โครงการ ระบบบำบัดน้ำเสียหนองสนม

สถานที่ตั้ง

ตำบล พังขว้าง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการบำบัดน้ำเสียบริเวณหนองสนม

อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

เรื่องเดิม

           เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานตามโครงการบำบัดน้ำเสียในบริเวณหนองสนม และบริเวณที่น้ำเสียจะไหลลงสู่หนองหาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และได้พระราชดำริพอสรุปได้ว่า “เนื่องด้วยหนองสนมเป็นที่รองรับน้ำเสียประมาณร้อยละ 30 ที่ระบายทิ้งมาจากเขตเทศบาลเมืองสกลนคร ซึ่งมีประชากรประมาณ 5,500 หลังคาเรือน ควรวางโครงการและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด กล่าวคือ จัดสร้างบ่อดักสารแขวนลอย ใช้กกอียิปต์ดับกลิ่นผักตบชวาดูดซับสิ่งโสโครกและโลหะหนัก ใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา และแผงท่อเติมอากาศให้กับน้ำเสียตามความเหมาะสมตลอดจนให้ตกตะกอนก่อนปล่อยน้ำลงหนองสนม เพื่อปรับสภาพน้ำให้ดีโดยผักตบชวาและแสงแดด แล้วจึงระบายทิ้งลงหนองหานต่อไป สำหรับผักตบชวาที่ใช้งานนั้น ต้องเปลี่ยนออกจากบ่อน้ำเสียเป็นระยะ ๆ ก่อนที่จะเน่า และเริ่มลดประสิทธิภาพในการแก้ไขน้ำเสีย โดยนำไปทำเชื้อเพลิงหรือปุ๋ยหมักด้วย”

             ในส่วนบริเวณริมหนองหานข้างโรงพยาบาล ที่ทางเทศบาลมีโครงการจะก่อสร้างถนนเพื่อบังคับน้ำเสียให้ไหลไปรวมที่เดียวกัน ก็ให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างเป็นคันกั้นน้ำไปก่อน แต่ให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะกั้นน้ำในฤดูฝนด้วย เพราะมิเช่นนั้นเมื่อมีฝนตกมากก็จะทำให้น้ำเสียเอ่อท่วมถนนได้ เมื่อก่อสร้างคันดินกั้นน้ำแล้วก็รอให้ดินยุบตัวให้ดีเสียก่อน ต่อจากนั้นจึงปรับปรุงให้เป็นถนนในโอกาสต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2534

                        ขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า

ประโยชน์ของโครงการ

                        จะช่วยให้ราษฎรในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร จำนวนประมาณ 5,547 ครัวเรือน หรือ 23,728 คน สามารถระบายน้ำเสียจากตัวเมืองส่วนหนึ่งให้ไหลไปลงรวมกันในบริเวณหนองสนม และดำเนินการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงสู่หนองหาน

   

ผลการดำเนินงาน ปี 2535

               1) ระบบบำบัดน้ำเสียหนองสนมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้กระบวนการบำบัดแบบผสมผสาน โดยใช้พืชน้ำร่วมกับระบบเติมอากาศ จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำตลอดปีอย่างต่อเนื่อง ผลปรากฏว่าระบบบำบัดน้ำเสียสามารถลดค่าความสกปรก ซึ่งอยู่ในรูปของมวลสารต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                แต่อย่างไรก็ตามยังมีองค์ประกอบบางอย่างของระบบที่จะต้องทำการแก้ไขและปรับปรุง เนื่องจากสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นในรอบปีการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบบำบัดน้ำเสียในเวลาต่อมา

                2) กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียโดยการเพิ่มการติดตั้งตะแกรงดักขยะแบบ Bar Sceen จำนวน 1 ชุด เพิ่มการติดตั้งอุปกรณ์ลดความเร็วของน้ำตรงบริเวณปากท่อที่เชื่อมต่อกับคลองที่ใช้เป็นระบบบำบัด และปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียด้วยกกอียิปต์ ให้เป็นใช้กกช้างแทน

                3) ผลการศึกษาคุณภาพน้ำ หลังจากระบบบำบัดน้ำเสียได้รับการแก้ไขและปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนแล้ว จะเห็นว่าคุณภาพน้ำเริ่มดีขึ้นอย่างน่าพอใจ ทำให้ระบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

                 เพื่อศึกษาและทดสอบการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติและประหยัด รองรับน้ำเสียจากตัวเมืองให้ไหลไปรวมอยู่ที่เดียวกัน และดำเนินการบำบัดน้ำเสียก่อนจะไหลลงสู่หนองหาน ปรับปรุงน้ำในหนองหานให้มีคุณภาพที่ดีเพียงพอที่จะใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาของเทศบาลเมืองสกลนคร

   

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve