โครงการ อ่างเก็บน้ำพระปรงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สถานที่ตั้ง

ตำบล ช่องกุ่ม อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

         โครงการอ่างเก็บน้ำพระปรงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หมู่ที่  6  บ้านระเบาะหูกวาง  ตำบลช่องกุ่ม  อำเภอวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว

1. พระราชดำริ

 ปี พ.ศ.2521  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยชัน และเขื่อนเก็บกักน้ำห้วยพระปรงตอนบน

2.  ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

          อ่างเก็บน้ำพระปรง ตั้งอยู่หมู่ที่  6  บ้านระเบาะหูกวาง  ตำบลช่องกุ่ม  อำเภอวัฒนานคร  จังหวัดสระแก้ว ห่างจากอำเภอวัฒนานคร  35  กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองสระแก้ว  65  กิโลเมตร

          ลักษณะภูมิประเทศตอนเหนืออ่างเก็บน้ำ เป็นทิวเขาบรรทัด ซึ่งสลับซับซ้อนไปด้วยป่าไม้มีค่า พื้นที่ท้ายอ่างฯ เป็นที่ราบสูง ลาดเอียงไปทั้งสองด้านในลักษณะสันปันน้ำ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไร่นา และป่าโปร่ง มีที่ราบเชิงเขา และลูกเนินสลับอยู่ประปราย

          ต้นน้ำห้วยพระปรง เกิดจากภูเขาห้วยชันและภูเขียว ในอำเภอวัฒนานคร โดยมีลำห้วยสาขาหลายสาขา คือ ห้วยเสียวใหญ่ ห้วยพลับพลึง ห้วยพระปรงน้อย ห้วยพระปรง ห้วยยาง และห้วยชัน บริเวณอ่างเก็บน้ำ เป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่ากะบาก รวมเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมประมาณ  9,380  ไร่

3.  วัตถุประสงค์

          3.1  เพื่อให้ราษฎรในบริเวณลุ่มน้ำห้วยพระปรงตอนบนมีน้ำอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเพาะปลูก
                 โดยเฉพาะในฤดูแล้ง
          3.2  เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกทั้งในและนอกเขตโครงการฯ ประมาณ  11,319  ไร่
          3.3  เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงบางส่วน

4.  ลักษณะโครงการ

          4.1  ทำนบดิน
                 ทำเลที่สร้างทำนบดิน  แผนที่ระวาง  5436I  พิกัด  48 PTA 219485
                 พื้นที่รับน้ำฝน                                                       264.00     ตร.กม.
                 ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี                                           1,560.00     มม.
                 ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ                                 104.00     ล้าน ลบ.ม.
                 ทำนบดิน สูง                                                        26.00      ม.
                 ทำนบดินกว้าง                                                        8.00     ม.
                 ทำนบดิน ยาว                                                      443.00     ม.
                 ระดับสันทำนบ                                                     +95.00     ม. (รทก.)
                 ระดับน้ำสูงสุด                                                      +92.87     ม. (รทก.)
                 ระดับน้ำเก็บกัก                                                     +91.00     ม. (รทก.)
                 ความจุอ่างเก็บน้ำ                                                     97.00     ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับต่ำสุด (+78.500 ม. (รทก.))                4.00              ล้าน ลบ.ม.
                 ความจุอ่างเก็บน้ำสำรองใช้งาน                                      93.00     ล้าน ลบ.ม.
                 พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด (ประมาณ  10,875  ไร่)               17.40     ตร.กม.

          4.2  ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ
                 - ทางระบายน้ำล้น (Spillway) ชนิดฝายสันโค้ง  กว้าง 27.40 ม.  ยาว 186.90 ม. 
                    Qmax 147.70  ลบ.ม./วินาที
                 - อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet) 1-0 1.50 ม. Qmax 18.543 ลบ.ม./วินาที 
                 - อาคารระบายน้ำล้นฉุกเฉิน (Emergency Spillway) ชนิด Open Channel  กว้าง 60.00 ม.
                    ยาว 687.00 ม.   Qmax 226.553 ลบ.ม./วินาที
                 - อาคารส่งน้ำเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย  1-0 0.90 ม. ส่งน้ำได้สูงสุด 3.922 ลบ.ม./วินาที   
                 - พื้นที่ชลประทาน 11,300 ไร่  
          4.3  ค่าลงทุน
                ทำนบดินพร้อมอาคารประกอบ                                     249.873     ล้านบาท
                งานระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ        222.057     ล้านบาท
                งานเบื้องต้น                                                                     76.190     ล้านบาท
                รวม                                                                  548.120     ล้านบาท

5.  ผลประโยชน์ที่ได้รับ

5.1  ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่โครงการฯ  11,319  ไร่
          5.2  ช่วยให้มีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคแก่ราษฎรในเขตโครงการฯ อย่างสม่ำเสมอ
          5.3  ช่วยบรรเทาผลักดันน้ำเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง
          5.5  เพื่อปรับคุณภาพน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี
          5.6  รักษาระบบนิเวศน์ในคลองธรรมชาติด้านท้ายอ่างฯ
          5.7  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
          5.8  เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

curve