โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยชันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ช่องกุ่ม อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยชัน
หมู่ที่  9  บ้านห้วยชัน  ตำบลช่องกุ่ม  อำเภอวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว

1.  ความเป็นมา

          ตามที่กรมชลประทานได้พิจารณาวางโครงการฝายทดน้ำชั่วคราวห้วยพระปรง  โดยอาศัยแผนที่มาตราส่วน  1 : 50,000  และจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2531  และเสร็จในปีเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำของหมู่บ้านห้วยชัน  หมู่บ้านระเบาะหูกวาง  และบ้านห้วย  ตามพระราชดำริเมื่อวันที่  22  มกราคม  2521  จากผลการสำรวจสภาพภูมิประเทศจริงปรากฏว่าพื้นดินมีระดับต่ำกว่าในแผนที่ท้องแม่น้ำลึกมาก  ต้องสร้างตัวฝายสูงราคาค่าก่อสร้างฝายจะสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้  และระดับน้ำเหนือฝายจะท่วมขึ้นไปตามลำห้วยพระปรง  จนถึงบริเวณที่จะสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำห้วยพระปรง  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างเขื่อนในระยะต่อไป  กรมชลประทานจึงได้วางโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยชันขึ้นแทนโครงการฝายทดน้ำชั่วคราวห้วยพระปรง  เพื่อสนองพระราชดำริต่อไป 

2.  ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

          อ่างเก็บน้ำห้วยชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 บ้านห้วยชัน  ตำบลช่องกุ่ม  อำเภอวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว

          ลักษณะภูมิประเทศ เป็นทุ่งและป่าโปร่ง

3.  วัตถุประสงค์

          3.1  เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภค – บริโภค
          3.2  ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก
          3.3  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

4.  ลักษณะโครงการ

          4.1  ทำนบดิน
                 ทำเลที่สร้างทำนบดิน  แผนที่ระวาง  5436 I     พิกัด  48 PTA 249472
                 พื้นที่รับน้ำฝน                                                       43.50     ตร.กม.
                 ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี                                           1,460.00     มม.
                 ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ                                   19.00              ล้าน ลบ.ม.
                 ทำนบดิน สูง                                                        14.50      ม.
                 ทำนบดิน ยาว                                                     1,635.00     ม.
                 ระดับสันทำนบ                                                     +87.50     ม. (รทก.)
                 ระดับน้ำสูงสุด                                                      +87.00     ม. (รทก.)
                 ระดับน้ำเก็บกัก                                                     +86.00     ม. (รทก.)
                 ความจุอ่างเก็บน้ำ                                                       4.00              ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด ( +79.50 )                           0.86              ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำสำรองใช้งาน                                        3.44              ล้าน ลบ.ม.
                 พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด (ประมาณ  781.25  ไร่)                 1.25              ตร.กม.

          4.2  ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ
                 - คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย  ยาว  3.445  กม.  พร้อมอาคารประกอบ          
                 - คลองส่งน้ำฝั่งขวา  ยาว  2.234  กม.  พร้อมอาคารประกอบ  พ.ท. 1,825  ไร่ 
                   80% = 1,460  ไร่
                 - คลองส่งน้ำสายซอย  1  สาย  ยาว  2.14  กม.  พร้อมอาคารประกอบ                 
                 - คลองระบายน้ำ  1  สาย  ยาว  8.600  กม.
                 - ทางระบายน้ำล้น  กม. 0 + 565  ยาว  44.50  ม.  Qmax  81.88  ลบ.ม./วินาที
          4.3  ค่าลงทุน
                งานเขื่อนและอาคารประกอบ                                                     2.63     ล้านบาท
                งานระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ                                   3.40     ล้านบาท
                งานเบื้องต้น  งานถนนเข้าหัวงาน  และงานเบ็ดเตล็ด                  0.30     ล้านบาท
                รวมค่าลงทุน                                                             6.33     ล้านบาท            

 

5.  ผลประโยชน์ที่ได้รับ

5.1  ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านห้วยชัน  บ้านระเบาะหูกวาง  และบ้านห้วย  ทำการเพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ  4,000  ไร่  และในฤดูแล้งได้ประมาณ  1,000  ไร่
          5.2  ช่วยบรรเทาอุทกภัย  สำหรับพื้นที่เพาะปลูกตามริมแม่น้ำห้วยชันท้ายเขื่อน
          5.3  อ่างเก็บน้ำห้วยชัน  จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้เป็นอย่างดี
          เนื่องจากโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยชัน  เป็นโครงการเร่งด่วนมากซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จภายในปี  พ.ศ.2521  เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำในหมู่บ้านดังกล่าว  ดังนั้น  การพิจารณาวางโครงการเป็นประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชดำริ
 

 

 

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve