โครงการ ถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรีเขตบางกอกน้อย

สถานที่ตั้ง

จังหวัด กรุงเทพมหานคร

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรีเขตบางกอกน้อย 

 

พระราชดำริ

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะจากการย้ายที่อยู่อาศัยของประชาชนที่ไปบุกรุกที่ของการรถไฟ ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “...ต่อไป โครงการที่ 3 คือ สร้างทางในที่ที่ยังไม่มีทาง. อันนี้เกิดขึ้นที่ใกล้สถานีบางกอกน้อย ระหว่างสถานีบางกอกน้อย คือ ปลายถนนอิสรภาพ เชื่อมกับถนนจรัญสนิทวงศ์. ตรงนั้นเป็นที่ของการรถไฟ เป็นที่ลุ่มมีทางเดินเข้าไป ไม่ทะลุแล้วก็ขลุกขลัก. ทางกรุงเทพมหานครได้ไปจัดการ. มีบ้านคนที่บุกรุกที่ของรถไฟบ้าง. แต่ก็ได้ย้ายบ้านเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นที่พอใจของผู้บุกรุก ให้ที่เขาอยู่ ไม่เดือดร้อน. ทางกำลังสร้างยังไม่เสร็จ. ต้องถมทราย เดี๋ยวนี้ได้กรุยมาเรียบร้อย เป็นระยะ 600 เมตร ยังไม่ได้มีการถม ยังไม่ครบ. แต่เมื่อครบแล้วก็จะเป็นทางที่จะทะลุ จากถนนอิสรภาพซึ่งตัน. ถนนอิสรภาพนี่ ต้องเลี้ยวขวามาเข้าที่ถนนอรุณอมรินทร์. จากตรงนั้นก็จะสามารถเชื่อมกับจรัญสนิทวงศ์. เข้าใจว่าจะช่วยการสัญจรขึ้นเล็กน้อย...”

 

ถนนสุทธาวาส (Thanon Sutthawat) เป็นถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (สายธนบุรี) ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใกล้สถานีรถไฟธนบุรี พื้นที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากปลายถนนอิสรภาพ จุดบรรจบถนนรถไฟ เลียบทางรถไฟสายใต้ด้านขวาทาง ผ่านวัดสุทธาวาส มาสิ้นสุดที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ตรงข้ามกับจุดเริ่มต้นของถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ใกล้แยกบางขุนนนท์

ถนนสายนี้เป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณสามแยกไฟฉาย และเป็นเส้นทางลัดเชื่อมต่อไปยังย่านสำคัญ ได้แก่สถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช และตลาดพรานนก

ประวัติ

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช และได้ทรงศึกษาพื้นที่โดยรอบอย่างละเอียด จึงมีพระราชดำริที่จะขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี จากช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ระยะทางประมาณ 600 เมตร ซึ่งสภาพเดิมเป็นถนนคอนกรีตจากปลายถนนอิสรภาพเข้าไปประมาณ 230 เมตร ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 380 เมตรเป็นที่ลุ่ม มีบ้านเรือน เพิงพักอาศัย และมีทางเดินตามแนวทางรถไฟจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยกรุงเทพมหานครได้รับสนองแนวพระราชดำริและได้ขออนุญาตใช้ที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2536 ใช้งบประมาณดำเนินการ 16.5 ล้านบาท ประกอบด้วยงบประมาณกรุงเทพมหานคร ทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินบริจาคเพิ่มเติม เปิดการจราจรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามถนนสายนี้ตามชื่อวัดในบริเวณดังกล่าวว่า “ถนนสุทธาวาส”[1]

ผลการดำเนินงาน

โครงการก่อสร้างถนนเลียบรถไฟสายใต้

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ช่วงเวลาเสด็จฯ ไปโรงพยาบาลศิริราชเพียงไม่นานได้ทรงงานและทรงศึกษาสภาพพื้นที่บริเวณโดยรอบอย่างละเอียดจึงมีพระราชดำริว่า สามารถขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี จากช่วงปลายถนนอิสรภาพ ถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งสภาพเดิมจากปลายถนนอิสรภาพเข้าไปประมาณ ๒๓๐ เมตร เป็นถนนคอนกรีต ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๓๘๐ เมตรเป็นที่ลุ่ม มีบ้านเรือน เพิงพักอาศัย และมีทางเดินตามแนวทางรถไฟ จนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถึงแนวพระราชดำริในการตัดถนนสายนี้ตอนหนึ่งว่า ต่อไปโครงการที่ ๓ คือ สร้างทางในที่ที่ยังไม่มีทาง อันนี้เกิดขึ้นที่ใกล้สถานีบางกอกน้อยระหว่างสถานีบางกอกน้อย คือ ปลายถนนอิสรภาพเชื่อมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ ตรงนั้นเป็นที่ของการรถไฟ เป็นที่ลุ่มมีทางเดินเข้าไป ไม่ทะลุแล้วก็ขลุกขลัก ทางกรงเทพมหานครได้ไปจัดการ มีบ้านคนที่บุกรุกที่ของรถไฟบ้าง แต่ก็ได้ย้ายบ้านเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นที่พอใจของผู้บุกรุก ให้ที่เขาอยู่ ไม่เดือดร้อน ทางกำลังสร้างยังไม่เสร็จ ต้องถมทรายเดี๋ยวนี้ได้กรุยมาเรียบร้อย เป็นระยะ ๖๐๐ เมตร ยังไม่ได้มีการถม ยังไม่ครบ แต่เมื่อครบแล้วก็จะเป็นทางที่จะทะลุ จากถนนอิสรภาพซึ่งต้น ถนนอิสรภาพนี่ต้องเลี้ยวขวามาเข้าที่ถนนอรุณอมรินทร์ จากตรงนั้นก็สามารถเชื่อมจรัญสนิทวงศ์ เข้าใจว่าจะช่วยการสัญจรขึ้นเล็กน้อย โครงการนี้ได้ให้เงินส่วนหนึ่ง แต่ว่าไม่พอ ต้องใช้เงินงบของกรุงเทพมหานคร และเงินบริจาคเพิ่มเติม ราคาก็ไม่ใช่น้อยแต่ก็จะช่วยแก้ปัญหาจราจร เมื่อกรุงเทพมหานครรับสนองแนวพระราชดำริแล้ว ได้ขออนุญาตใช้ที่ดดินริมทางรถไฟสายธนบุรีในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์จากการทางรถไปแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ช่องจราจร มีระยะทาง ๖๑๐ เมตร มีเขตทางกว้าง ๑๐ เมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๖ งบประมาณดำเนินการ ๑๖.๕ ล้านบาท และได้เปิดการจราจรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนสุทธาวาส”ตามชื่อวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว

          ถนนสุทธาวาส ได้ช่วยบรรเทาปริมาณรถยนต์ที่ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บรรจบกับถนนพรานนก(สามแยกไฟฉาย) ให้น้อยลง ซึ่งทำให้การจราจรที่ถนนจรัญสนิทวงศ์คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่จะไปสู่จุดชุมชนในย่านสำคัญๆ เช่น สถานีรถไฟสายธนบุรีโรงพยาบาลศิริราช ตลาดพรานนกได้อีกด้ว 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร

curve