โครงการ ฝายทดน้ำบ้านลำเหยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

อำเภอ บ่อพลอย จังหวัด กาญจนบุรี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

ฝายทดน้ำบ้านลำเหยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

------------------------------------------

พระราชดำริ

                   เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริกับเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการ กปร. ณ อาคารชัยพัฒนาในสวนจิตรลดา สรุปความว่าให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสาขาต่าง ๆ ตามลุ่มน้ำห้วยตะเพินในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และเขตอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือสำหรับทำการเพาะปลูกและอุปโภค-บริโภคตลอดทั้งปี ควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณตอนบนของห้วยตะเพิน ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีทำเลที่เหมาะสมมากพร้อมกับสร้างฝายทดน้ำทางด้านท้ายอ่างเก็บน้ำดังกล่าวในลำน้ำสายนี้เป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรตำบลต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำ และเพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการและของราษฎรอยู่เป็นประจำ

                   เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ในการประชุมคณะกรรมการ  กปร.  นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กปร. ได้แจ้งให้คณะกรรมการ กปร. ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้พิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในเขตพื้นที่ติดต่อระหว่างจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และพื้นที่อื่นที่เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

ผลการดำเนินงาน

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การก่อสร้างฝายทดน้ำบ้านลำเหย เป็นฝาย คสล ขนาด 4.00X 25.80 เมตร และเป็นแผนงาน/โครงการหนึ่งที่สนองพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำลำตะเพิน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอบ่อพลอย

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บริเวณที่จะก่อสร้างฝายทำน้ำบ้านลำเหย อยู่ห่างจากอ่างเก็บน้ำลำตะเพินอันเนื่องมาจากพระราชำริ ประมาณ 47 กิโลเมตร เมื่อดำเนินการตามโครงการนี้แล้วเสร็จ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ 2 หมู่บ้าน จำนวน 320 ครัวเรือน ประชากร 1,280 คน มีน้ำบนผิวดินและใต้ดินไว้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพาะปลูกในฤดูฝน 4,000 ไร่ ฤดูแล้ง 500 ไร่ โดยราษฎรในพื้นที่รับประโยชน์ได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ในระยะต่อไปโครงการนี้ยังสามารถช่วยผันน้ำส่วนหนึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากไปช่วยเหลือ ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ราษฎรมีขวัญ และกำลังใจในการการประกอบอาชีพ รักถิ่นฐาน มีรายได้เพิ่มขึ้นและส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา

 
 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve