โครงการ จัดหาน้ำสนับสนุนโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านจันทร์

สถานที่ตั้ง

ตำบล บ้านจันทน์ อำเภอ บ้านดุง จังหวัด อุดรธานี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
บ้านจันทน์ (งานโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมด้านการพัฒนา)

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

 

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านสายน้ำผึ้ง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้ง โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ในพื้นที่บ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้มีแหล่งจ้างแรงงาน แหล่งผลิตอาหารและให้ความรู้ด้านการเกษตรที่ถูกต้อง โดยให้กรมชลประทานสนับสนุนในการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

ก่อสร้างฝายห้วยคำจำปา  กว้าง 20 เมตร  ยาว 30 เมตร  สูง 2.5  เมตร  พร้อมอาคารประกอบ 1 แห่ง  ขุดลอกลำห้วยคำจำปาและหน้าฝายปริมาตรดินขุด 35,600 ลูกบาศก์เมตร  พร้อมก่อสร้างท่อรับน้ำ 2 แห่ง  ขุดลอกสระเก็บน้ำขนาดกว้าง 90 เมตร  ยาว 150 เมตร  ลึก 1.5 เมตร  พร้อมอาคารประกอบ 1 แห่ง  และขยายเขตไฟฟ้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำด้วยท่อยาว 1,240 เมตร

ประโยชน์ของโครงการ

สามารถส่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ    บ้านจันทร์ ได้แก่  การเกษตร  การปลูกพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร ฯลฯ ได้อย่างเพียงพอ และเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตรให้แก่ราษฎรบ้านจันทร์ หมู่ที่ 1   170 ครัวเรือน  780 คน  สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรของราษฎรครอบคลุมพื้นที่ 490 ไร่  อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องทำให้ราษฎรมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

        ดำเนินการขุดลอกสระเก็บน้ำภายในฟาร์มตัวอย่างบ้านจันทร์                                   จุดขุดลอกลำห้วยคำจำปา

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

เมื่อปีงบประมาณ 2550 กรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายห้วยคำจำปา และขุดลอกสระเก็บน้ำ ความจุประมาณ 20,250 ลูกบาศก์เมตร เพื่อสนับสนุนน้ำให้แก่กิจกรรมภายในโครงการฯ ทำให้สามารถเริ่มดำเนินกิจกรรมพัฒนาด้านต่างๆ ได้ในปีงบประมาณ 2551 ดังนี้

กิจกรรมข้าว ในช่วงฤดูฝน (สิงหาคม – ธันวาคม) สลับกิจกรรมการปลูกผักอนามัยช่วงฤดูหลังนา พื้นที่ 30 ไร่

                                     -   พืชผักอนามัย อาทิ ผักกาดหอม, ผักบุ้ง, ฟักทอง, พริกและมะเขือ เป็นต้น

กิจกรรมประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง, บ่อดินและบ่อพลาสติก  การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

                  การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง, บ่อดินและบ่อพลาสติก                                          การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

กิจกรรมปศุสัตว์

     -   การเลี้ยงหมู ได้แก่ หมูพันธุ์จินหัว และหมูลูกผสม 3 สายพันธุ์

     -   การเลี้ยงเป็ดเทศ, ไก่พันธุ์สามสายเลือด และไก่พื้นบ้าน

กิจกรรมเลี้ยงแมลง (จิ้งหรีดทองดำ และจิ้งหรีดทองขาว)

กิจกรรมไม้ผล อาทิ แก้วมังกร และองุ่นไร้เมล็ด เป็นต้น

กิจกรรมขยายพันธุ์พืช อาทิ การปักชำไม้ประดับ, การผลิตกิ่งพันธุ์   ไม้ผล และการพักกล้าไม้ เป็นต้น

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve