โครงการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน)

สถานที่ตั้ง

อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการแก้ไขน้ำเสียเมืองสกลนคร (หนองหาน)

จังหวัดสกลนคร

เรื่องเดิม

              เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานตามโครงการบำบัดน้ำเสียในบริเวณหนองสนม และบริเวณที่น้ำเสียจะไหลลงสู่หนองหาน และได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปได้ว่า “ในบริเวณข้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ข้างโรงพยาบาลที่ทางเทศบาลมีโครงการจะก่อสร้างถนน เพื่อบังคับน้ำเสียไหลไปรวมที่บริเวณเดียวกัน ที่ฌาปนสถานคูหมากเสือ ซึ่งกรมประมงจะดำเนินการก่อสร้างเป็นคันกั้นน้ำไปก่อน แต่ให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะกั้นน้ำในฤดูฝนด้วย เพราะมิเช่นนั้น เมื่อมีฝนตกมากก็จะทำให้น้ำเสียเอ่อท่วมถนนได้ เมื่อสร้างคันดินกั้นน้ำ และก็รอให้ดินยุบตัวให้ดีเสียก่อน อาจใช้เวลา 2 – 3 ปี ต่อจากนั้นจึงจะได้ปรับปรุงให้เป็นถนนในโอกาสต่อไป” 

             เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ “ควรรวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานที่ข้างโรงผลิตน้ำประมาณร้อยละ 70  จากเขตเทศบาลฯ ซึ่งระบายลงหนองหานมาไว้ที่เดียว เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัดในทำนองเดียวกันกับหนองสนม แต่มีขนาดใหญ่กว่า และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนครในอนาคตอีกด้วย”

              เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริว่า ควรรวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานมาไว้ที่เดียว เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้วิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัดในทำนองเดียวกันกับหนองสนม แต่มีขนาดใหญ่และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนครในอนาคต

ผลการดำเนินงาน ปี 2533

                1. ก่อสร้างคันดินกั้นน้ำและถนนข้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยก่อสร้างผิวจราจร กว้าง 10 เมตร ยาว 780 เมตร หนา 0.20 เมตร และก่อสร้างรั้วลวดหนาม ความยาว 60 เมตร

                 2. ก่อสร้างรางระบายน้ำแบบเปิดจากปลายถนนรอบเมือง โดยก่อสร้างรางระบายน้ำ ค.ส.ล. แบบเปิด ยาว 523 เมตร และก่อสร้างท่อลอดถนน ค.ส.ล. ยาว 17 เมตร 

ประโยชน์ของโครงการ

                  1. ช่วยให้ราษฎรในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร จำนวนประมาณ 5,547 ครอบครัว สามารถระบายน้ำเสียในตัวเมืองให้ไหลไปรวมกัน และบำบัดน้ำเสียก่อนจะไหลลงสู่หนองหาน และระบายน้ำเสียในรางระบายน้ำแบบเปิดได้มาตรฐานได้อย่างเพียงพอ และช่วยในการป้องกันน้ำท่วมได้อีกทางหนึ่ง

                  2. จะช่วยให้ราษฎรสามารถใช้เป็นถนนในการสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกในทุกฤดูกาล

ผลการดำเนินงาน ปี 2536

               งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำและการปลูกพืชและปรับปรุงดิน

ประโยชน์ของโครงการ

                จะช่วยให้น้ำเสียที่ไหลมาจากโรงงานผลิตน้ำประปาบริเวณข้างโรงพยาบาลมารวมกันที่จุดระบายน้ำทิ้ง ณ บริเวณใกล้ฌาปนสถานคูหมากเสือ ซึ่งจะระบายลงสู่หนองหาน ได้รับการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงสู่หนองหาน เพื่อไม่ให้น้ำในหนองหานเน่าเสียตามไปด้วย

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

                ก่อสร้างท่อระบายน้ำ 4 แห่ง และปรับปรุงลาดทำนบดินด้านนอกติดกับบริเวณหนองหาน และการตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ

ประโยชน์ของโครงการ

                ทำให้น้ำเสียไหลมารวมกันที่จุดระบายน้ำทิ้ง ณ บริเวณใกล้ฌาปนสถานคูหมากเสีย ได้รับการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงสู่หนองหาน เพื่อไม่ให้น้ำในหนองหานเน่าเสียตามไปด้วย

ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ ปลูกพืชน้ำช่วยดูดสารโลหะหนัก และตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ

 

โครงการงานศึกษา และวิจัยโครงการแก้ไขน้ำเสียเมืองสกลนคร

จังหวัดสกลนคร

เรื่องเดิม

             เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานแก้ไขน้ำเสียว่า ให้รวบรวมน้ำเสียประมาณร้อยละสามสิบจากเขตเทศบาลที่ระบายลงหนองหาน ผ่านหนองสนม เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

              ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และงานปรับปรุงซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย

ประโยชน์ของโครงการ

               ทำให้น้ำมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ก่อนปล่อยลงสู่บริเวณหนองหาน และทำให้สภาพแวดล้อมของบริเวณบ่อบำบัดอยู่ในสภาพวะสมดุลที่ดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และใช้เป็นสถานที่ตัวอย่างงานศึกษา วิจัยระบบบำบัดน้ำเสียแบบง่าย

ลการดำเนินงาน ปี 2538

                1. งานตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำพร้อมติดตามประเมินผล

                2. งานปรับปรุงหัวงานและอาคารต่างๆ

ประโยชน์ของโครงการ

                 ทำให้น้ำมีคุณภาพดียิ่งขึ้นก่อนปล่อยลงสู่บริเวณหนองหาน และจะทำให้สภาพแวดล้อมของน้ำในหนองหานอยู่ในสภาวะสมดุลที่ดีสำหรับการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในเขตชุมชนเมือง จำนวน 10,335 ครัวเรือน หรือจำนวน 47,850 คน

แปลงบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติมีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่เข้ากัดกินพืช

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve