โครงการ พัฒนาพื้นที่ภูผาหักตามพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ผาสุก อำเภอ วังสามหมอ จังหวัด อุดรธานี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการพัฒนาพื้นที่ภูผาหักตามพระราชเสาวนีย์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

 

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านสุมณฑา หมู่ที่ 13 ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ในการนี้ ได้มีพระราชดำริ สรุปความว่า ขอให้ช่วยกันปลูกเสริมป่า เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดินแม้จะสร้างอ่างเก็บน้ำก็จะแห้งแล้ง ดังนั้นจะต้องปลูกต้นไม้เสริมให้มากๆ

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ดำเนินการปลูกป่าประกอบด้วย ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้สัตบรรณ และไม้อินทนิล จำนวน ๔๔,๐๐๐ กล้าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าบะยาว-หัวนาคำ-นายูง-หนองกุงทับม้า และป่าหนองหญ้าไซที่เสื่อมโทรม เนื้อที่ ๒๐๐ ไร่  พร้อมทั้งปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำโดยการปลูกไม้มะค่าโมง ไม้ประดู่ ไม้สาธร  ไม้อินทนิล  ไม้สัตบรรณ จำนวน ๒๕,๐๐๐ กล้า และจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน ๕๐ แห่ง ประกอบด้วย ฝายแบบหินทิ้ง ๒๖ แห่ง ฝายแบบหินทิ้งปูนซีเมนต์ ๒๒ แห่ง และแบบกระสอบ ๒ แห่ง 

ประโยชน์ของโครงการ

สามารถอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ให้คืนสภาพสมบูรณ์ดีดังเดิม สร้างความชุ่มชื้นให้กับระบบนิเวศป่าไม้และป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้  และทำให้ราษฎรบ้านสุมณฑา  บ้านผาสุก  บ้านน้อยมาลี  บ้านโนนม่วงหวานและบ้านผาทอง  ตำบลผาสุก  อำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี รวม  ๓๔๖  ครัวเรือน ๑,๑๖๙ คน มีรายได้เสริมจากการจ้างแรงงานในการปรับปรุงระบบนิเวศฟื้นฟูสภาพป่าและก่อสร้างฝาย

การปลูกป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าบะยาว-หัวนาคำ – นายูง – หนองกุงทับม้า                    ฝายต้นน้ำแบบผสมผสานหินทิ้ง

และป่าหนองหญ้าไซ ที่เสื่อมโทรม เนื้อที่ ๒๐๐ ไร่

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

เนื่องจากการดำเนินงานโครงการในปีงบประมาณ 2549 ไม่สามารถตั้งงบปกติรองรับได้ทัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องอีก 1 ปี โดยมีแผนงานปลูกป่า 100 ไร่ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าบะยาว – หัวนาคำ – นายูง หนองกุงทับม้าและป่าหนองหญ้าไซ ประกอบด้วย ประดู่  มะค่าโมง   แดง  อินทนิล  20,000 ต้น  เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้คืนสภาพสมบูรณ์ดังเดิม บำรุงรักษาสวนเดิม 200 ไร่ และปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ พื้นที่ 1,500 ไร่ โดยปลูกประดู่ มะค่าโมง สัตตบรรณฯ จำนวน 37,500 ต้น เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในป่า พร้อมปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ ปีที่ 2 พื้นที่ 1,000 ไร่ ซึ่งเป็นการปลูกแซมในพื้นที่ช่องว่างระหว่างต้นไม้ แผ้วถางวัชพืชและ ใส่ปุ๋ยพรวนดิน นอกจากนี้ยังดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร 5 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่ง  มีความจุประมาณ 20-30  ลูกบาศก์เมตร  ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน(หินทิ้ง) 60 แห่ง  ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน(หินทิ้ง ปูนซีเมนต์ยาแนว) 40 แห่ง ทั้งนี้ยังมีแผนป้องกันควบคุมไฟป่า ในพื้นที่ 7,500 ไร่ที่รับผิดชอบด้วย

ประโยชน์ของโครงการ

1.  ทำให้ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านผาสุกและบ้านสุมณฑา ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้น 346 ครัวเรือน ราษฎร 1,169 คน ได้รับประโยชน์ มีรายได้จากการจ้างแรงงานปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำฟื้นฟูสภาพป่าและก่อสร้างฝายต้นน้ำ นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์จากป่าโดยการ   เก็บของป่า  เช่น  เห็ด  หน่อไม้ และจับสัตว์น้ำ เช่น กบ บริเวณฝายต้นน้ำ

2. ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ มีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากการประชาสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการปลูกป่า ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำและปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า

3.  เป็นการฟื้นฟูอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ คืนสภาพสมบูรณ์ดีดังเดิมสร้างความชุ่มชื้นให้ระบบนิเวศน์ป่าไม้และป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้  รวมทั้งช่วยกันดับไฟป่ามิให้ลุกลาม

แนวกันไฟป่า รอบพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ภูผาหัก จังหวัดอุดรธานี            การปลูกต้น ประดู่   มะค่าโมง  แดง   อินทนิล

ลการดำเนินงาน ปี 2550

ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ 500 ไร่  โดยการปลูกต้นไม้ท้องถิ่น 12,500 ต้น ได้แก่ ประดู่ 2,500 ต้น ยางนา 2,500 ต้น  มะค่าโมง 2,500 ต้น อินทนิล 2,500 ต้น ตะแบก 2,500 ต้น จัดทำแนวกันไฟรอบพื้นที่แปลงปลูกป่าระยะทาง 3 กิโลเมตร  ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 100 แห่ง ก่อสร้างฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร 5 แห่ง และป้องกันควบคุมไฟป่า 7,500 ไร่

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านผาสุกและบ้านสุมณฑา  ตำบลผาสุก  อำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี  ได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้น 346 ครัวเรือน ราษฎร 1,169 คน มีรายได้จากการปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ  ฟื้นฟูสภาพป่าและก่อสร้างฝายต้นน้ำ ราษฎรในพื้นที่มีจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ มีความรู้  ความเข้าใจ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจากการประชาสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ

                           ฝายกักเก็บน้ำแบบกึ่งถาวร                                                                      จัดทำแนวป้องกันไฟป่า

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

จัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 100 แห่ง จัดทำฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร 5 แห่ง เพาะชำกล้าไม้มีค่าและเพาะชำกล้าไผ่ 100,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายราษฎร เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้พื้นที่ป่ามีความชุ่มชื้น และชะลอการไหลของน้ำราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมการปลูกป่า และเกิดจิตสำนึก รัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้มากยิ่งขึ้น

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve