โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล แก่งดินสอ อำเภอ นาดี จังหวัด ปราจีนบุรี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแก่งยาว ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

ที่ตั้งโครงการ    บ.แก่งยาว  ต.แก่งดินสอ  อ.นาดี  จ.ปราจีนบุรี

พระราชดำริ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสกับอธิบดีกรมชลประทานให้พิจารณาวางโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำห้วยพระปรงและลุ่มน้ำห้วยโสมง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปราจีนบุรี พร้อมทั้งได้พระราชทานข้อมูลที่ทรงวางโครงการไว้ ให้อธิบดีกรมชลประทานใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรใช้ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี นอกจากนี้ ยังมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการห้วยโสมงในอีกหลายโอกาส 

สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็น

1) ปัญหาการเกิดอุทกภัยในพื้นที่

พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีประสบปัญหาการเกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในพื้นที่ มาโดยตลอด โดยในปี พ.ศ.2547 ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี พบว่ามีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย  ซึ่งเกิดจากปริมาณน้ำนองในลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขา (รวมลุ่มน้ำห้วยโสมง) ในเขตพื้นที่อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี รวมกว่า 117 หมู่บ้าน นอกจากนั้นในปีพ.ศ.2549 มีพื้นที่ประสบภัยใน 2 อำเภอดังกล่าวรวมกว่า 207 หมู่บ้าน สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรกว่า 49,316 ไร่ พื้นที่ทำการประมง/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 289 ไร่ และถนน 360 สาย ซึ่งปัญหาการเกิดอุทกภัยยังคงสร้างความเสียหายให้แก่ราษฎรในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

2) ปัญหาการเกิดภัยแล้งในพื้นที่

ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่การเกษตรบริเวณด้านท้ายน้ำห้วยโสมง ในเขตพื้นที่อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรได้ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ส่วนช่วงฤดูแล้งหรือช่วงฝนทิ้งช่วงจะไม่สามารถทำการเกษตรได้เนื่องจากการขาดแคลนน้ำ ยกเว้นในพื้นที่ลุ่มต่ำริมห้วยโสมงและลำน้ำสาขาที่พอจะมีปริมาณน้ำไหลบ้าง จะมีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของแหล่งชุมชนต่างๆ จะขาดแคลนในช่วงฤดูแล้งเช่นกัน (เดือนธันวาคม-เดือนเมษายน) เนื่องจากไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยในปี พ.ศ.2551 จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ที่ได้รับประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง 582 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 64 ตำบล โดยอยู่ในเขตอำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรีกว่า 190 หมู่บ้าน ดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาโครงการห้วยโสมงจะทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

          คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552    อนุมัติให้กรมชลประทานเริ่มดำเนินการโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี ระยะเวลาดำเนินการโครงการทั้งสิ้น 9 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2561) วงเงินโครงการทั้งสิ้น 8,300 ล้านบาท

          ผลประโยชน์ของโครงการ  

1. เป็นแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนจำนวน 111,300 ไร่ และฤดูแล้งจำนวน 45,000 ไร่  ในเขตอำเภอนาดี  และอำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี

2. ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขาในเขตพื้นที่ อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

3. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรและการประปา

4. ช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำบางปะกง

5. อ่างเก็บน้ำจะเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ ทำให้โอกาสการเกิดไฟไหม้ป่าลดลง หรือหากเกิดไฟป่าก็จะมีแหล่งน้ำต้นทุนที่จะสามารถนำน้ำมาใช้ดับไฟป่าได้

ผลการดำเนินงาน

1) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2553-2561) งบประมาณ 8,300 ล้านบาท

2) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 นายกรัฐมนตรี (ประธาน กปร.) อนุมัติงบประมาณประจำปี 2553 จำนวน 77.77 ล้านบาท ให้แก่กรมชลประทาน เพื่อดำเนินการเตรียมงานเบื้องต้นและงานประชาสัมพันธ์ของโครงการ

3) เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 นายกรัฐมนตรี ประธาน กปร. ลงนามคำสั่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ 1/2553 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย

          (1) คณะกรรมการบริหารโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          (2) คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์

          (3) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินและจัดแปลงอพยพ

(4) คณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี  และนายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี พร้อมกับเลขาธิการ กปร. ติดตามการดำเนินงานโครงการ

5) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 กรมชลประทาน ทำสัญญาว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

6) ในปี 2554 นายกรัฐมนตรี (ประธาน กปร.) อนุมัติงบประมาณ ให้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี กองทัพภาคที่ 1 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปราจีนบุรี กรมป่าไม้  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมประชาสัมพันธ์ และกรมชลประทาน จำนวน 13,416,100 บาท

7) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี

8) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554 ได้มีการจ่ายค่าชดเชยรวมจำนวน 399 ล้านบาท

9) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 กรมชลประทานได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้รับจ้างกิจการร่วมค้า วีซีอีซี ประกอบด้วย บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด และเข้าทำงานประมาณเดือนพฤษภาคม 2554 ปัจจุบันอยู่ขั้นตอน สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา

 

          การดำเนินงานโครงการ

1. การศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม แล้วเสร็จ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546  และต่อมาได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่มรดกโลกเพิ่มเติม แล้วเสร็จเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2550

2. การออกแบบรายละเอียดโครงการ แล้วเสร็จ เดือนสิงหาคม 2544

3. การจัดหาที่ดิน  (เขื่อนหัวงานและอ่างเก็บน้ำ)

- พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและปางสีดา 1,645 ไร่ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสองบางส่วนเพื่อก่อสร้างโครงการ

- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ   4,527  ไร่ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนออธิบดีกรมป่าไม้มีมติเห็นชอบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อก่อสร้างโครงการ เมื่อ 25 มีนาคม 2548  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมป่าไม้

- พื้นที่เขต สปก. 10,919 ไร่ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) อนุญาตในหลักการให้กรมชลประทานใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการแล้วเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2552

4.  แผนงานก่อสร้างโครงการ

- งานเตรียมงานเบื้องต้น ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ได้รับงบประมาณจากสำนักงาน กปร. จำนวน 77.774 ล้านบาท

- งานเขื่อนหัวงานฯ ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2558

- งานระบบส่งน้ำและระบายน้ำ ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2555-2561

5. เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด กรมชลประทานได้เสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี  และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  โดยนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการดังกล่าวแล้ว

ระยะเวลาดำเนินการ     ปี 2553 – 2561

หน่วยงานรับผิดชอบ      โครงการชลประทานปราจีนบุรี   กรมชลประทาน

 

ผลประโยชน์ของโครงการ

1) เป็นแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนจำนวน 111,300 ไร่ และฤดูแล้งจำนวน 45,000 ไร่ ในเขตอำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

2) ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขา ในเขตพื้นที่อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

3) เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรและการประปา

4) ช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำ

5) อ่างเก็บน้ำจะเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ ทำให้โอกาสการเกิดไฟไหม้ป่าลดลง หรือหากเกิดไฟป่าก็จะมีแหล่งน้ำต้นทุนที่จะสามารถนำน้ำมาใช้ดับไฟป่าได้


แผนที่แสดงพื้นที่การเกษตรชลประทาน จำนวน 111,300 ไร่

 

 
 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve