โครงการ อนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของลุ่มน้ำปาย

สถานที่ตั้ง

497.2 ตารางกิโลเมตร จังหวัด แม่ฮ่องสอน

รายละเอียดโครงการ ถอดบทเรียน

โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย อำเภอเมือง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

พระราชดำริ/เรื่องเดิม/ความเป็นมา
 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชทานโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย ต่อมาทรงรับโครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สักและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณป่าลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล 0010.1/1283 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 และทรงพระราชทานชื่อป่าสักดังกล่าวว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี” 

 

ผลการดำเนินการ

ดำเนินการตามแผนงานป้องกันรักษาป่า  โดยการจัดตั้งจุดสกัด ลาดตระเวนและหน่วยพิทักษ์ป่า จำนวน 4 แห่ง   

หน่วยปฏิบัติการที่ 1 บ้านกึ๊ดสามสิบ บ้านนาอ่อน ดำเนินการโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หน่วยปฏิบัติการที่ 2 บ้านห้วยซลอบ  ดำเนินการโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หน่วยปฏิบัติการที่ 3 บ้านมะโนรา ดำเนินการโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หน่วยปฏิบัติการที่ 4 บ้านห้วยปมฝาด ดำเนินการโดย กรมป่าไม้

 

ประโยชน์ที่ที่ได้รับ/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
 

เพื่ออนุรักษ์และศึกษาวิจัยในพื้นที่ลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปาย พื้นที่ดำเนินการ 497.2 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย 344 ตารางกิโลเมตร และในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งขวาตอนล่าง 2.2 ตารางกิโลเมตร และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนล่าง 151 ตารางกิโลเมตร ไว้เป็นแหล่งศึกษา วิจัยด้านพันธุกรรมไม้สัก เสริมสร้างจิตสำนึกชุมชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรัก ความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
 

ภาพประกอบ 

 

 

แผนที่โครงการ

 

 

ที่มา  :  สำนักประสานงานโครงการพื้นที่ 3

ข้อมูล  :  ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2556

สามารถดาวน์โหลด .pdf ได้ที่นี่

  • ประเภทโครงการ : โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

curve