โครงการ ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้) จังหวัดสมุทรปราการ

สถานที่ตั้ง

จังหวัด สมุทรปราการ

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้)

สมุทรปราการ 

 

 

พระราชดำรัส

"...อนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่าวงแหวนเพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว..."

พระราชดำรัสเนื่องในพระราชพิธีรัชดาภิเษก ครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔

 

ผลการดำเนินงาน

ถนนกาญจนาภิเษก หรือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานครนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยาด้วย ตลอดทั้งสายมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ ด้านเหนือ คือ สะพานเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และด้านใต้ คือ สะพานกาญจนาภิเษก จังหวัดสมุทรปราการ มีระยะทางทั้งหมดรวม 168 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในช่วงตลิ่งชัน-บางบัวทอง จนเสร็จสมบูรณ์ครบทุกส่วนในปี พ.ศ. 2550

ถนนกาญจนาภิเษกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เดิมมักเรียกกันว่า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 ตัดผ่านฝั่งธนบุรี เข้าสู่จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี ไปสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญชื่อ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นชื่อเรียกถนนสายนี้ (และกรมทางหลวงได้เปลี่ยนหมายเลขทางหลวงของถนนสายนี้ จากทางหลวงหมายเลข 37 เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข "9") หลังจากนั้นจึงได้มีการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกและด้านใต้ขึ้นตามมาเป็นตอน ๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสร้างสูงมาก

ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) ได้เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทำให้ถนนวงแหวนรอบนอกสามารถใช้งานได้ครบทุกด้าน โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6-8 ช่องจราจรเนื่องจากที่ดินบริเวณแนวการก่อสร้างนั้นอ่อนมาก ระยะทาง 34 กิโลเมตร แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงบางขุนเทียน-สุขสวัสดิ์ และช่วงสุขสวัสดิ์-บางพลี ซึ่งช่วงที่สองนี้เป็นส่วนของ ทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ โดยมีการก่อสร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง ที่ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานกาญจนาภิเษก" พร้อมด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร ซื่งเป็นระบบปิด เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 รวมจำนวน 29 ด่าน

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร

curve