โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ทัพราช อำเภอ ตาพระยา จังหวัด สระแก้ว

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หมู่ที่ 8 บ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

1.  ความเป็นมา

          เมื่อวันที่  8  เมษายน  2507  กระทรวงมหาดไทย ได้ตั้งคณะกรรมการประสานนโยบาย และปฏิบัติการเคลื่อนที่ เพื่อปฏิบัติในท้องถิ่นห่างไกลและกันดาร ซึ่งได้พิจารณาวางแผนปรับปรุงอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี โดยทำเหมืองฝายเก็บกักน้ำ และกรมชลประทาน ได้รับงบประมาณการก่อสร้างฝาย โดยคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออก เป็นผู้จัดหาให้กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างฝายในปี พ.ศ.2508  และได้ส่งมอบให้กับจังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ.2511

          ในปีงบประมาณ  2513  กรมชลประทาน ได้รับงบประมาณ เพื่อการก่อสร้างโครงการห้วยยาง แต่ดำเนินการไม่ได้ เนื่องจากรายละเอียดยังไม่พร้อม ต่อมาในปีงบประมาณ  2514 – 2516  ได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ดังนี้ คือ ตัดถนนเข้าหัวงาน สร้างที่ทำการบ้านพักโรงเรือนชั่วคราว สำรวจทางธรณีวิทยา สำรวจแนวคลองส่งน้ำ และดำเนินการขออนุมัติใช้ที่ดินในเขตป่าสงวน ซึ่ง กรมป่าไม้ได้ตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนจรี ได้ลงมติอนุมัติให้กรมชลประทานเข้าดำเนินการได้ เมื่อวันที่  13  มีนาคม  2516

          ในปีงบประมาณ  2517  กรมชลประทาน ได้ระงับการก่อสร้างไว้ก่อน เพื่อศึกษารายละเอียดข้อมูล และเร่งรัดให้กองวางโครงการดำเนินจัดทำรายงานความเหมาะสม เพื่อเสนอบรรจุเข้าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  4  (พ.ศ.2520-2524)  ซึ่งกองวางโครงการ ได้จัดทำรายงานดังกล่าวเสร็จเรียบร้อย เมื่อเดือนธันวาคม  2519  แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้น มีปัญหาด้านงบประมาณและอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องระงับการก่อสร้างโครงการห้วยยางไว้อีกครั้งหนึ่ง

          ต่อมาเมื่อวันที่  18  สิงหาคม  2525  ประชาชนอำเภอตาพระยา ได้มีหนังสือร้องเรียนขอให้สร้างโครงการชลประทานในเขตอำเภอตาพระยา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอให้ กรมชลประทาน พิจารณา กรมชลประทาน จึงพิจารณาทบทวนโครงการห้วยยาง เพราะโครงการนี้ สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่พื้นที่อำเภอตาพระยา หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา และเป็นประโยชน์แก่ทางการทหารอีกด้วย คณะรัฐมนตรี จึงมีมติให้กรมชลประทานเปิดการก่อสร้างโครงการห้วยยางได้ เมื่อวันที่  13  พฤษภาคม  2529

 

2.  ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

          อ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตั้งอยู่หมู่ที่  8  บ้านโคกกราด  ตำบลทัพราช  อำเภอตาพระยา  จังหวัดสระแก้ว  ตามแผนที่  1 : 50,000  ของกรมแผนที่ทหาร ระวาง  5537 III  พิกัด  48 PTA 463513  ละติจูด  14ํ - 00?-40?  ลองติจูด  102ํ - 38?- 50?  เป็นพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าตาพระยา และป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกสูง มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ  194.5  ตารางกิโลเมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ  9,600  ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่รับน้ำเป็นทุ่งนาประมาณ  2%  ป่าโปร่ง  8%  และป่าทึบ  80%  ภูเขาสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนขอบของพื้นที่รับน้ำฝน มีดังนี้ ด้านทิศเหนือติดเขาพรานนุช เขาสะแกกรอง และเขาวง ด้านใต้ ติดเขาคันนา ด้านตะวันตกติดเขาทลาย และเขาห้วยชัน

          ลำน้ำห้วยยาง มีต้นกำเนิดจากภูเขาสูง คือเขาห้วยชันและเขาวง ไหลจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ไปบรรจบกับลำน้ำสะโตน ที่สระแง กลายเป็นแม่น้ำ SWAY JIG  ในเขตประเทศกัมพูชา ความยาวของลำน้ำห้วยยางประมาณ  75  กิโลเมตร ส่วนความยาวจนถึงจุดที่ตั้งเขื่อน ประมาณ  37  กิโลเมตร ลักษณะความลาดเอียงของลำน้ำตอนต้นเฉลี่ย  0.002  ตอนกลางเฉลี่ย  0.0025  ลำน้ำห้วยยางนี้ มีลำน้ำสาขา คือ ห้วยอีลาย และห้วยอีลายน้อย

          เส้นทางคมนาคม ที่ใช้ติดต่อกับโครงการฯ ใช้ถนนเข้าหัวงานโครงการฯ ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข  3068  สายอำเภออรัญประเทศ – อำเภอตาพระยา ตรงกิโลเมตรที่  35+640  สภาพถนนเข้าหัวงานฯ เป็นถนนลูกรังโดยตลอด ระยะทางจากทางแยกถงหัวงานโครงการฯ ประมาณ  14  กิโลเมตร ที่ตั้งหัวงานโครงการฯ ห่างจากจังหวัดสระแก้ว ประมาณ  100  กิโลเมตร  อำเภออรัญประเทศ ประมาณ  50  กิโลเมตร และอำเภอตาพระยา ประมาณ  20  กิโลเมตร

 

 

3.  วัตถุประสงค์

          เพื่อให้มีแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรอย่างสมบูรณ์แบบในเขตโครงการฯ และเพื่อให้มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ในเขตพื้นที่อำเภอตาพระยา

4.  ลักษณะโครงการ

          4.1  ทำนบดิน
                 ทำเลที่สร้างทำนบดิน  แผนที่ระวาง  5537 III  พิกัด  48 PTV  463513
                 พื้นที่รับน้ำฝน                                                       194.50     ตร.กม.
                 ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี                                           1,193.00     มม.
                 ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ                                   70.00              ล้าน ลบ.ม.
                 ทำนบดิน สูง                                                        17.00      ม.
                 ทำนบดินกว้าง                                                         8.00     ม.
                 ทำนบดิน ยาว                                                     3,200.00     ม.
                 ระดับสันทำนบ                                                     +108.00             ม. (รสม.)
                 ระดับน้ำสูงสุด                                                      +106.70     ม. (รสม.)
                 ระดับน้ำเก็บกัก                                                    +105.00             ม. (รสม.)
                 ความจุอ่างเก็บน้ำ                                                     60.00     ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด (+97.000 ม. (รทก.))                4.00              ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำสำรองใช้งาน                                      56.00     ล้าน ลบ.ม.
                 พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด (ประมาณ  11,375  ไร่)               18.20     ตร.กม.

          4.2  ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ
                 - อาคารระบายน้ำล้น ส้นกว้าง  14.00  ม.  Qmax  175.00  ลบ.ม./วินาที
                 - ทรบ.ปากคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ท่อ คสล.  F 1.00  ม.  Qmax  1.709  ลบ.ม./วินาที
                 - ทรบ.ปากคลองส่งน้ำฝั่งขวา ท่อ คสล.  F 1.50  ม.  Qmax  6.221  ลบ.ม./วินาที
                 - ทางระบายน้ำล้น Morning Glory Spillway O 14.00 ม. ยาว 164.80 ม.
                    Qmax 175.00 ลบ.ม./วินาที  
                 - อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม 1-0 0.50 ม. ยาว 125.20 ม. Qmax 1.10 ลบ.ม./วินาที
                 - อาคารส่งน้ำเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว 3.67 ม. 1-0 1.00
                    ส่งน้ำได้ 1.709  ลบ.ม./วินาที
                 - อาคารส่งน้ำเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ยาว 68.87 ม. 1-0 1.50
                    ส่งน้ำได้ 6.221 ลบ.ม./วินาที
                 - ระบบส่งน้ำฝั่งขวา คลองส่งน้ำ 3 สาย ยาว 47.637.189 กม. มีอาคารในคลอง 239 แห่ง
                 - ระบบส่งน้ำฝั่งซ้าย คลองส่งน้ำ 1 สาย ยาว 5.078.463 กม. มีอาคารในคลอง 27 แห่ง
                 - คลองระบายน้ำคลองขุด 3 สาย ยาว 17.256 กม. มีอาคารในคลอง 57 แห่ง
                 - ขุดลอกคลองห้วยยาง ยาว 1.80 กม. อาคารในคลอง 19 แห่ง
                 - พื้นที่ชลประทาน 40,000 ไร่  ฝั่งขวา 37,480 ไร่ ฝั่งซ้าย 2,520 ไร่

          4.3  ค่าลงทุน
                ทำนบดินพร้อมอาคารประกอบ                                     169.269     ล้านบาท
                งานระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ        301.267     ล้านบาท
                งานเบื้องต้น                                                                      5.263     ล้านบาท
                รวม                                                                   475.799     ล้านบาท

5.  ผลประโยชน์ที่ได้รับ

5.1  สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอตาพระยา จำนวน  40,000  ไร่
          5.2  ช่วยให้มีน้ำสำหรับอุปโภค และบริโภคแก่ราษฎร ประมาณ  100,000  คน
          5.3  บรรเทาและลดอันตรายจากอุทกภัยในพื้นที่โครงการ
          5.4  อ่างเก็บน้ำ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่
          5.5  เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve