"องค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ "

รายละเอียดองค์ความรู้

 

 

องค์ความรู้จาก"ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้"

 

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการ กปร. และคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑ ณ ศาลาดุสิดาลัย ตอนหนึ่ง ความว่า

          “…ศูนย์ศึกษาที่ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ เป็นที่ทำอะไรไม่ได้ ไม่ค่อยมีใครไปทำการเพาะปลูกใดๆ ไม่มีเลยมีแต่คนที่ไปตัดต้นไม้และคอยตักดินที่อยู่ในเขตนั้น ผู้ที่ตักดินก็ทางราชการนี่เอง ไปสร้างถนนบ้าง อะไรบ้างก็เป็นที่เรียกว่าไม่มีหวังที่จะพัฒนา เวลาตอนแรกบอกว่าขอไป ถ้าได้ที่ที่นี่ไปพัฒนา ก็บอกไม่ไหว บอกว่าจะไปเลี้ยงวัว วัวก็จะอยู่ไม่ได้ ที่ทั้งหมดนั้นเลี้ยงวัวได้ไม่เกิน ๒ ตัว แต่เดี๋ยวนี้ก็มี ๕๐ ตัวขึ้นไป เลี้ยงไก่ได้จริงๆ ประมาณ ๑๐๐ ตัว นอกจากนั้นก็ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ เป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่า สร้างป่าขึ้นมา...”

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ มีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน เป็นแหล่งเรียนรู้การสาธิตตัวอย่างความสำเร็จ ของการพัฒนาพื้นที่ที่เป็นหินกรวดแห้งแล้ง โดยสร้างแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่าด้วยฝายต้นน้ำลำธาร หรือ check dams อนุรักษ์นิเวศลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างเกื้อกูลกัน เป็นรูปแบบการพัฒนาที่เชื่อมโยง “ต้นทางเป็นป่าไม้ ปลายทางเป็นประมง ระหว่างทางเป็นเกษตรกรรม” จัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ โดยพัฒนาป่า ๓ วิธี คือ การปลูกป่าไม้ ๓ อย่าง ได้ประโยชน์ ๔ อย่าง การปลูกป่าในใจคน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้แบบวนเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น และอัตราการระเหยของน้ำลดลง

          จากผลการศึกษาทดลอง มีองค์ความรู้นำไปจัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมขยายผล ดังนี้

          ๑. การพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำด้วยฝายกักเก็บน้ำลำธาร

          ๒. การเพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง

          ๓. การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์กลม

          ๔. การเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อซีเมนต์กลมระบบน้ำไหลผ่าน

          ๕. การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กบบูลฟร็อก

          ๖. เทคนิคและวิธีการเพาะเห็ด

          ๗. เทคนิคและวิธีการเพาะเห็ด

          ๘. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ

          ๙. การเลี้ยงสุกรลูกผสมเหมยซาน

          ๑๐. การเลี้ยงแพะนม

          ๑๑. การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

          ๑๒. การปลูกและขยายพันธุ์ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และพันธุ์ขาวทองดี

          ๑๓. การจัดการดินตื้นเพื่อการผลิตผักอินทรีย์

          ๑๔. การฟื้นฟูดินด้วยปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อการผลิตพืช

          ๑๕. ระบบนิเวศลุ่มน้ำที่ยั่งยืน

          ๑๖. การปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ป่าโปร่ง

          ๑๗. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลุ่มน้ำ

          ๑๘. เกษตรทฤษฎีใหม่

          ๑๙. การผลิตไม้ดอกนอกฤดู

          ๒๐. การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์

 

การเลี้ยงปลาในกระชังและในบ่อซีเมนต์ (๒ ภาพ)

 

การเลี้ยงกบบูลฟร็อก

การเพาะเห็ด

การเลี้ยงไก่

การเลี้ยงโค

การเลี้ยงสุกร

การเลี้ยงแพะนม

การปลูกผัก

การปลูกไม้ผล และส้มโอ


การปลูกหญ้าแฝก

เกษตรทฤษฎีใหม่

      การปลูกไม้ดอก


                                                                                                                                                     กลุ่มนโยบายพิเศษ
                                                                                      ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒

curve