โครงการ ช่วยเหลือราษฎรบริเวณลำห้วยทวน(ขุดลอกลำห้วยทวนตอนบน)

สถานที่ตั้ง

ตำบล ศรีสุทโธ อำเภอ บ้านดุง จังหวัด อุดรธานี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการช่วยเหลือราษฎรบริเวณลำห้วยทวน

จังหวัดอุดรธานี

เรื่องเดิม

1. เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกำแมด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และมีพระราชดำริให้ กรมชลประทาน พิจารณาขุดลอกลำห้วยทวน

2. เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ กรมชลประทาน พิจารณาแนวทางช่วยเหลือราษฎรบริเวณสองฝั่งลำห้วยทวนให้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตรอย่างพอเพียง รวมทั้งให้พิจารณาแก้ปัญหาการกระจายดินเค็มบริเวณฝั่งของลำห้วยทวนในระยะยาวให้ได้มากที่สุด

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. ขุดลอกลำห้วยทวน ขนาดก้นกว้าง 4 เมตร ลึกเฉลี่ย 3.50 เมตร ลาดด้านข้าง 1:2 ยาว 26.90 กิโลเมตร

ประโยชน์ของโครงการ

เพื่อให้ราษฎร จำนวน 11 หมู่บ้าน 1,558 ครัวเรือน 7,930 คน ของอำเภอทุ่งฝน , อำเภอบ้านตุง จังหวัดอุดรธานี มีน้ำใช้สำหรับอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ การประมงและทำการเกษตรได้ตลอดปี

ขุดลอกลำห้วยทวน ความยาว 26.90 กิโลเมตร เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ทำการเกษตร

2. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำลำห้วยทวน

2.1 ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายห้วยทวน 1 ขนาดสันฝาย กว้าง 22 เมตร สูง 2 เมตร พร้อมอาคารประกอบ และขุดลอกลำห้วยขนาดคันกว้าง 25 เมตร ยาว 1,140 เมตร ลึก 3 เมตร

2.2 ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายห้วยทวน 2 ขนาดสันฝาย กว้าง 34 เมตร สูง 3 เมตร พร้อมอาคารประกอบ และขุดลอกลำห้วยขนาดคันกว้าง 26 เมตรยาว 1,125 เมตร ลึก 3 เมตร

ประโยชน์ของโครงการ

1. ราษฎร จำนวน 3 หมู่บ้าน 390 ครัวเรือน 1,950 คน มีน้ำอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี

2. สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 1,400 ไร่

      ฝายห้วยทวน 1 ขนาดสันฝายกว้าง 22 เมตร สูง 2 เมตร                                    ฝายห้วยทวน 2 ขนาดสันฝายกว้าง 34 เมตร สูง 3 เมตร 

      พร้อมอาคารประกอบ                                                                                            พร้อมอาคารประกอบ 

ผลการดำเนินงาน ปี 2544

จังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดพื้นที่ของเขตการทำนาเกลืออย่างชัดเจนและใช้มาตรการกฎหมายควบคุมผู้ประกอบการให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด กรมชลประทาน ได้ดำเนินการขุดลอกลำห้วยทวน ยาว 26.9 กิโลเมตร เพื่อกักเก็บน้ำจืดและระบายน้ำ เพื่อเจือจางน้ำเค็มดังกล่าว และทำคันดินเพื่อป้องกันน้ำเค็มไหลลงลำห้วยทวนอีกด้วย

ประโยชน์ของโครงการ

สามารถบรรเทาปัญหาน้ำเค็มได้และราษฎรตำบลโพนสูงและตำบลศรีสุทโธ จำนวน 8 หมู่บ้าน 2,396 ครัวเรือน

หมู่บ้านบริเวณห้วยทวนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเกลือและจะทิ้งน้ำเกลือลงในลำห้วยทวน

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve