โครงการ ศูนย์สาธิตการพัฒนาเกษตรแบบผสมผสานบ้านติ้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริในมูลนิธิชัยพัฒนา

สถานที่ตั้ง

20 ไร่ 3 งาน ตำบล เมืองพาน อำเภอ บ้านผือ จังหวัด อุดรธานี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่บ้านติ้ว

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้รับที่ดิน ซึ่งนายทนันชัย  ตรังคานุกูลกิจ ได้ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายเนื้อที่ 20 ไร่ 3 งานตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และพระราชทานให้มูลนิธิชัยพัฒนา พิจารณาทำประโยชน์ต่อส่วนรวม

ผลการดำเนินงาน ปี 2543

สำนักงาน กปร. และสำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการพัฒนาด้านการเกษตร และใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเน้นพัมนาที่ดินในลักษระแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เป็นทางเลือกและเป็นตัวอย่างสำหรับเกษตรกรบริเวณใกล้เคียงด้มาศึกษาดูงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพการเกษตรต่อไป โดยดำเนินการวางผัง จัดแปลงสาธิตในแหล่งที่ดิน จำนวน 20 ไร่ 3 งาน ออกเป็น 3 ส่วน คือ

                                 พื้นที่ 1  - แปลงปลูกไม้ใช้สอย พื้นที่ 5 ไร่ ได้แก่ ไม้ประดู่ และสัก

                                 พื้นที่ 2  - แปลงปลูกพืชระยะสั้น พื้นที่ 2 ไร่ ได้แก่ มะละกอ

                                 พื้นที่ 3  - แปลงที่นา พื้นที่ 5 ไร่ ซึ่งขณะนี้กำลังไถนาเพื่อเตรียมปลูกกล้า

แปลงไม้ผลและวนเกษตร กิจกรรมด้านป่าไม้ การเกษตรรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์             พื้นที่โครงการฯ ด้านทิศตะวันออกติดกับลำห้วย                                                                                                                                                            ประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

จัดวางผังแปลงสาธิต เป็น 3 ส่วน ได้แก่ แปลงปลูกไม้ใช้สอยพื้นที่ปลูกพืชระยะสั้น และแปลงนา การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และสนับสนุนการเลี้ยงปลาในสระ ในปีที่ผ่านมาได้อบรมการสร้างฟาร์มสาธิตสัตว์ปีกให้แก่ เกษตรกร จำนวน 40 ราย โครงการดังกล่าวจะเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรอำเภอบ้านผือ ให้รู้จักวิธีการดำเนินงานพัฒนาในด้านต่างๆ และนำไปประยุกต์ปรับใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในที่ดินของตนเอง เป็นแบบอย่างในการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป

        ศาลาวิชาการ แสดงนิทรรศการ และเป็นสถานที่บรรยาย             หวยกุดแฮ่ มีน้ำตลอดปี ในฤดูฝนมักเกิดน้ำล้นฝั่งท่วมพื้นที่โครงการ

                 แปลงป่าไม้ ประกอบด้วย ไม้สัก ไม้ประดู่ เป็นต้น                                         แปลงวนเกษตรปลูกพืชหลากหลายชนิด

                                                                                                                                  ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ส้มโอ ลำไย เป็นต้น      

เกษตรกรผู้เข้าร่วมการอบรมการเลี้ยงสัตว์ปีก ได้แก่ ไก่และเป็ดเทศ

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

คณะทำงานได้ดำเนินการจัดวางผังแปลงสาธิต เป็น 3 ส่วน ได้แก่ แปลงปลูกไม้ใช้สอยพื้นที่ปลูกพืชระยะสั้น และแปลงนา พืชมีการเจริญเติบโตตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และสนับสนุนการเลี้ยงปลาในสระ ในปีที่ผ่านมามีการจัดอบรมเกษตรกร จำนวน 600 ราย และมีผู้เข้าเยี่ยมชมโครงการฯ เป็นจำนวนมาก

ประโยชน์ของโครงการ

โครงการดังกล่าวจะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ไม้และส่งเสริมให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วม อีกทั้ง เพื่อให้เป็นทางเลือกและเป็นตัวอย่างสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบริเวณใกล้เคียงได้มาศึกษา ดูงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพการเกษตรต่อไป

จัดอบรมเกษตกร

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านการเกษตร

curve