โครงการ พัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานที่ตั้ง

อำเภอ แก่งคอย จังหวัด สระบุรี

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงาการพัฒนาแหล่งน้ำในที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

-----------------------------

พื้นที่ดำเนินการ

                    ที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย มีพื้นที่จำนวน 3,300 ไร่ สามารถแบ่งตามที่มาของพื้นที่ได้ 2 ส่วน คือ

                    ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่กรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จำนวน 2,630 ไร่                      

                    ส่วนที่ 2 พื้นที่มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มอบให้ใช้ประโยชน์ จำนวน 732 ไร่

การดำเนินงาน  

                   1. ปี พ.ศ. 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่โดยมุ่งหวังจะให้เป็นสถานที่พัฒนาด้านวิชาการและการวิจัยของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นที่ฝึกงานของนิสิตภาคอุตสาหกรรม โดยวางแผนแบ่งเขตการดำเนินงานเป็น 5 เขต ประกอบด้วย เขตพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เขตศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เขตโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตบริการวิชาการและการศึกษา และเขตบริหารจัดการ โดยปัจจุบันมีอาคารสำนักงานบริหารและอาคารประกอบรวม 5 อาคาร บุคลากรจำนวน 15 คน เป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน และบุคลากรของบริษัทที่ดูแลสถานที่จำนวน 12 คน

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

                   2. แหล่งน้ำในพื้นที่และการใช้ประโยชน์ ภายในที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอ่างเก็บน้ำ 1 แห่งขนาดความจุ 700,000 ลูกบาศก์เมตร แต่มีน้ำปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่าง 900,000 ลูกบาศก์เมตร และมีสระเก็บน้ำ2 สระ ขนาด 200,000 และ 65,000 ลูกบาศก์เมตร และมีการใช้น้ำเฉลี่ยประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร ในกิจกรรมของอาคารสำนักงาน กิจกรรมฟาร์มเลี้ยงหญ้าอาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นงานสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนั้น ในช่วงฤดูแล้งยังส่งน้ำให้เกษตรกรบริเวณใกล้เคียงใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรตามที่ร้องขอ โดยเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2555 ราษฎรจะเข้ามาเปิดประตูน้ำเอง แต่ในปีพ.ศ. 2556 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดระบบจัดสรรน้ำให้แก่ราษฎร

                   3. ปี พ.ศ. 2553 โครงการชลประทานสระบุรี ได้ทำการปรับปรุงฝายทดน้ำโคกกรุง พร้อมขุดลอกตะกอนดินหน้าฝายและสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบริเวณหน้าฝาย อัตราการสูบ 0.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีพร้อมท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.60 เมตร ความยาว 1.5 กิโลเมตร เพื่อไปเติมอ่างเก็บน้ำในที่ดินจุฬาฯ ปัจจุบันยังไม่มีการสูบน้ำไปเติมเนื่องจากมีน้ำเต็มอ่างอยู่แล้ว

(ซ้าย) แนวลำรางที่นำไปไปเลี้ยงพื้นที่สีเขียวภายในบริเวณที่ดินฯ 

    (ขวา) อ่างเก็บน้ำขนาด 700,000 ลูกบาศก์เมตร  ภายในที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

แนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำในอนาคต

                 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับโครงการชลประทานสระบุรี มีแผนการบริหารจัดการน้ำ 2 แนวทาง ประกอบด้วย

                  (1) เพิ่มความสูงของสันอ่างให้สามารถกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 700,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อนำน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำบ้านดง ซึ่งมีปริมาณปีละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตรมาเก็บไว้และนำมาบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง

                   (2) วางระบบท่อส่งน้ำจากอ่างแล้วส่งด้วยระบบ Gravity เพื่อใช้ประโยชน์ตามกิจกรรมต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนรักษาความชุ่มชื้นในบริเวณป่าเสื่อมโทรมเพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าที่เกิดเป็นประจำในฤดูแล้ง รวมทั้งช่วยพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณใกล้เคียง

 

------------------------------------------

 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา

curve