผลการดำเนินงาน และความก้าวหน้า ดังนี้

1.1  งานก่อสร้างอาคารบังคับน้ำและพนังกั้นน้ำ

            ได้ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ จำนวน 3 แห่ง ทำน้าที่ควบคุมระดับน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดลำน้ำก่ำ สำหรับใช้เพื่อการชลประทาน การอุปโภค บริโภค และในฤดูน้ำหลากจะทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมด้านเหนือของอาคาร โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 

- ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2538 ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำได้ จำนวน 3.1 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน 14,100 ไร่

- ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2539 ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำได้ 8.75 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน 30,900 ไร่

- ประตูระบายน้ำบานหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2540 ปัจจุบันได้ผลงานร้อยละ 80 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2543 หากดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเก็บน้ำไว้ในลำน้ำได้ 1.87 ล้านลุกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน จำนวน 11,010 ไร่

           1.2 งานขุดลอกแหล่งน้ำ

- การพัฒนาหนองน้ำขนาดเล็ก ได้ขุดลอกหนองน้ำขนาดเล็กเสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2540 จำนวน 116 แห่ง และเก็บกักน้ำได้ประมาณ 3.05 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี

- การพัฒนาหนองน้ำขนาดใหญ่ ได้ดำเนินการไปแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ หนองคำฮุย หนองสังข์ บึงสะพาน และบึงไฮ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 6.54 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทางระบายน้ำเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 3,180 ไร่

          1.3 งานก่อสร้างคลองดักน้ำ (Intercept Drains)

ได้ก่อสร้างฝายห้วยไร่ปิดกั้นลำน้ำย่อยของลำน้ำก่ำเหนือประตูระบายน้ำบ้านนาขาม และก่อสร้างคลองดักนี้ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำของอาคาร 

          1.4 งานก่อสร้างระบบชลประทาน

หลังจากการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน 3 แห่ง จะทำให้เกิดการกักเก็บน้ำในลำน้ำเหนืออาคารบังคับน้ำแต่ละแห่ง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บ จำนวน 13.72 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้ในการชลประทานในพื้นที่สองฝั่งลำน้ำ ปัจจุบันมีการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอยู่แล้ว จำนวน 9 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ จำนวน 9,550 ไร่ และมีแผนงานที่จะก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก จำนวน 16 สถานี โดยมีพื้นที่ส่งน้ำครอบคลุมอีก 40,000 ไร่

          1.5 การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

จากการทีได้จัดตั้งให้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เพื่อให้ขยายผลการพัฒนา ซึ่งเน้นไปสู่พื้นที่ของเกษตรกรโดยตรง ทำให้มีการพัฒนาในด้านอาชีพ และรายได้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ให้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณที่ได้มีการก่อสร้างสถานีสูบน้ำแล้ว จำนวน 9 สถานี ก็สามารถใช้น้ำสนับสนุนการเกษตรได้ตลอดปี

2) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง

การดำเนินการโครงการฯ มีปัญหาเรื่องชั้นเกลือหิน บริเวณใต้อ่างเก็บน้ำ เกรงว่าชั้นเกลือหินจะขึ้นสู่ผิวดิน ทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำกร่อย ไม่สามารถใช้ทำการเกษตรได้ ประกอบกับในพื้นที่โครงการฯ มีกลุ่มราษฎรบุกรุกเข้าทำประโยชน์และปลูกต้นยูคาลิปตัส เพื่อหวังเงินค่าชดเชยจากทางราชการ ทำให้ราคาค่าชดเชยทรัพย์สิน ค่าที่ดิน และต้นไม้ มีมูลค่าเป็นเงินจำนวนมาก

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

1. ขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ 4 แห่ง ขนาดเล็ก 116 แห่ง

2. ก่อสร้างฝายห้วยไร่ปิดกั้นลำน้ำย่อยของลำน้ำก่ำเหนือประตูระบายน้ำบ้านนาขาม รวมทั้งก่อสร้างคลองตักน้ำจากลำห้วยมาลงยังท้ายประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง และประตูระบายน้ำบ้านนาขาม

3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำ จำนวน 3 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำในลำน้ำเหนือ อาคารบังคับน้ำแต่ละแห่ง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บประมาณ  13.72 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้ในการชลประทานในพื้นที่สองฝั่งลำน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแล้วเสร็จ จำนวน 13 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ ประมาณ 16,600 ไร่

4. ประสาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เร่งรัดการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โดยวิธีให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีส่วนร่วมในการบริหารการเก็บค่าไฟฟ้าสูบน้ำ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพและการบริหารการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ

อาคารบังคับน้ำบ้านนาขาม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม                                  สถานีสูบน้ำบ้านหัวภูธรที่สูบน้ำจากลำน้ำก่ำ

   กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำได้ 3.1 ล้านลูกบาศก์เมตร                                      

น้ำที่สูบมาจากลำน้ำก่ำผ่านคลองส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตรกรรม                                  แปลงนาข้าวที่ได้รับน้ำจากระบบส่งน้ำ

ผลการดำเนินงาน ปี 2544                                                                                                         

1. ขุดลอกหนองบึงขนาดใหญ่ 4 แห่ง ขนาดเล็ก 116 แห่ง ก่อสร้างฝายอาคารบังคับน้ำรวม 4 แห่ง และจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 13 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ส่งน้ำ 16,600 ไร่

2. ในปี 2544 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ จำนวน 4 แห่ง

ผลการดำเนินงาน ปี 2545  สรุปดังนี้

1. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ

1.1 งานก่อสร้างแล้วเสร็จ

 - ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

 - ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม กิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดสกลนคร

- ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

1.2 งานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

- ประตูระบายน้ำตับเต่า อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

- ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

- ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ บ้านโนนสังข์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประโยชน์ของโครงการ

ประตูระบายน้ำสามารถระบายน้ำในฤดูฝน ทำให้น้ำไม่ท่วมล้นตลิ่งป้องกันการเกิดความเสียหายในไร่นา และสามารถกักเก็บน้ำส่วนหนึ่งสำหรับเป็นน้ำสำรองเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง

                             บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ                                                                  ประตูระบายนน้ำบ้านบึง

                บริเวณที่จะก่อสร้างประตูระบายน้ำตับเต่า                                          บริเวณที่จะก่อสร้างประตูระบายปากน้ำก่ำ

ผลการดำเนินงาน ปี 2548  สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

๑.   ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า ตำบลหนองเทาใหญ่ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2546 แล้วเสร็จตามแผนงาน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นอาคารบังคับน้ำ จำนวน 3 ช่อง ระบายน้ำได้ 225 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ฤดูฝนที่ผ่านมาได้ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ เพื่อไม่ให้ท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรและช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคมจะเริ่มปิดประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะกักเก็บน้ำได้ 730,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 5,500 ไร่

๒.  ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว  ตำบลโคกหินแฮ่  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  เป็นอาคารบังคับน้ำ จำนวน 3 ช่อง  ระบายน้ำได้ 225 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะกักเก็บน้ำได้ 1,050,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างต่ำ 2,840 ไร่ ทั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปร. เมื่อเดือนกันยายน  พ.ศ. 2548 โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี

๓.  ประตูระบายน้ำก่ำตอนล่าง  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม  เป็นอาคารบังคับน้ำสูง  143.5 เมตร  (รทก.) มีบานระบายน้ำ จำนวน 4 ช่อง  จะสามารถระบายน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 137.5 เมตร (รทก.) กักเก็บน้ำได้ 16,400,000 ลูกบาศก์เมตร  สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 22,000 ไร่ โดยมีแผนดำเนินการก่อสร้าง 3 ปี (ปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2551) ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแล้ว 1,649 แปลง เนื้อที่ 12,671 ไร่  มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 535 แปลง เนื้อที่ 3,511 ไร่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์  1,113 แปลง เนื้อที่ 9,159 ไร่ โดยคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินมีมติกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ไร่ละ 37,000 บาท และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ไร่ละ 30,000 บาท        อย่างไรก็ตามกรมชลประทานจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2549 นี้ ซึ่งหากก่อสร้างประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำตอนล่างแล้วเสร็จ จะทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงในฤดูน้ำหลาก และจะกักเก็บน้ำในช่วงปลายฤดูฝนเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 1,500 ไร่

แปลงปลูกข้าวโพดหวานในฤดูแล้ง

ประโยชน์ของโครงการ

ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 3 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำใช้ได้ตลอดปี ทำให้ราษฎรบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำสามารถสูบน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ โดยอาศัยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 22 สถานี  ซึ่งสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ได้ประมาณ 58,000 ไร่ อาทิเช่น การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากสถานีสูบน้ำบ้านบอน  ตำบลคำพี้  อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พื้นที่ส่งน้ำ 2,000 ไร่ ในฤดูฝนมีกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจำนวน 48 ราย โดยปลูกข้าวเป็นพื้นที่ 1,033 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูแล้งมีกลุ่มเกษตรกร 150 ราย จะสูบน้ำมาใช้เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ได้แก่ ข้าวโพดหวาน  เนื้อที่ 527 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 1,800 กิโลกรัมต่อไร่ และรวบรวมผลผลิตจำหน่ายให้บริษัทแปรรูปในท้องถิ่น ทำให้มีรายได้ประมาณ 8,000 บาทต่อไร่

ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ราษฎร

เนื่องจากแหล่งน้ำต้นทุนของลำน้ำก่ำ คือ หนองหาน ซึ่งรองรับน้ำจากเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมีประตูระบายน้ำสุรัสวดีของกรมประมงทำหน้าที่ควบคุมการระบายน้ำจากหนองหานลงสู่ลำน้ำก่ำ แต่ลำน้ำก่ำบางช่วงแคบประกอบกับประตูระบายน้ำบ้านหนองบึงมีบานระบายน้ำเพียง 2 ช่อง ทำให้ระบายน้ำได้ช้าน้ำจึงเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่นาของราษฎรในเขตตำบลโคกก่อง  อำเภอเมือง  ตำบลนาตงวัฒนา  ตำบลบ้านโพน  ตำบลเชียงสือ  อำเภอโพนนาแก้ว และตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณเป็นพื้นที่ 18,000 ไร่

นอกจากนี้ ลำน้ำก่ำตั้งแต่ท้ายประตูระบายน้ำบ้านหนองบึงมีลักษณะ ลำน้ำแคบทำให้มีน้ำล้นตลิ่งในเขตตำบลด่านม่วงคำ ตำบลแมดนาท่ม อำเภอโคกศรีสุพรรณเป็นพื้นที่ 5,800 ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ  4 แห่ง  คือ  ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง  ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม  ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่  และประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า รวมปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ทั้งสิ้น 14,450,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 64,300 ไร่

ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานร้อยละ 54 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2551 ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้น 1,050,000 ลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 2,840 ไร่

ประตูระบายน้ำก่ำบ้านโนนสังข์  (ปากน้ำก่ำ) ได้ทำสัญญาจัดจ้างการก่อสร้างแล้วเมื่อวันที่  27 กันยายน 2549 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนตุลาคม 2549  โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง  3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งจะ สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้น 16,400,000 ลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 22,000 ไร่

ประโยชน์ที่ได้รับ

ประตูระบายน้ำทั้ง 4 แห่ง สามารถบริหารจัดการปริมาณน้ำในฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยทำหน้าที่ระบายน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและจะ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งทำให้วิถีชีวิตการประกอบอาชีพของราษฎรบริเวณสองฝั่ง ลำน้ำก่ำที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ปัจจุบันสามารถนำน้ำไปใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้งได้ เช่น แปลงปลูกมะเขือเทศของนายชวน เชื้อบริบูรณ์ ราษฎรบ้านส้มป่อย  ตำบลหนองสังข์  อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม  มีที่ดิน 25 ไร่ เดิมประกอบอาชีพทำนาปีอย่างเดียว มีรายได้ 15,000 บาทต่อปี ปัจจุบันปลูกข้าวนาปีได้ผลผลิต 400 กิโลกรัมต่อไร่ ขายเป็นรายได้ 33,620 บาท ในฤดูแล้งปลูกมะเขือเทศ 5 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาตันละ 1,720 บาท ทำให้มีรายได้ 43,000 บาท รวมรายได้ทั้งหมด 76,620 บาทต่อปี

สภาพลำน้ำก่ำตั้งแต่หนองหานถึงแม่น้ำโขง มีความยาว123 กิโลเมตร

แปลงมะเขือเทศ

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

1.  ดำเนินการปรับปรุงหนองบึงแล้วเสร็จ 13 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 11,630,000 ลูกบาศก์เมตร

2.  ก่อสร้างประตูระบายน้ำแล้วเสร็จ 5 แห่ง ได้แก่

 

2.1  ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง   กักเก็บน้ำได้  1,870,000   ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตร  18,800  ไร่

2.2  ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม  กักเก็บน้ำได้  3,100,000  ลูกบาศก์เมตรสนับสนุนพื้นที่การเกษตร  14,800  ไร่

2.3  ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่  กักเก็บน้ำได้  8,750,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้  42,900  ไร่

2.4  ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว  กักเก็บน้ำได้  1,050,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้  6,100  ไร่

2.5  ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า  กักเก็บน้ำได้  730,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 6,000 ไร่

3.  ประตูระบายน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 แห่ง ได้แก่

3.1  ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ  ได้ก่อสร้างฐานรากเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารระบายน้ำจำนวน 4 ช่อง และงานป้องกันการกัดเซาะ มีผลการดำเนินงานร้อยละ  20  คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2552 สามารถกักเก็บน้ำได้  16,400,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 72,900 ไร่

3.2  ประตูระบายน้ำห้วยแคน ได้ดำเนินการปรับพื้นที่และก่อสร้าง      ที่ทำการโครงการเสร็จแล้ว  มีผลการดำเนินงานร้อยละ 15 และในปี พ.ศ. 2551 จะเริ่มก่อสร้างฐานรากและอาคารระบายน้ำจำนวน 3 ช่อง  ซึ่งคาดวาจะแล้วเสร็จ ทั้งโครงการในปี พ.ศ. 2552 สามารถกักเก็บน้ำได้  1,900,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 3,500 ไร่

                                                              พื้นที่การเกษตรของราษฎรที่จะได้รับประโยชน์จากประตูระบายน้ำห้วยแคน

4.  ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมคลองส่งน้ำแล้วเสร็จ 22 แห่ง สามารถส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 33,300 ไร่

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.  ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างเสร็จได้ช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดจากปริมาณน้ำที่มากในฤดูฝน  โดยระบายน้ำลงสู่ลำน้ำก่ำตอนล่าง เพื่อระบายออกสู่แม่น้ำโขง  ในขณะเดียวกันทำหน้าที่กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรได้ในฤดูแล้ง

2.  หนองบึงที่ขุดลอกแล้วเสร็จ สามารถเป็นแก้มลิงสำหรับกักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อเป็นน้ำสำรองไว้ใช้อุปโภค-บริโภคในพื้นที่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำตั้งแต่อำเภอเมือง  อำเภอโคกศรีสุพรรณ  จังหวัดสกลนคร  และกิ่งอำเภอวังยาง  อำเภอนาแก  อำเภอปลาปาก  อำเภอเรณูนคร  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม

3.  ทำให้ลำน้ำก่ำและลำน้ำสาขาเก็บกักน้ำได้ทั้งสิ้น 15,500,000  ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ประมาณ 88,600 ไร่

4.  เป็นโครงการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการท่องเที่ยวและยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างระบบการผลิตทางการเกษตรของจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม

พื้นที่การเกษตรบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ ในฤดูฝนสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิต 40-50 ถังต่อไร่ ในฤดูแล้งสามารถปลูกข้าวโพด มะเขือเทศ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. กรมชลประทานได้แต่งตั้งผู้จัดการโครงการบริหารจัดการประตูระบายน้ำในลุ่มน้ำก่ำแล้ว ดังนั้น กรมชลประทานจะต้องประสานการบริหารจัดการน้ำในทางปฏิบัติกับกรมประมงซึ่งเป็นผู้ดูแลประตูระบายน้ำสุรัสวดี เพื่อให้เปิด-ปิด ประตูระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในหนองหานซึ่งมีพื้นที่เก็บน้ำ 70,000 ไร่ ความจุ 200,000,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ราษฎร
  2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพการเกษตรในพื้นที่เขตชลประทาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสถานีสูบน้ำและระบบคลองส่งน้ำที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

1.  ดำเนินการปรับปรุงหนองบึงแล้วเสร็จ 13 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 11,630,000 ลูกบาศก์เมตร

2.  ก่อสร้างประตูระบายน้ำแล้วเสร็จ 5 แห่ง ได้แก่

2.1  ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง เก็บกักน้ำได้ 1,870,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตร  18,800  ไร่

2.2  ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม  เก็บกักน้ำได้  3,100,000  ลูกบาศก์เมตร  สนับสนุนพื้นที่การเกษตร  14,800  ไร่

2.3  ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่  เก็บกักน้ำได้  8,750,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้  42,900  ไร่

2.4  ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว  เก็บกักน้ำได้  1,050,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้  6,100  ไร่

2.5  ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า  เก็บกักน้ำได้  730,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 6,000 ไร่

3.    ประตูระบายน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 แห่ง ได้แก่

3.1  ประตูระบายน้ำปากน้ำก่ำ  ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กบานระบายแบบบานตรง ขนาดกว้าง 10.00 เมตร สูง 9.00 เมตร จำนวน 3 ช่อง สามารถเก็บกักน้ำได้ 16,400,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 72,900 ไร่

3.2  ประตูระบายน้ำห้วยแคน ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กบานระบายแบบบานตรง ขนาดกว้าง 6.00 เมตร สูง 6.70 เมตร จำนวน 3 ช่อง สามารถเก็บกักน้ำได้  1,900,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 3,500 ไร่

4.  ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมคลองส่งน้ำแล้วเสร็จ 22 แห่ง สามารถส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 33,300 ไร่ 

5.  การประชุมเชิงปฏิบัติ เรื่อง การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้น้ำ และบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทานของโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการดำเนินงานได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อไป

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.  ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างเสร็จได้ช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดจากปริมาณน้ำที่มากในฤดูฝน  โดยระบายน้ำลงสู่ลำน้ำก่ำตอนล่าง เพื่อระบายออกสู่แม่น้ำโขง ในขณะเดียวกันทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรได้ในฤดูแล้ง

2.  หนองบึงที่ขุดลอกแล้วเสร็จ สามารถเป็นแก้มลิงสำหรับเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อเป็นน้ำสำรองไว้ใช้อุปโภค-บริโภคในพื้นที่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำตั้งแต่อำเภอเมืองสกลนคร  อำเภอโคกศรีสุพรรณ  จังหวัดสกลนคร  และกิ่งอำเภอวังยาง  อำเภอนาแก  อำเภอปลาปาก  อำเภอเรณูนคร  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม

3.  ทำให้ลำน้ำก่ำและลำน้ำสาขาเก็บกักน้ำได้ทั้งสิ้น 15,500,000  ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ประมาณ 88,600 ไร่

4.  เป็นโครงการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการท่องเที่ยวและยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างระบบการผลิตทางการเกษตรของจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม

ผลการดำเนินงาน ปี 2552   

ได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2535 จนถึงขณะนี้มีผลการดำเนินงานดังนี้

1.  พัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ แล้วเสร็จ 13 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 11,630,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะเป็นแก้มลิงสำหรับเก็บกักน้ำจากลำน้ำก่ำที่มีปริมาณมากในช่วงฤดูฝน สำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และใช้เพื่ออุปโภค-บริโภค ในพื้นที่บริเวณสองฝั่ง ลำน้ำก่ำ ตั้งแต่อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และกิ่งอำเภอวังยาง อำเภอนาแก อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

2.  ก่อสร้างประตูระบายน้ำ 7 แห่ง ได้แก่

2.1  ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง เก็บกักน้ำได้ 1,870,000  ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตร 18,800 ไร่

กล่องข้อความ:

2.2  ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม เก็บกักน้ำได้ 3,100,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตร 14,800 ไร่

2.3  ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ เก็บกักน้ำได้ 8,750,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 42,900 ไร่

2.4  ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว เก็บกักน้ำได้ 1,050,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 6,100 ไร่

2.5  ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า เก็บกักน้ำได้ 730,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 6,000 ไร่

2.6  ประตูระบายน้ำห้วยแคน เก็บกักน้ำได้ 1,900,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 3,500 ไร่

กล่องข้อความ:

     2.7  ประตูระบายน้ำน้ำก่ำตอนล่าง เก็บกักน้ำได้ 16,400,000 ลูกบาศก์เมตร สนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ 72,900 ไร่

กล่องข้อความ:

3. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมคลองส่งน้ำ 24 แห่ง ในพื้นที่ 14 ตำบล 5 อำเภอ ครอบคลุมจังหวัดสกลนคร-นครพนม และสามารถส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้ 38,753 ไร่

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

4. การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

สำนักงาน กปร. ได้ติดตามผลการดำเนินงานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และระบบคลองส่งน้ำ เพื่อทราบถึงผลที่ได้รับจากการพัฒนาและนำผลการศึกษามาประกอบการวางแผนการบริหารจัดการการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยการติดตามผลการดำเนินงานในครั้งนี้ จะเน้นด้านกายภาพ และการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและระบบคลองส่งน้ำ จำนวน 24 สถานี ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ  ซึ่งพบว่า

1) สถานีสูบน้ำฯ จำนวน 24 สถานี  เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ส่วนใหญ่มีสภาพเก่า พบปัญหาชำรุดบ่อย  ท่อส่งน้ำที่เชื่อมต่อกับเครื่องสูบน้ำมีการรั่วซึม ส่งผลให้แรงดันน้ำลดลง ไม่สามารถส่งน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ แพที่ตั้งเครื่องสูบน้ำเก่าและเป็นสนิม ระบบส่งน้ำที่เป็นคลองส่งน้ำสายหลักส่วนใหญ่เป็นคลองดาด       คอนกรีต ชำรุดเสียหาย บานกั้นน้ำแตก ดินทรุดตัวทำให้คลองดาดคอนกรีตแตกชำรุด ประกอบกับมีวัชพืชปกคลุมบริเวณแนวคลอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ประสิทธิภาพการส่งน้ำลดลง

กล่องข้อความ:
 

2) กลุ่มผู้ใช้น้ำ  การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มผู้ใช้น้ำดั้งเดิม ที่จัดตั้งขึ้นโดย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน(พพ.เดิม) ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ได้รับการฟื้นฟู โดยกรมชลประทาน โดยฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกลุ่มผู้ใช้น้ำ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ดำเนินการฟื้นฟูแล้ว 8 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มบริหารผู้ใช้น้ำ จำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มพื้นฐาน จำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งกระบวนการฟื้นฟูจะเริ่มจากการส่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้าไปสำรวจกลุ่มผู้ใช้น้ำเดิมและสำรวจพื้นที่ใช้ประโยชน์ พร้อมกับทำกิจกรรมมวลชนกับสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเดิม โดยอาศัยความร่วมมือระหว่าง กรมชลประทาน และองค์การบริหารส่วนตำบล

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

ประโยชน์ของโครงการ

1.    หนองบึงที่ขุดลอกแล้วเสร็จ  สามารถเป็นแก้มลิงสำหรับเก็บกักน้ำ ในฤดูน้ำหลาก เพื่อเป็นน้ำสำรองไว้ใช้อุปโภค-บริโภคในพื้นที่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำตั้งแต่อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และกิ่งอำเภอวังยาว อำเภอนาแก อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

2.    ประตูระบายน้ำที่ก่อสร้างเสร็จได้ช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดจากปริมาณน้ำที่มากในฤดูฝน โดยระบายน้ำลงสู่ลำน้ำก่ำตอนล่าง เพื่อระบายน้ำออกสู่แม่น้ำโขง ในขณะเดียวกันทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรได้ในฤดูแล้ง

3.    การก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมคลองส่งน้ำสามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรได้ 38,753 ไร่ ทำให้ราษฎรมีน้ำใช้ทำการเกษตรอย่างเพียงพอ และเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัว ทำให้ราษฎรมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:
 
กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ:

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.  ให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดนครพนม กรมชลประทาน อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ราษฎรใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรให้แก่ราษฎร

2.  ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นที่ต้องการของตลาด

3.  ส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตร เพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร ต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

                กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินงานโครงการมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งปัจจุบันมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1.  พัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ แล้วเสร็จ จำนวน 15 แห่ง เพื่อเป็นแก้มลิงสำหรับเก็บกักน้ำจากลำน้ำก่ำที่มีปริมาณน้ำมากในช่วงฤดูฝน และสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

.  ก่อสร้างประตูระบายน้ำ ในลำน้ำก่ำและลำน้ำสาขา แล้วเสร็จ จำนวน 7 แห่ง เพื่อการชลประทานทั้งการเก็บกักน้ำในลำน้ำ และเร่งระบายน้ำ

ริมาณการเก็บกักน้ำ และพื้นที่รับประโยชน์ของโครงการ

ลำดับที่

กิจกรรม

ความจุ

(ล้าน ลบ.ม.)

พื้นที่รับประโยชน์

(ไร่)

1

ประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง

1.87

12,600

2

ประตูระบายน้ำบ้านนาขาม

3.10

2,700

3

ประตูระบายน้ำบ้านนาคู่

8.75

25,200

4

ประตูระบายน้ำห้วยแคน

1.90

2,500

5

ประตูระบายน้ำบ้านตับเต่า

0.73

6,000

6

ประตูระบายน้ำบ้านนาบัว

1.05

4,500

7

ประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง

16.40

72,500

8

หนองบึงขนาดใหญ่

จำนวน 13 แห่ง

11.63

-

 

รวม

45.43

126,000

3.  สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 24 แห่ง ซึ่งก่อสร้างโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ตั้งแต่ปี 2539 มีน้ำต้นทุนจากประตูระบายน้ำ สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตรได้โดยตรงประมาณ 39,000 ไร่

ถานีสูบน้ำบ้านแก่งโพธิ์ ซึ่งสูบน้ำในลำน้ำก่ำหน้า ปตร. น้ำก่ำตอนล่าง
ไปยังพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งปี 2553

วิกฤตแม่น้ำโขง

สภาพปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดระดับลงต่ำมาก ก่อให้เกิดผลกระทบกับราษฎรผู้ใช้น้ำจากลำน้ำโขง ไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามปกติ แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าราษฎรที่อยู่ในบริเวณโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ กลับมีปริมาณน้ำต้นทุนเพียงพอที่จะสามารถทำการเกษตรในห้วงเวลาดังกล่าวได้ การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนที่จะไหลลงแม่น้ำโขงไว้ในลำน้ำก่ำ ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงได้ ซึ่งปัจจุบัน ประตูระบายน้ำทั้ง 7 แห่ง ยังมีปริมาณน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้กว่า 15 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงสามารถช่วยแก้วิกฤตขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี ในขณะที่แม่น้ำโขงเกิดวิกฤต

นอกจากนี้ กรมชลประทานได้พิจารณาสร้างสถานีสูบน้ำจากปากแม่น้ำก่ำ เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาใช้ประโยชน์ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ อีกด้วย

สถานีสูบน้ำ จากแม่น้ำโขงเข้ามาเติมปริมาณน้ำในระบบบริเวณประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 นายอำพล  เสนาณรงค์  องคมนตรี และ  นายเฉลิมเกียรติ  แสนวิเศษ  เลขาธิการ กปร. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม เพื่อติดตามความก้าวหน้า และสังเกตการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งเกิดวิกฤตปริมาณน้ำลดต่ำลงมาก

มื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม ซึ่งมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี และขอให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 กระทรวงการต่างประเทศนำสื่อมวลชนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่พำนักอยู่ในนครลอสแองเจลิส เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ ฯ ซึ่งสื่อมวลชนต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมากและจะนำความซาบซึ้งนี้ไปเผยแพร่ให้แก่คนไทยในนครลอสแองเจลิส ประมาณ 200,000 คน ได้รับรู้ต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินงานโครงการมาตั้งแต่ ปี 2535 ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังนี้

1.  พัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง เพื่อเป็นแก้มลิงสำหรับเก็บกักน้ำจากลำน้ำก่ำที่มีปริมาณน้ำมากในช่วงฤดูฝน โดยสามารถเก็บกักน้ำได้ 15.26 ล้านลูกบาศก์เมตร

2.  ก่อสร้างประตูระบายน้ำ จำนวน 7 แห่ง เพื่อควบคุมการระบายน้ำและสามารถเก็บกักน้ำได้ 52.10 ล้านลูกบาศก์เมตร

3.  สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 26 แห่ง สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรได้ ประมาณ 42,200 ไร่

                              พัฒนา 7 ประตูระบายน้ำ 26 สถานีสูบน้ำ 15 หนองบึงใหญ่ บริหารจัดการอย่างสมดุล อุ้มชูเกษตรกรรม

ประตูระบายน้ำห้วยแคน DSC03563

                ประตูระบายน้ำห้วยแคนสามารถกักเก็บน้ำ                                           สถานีสูบน้ำพร้อมคลองส่งน้ำ สามารถส่งน้ำเข้า     

                ได้1,900,000 ลูกบาศก์เมตร                                                                    พื้นที่การเกษตรได้ 33,300 ไร่

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

สำนักงาน กปร. ได้ติดตามผลการดำเนินงานสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และระบบคลองส่งน้ำ ในการติดตามผลทางด้านกายภาพ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ เป็นงานซ่อมแซมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 6 แห่ง ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ คือ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหัวดอนน้อย สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหนองยอ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านคำพี้ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนคราม  สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านนาทุ่งมั่ง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านคำเม็ก ทั้งหมดอยู่ในจังหวัดนครพนม ซึ่งได้ดำเนินการซ่อมแซมไปแล้วบางส่วน และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2555 ส่วนด้านการบริหารจัดการได้เตรียมความพร้อมต่อเนื่องเมื่องานแล้วเสร็จไว้แล้ว โดยจะถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบดูแลบำรุงรักษา และมีแผนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ

DSC08899 DSC08926

         สภาพพื้นที่ก่อนการดำเนินการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหัวดอนน้อย       สภาพระหว่างการดำเนินการซ่อมแซมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหัวดอนน้อย

ประโยชน์ของโครงการ

1.   ราษฎรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ 16 หมู่บ้าน จำนวน 436 ครัวเรือน สามารถใช้ประโยชน์จากสถานี สูบน้ำด้วยไฟฟ้าและระบบส่งน้ำที่ก่อสร้างไว้เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.   ทำให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ตลอดจนการบำรุงรักษาระบบส่งน้ำเพิ่มขึ้น

3.   ราษฎรผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการ จำนวน 24 กลุ่ม ประมาณ 1,870 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบส่งน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อไป

4.    ราษฎรผู้ใช้น้ำ จำนวน 252 คน ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มเติม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ทำกินของตนเองและขยายผลต่อในชุมชนได้

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคด้วยเรือพระที่นั่งอังสนาไปทรงประกอบพิธีเปิดโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 5 แห่ง ณ กรมชลประทาน สามเสน โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อ “ธรณิศนฤมิต” อันมีความหมายว่า ประตูระบายน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดสร้างขึ้น

DSC00707

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

กรมชลประทานได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2535 ปัจจุบันมีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ดังนี้

1. พัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง เพื่อเป็นแก้มลิงเก็บกักน้ำจากลำน้ำก่ำที่มีน้ำมากในช่วงฤดูฝน โดยสามารถเก็บกักน้ำได้ 15.26 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. ก่อสร้างประตูระบายน้ำ จำนวน 7 แห่ง เพื่อควบคุมการระบายน้ำ รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำได้ 52.10 ล้านลูกบาศก์เมตร

3. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 26 แห่ง สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรได้ ประมาณ 42,200 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

1. ราษฎรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ 16 หมู่บ้าน จำนวน 436 ครัวเรือน สามารถใช้ประโยชน์จากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและระบบส่งน้ำที่ก่อสร้างไว้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2. เกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำและการบำรุงรักษาระบบส่งน้ำเพิ่มขึ้น

3. ราษฎรผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการ จำนวน 24 กลุ่ม ประมาณ 1,870 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบส่งน้ำเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อไป

4. ราษฎรผู้ใช้น้ำ จำนวน 252 คน ได้รับความรู้และมีโอกาสพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มเติม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ทำกินของตนเองและขยายผลต่อในชุมชนได้

5. พื้นที่บริเวณลำน้ำก่ำในฤดูฝนสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตประมาณ 40-50 ถัง ต่อไร่ และในฤดูแล้งสามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะเขือเทศ และพืชไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปีและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. ขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ ในพื้นที่ชลประทานกว่า 60,000 ไร่ โดยให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ และส่งเสริมการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของราษฎร
  2. ส่งเสริมการขยายผลด้านอาชีพ โดยคัดเลือกเกษตรกรที่ทำกิจกรรมโดดเด่นมาเป็นเกษตรกรต้นแบบเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรให้แก่ราษฎรรายอื่น รวมทั้งจะนำเอาองค์ความรู้ด้านอาชีพจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ มาขยายผลในพื้นที่และสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรด้วย 

การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขององคมนตรี

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ และพบปะเกษตรกรจากกลุ่มสหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านแก่งโพธิ์ ในการนี้ องคมนตรีได้ชื่นชมผลสำเร็จของโครงการ และขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาและทำงานแบบเชิงบูรณาการ เพื่อประโยชน์ของราษฎรในพื้นที่

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

กรมชลประทานได้ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ รวม 7 แห่ง มีปริมาณเก็บกักน้ำ 53,073,000 ลูกบาศก์เมตร ดังนี้

1. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบแล้วเสร็จตามแผนงานทั้งหมด จำนวน 7 แห่ง 

2. งานพัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง ในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 9 แห่ง และในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน 6 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 15,260,000 ลูกบาศก์เมตร

3. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำชลประทานในเขตจังหวัดสกลนครและนครพนม สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 28 แห่ง พื้นที่ชลประทานประมาณ 50,353 ไร่

การบริหารจัดการน้ำ

การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำ :  โครงการฯ พิจารณาจัดสรรน้ำให้ภาคส่วนต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านอุปโภคบริโภค น้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา รักษาระบบนิเวศ และในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

การบริหารจัดการน้ำในแต่ละสถานีสูบน้ำ : มีคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำฯ ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำร่วมกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำฯ และเจ้าหน้าที่ชลประทาน เพื่อให้สามารถส่งน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำและลดปัญหาความขัดแย้งในการใช้น้ำ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. ขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ โดยให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินงานแบบบูรณาการ
  2. ส่งเสริมการขยายผลด้านอาชีพ โดยคัดเลือกเกษตรกรที่ทำกิจกรรมโดดเด่นมาเป็นเกษตรกรต้นแบบเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรให้แก่ราษฎรรายอื่น 

การตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขององคมนตรี

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมทั้งเยี่ยมชมกลุ่มอาชีพในพื้นที่โครงการฯ และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่  ในการนี้ องคมนตรี ได้เน้นย้ำในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และพื้นที่ชลประทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จให้เต็มตามศักยภาพ  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ช่วยกันคิด-ทำ ร่วมกันดูแล แก้ไขปัญหา เพื่อให้โครงการเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

             

59424 อ

  

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve