องค์ความรู้เรื่อง"ศูนย์ศึกษาการพัฒนา"

รายละเอียดองค์ความรู้

 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนา

         

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จฯ ศูนย์ศึกษาฯ 6 แห่ง

                                           

    ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                                                       

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชินี  เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

                                           

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานความหมายของ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนา” ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการ กปร. และคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑ ณ ศาลาดุสิดาลัย บางตอน ความว่า

           ...เป็นศูนย์หรือเป็นแหล่งที่รวมการศึกษาเพื่อดูว่า ทำอย่างไรจะพัฒนาได้ผล...         

          ...เป็นเหมือนสถานีทดลอง หรืออีกอย่างหนึ่งก็เป็นวิทยาลัย ทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่แค่เป็นสถานที่
ที่ผู้ที่ทำงานในด้านการพัฒนาจะไปทำอะไรอย่างที่เรียกว่า “ทดลอง” ก็ได้ และเมื่อทดลองแล้วจะทำให้ผู้อื่นที่ไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้นได้สามารถเข้าใจว่าเขาทำกันอย่างไร เขาทำอะไรกัน...

          ...เป็นการทำอะไรของฝ่ายหนึ่ง และทำให้ฝ่ายอื่นได้เข้าใจว่าคนอื่นเขาทำอะไรกัน เรียกว่าเป็นการทำให้เจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาได้มีการร่วมมือสอดคล้องกัน...

          ทรงยกตัวอย่างเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาว่า

          ...ศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้น แม้จะมีการปลูกข้าว ก็อาจจะปลูกข้าวในลักษณะต่างกัน หรือดูว่าใน
ภูมิประเทศอย่างนี้เราจะปลูกอย่างไรอาจจะไม่ถูกหลักวิชาก็ได้ แต่ว่าชาวบ้านเขาทำกันอย่างนั้น เราก็ทดลองบ้าง หรือว่าถ้าปลูกข้าวไม่เกิดประโยชน์ก็ลองแก้ไขโดยใช้วิธอื่น ด้านชลประทานก็ได้ หรือด้านพัฒนาที่ดิน หรือด้านวิชาการเกษตร มาประยุกต์เพื่อที่จะได้ผลมากขึ้น รวมทั้งต่อจากปลูกแล้วทำอย่างไร เก็บเกี่ยวอย่างไร เก็บอย่างไร หรือสีอย่างไร ขายอย่างไร ก็หมายความว่าให้สามารถที่จะแก้ปัญหาทั้งต้นทางและปลายทาง...

          ...ศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้มีหลักอยู่ว่า ทำไปแล้วถ้าได้ผลดีก็จดเอาไว้กลายเป็นตำรา ซึ่งหลักของตำราทั้งหลายต้องมาจากประสบการณ์ ฉะนั้น บางทีก็จะเห็นวิธีปลูกข้าวหรือปลูกพืช หรือทำอะไรก็ตามดูท่าทางเหมือนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกหลักวิชา หรือนักวิชาการจะคัดค้าน แต่ว่าทดลองทำแล้วอาจจะได้ผล... อันนี้เป็นประโยชน์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอย่างที่ว่าไม่ใช่สถานีทดลองแต่ว่าเป็นการทดลองแบบที่เรียกว่า “กันเอง” หรือแบบไม่เป็นทางการ

          ...ศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้ ถ้าทำอะไรล้มเหลว ต้องไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องถูกลงโทษ แต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าทำอย่างนั้นไม่เกิดผลหรือจะเป็นผลเสียหายก็เป็นได้ เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วอาจจะทำต่อก็ได้เป็นการแสดงว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกก็เป็นตำราเหมือนกัน...

          ทรงสรุปว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็นสถานที่ที่คนทุกระดับสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้

          ...ศูนย์ศึกษาฯ...เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่คนทุกระดับสามารถที่จะมาดู...ศึกษาก็ได้ คือเป็นทัศนศึกษา
พานักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยก็ตาม หรือไม่ใช่นักเรียน เป็นข้าราชการทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยขึ้นมาจนถึงชั้นผู้ใหญ่ ทุกระดับ ทุกอย่าง ก็หมายความว่า ทุกหน้าที่สามารถดูในแห่งเดียวกัน วิธีการที่จะพัฒนาในสาขาต่างๆ ของวิชาการ อันนี้ก็เท่ากับเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่จะมาดูอะไร มีวิชาการใดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา นอกจากนั้นก็ไปดูศูนย์ศึกษาฯ ไปหย่อนใจก็ได้ เพราะว่าทำงานมาเครียดก็ไปเที่ยวศูนย์ศึกษาฯ เหมือนไปเที่ยวสวนสาธารณะก็ได้ ได้ความรู้ด้านนี้เป็นหลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนา...

          นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ยังเป็นสถานที่ทำงานร่วมกันอย่างผสมผสานหรือบูรณาการ
การทำงานของหน่วยงานราชการ ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๖ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี ตอนหนึ่งว่า

          ...กรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้านของการพัฒนา สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรองดองกัน ประสานงานกัน...

          โดยมีเป้าหมายของการพัฒนา หรือศูนย์กลางการพัฒนา คือ ประชาชน ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่
๑๑ กันยายน ๒๔๒๖ ตอนหนึ่งว่า

          ...ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ ทุกกรมกอง ทั้งในด้านการเกษตรหรือด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชน ก็มาอยู่พร้อมกัน ในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้านก็หมายถึงว่าที่สำคัญ ปลายทางคือประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์...

ภาพกว้างๆ บริเวณศูนย์ศึกษา 6 แห่ง 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

ภาพเปรียบเทียบอดีตและปัจจุบันของศูนย์ศึกษา 6 แห่ง

อดีต ปัจจุบัน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

          จากพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดระบบบูรณาการ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ สรุปได้ว่า

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เป็นสถานที่ที่แสดงการพัฒนา คือ เรียนรู้ว่าการพัฒนาทำอย่างไร และทรงเล่าว่าโครงการลักษณะเดียวกันนี้มี ๑๔ แห่ง หรือมากกว่าและไม่ได้เริ่มต้นเมื่อปี ๒๕๒๐ หรือ ๒๕๒๕ แต่เริ่มตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งระยะแรกน้ำเค็ม จึงส่งเสริมให้เลี้ยงปลาน้ำเค็ม ชาวบ้านนำไปขายได้ นอกจากนี้ยังนำปลามาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยได้ด้วย

อ่างเก็บน้ำเขาเต่า จ. ประจวบคีรีขันธ์

ภาพ ร.9 ทรงนำนักเรียนไปทัศนศึกษาอ่างเก็บน้ำเขาเต่า

 

 

                                                                                                  กลุ่มนโยบายพิเศษ

                                                                                                   พฤศจิกายน ๒๕๖๑

curve