รายละเอียดองค์ความรู้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
ร.9 เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาวิเคราะห์ดินใน เอกสาร“SoilDev การพัฒนาดิน” ที่พระราชทานแก่สำนักงาน กปร.เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ตอนหนึ่งความว่า
“ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพาน : ดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ”
“...เดิมเป็นป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการเกษตรกรรม ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมาก จึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝน ทำให้มีการชะล้าง (erosion) ดินผิว(top soil) บางลง และเกลือที่อยู่ข้างใต้จะขึ้นเป็นหย่อมๆ”
ภาพแรกเริ่มจัดตั้งศูนย์ฯภูพาน
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ มีพระราชดำริกับพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา สรุปความว่า
ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่างๆตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เสด็จฯไปทอดพระเนตรพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน บ้านนานกเค้า อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และมีพระราชดำริ สรุปความว่า
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ควรครอบคลุมถึงการพัฒนาป่าไม้บริเวณต้นน้ำห้วยตาดไฮใหญ่และบริเวณต้นน้ำของอ่างเก็บน้ำภูไม้รวกด้วยโดยให้พิจารณาเป็นพื้นที่พัฒนาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯพื้นที่ประมาณ ๗,๕๐๐ไร่และควรพิจารณาจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้ขึ้นที่ต้นน้ำครอบครัวละประมาณ ๑๐๐ไร่ เพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการพัฒนาป่าไม้ในพื้นที่ดังกล่าว
อ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่
อ่างเก็บน้ำภูไม้รวก
การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ประสบผลสำเร็จด้านผลิตข้าวพันธุ์ดีเหมาะสมกับท้องถิ่น ได้แก่ กข ๖ ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ หรือข้าวหอมภูพาน การปลูกพืชไร่ปลอดภัยจากสารเคมี พันธุ์พืชสวนที่ให้ผลผลิตดี เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ มะละกอ การเพาะเห็ด การปลูกยางพารา หวายดง การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกรภูพาน ไก่ดำภูพาน โคเนื้อภูพาน การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ระบบการทำฟาร์ม การบำรุงดิน การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นต้น
ป่าไม้บริเวณศูนย์ฯภูพาน
กลุ่มนโยบายพิเศษ
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒