รายละเอียดองค์ความรู้
ชลประทานน้ำเค็ม
โครงการพัฒนาและการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบน เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสนองพระบรมราโชบายในการพัฒนาและศึกษาการใช้ประโยชน์
พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมรอบอ่าวคุ้งกระเบน
ประมาณ 1,650 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเล 104 แปลง จำนวน 728 ไร่ เพื่อให้ราษฎร 113 ครอบครัว
ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำ พื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลนรอบอ่าว ประมาณ 610 ไร่ที่เหลือพื้นที่บ่อสาธิต
พื้นที่ปลูกป่าชายเลนเพื่อการฟื้นฟู และพื้นที่ด้านสาธารณูปโภคต่างๆ อีก 312 ไร่
1.แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทะเลที่มีคุณภาพเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบนและการแพร่ระบาด
ของโรคกุ้งทะเล
2.เพิ่มศักยภาพในการผลิตกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบนให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป
3.พัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบนให้อยู่ในสภาพดีเพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยา
ในอ่าวคุ้งกระเบน
4.รักษาสิ่งแวดล้อมของอ่าวคุ้งกระเบนให้อยู่ในสภาพดี เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยาในอ่าวคุ้งกระเบน
5.เพื่อจัดทำโครงการตัวอย่างสำหรับการพัฒนาระบบชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่อื่นๆ
|
รูปแบบโครงการ
ระบบชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลอ่าวคุ้งกระเบน เป็นรูปแบบการจัดระบบน้ำเค็ม
ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเลและรวบรวมน้ำที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งทะเล
ทำการบำบัดคุณภาพน้ำก่อนระบายลงสู่อ่าวคุ้งกระเบน มีรายละเอียดการก่อสร้างระบบชลประทานดังนี้
|
ท่อรับน้ำทะล
ระบบรองรับน้ำทะเลจากท่อแรงดันสูง HPDE เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1.00 เมตรจำนวน 6 แถว
ฝังใต้ท้องทะเลห่างจากชายฝั่งประมาณ 350 เมตร เข้าสู่อาคารโรงสูบน้ำบนชายฝั่ง
อาคารโรงสูบน้ำ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กใช้สำหรับสูบน้ำทะเล
โดยมีส่วนเก็บกักน้ำทะเลอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 11.50 เมตร
สามารถรับน้ำทะเลได้ประมาณ 4,650 ลบ.ม. และระบายน้ำส่งต่อไป
ด้วยเครื่องสูบน้ำกำลังสูงขนาด 200 แรงม้า จำนวน 8 เครื่อง
แต่ละเครื่องสามารถระบายน้ำได้ 1.25 ลบ.ม. ต่อวินาที โดยไหลผ่านไปตามแนวท่อส่งน้ำ HPDE เส้นผ่าศูนย์กลาง
ขนาด 1.00 เมตร จำนวน 2 ท่อไปยังบ่อพักน้ำขนาด 3,000 ลบ.ม.
คลองส่งน้ำ
คลองส่งน้ำทะเลเข้าสู่พื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบน
เป็นคลองคอนกรีตรองรับน้ำทะเลจากบ่อพักน้ำ
มีความยาวตลอดโครงการประมาณ 8,820 เมตร และไหลลงบ่อเลี้ยง
โดยแรงโน้มถ่วงของโลก
-คลองส่งน้ำสาย (สาย M) มีความกว้าง 12 เมตร
ยาวประมาณ 6,620 เมตร สำหรับรับน้ำและจ่ายน้ำทะเล
ให้เกษตรกรในพื้นที่ส่วนบน ของโครงการ (ด้านทิศเหนือ)
-คลองส่งน้ำสายกลาง (สายIR ) มีความกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ
1,620 เมตร สำหรับรับและจ่ายน้ำทะเลให้เกษตรกรในพื้นที่ส่วนกลาง
ของโครงการทั้งหมด (ตอนกลางของทิศใต้)
-คลองส่งน้ำสายย่อย (สาย IR-IR) มีความกว้าง 5 เมตร
ยาวประมาณ 580 เมตร สำหรับรับน้ำและจ่ายน้ำทะเลให้เกษตรกร
ในพื้นที่ตอนล่าง (ด้านทิศใต้)
-คลองส่งน้ำสายซอย เนื่องจากพื้นที่เลี้ยงมีขนาดใหญ่
จึงจำเป็นต้องมีคลองส่งน้ำสายซอยแยกออกจากคลองส่งน้ำสายใหญ่
ซึ่งเกษตรกรแต่ละรายดำเนินการเอง
|
|
ระบบบำบัดน้ำทิ้งของโครงการเป็นการใช้ศักยภาพของธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อบำบัดคุณภาพน้ำ
ให้เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ โดยมีการบำบัดน้ำทิ้งดังนี้
1.บ่อกักเลนของเกษตรกรจะตกตะกอนสารแขวนลอย ส่วนน้ำใสจะไหลล้นเข้าสู่คลองบำบัดน้ำโครงการฯ
2.ระบบเติมอากาศในคลองบำบัดน้ำ ทำการติดตั้งเครื่องเติมอากาศขนาด 5 แรงม้า จำนวน 24 ชุด ตลอดแนวคลองรับน้ำทิ้งซึ่งเป็นการบำบัดน้ำทิ้งทางกายภาพ ดำเนินการควบคู่กับการบำบัดโดยชีวภาพ
เพื่อเป็นการเสริมประสิทธิภาพ การบำบัดคุณภาพน้ำทิ้งให้ได้มาตรฐาน ก่อนระบายผ่านคลองตกตะกอน
ลงสู่อ่าวคุ้งกระเบน
3.คลองตกตะกอนซึ่งจะรองรับน้ำทิ้งที่ระบายจากการเลี้ยงกุ้งทะลและผ่านการบำบัด โดยการเติมอากาศแล้ว
เพื่อให้เกิดตะกอน ส่วนระบบบำบัดน้ำทิ้งจะเป็นการบำบัด โดยชีวภาพซึ่งมีกิจกรรมการเลี้ยงหอย
การอนุรักษ์หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเลตลอดแนวคลอง เป็นระบบบำบัดน้ำทิ้ง โดยอาศัยธรรมชาติ
บำบัดคุณภาพน้ำ ให้เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆก่อนระบายผ่านพื้นที่ป่าชายเลนลงสู่อ่าวคุ้งกระเบน
|
กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง อ่าวคุ้งกระเบน
ที่มา: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ